"
... รถไปวิ่งตั้งต้นตี
๒ ครึ่งที่สะพานพุทธยอดฟ้า
ผ่านจังหวัดที่ต้องผ่านหัวหิน
ประจวบฯ ศาลเจ้าพ่อเขาช้าง
จุดประทัดกันแล้วก็ผ่านชุมพรไประนอง
รถหยุดที่ด่าน
มานีลุกเข้าห้องน้ำแล้วก็ไปกินข้าวกลางวันกันที่ระนอง
จากนั้นก็ผ่านกระเปอร์ถึงตะกั่วป่าก็
๑๕.๐๐
น.
เห็นจะได้
เลี้ยวขึ้นเขาไปบ้านดอน
ก่อนถึงพุนพินยางแตกเปลี่ยนยางแล้ววิ่งเข้าบ้านดอนเวลา
๑๘.๐๐
น.
พอดิบพอดี
...
" (จากเรื่อง
"ผีหลอกที่บ้านดอน"
ในหนังสือ
"ผีกระสือที่บางกระสอ"
โดย
สง่า อารัมภีร พิมพ์ครั้งที่สาม
โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙)
ข้อความข้างบนนั้นผู้เขียนไม่ได้ระบุว่าเป็นเหตุการณ์ในปีพ.ศ.
ใด
แต่เดาว่าน่าจะหลังปีพ.ศ.
๒๔๙๙
เพราะดูจากเวลาที่รถเดินทางได้นั้นทำให้คาดเดาได้ว่าถนนช่วง
ระนอง-ตะกั่วป่า
และช่วงข้ามเขา ตะกั่วป่า-บ้านดอน
นั้นสร้างเสร็จแล้ว
เพราะแผนที่ทางหลวงประเทศไทยที่นำมาให้ดูกันในวันนี้
ไม่ได้ระบุว่าเป็นแผนที่ที่จัดทำในปีพ.ศ.
ใด
แต่ไปปรากฏอยู่ในหนังสือ
"ทัศนาสารไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา"
ที่จัดพิมพ์ในปีพ.ศ.
๒๔๙๙
แสดงว่าตัวแผนที่นั้นต้องได้รับการจัดทำเอาไว้ในปีพ.ศ.
๒๔๙๙
หรือก่อนหน้านั้น
รูปที่
๑ แผนที่ที่นำมาแสดงมาจากหนังสือ
ทัศนาสารไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับของสำนักวัฒนธรรมทางศิลปกรรม
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
หน้าหลังของหนังสือมีตราประทับระบุไว้ว่า
(นายเฉลิม
พันธุ์ภักดี ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา
เลขที่ ๒๐ โทร 20715
พ.ศ.
๒๔๙๙
(หมายเลขโทรศัพท์สะกดด้วยเลขอารบิก
นอกนั้นเป็นเลขไทย)
โรงพิมพ์ภักดีประเสริฐ
พ.ศ.
๒๔๘๐
ถนนหลังวังบูรพา พระนคร)
ส่วนฉบับของจังหวัดฃลบุรีไม่ได้รายละเอียดปีที่พิมพ์ระบุไว้
แต่คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
รูปที่
๒ แผนที่ตอนบนของประเทศ
บทประพันธ์เก่า
ๆ จำนวนไม่น้อย
ถือได้ว่าเป็นบันทึกบรรยากาศของบ้านเราและการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยทั่วไปในอดีต
อย่างเช่นการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง
ๆ นั้นทำได้อย่างไร ใช้เวลาเท่าใด
ได้พบเจอกับอะไรบ้าง
อย่างเช่นในเรื่อง
"อภินิหารเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ"
ที่อยู่ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้
สง่า อารัมภีร
ได้บันทึกการเดินทางจากกรุงเทพไปยังชุมพรในช่วงปีพ.ศ.
๒๕๐๒
-
๒๕๐๓
เอาไว้ดังนี้
"
... ตอนแรกว่าจะไปรถไฟ
แต่มนัสเขาบอกว่าไปรถ ร.ส.พ.
ดีกว่า
ทหารก็ครึ่งราคาเหมือนรถไฟ
เย็น ๆ ก็ถึง ที่ประชุม ๔
คนจึงตกลงไปชุมพรด้วย ร.ส.พ.
ด้วยความดีใจที่ได้เที่ยวไกล
ๆ เรา ๔ คนจึงกินเหล้ากันจนดึกดื่น
สันต์กินเสียจนเป็นไข้
พอขึ้นรถก็หลับเรื่อยไปทีเดียว
รถสมัยก่อนไม่มีเบอร์ที่นั่ง
เราไปช้าจึงต้องนั่งข้างหลัง
รถกระแทกเสียจนสร่างเมาเชียวครับ
ถนนสมัยโน้นดีแค่ถึงหัวหินเท่านั้นเอง
ส่วนหัวหินไปประจวบฯ
ยังเป็นลูกรัง ประจวบฯ
ไปทับสะแกและบางสะพานเป็นหลานรัง
คือแย่ยิ่งกว่าลูกรัง
เมื่อถึงบางสะพานก็หยุดนาน
ข้าวของบนหลังคาลงที่ทับสะแกเสียครึ่งหนึ่ง
ลงที่บางสะพานหมดเลย
คนโดยสารก็เหลือน้อยมาก
....
"
รูปที่
๓ แผนที่ตอนล่างของประเทศ
แผนการเชื่อมต่อเมืองต่าง
ๆ ที่อยู่ห่างไกลกันด้วยการคมนาคมทางบกของไทยนั้น
เดิมจะใช้เส้นทางรถไฟเป็นหลัก
จากนั้นจึงค่อยใช้เส้นทางถนนแยกย่อยออกไปจากตัวสถานีรถไฟ
ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาถนนที่ปรากฏในแผนที่
กล่าวคือจะมีการพัฒนาถนนจากสถานีรถไฟหลักไปยังจังหวัดต่าง
ๆ ที่ไม่มีรถไฟผ่านก่อน
เช่นทางเหนือก็จะมีถนนจากแพร่ไปยังน่าน
ถนนจากลำปางไปเชียงราย
และถนนจากเชียงใหม่ไปยังอำเภอต่าง
ๆ ของจังหวัด แต่ไม่ยักมีถนนเชื่อมระหว่าง
แพร่-ลำปาง-เชียงใหม่
(รูปที่
๔)
การเดินทางไปภูเก็ตก็น่าจะเป็นนั่งรถไฟไปที่ตรังก่อน
จากนั้นจึงค่อยเดินทางด้วยรถยนต์ย้อนขึ้นไปทางกระบี่
หรือไม่ก็คงลงเรือเพื่อเดินทางไปยังภูเก็ตเลย
(รูปที่
๖)
ส่วนทางภาคอีสานก็ทำนองเดียวกัน
เส้นทางถนนที่เชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานก็จะเป็นทางด้านลพบุรี
ชัยบาดาล ที่เชื่อมต่อไปยังชัยภูมิ
(รูปที่
๔)
ซึ่งถ้าเทียบกับแผนที่ปัจจุบันก็น่าจะเป็นทางหลวงหมายเลข
๒๐๕
การที่เลือกสร้างถนนเส้นนี้ก่อนก็น่าจะเป็นเพราะเป็นช่วงที่ตัดผ่านภูเขาที่สั้นที่สุด
และยังมีค่ายทหารอยู่ที่ลพบุรีด้วย
ดังนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นทางภาคอีสาน
ก็สามารถที่จะเคลื่อนย้ายกำลังจากภาคกลางไปได้รวดเร็ว
นอกเหนือไปจากเส้นทางรถไฟที่อาจถูกปิดกั้นได้ง่าย
ดังที่เคยเกิดขึ้นในกรณีที่เรียกว่า
"กบฎบวรเดช"
ที่มีการต่อสู้กันตามทางรถไฟ
โดยเฉพาะในช่วงสถานีหินลับ-ทับกวาง-ปากช่อง
ที่มีการทำลายทั้งสะพานรถไฟและเส้นทาง
รูปที่
๘ แผนที่ส่วนขยายบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก
Memoir
ฉบับนี้ก็ไม่มีอะไรมาก
เป็นเพียงแค่เอาข้อมูลที่พบในหนังสือเล่มหนึ่งที่ยืมมาจากห้องสมุดมาบันทึกไว้
เพื่อที่จะได้ใช้ทำความเข้าใจในการอ่านหนังสือเล่มอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น