อุปกรณ์ที่เรียกว่า
Vessel
นั้น
บางทีก็เรียกว่า Drum
(ตรงนี้ไปตกลงกันในหน่วยงานกันเอาเองก็แล้วกันว่าจะเรียกว่าอย่างไร
เพราะมันมักส่งผลต่อการตั้งชื่อด้วยว่าจะใช้ชื่อย่อว่า
V
หรือ
D)
และบางทีก็ครอบคลุมไปถึงหน่วยปฏิบัติการที่เรียกว่า
Tower
เช่นพวกหอกลั่นต่าง
ๆ และบางครั้งก็อาจครอบคลุมไปถึง
Tank
และ
Silo
(และเช่นกัน
ตรงนี้ไปก็ตกลงกันในหน่วยงานกันเอาเองก็แล้วกันว่าจะให้ครอบคลุมไปถึงไหน)
แต่ในที่นี้ขอตัด
Tank
และ
Silo
ออกไปก่อน
ตารางที่
๓ (นับต่อจากตอนที่
๑)
เป็นตัวอย่างรายละเอียด
Equipment
schedule สำหรับ
vessel
เราลองมาไล่ดูทีละหัวข้อไปเรื่อย
ๆ ก็แล้วกัน
"Item
no." คือรหัสชื่อ
vessel
ถ้าตกลงว่าจะเรียกว่า
vessel
ก็อาจใช้ตัวย่อว่า
V
เช่น
V-101
แต่ถ้าตกลงกันว่าจะเรียกว่า
drum
ก็อาจใช้ตัวย่อว่า
D
เช่น
D-101
"Service
name" คือให้ระบุว่า
vessel
ดังกล่าวทำหน้าที่อะไร
เช่นเป็น storage,
reflux drum (แปลกที่เขาไม่ยักเรียกว่า
reflux
vessel) ของหอกลั่น,
knock out drum (ที่ไว้ดักของเหลวออกจากแก๊ส
เช่นก่อนปล่อยออกสู่ flare
หรือก่อนเข้า
compressor
ซึ่งอันนี้ก็แปลกเหมือนกันที่เขาไม่เรียกว่า
knock
out vessel), oil-water separator เป็นต้น
"Installation"
คือให้ระบุรูปแบบการวาง
ว่าเป็นในแนวตั้ง (vertical)
หรือแนวนอน
(horizontal)
ช่อง
"Fluid"
ก็ให้ระบุว่าหลัก
ๆ แล้วใช้เก็บอะไร
เช่นถ้าเป็นถังอากาศอัดความดันก็ระบุเพียงแค่อากาศ
ถ้าเป็นถังเก็บของเหลวก็ให้ระบุของเหลว
(ไม่ต้องระบุว่าแก๊สที่อยู่เหนือผิวของเหลวคืออะไร)
"Capacity"
คือปริมาตรความจุของถัง
ตรงนี้ต้องตกลงกันให้ดีว่าหมายปริมาตรภายในทั้งหมด
หรือคิดเฉพาะส่วน Tangent
line to Tangent line
สองช่องถัดไปคือขนาดที่ให้ระบุ
"Shell
diameter" หรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัว
และระยะ "TL
to TL" ซึ่งก็คือระยะ
Tangent
line to Tangent line หรือส่วนโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก
ในกรณีของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้นที่เคยเห็นก็มีทั้งการระบุเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
(OD)
และทั้งเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน
(ID
คือไม่รวมความหนาผนังถัง)
ตรงนี้ก็ให้ไปตกลงกันเองก็แล้วกันว่าจะใช้ค่าไหนเป็นหลัก
ถ้าใครบังเอิญมาอ่านตรงนี้แล้วไม่รู้ว่า
Tangent
line คืออะไร
และ Tangent
line to Tangent line คือระยะจากไหนถึงไหน
ตรงนี้อธิบายไว้แล้วใน
Memoir
ฉบับวันจันทร์ที่
๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง "Tangent line to Tangent line"
ในกรณีที่เป็นถังที่มี
Jacket
หุ้มก็ต้องระบุแยกว่าถ้าคิดเฉพาะส่วนผนังถังด้านใน
(Shell)
จะมีขนาดเท่าใด
และถ้าคิดรวมส่วน Jacket
ด้วย
จะมีขนาดเท่าใด ช่องว่างระหว่างผนัง
Jacket
ที่หุ้มอยู่ข้างนอกและตัว
Shell
ที่ถูก
Jacket
หุ้มเอาไว้
จะเป็นช่องทางสำหรับให้
heating
หรือ
cooling
media ไหลผ่าน
(หรือทั้งสองอย่าง)
ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งานของถังนั้น
แต่ที่แน่ ๆ คือส่วน Jacket
นั้นมันถอดล้างไม่ได้
มีอะไรสะสมอยู่บนผนังข้างในก็ต้องใช้สารเคมีเข้าไปละลายออกมา
ถ้าสงสัยว่าตรงช่อง
"Capacity"
นั้นเขาหมายถึงปริมาตรภายในทั้งหมดหรือคิดเฉพาะส่วน
"TL
to TL" ก็ให้เอาค่าระยะ
"Shell
diameter" กับ
"TL
to TL" มาคำนวณปริมาณส่วนที่เป็นทรงกระบอกนี้ดู
ถ้าพบว่ามันเท่ากับปริมาตรส่วนนี้ก็แสดงว่าค่า
"Capacity"
นั้นเขาหมายถึงส่วน
"TL
to TL" แต่ถ้าพบว่าค่าที่คำนวณได้มันต่ำกว่า
ก็แสดงว่าตัวเลข "Capacity"
นั้นเขาน่าจะหมายถึงปริมาตรทั้งหมด
ช่อง
"Pressure
(Dsgn/Opr)" คือค่าความดันที่ใช้ในการออกแบบ
(Dsgn)
และค่าความดันใช้งาน
(Opr)
และเช่นกันถ้าเป็นถังที่มี
Jacket
หุ้มก็ต้องระบุค่าความดันของทั้งส่วนภายในถังและส่วนของ
Jacket
ด้วย
ช่อง
"Temp
(Dsgn/Opr)" คือค่าอุณหภูมิที่ใช้ในการออกแบบ
(Dsgn)
และค่าอุณหภูมิใช้งาน
(Opr)
และเช่นกันถ้าเป็นถังที่มี
Jacket
หุ้มก็ต้องระบุค่าอุณหภูมิของทั้งผนังถังด้านในและส่วนของ
Jacket
ด้วย
ตารางที่
๓ ตัวอย่าง Equipment
schedule สำหรับ Vessel
"Emergency
vacuum design"
คือให้ระบุว่าต้องมีการป้องกันการเกิดสุญญากาศกระทันหันหรือไม่
เช่นในขณะใช้งานปรกตินั้นตัว
vessel
จะทำงานที่ความดันสูงกว่าบรรยากาศ
แต่ในบางกรณีอาจเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะสุญญากาศขึ้นภายในได้
ทำให้ตัวถังมีโอกาสถูกแรงกดอากาศภายนอกกดให้ถังยุบตัว
เช่นในกรณีของหอกลั่นที่สภาวะอุณหภูมิห้อง
สารต่าง ๆ ภายในหอกลั่นจะควบแน่นเป็นของเหลว
หรือพวก steam
drum ที่เมื่อไอน้ำเย็นตัว
จะเกิดสุญญากาศภายในถังได้
ช่อง
"Tray"
จะประยุกต์ใช้กับพวกหอชนิด
tray
(ที่อาจเป็นหอกลั่น
(distillation
column) หอดูดซึม
(absorber)
หอชะล้าง
(scrubber)
ก็ได้)
ให้ระบุชนิดของ
tray
(ช่อง
"Type")
และ
จำนวนและระยะห่างระหว่าง
tray
(ช่อง
"No.
& Spacing")
ช่อง
"Packing
Type & Quantity" จะประยุกต์ใช้กับพวก
packed
column (เช่นกัน
ซึ่งอาจเป็นหอกลั่น หอดูดซึม
หอชะล้าง ก็ได้)
ให้ระบุชนิดของ
packing
และปริมาณที่บรรจุ
ถัดไปคือส่วนของ
"Material"
หรือวัสดุที่ใช้ขึ้นรูป
โดยทั่วไปส่วน Shell
และ
Head
(หรือฝาปิดหัวท้าย)
ก็จะเป็นวัสดุชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
คือต้องทนต่อ fluid
ที่บรรจุอยู่ภายในได้
แต่ส่วน Jacket
นั้นไม่จำเป็น
เช่นในกรณีของ fluid
ที่ต้องการความสะอาดสูงหรือมีฤทธิ์กัดกร่อน
ก็อาจต้องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมขึ้นรูปส่วน
Shell
และ
Head
แต่ส่วนของ
Jacket
ที่ให้ไอน้ำหรือน้ำหล่อเย็นไหลผ่านนั้น
อาจใช้เพียงแค่า carbon
steel ก็พอ
วัสดุที่ใช้ทำ
"Tray
or Internal" ที่สัมผัสกับ
fluid
ภายใน
ก็ต้องเหมาะสมกับ fluid
นั้นด้วย
"Internal"
ในที่นี้คืออุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่
tray
เช่นอาจเป็น
mist
eliminator (ดักละอองของเหลวออกจากแก๊สที่ไหลออก)
vortex breaker (ทำลายการเกิด
vortex
เวลาที่สูบของเหลวออกทางด้านล่างของถัง)
หรือโครงสร้างใด
ๆ ที่มีการติดตั้งภายในถังก็ได้
"Corrosion
allowance" คือระดับการกัดกร่อนที่ยอมรับได้
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยอมให้ผนังบางลงได้เท่าใด
การคิด corrosion
allowance
ตรงนี้เป็นการคิดโดยสมมุติว่าเป็นการกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอตลอดทั้งพื้นผิว
ไม่ใช่การกัดกร่อนแบบ pitting
ที่เกิดขึ้นเป็น
"จุด"
ที่ทำให้เนื้อโลหะทะลุเป็นรูเล็ก
ๆ
"Insulation"
คือจำเป็นต้องหุ้มฉนวนหรือไม่
โดยวัตถุประสงค์ของการหุ้มฉนวนนั้นมีทั้ง
ป้องกันไม่ให้ความร้อนรั่วไหลออกหรือป้องกันอันตรายจากการสัมผัส
ป้องกันไม่ให้ความร้อนรั่วไหลเข้า
(เช่นถังเก็บ
fluid
ที่เย็น)
และการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์
(เช่นกรณีของถังเก็บสารที่มีจุดเดือดต่ำและตั้งอยู่กลางแจ้ง)
"Approx
weight" คือน้ำหนักโดยประมาณ
ในที่นี้แยกเป็นหนักหนักเปล่า
(ช่อง
"Empty")
และน้ำหนักเมื่อมีน้ำบรรจุเต็ม
(ช่อง
"Full
of water")
"Supplier"
คือผู้ผลิตถังนั้น
"Remarks"
คือหมายเหตุ
คือมีอะไรเป็นพิเศษที่ไม่ตรงกับช่องที่มีอยู่
ก็ให้มาเขียนไว้ที่นี่
เช่นมีการติดตั้งใบพัดกวน
มีการติดตั้ง heating/cooling
coil เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น