ภาชนะรับความดันหรือ
Pressure
vessel นั้นประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก
๒ ส่วนคือส่วนลำตัว
(ที่ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก)
และส่วน
Head
(ที่ต่อไปนี้จะขอเรียกเป็นภาษาไทยว่า
"ฝาปิด"
ก็แล้วกัน)
ที่ปิดปลายทั้งสองด้านของส่วนลำตัวทรงกระบอก
ในกรณีที่เป็นภาชนะรับความดันวางในแนวนอนนั้น
ส่วนฝาปิดทั้งด้านซ้ายและขวาก็มักจะมีรูปทรงแบบเดียวกัน
แต่ถ้าเป็นกรณีของภาชนะรับความดันที่วางในแนวตั้ง
ส่วนฝาปิดด้านบนและด้านล่างก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
เช่นในกรณีของภาชนะรับความดันที่ใช้บรรจุของเหลวที่มีของแข็งแขวนลอยอยู่
หรือที่ใช้ในการบรรจุผงอนุภาคของแข็ง
การเลือกรูปแบบฝาปิดด้านล่างก็ต้องคำนึงถึงการให้ของแข็งนั้นไหลออกมาทางด้านก้นภาชนะได้ง่ายด้วย
การขึ้นรูปภาชนะรับความดันโดยทั่วไปนั้น
(ในที่นี้หมายถึงภาชนะรับความดันที่ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก)
จะขึ้นรูปส่วนลำตัวทรงกระบอกและส่วนฝาปิดปลายทรงกระบอกแยกจากกัน
จากนั้นจึงค่อยนำเอาส่วนฝาปิดปลายมาเชื่อมประกบเข้าที่ปลายทั้งสองข้างของส่วนลำตัวทรงกระบอก
ตัวฝาปิดนั้นมีรูปร่างหลากหลาย
(รูปที่
๑)
แต่ส่วนใหญ่ที่พบเห็นกันก็คือเป็นฝาโค้ง
(ที่อาจโค้งแบบวงรีหรือวงกลม)
ซึ่งถ้ามองภาพตัดขวางของฝาปิดนี้จะเห็นว่าตัวฝามักจะประกอบด้วยโครงสร้างสองส่วน
คือส่วนบนที่เป็นฝาโค้ง
และส่วนล่างที่มีลักษณะเป็นลำตัวทรงกระบอกตรงที่มีความสูงไม่มาก
เหตุผลที่ต้องมีส่วนล่างที่มีลักษณะเป็นลำตัวทรงกระบอกตรงก็เพราะไม่ต้องการให้การเชื่อมนั้นเกิดขึ้นตรงตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตของโครงสร้าง
(จุดที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตคือจุดที่ลำตัวตรงเริ่มโค้งเข้าด้านใน)
รูปที่ ๑ ตัวอย่างส่วน "Head" ของภาชนะรับความดัน (pressure vessel) ตัวย่อ T.L. ที่ปรากฏในบางรูปแบบนั้นย่อมาจาก Tangent line คือจุดที่ความโค้งของตัว Head สิ้นสุด ต่ำกว่าจุดนั้นลงมาจะเป็นส่วนลำตัวทรงกระบอกที่ไว้สำหรับเชื่อมเข้ากับลำตัวทรงกระบอกของตัวภาชนะรับความดัน (ที่มาของรูป https://thai.alibaba.com/product-detail/torispherical-heads-tank-caps-dish-ends-pressure-vessel-heads-60689908219.html)
รูปที่ ๑ ตัวอย่างส่วน "Head" ของภาชนะรับความดัน (pressure vessel) ตัวย่อ T.L. ที่ปรากฏในบางรูปแบบนั้นย่อมาจาก Tangent line คือจุดที่ความโค้งของตัว Head สิ้นสุด ต่ำกว่าจุดนั้นลงมาจะเป็นส่วนลำตัวทรงกระบอกที่ไว้สำหรับเชื่อมเข้ากับลำตัวทรงกระบอกของตัวภาชนะรับความดัน (ที่มาของรูป https://thai.alibaba.com/product-detail/torispherical-heads-tank-caps-dish-ends-pressure-vessel-heads-60689908219.html)
คำย่อว่า
T.L.
เป็นคำย่อคำหนึ่งพบเห็นได้ในแบบที่เกี่ยวข้องกับภาชนะรับความดัน
(pressure
vessel) คำนี้ย่อมาจากคำเต็มว่า
Tangent
line
คือเป็นแนวรอยต่อระหว่างส่วนที่มีรูปทรงเป็นทรงกระบอกของภาชนะรับความดัน
กับจุดที่ฝาเริ่มมีรัศมีความโค้ง
(ดูรูปที่
๒ ข้างล่าง)
และระยะ
Tangent
line to Tangent line หรือ
T.L.
to T.L.
นั้นคือระยะความสูงของโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกของภาชนะรับความดัน
รูปที่
๒ สีเหลืองคือโครงสร้างส่วนฝา
สีฟ้าคือโครงสร้างส่วนลำตัว
ระยะ Tangent
line to Tangent line หรือ
T.L.
to T.L.
นั้นคือระยะความสูงของโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกของภาชนะรับความดัน
ระยะนี้มักจะแตกต่างไปจากความยาวของส่วนลำตัวทรงกระบอกที่ขึ้นรูปเอาไว้ก่อนทำการเชื่อมฝาปิดหัวท้าย
ในกรณีของถังวางตั้งที่ใช้บรรจุของเหลวนั้น
การเปลี่ยนแปลงระดับความสูงของของเหลว
(หรือผลต่างความดันที่วัดได้ระหว่างก้นถังกับยอดถัง)
ที่เกิดขึ้นในช่วง
T.L.
to T.L. นี้จะแปรผันเป็นเส้นตรงกับปริมาตรของเหลวที่เปลี่ยนแปลงไป
ในกรณีของการวัดระดับด้วยการใช้
DP
cell (DP ย่อมาจาก
differential
pressure) ต้องรู้ด้วยว่าตำแหน่งวัดความดันตำแหน่งล่างนั้นอยู่ที่ก้นถัง
(ส่วนที่ต่ำที่สุดของถัง)
หรือที่แนว
Tangent
line ด้านล่าง
เพราะถ้ามันอยู่ที่ Tangent
line นั้น
ถ้ามันอ่านค่าได้ศูนย์ก็ไม่ได้หมายความว่าในถังไม่มีของเหลว
แต่ยังมีค้างอยู่ในส่วนของฝาล่าง
แต่ถ้ามันอยู่ที่ก้นถังก็ต้องระวังเวลาที่ระดับของเหลวต่ำกว่า
Tangent
line ด้านล่าง
เพราะจะเห็นระดับของเหลวลดลงอย่างรวดเร็วได้แม้ว่าอัตราการการดึงของเหลวออกนั้นคงเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น