เวลาที่จะเล่นกับปฏิกิริยาคายความร้อน
(exothermic
reaction) สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำปฏิกิริยาก็คือ
ปริมาณความร้อนที่คายออกมา
(heat
of reaction) และอัตราการเกิดปฏิกิริยา
(rate
of reaction)
ปริมาณความร้อนที่คายออกมาสามารถคำนวณได้จากความรู้ทางด้านเทอร์เมอร์ไดนามิก
โดยอาศัยการคำนวณค่าการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี
(enthalpy)
ของปฏิกิริยา
สารเคมีที่ใช้กันทั่วไปในภาคอุตสาหกรรมนั้น
(ที่ไม่ได้มีโครงสร้างโมเลกุลซับซ้อนอะไร)
จะมีค่าเอนทาลปีของการเกิด
(enthalpy
of formation) ให้อยู่แล้ว
หรือไม่ก็พอจะประมาณได้จากลักษณะโครงสร้างของโมเลกุล
ดังนั้นการหาค่าปริมาณความร้อนที่ปฏิกิริยาจะคายออกมานั้นไม่ค่อยจะมีปัญหาเท่าไรนัก
รูปที่
๑ ตัวอย่างการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาลงใน
fixed-bed
reactor ที่มีชั้นของ
supported
ball รองอยู่ข้างล่างและปิดทับชั้นบน
เป็นกรณีที่แก๊สไหลจากบนลงล่าง
(รูปนี้นำมาจากเอกสาร
"Loading,
Start-up and Regeneration Procedures for BASF PuriStar® R 3-17RED"
ของบริษัท
BASF
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นตัวบอกว่าจะมีความร้อนปลดปล่อยออกมาจากปฏิกิริยารวดเร็วแค่ไหน
และในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว
อัตราการปลดปล่อยพลังงานสำคัญมากกว่าปริมาณพลังงานที่คายออก
เพราะพลังงานความร้อนที่ปฏิกิริยาคายออกมานั้นจะเร่งให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้นไปอีก
และถ้าอัตราการปลดปล่อยพลังงานนั้นรวดเร็วมากจนไม่สามารถควบคุมได้
ก็สามารถนำไปสู่การระเบิดได้
ตัวอย่างเช่นถ้าเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว
การเผาไหม้โทลูอีน (C6H5-CH3
toluene) จะให้พลังงานมากกว่าการเผาไหม้ไตรไนโตรโทลูอีน
(C6H2CH3(NO2)3
trinitrotoluene หรือที่ย่อว่า
TNT)
ถึง
3
เท่า
แต่เราสามารถกระตุ้นให้ไตรไนโตรโทลูอีนปลดปล่อยพลังงานในตัวมันออกมาเป็นจำนวนมากได้ในเวลาที่สั้นมาก
เราจึงสามารถใช้ไตรไนโตรโทลูอีนเป็นวัตถุระเบิดได้
หรือในกรณีของโลหะอะลูมิเนียมที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้ง่ายนั้น
ในรูปที่เป็นแผ่นหรือชิ้นงานขนาดใหญ่จะสัมผัสกับอากาศได้อย่างปลอดภัย
แต่ถ้าเป็นในรูปของโลหะที่เป็นผง
(พื้นที่ผิวสัมผัสกับอากาศเพิ่มขึ้นมาก)
สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศอย่างรุนแรงจนเกิดการระเบิดได้
(ตรงนี้ขอย้ำนิดนึง
ยังมีคนจำนวนไม่น้อยสับสนระหว่างเรื่องสมดุลเคมีกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา
กล่าวคือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะรวดเร็วขึ้น
โดยไม่ขึ้นอยู่กับว่าปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อนหรือดูดความร้อน
ส่วนปฏิกิริยาที่ถูกควบคุมไว้ด้วยค่าคงที่สมดุลนั้น
การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาจะดำเนินไปข้างหน้าได้มากน้อยเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อนหรือคายความร้อน
เพียงแต่การเพิ่มอุณหภูมินั้นจะไปเร่งให้ทั้งปฏิกิริยาไปข้างหน้าและย้อนกลับรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้นเอง)
รูปที่
๒ เป็นรูปที่ต่อเนื่องจากรูปที่
๑ เป็นตัวอย่างการจัดวางชั้น
ceramic
ball ที่รองด้านล่างของเบดและปิดทับด้านบน
สิ่งหนึ่งที่คนที่ทำวิจัยเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะบนตัวรองรับ
(supported
metal catalyst) ที่ใช้ในเบดนิ่ง
(fixed-bed
หรือ
packed-bed)
ทำกันเป็นเรื่องปรกติก็คือ
จะเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาเก็บเอาไว้ในรูป
"โลหะออกไซด์"
เวลาจะใช้ในการทดลองก็จะนำเอาตัวเร่งปฏิกิริยาในรูปโลหะออกไซด์นั้นบรรจุลงใน
reactor
(ปรกติก็เป็นขั้นตอนที่กระทำในอากาศทั่วไป
ไม่ได้อยู่ภายใต้บรรยากาศพิเศษอะไร)
จากนั้นจึงทำการ
"รีดิวซ์"
(ส่วนใหญ่ก็จะใช้แก๊สไฮโดรเจน)
เพื่อเปลี่ยนรูปจากออกไซด์ให้กลายเป็น
"โลหะ"
(คือมีเลขออกซิเดชันเป็นศูนย์)
ก่อนที่จะป้อนสารตั้งต้นเพื่อการทำปฏิกิริยาเข้าไป
การที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะอนุภาคโลหะที่กระจายตัวอยู่บนตัวรองรับ
(หรือบางค่ายเรียกตัวพยุงที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า
support
หรือ
catalyst
support) มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับอากาศที่สูงมาก
อนุภาคโลหะจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้อย่างรวดเร็วและคายพลังงานความร้อนออกมามาก
ดังนั้นเพื่อให้มีความปลอดภัยในการเก็บและสะดวกในการนำไปใช้งาน
จึงมักจะเตรียมเอาไว้ในรูปสารประกอบโลหะออกไซด์ก่อน
พอจะใช้งานก็ค่อยไปทำการรีดิวซ์ก่อนเริ่มทำปฏิกิริยา
แต่พอเสร็จการทดลองแล้ว
ตอนรื้อตัวเร่งปฏิกิริยาออกมาก็เห็นรื้อกันออกมาแบบปรกติ
ไม่จำเป็นต้องมีการออกซิไดซ์ให้กลับเป็นโลหะออกไซด์ก่อนรื้อ
ทั้งนี้คงเป็นเพราะปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในการทดลองนั้นมันน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดของระบบ
ก็เลยไม่รู้สึกถึงความร้อนที่คายออกมาเมื่อตัวเร่งปฏิกิริยาทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ
รูปที่
๓ ตัวอย่างการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาลงใน
fixed-bed
reactor ที่มีชั้น
bubble
cap tray ช่วยกระจายของเหลวให้ไหลทั่วถึงหน้าตัดเบดอยู่ทางด้านบน
(รูปนี้นำมาจากเอกสาร
Manual
for Topsoe Hydroprocessing Catalysts ของบริษัท
HALDOR
TOPSOE กรณีนี้เป็นเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่งชนิด
3
เฟส
(ที่เรียกว่า
trickle
bed reactor)
ที่มีของเหลวไหลลงจากทางด้านบนและแก๊สไหลขึ้นสวนทางจากทางด้านล่าง)
การทำงานเกี่ยวกับการบรรจุหรือรื้อตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดโลหะบนตัวรองรับ
(supported
metal catalyst)
ที่ใช้กันในภาคอุตสาหกรรมก็ต้องคำนึงเรื่องการสัมผัสกับอากาศเช่นกัน
เพียงแต่ในระดับอุตสาหกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเร่งปฏิกิริยาในปริมาณที่มากกว่าในการบรรจุหรือรื้อออกแต่ละครั้ง
และระยะเวลาที่ต้องใช้ในการบรรจุหรือรื้อออกก็สำคัญด้วย
รูปแบบการทำงานที่พื้นฐานที่สุดและเรียบง่ายที่สุดก็คือทำการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาในรูปที่เป็นโลหะออกไซด์เข้าไปใน
reactor
ก่อน
จากนั้นจึงค่อยใช้แก๊สไฮโดรเจน
(ที่เจือจางกับแก๊สอื่นเช่นไนโตรเจน)
ทำการรีดิวซ์ตัวโลหะออกไซด์ให้กลายเป็นโลหะก่อนเริ่มการใช้งาน
(ช่วงนี้จะมีไอน้ำเกิดขึ้นเพราะไฮโดรเจนจะไปดึงออกซิเจนออกในรูปของไอน้ำ)
และเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานและต้องการนำออก
ก็จะทำการผสมออกซิเจนเข้ากับแก๊สเฉื่อยในปริมาณเล็กน้อยให้ไหลผ่านเบดตัวเร่งปฏิกิริยา
เพื่อทำการออกซิไดซ์โลหะให้กลายเป็นโลหะออกไซด์
(แต่ต้องไม่ลืมที่ต้องไล่สารอื่นอาจตกค้างจากกระบวนการผลิตออกไปก่อน)
ในระหว่างกระบวนการออกซิไดซ์นี้ต้องคอยสังเกตอุณหภูมิภายในเบดด้วยว่าไม่สูงเกินไป
เมื่อพบอุณหภูมิภายในเบดมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลงก็อาจทำการเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนได้
เพื่อที่จะทำให้การออกซิไดซ์โลหะให้กลายเป็นโลหะออกไซด์นั้นเกิดได้อย่างสมบูรณ์
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการออกซิไดซ์แล้ว
ตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวก็จะสัมผัสกับอากาศได้อย่างปลอดภัย
(ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดไฟลุกหรือความร้อนสูงเมื่อสัมผัสกับอากาศ)
ดังนั้นเวลาที่ออกแบบกระบวนการ
จึงต้องคำนึงถึงการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคที่ต้องใช้ในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาก่อนการใช้งาน
และทำลายตัวเร่งปฏิกิริยาหลังสิ้นสุดการใช้งานด้วย
แต่สำหรับเบดขนาดใหญ่แล้ว
การทำงานตามขั้นตอนที่กล่าวมานั้นจะเสียเวลามาก
(ระดับเป็นวัน)
จึงได้มีความพยายามที่จะลดเวลาทำงานดังกล่าวลง
และวิธีการหนึ่งที่ใช้กันก็คือทำให้เฉพาะส่วนที่เป็น
"พื้นผิว"
ของอนุภาคโลหะ
(ที่อยู่บนตัวรองรับ)
นั้นมีความเฉื่อยหรือไม่สามารถสัมผัสกับออกซิเจนได้ง่าย
ที่เรียกว่าการทำ "passivation"
รูปที่
๔ ข้อความนี้นำมาจากคู่มือการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยา
PuriStar®
R 3-17RED ของบริษัท
BASF
ที่ใช้ในการกำจัด
CO
ออกจากโพรพิลีน
(เอกสารเดียวกับรูปที่
๑)
ย่อหน้าข้างบนกล่าวไว้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวได้รับการทำ
passivation
ไว้บางส่วน
ทำให้สามารถสัมผัสกับอากาศที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเวลาสั้น
ๆ (น้อยกว่า
1
ชั่วโมง)
การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยารูปแบบนี้ทำให้ลดเวลาที่ต้องใช้ในการปรับสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาก่อนใช้งาน
แต่ก็มีความยุ่งยากและข้อควรระวังมากขึ้นในการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาเข้าไปใน
reactor
คือต้องกันให้ตัวเร่งปฏิกิริยามีโอกาสสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด
กล่าวคือบริษัทที่ผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาจำหน่ายนั้นจะทำการ
passivation
พื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาเอาไว้
เช่นอาจทำการออกซิไดซ์ให้ผลึกโลหะกลายเป็นสารประกอบโลหะออกไซด์เพียงแค่บางส่วนหรือเฉพาะพื้นผิว
แทนที่จะเป็นทั้งผลึก
ทั้งนี้เพื่อลดความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ
แล้วบรรจุส่งมาในภาชนะที่ปิดสนิท
การทำเช่นนี้ทำให้สามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการรีดิวซ์ผลึกโลหะออกไซด์ให้กลายเป็นผลึกโลหะ
แต่นั่นหมายถึงในขั้นตอนการบรรจุนั้นต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น
คือต้องป้องกันให้ตัวเร่งปฏิกิริยามีโอกาสสัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด
(เช่นอาจทำการบรรจุในขณะที่ภายใน
reactor
มีแต่แก๊สเฉื่อย
แต่ก็ต้องคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดอากาศด้วย)
และเวลาที่จะนำเอาตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะที่เสื่อมสภาพในการทำปฏิกิริยาออกจาก
reactor
ก็ต้องหาทางป้องกันไม่ให้โลหะนั้นสัมผัสกับออกซิเจนในปริมาณมากเช่นกัน
และวิธีการหนึ่งที่ทำได้ก็คือการเติมน้ำเข้าไป
อย่างเช่นข้อความในรูปที่
๕ ข้างล่างนั้นกล่าวถึงการเติมน้ำให้ท่วมเบดตัวเร่งปฏิกิริยา
ก่อนที่จะถ่ายตัวเร่งปฏิกิริยา
(แน่นอนว่ามีน้ำที่เติมเข้าไปไหลออกมาด้วย)
ออกทางด้านล่างของ
reactor
แล้วลงสู่ถังรองรับเลย
โดยที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่อยู่ในถังรองรับนั้นก็ต้องอยู่ใต้ผิวน้ำด้วย
รูปที่
๕ ข้อความนี้นำมาจากคู่มือการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยา
PuriStar®
R 3-17RED ของบริษัท
BASF
ที่ใช้ในการกำจัด
CO
ออกจากโพรพิลีนเช่นกัน
(เอกสารเดียวกับรูปที่
๑)
ย่อหน้าข้างบนกล่าวถึงการทำ
passivation
ด้วยการเติมน้ำให้ท่วมเบดตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้น้ำเป็นตัวปิดคลุมผลึกโลหะเอาไว้ไม่ให้สัมผัสกับอากาศ
(และยังช่วยในการออกซิไดซ์ผลึกโลหะอย่างช้า
ๆ ด้วยการอาศัยออกซิเจนในปริมาณเล็กน้อยที่ละลายอยู่ในน้ำ
ส่วนที่ว่าในทางปฏิบัตินั้นจะใช้วิธีการไหนได้นั้นก็คงต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
เพราะคงต้องนำเอาโครงสร้างของทั้งตัว
vessel
เองและการติดตั้งเบดมาประกอบการพิจารณาด้วยว่าสามารถใช้วิธีการใดได้บ้าง
สิ่งที่อยากจะชี้ให้เห็นในบันทึกนี้ก็คือตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะบนตัวรองรับ
(supported
metal catalyst)
นั้นในรูปที่เป็นโลหะสามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้รวดเร็วและรุนแรง
และคายความร้อนออกในปริมาณมาก
การทำงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับการสัมผัสกับอากาศได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น