"
... วันรุ่งขึ้น
บางคนนั่งเรือไปทางราชบุรี
บางคนก็กลับรถไฟ
โดยเอารถยนต์จอดไว้ที่มหาชัย
สำหรับผมกลับรถไฟตามเดิม
ก่อนจะถึงสถานีบ้นแหลมท่าฉลอมก็เจอสถานีบางโทรัดเข้า
ก็หวนนึกถึง "ผีที่บางโทรัด"
เมื่อหลายปีขึ้นมาได้ทันที
...
" (จากเรื่อง
"ผีที่บางโทรัด"
ในหนังสือ
"ผีกระสือที่บางกระสอ"
โดย
สง่า อารัมภีร พิมพ์ครั้งที่สาม
โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙)
รูปที่
๑ ป้ายชื่อสถานีริมทางรถไฟสาย
บ้านแหลม -
แม่กลอง
ถ่ายในขณะที่รถไฟกำลังเคลื่อนที่เข้าสถานี
บ้านบางโทรัด
อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
การเดินทางจากกรุงเทพนั้น
ถ้าเป็นทางรถไฟก็ต้องไปขึ้นที่สถานีวงเวียนใหญ่
จับรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
สุดทางที่สถานีมหาชัยก็ต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำท่าจีนเพื่อไปขึ้นรถไฟสายแม่กลองอีกขบวนที่สถานีบ้านแหลม
แต่ถ้าเป็นทางรถยนต์ก็ใช้ถนนพระราม
๒ (หรือ
ธนบุรี-ปากท่อ
ตามชื่อเก่า)
ประมาณหลักกิโลเมตรที่
๔๐ กว่า ๆ (เท่าไรจำไม่ได้)
จะสังเกตเห็นโรงงานน้ำมันพืชโอลีนอยู่ทางด้านซ้าย
ถัดไปหน่อยจะเห็น
"วัดเกตุมดีศรีวราราม"
อยู่ทางด้านซ้าย
ถนนเข้าบ้านบางโทรัดก็อยู่ข้างวัดนั้น
ผมรู้จักชื่อนี้ครั้งแรกก็จากเรื่องเล่าที่ยกมาข้างต้น
ขับผ่านถนนพระราม ๒ ก็หลายครั้ง
แต่ก็ไม่มีโอกาสจะแวะเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ที่หนังสือกล่าวไว้ซักที
วัดที่หนังสือกล่าวไว้นั้นชื่อ
"วัดบางโทรัด"
ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าปัจจุบันคือวัดไหน
แต่เดาว่าน่าจะเป็น
"วัดบัณฑูรสิงห์"
เพราะเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟและอยู่ริมคลองสุนัขหอน
(ตามชื่อทางการที่ทำให้มันดูสุภาพกว่าชื่อคลองหมาหอน)
เพราะในเรื่องเล่านั้นมีการกล่าวถึงการจัดการแข่งเรือ
(ย่อหน้าถัดไป)
รูปที่
๒ สถานีรถไฟบางโทรัดอยู่ทางด้านขวา
คลิปวิดิโอที่แนบมานั้นเป็นภาพจากกล้องหน้ารถในช่วงถนนเลียบทางรถไฟจากสถานีบางโทรัดมายังสถานีบ้านกาหลง
ในวิดิโอจะมีสะพาน ๒ สะพานด้วยกัน
สะพาน ๑ คือสะพานแรกที่ปรากฏที่ทางขึ้นลงค่อนข้างจะหักมุม
รถท้องเตี้ยอาจเกิดปัญหาได้
ส่วนสะพาน ๒ อยู่ก่อนถึงสถานีกาหลง
เป็นสะพานหลากสี
วัดบัณฑูรสิงห์ก็อยู่ทางมุมขวาของภาพ
โดยอยู่เยื้องออกมาทางด้านซ้ายของโรงเรียนสมุทรสาครติดกับสะพานข้ามคลองสุนัขหอน
"
...
ทีนี้อนันต์เขาไปรับปากสมภารวัดบางโทรัดจะถ่ายหนังให้เวลาที่วัดมีงาน
คราวนั้นดูเหมือนจะมีงานแข่งเรือ
แล้วก็มีงานกุศลสร้างโบสถ์
เราไปกันทั้งชุดทางรถไฟ
ขึ้นรถไฟที่ปากคลองสาน
วิ่งแบบสโลว์ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง
กว่าจะถึงบางโทรัดก็เย็นโข
ไปไหว้ท่านสมภารแล้วมัคทายกก็นำพวกเราไปที่บ้านหลังวัดให้มารับทางอาหารเย็นเสียก่อนพอขึ้นไปบนบ้านก็ตกใจถอยหลังทีเดียว
แม่โชงวางเรียงไว้ขวดใหญ่ถึง
๒๔ ขวด โซดา ๒ ลัง น้ำแข็ง ๒
กระติก ถ้วยแก้ว ๒ โหล
คงจะมีเผื่อไว้เวลาแก้วแตกหรือสำรองไว้ให้เราเคี้ยวแก้วเล่น
...
"
ผมโฉบผ่านบางโทรัดครั้งแรกเมื่อตอนต้นเดือนที่ผ่านมา
ระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟจากบ้านแหลมไปแม่กลอง
ก็เลยได้มีโอกาสถ่ายรูปป้ายสถานีรถไฟบางโทรัดตอนที่รถกำลังเคลื่อนที่เข้าสถานี
(รูปที่
๑)
และจอดที่สถานี
(รูปที่
๓)
รถไฟสายมหาชัยนั้นเดิมมีต้นทางที่สถานีคลองสานที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ดังนั้นสมัยก่อนการเดินทางจากมหาชัยมากรุงเทพก็สามารถนั่งรถไฟถึงคลองสาน
แล้วก็ข้ามเรือมาขึ้นฝั่งที่ท่าสี่พระยาได้เลย
แต่ภายหลังสถานีคลองสานถูกปิดไป
รถไฟมาถึงเพียงแค่วงเวียนใหญ่
รถไฟจากวงเวียนใหญ่ไปมหาชัยนั้นใช้เวลาเพียงแค่ชั่วโมงเดียว
ถ้าเลือกขบวนรถได้จังหวะก็จะมีเวลาประมาณครึ่งฃั่วโมงในการเดินและข้ามเรือจากสถานีมหาชัยไปต่อรถไฟที่สถานีบ้านแหลม
จากบ้านแหลมไปยังแม่กลองก็ใช้เวลาอีก
๑ ชั่วโมง ดังนั้นถ้าเทียบกับการเดินทางในยุคก่อนนั้น
(ยุคของหัวรถจักรไอน้ำ)
ก็เรียกว่ารวดเร็วขึ้นมาก
"
...
รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตีเท่าไรก็ไม่รู้เพราะผมไม่ได้ผูกนาฬิกา
เงียบสงัดทีเดียว
เสียงสัตว์กลางคืนร้องระงม
ป่ารอบ ๆ วัดเป็นป่าแสม
เสียงป่าแสมผิดกับเสียงป่าบนเขาใหญ่และบนเขาภูพานมาก
เสียงมันวังเวงอย่างบอกไม่ถูก
ผมลุกไปเข้าห้องน้ำแล้วก็มานอนนอกมุ้งฟังเสียงป่าคุยกันจนเพลิน
พอลืมตามองไปทางหัวบันไดหน้าศาลาก็เจอเงาดำ
ๆ ๒ เงานั่งยอง ๆ เอามือทั้ง
๒ พาดหัวเข่าคุยกันเบา ๆ
แต่ผมก็ได้ยินเสียงแว่ว ๆ
...
"
รูปที่
๓ ป้ายบอกชื่อสถานีบางโทรัดและสถานีที่อยู่ถัดไป
การเดินทางไปครั้งที่สองคือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ครั้งนี้ตั้งใจจะไปเป็นภาพบรรยกาศเส้นทางสองข้างทางรถไฟจากบางโทรัดไปบ้านกาหลง
เพราะตอนที่ดูแผนที่จาก
google
map ก็เห็นว่ามันมีถนนเลียบทางรถไฟอยู่
จากถนนพระราม ๒
มาจนถึงสะพานข้ามคลองสุนัขหอนไม่มีสภาพเป็นป่าอะไรเหลือให้เห็น
พอข้ามคลองสุนัขหอนก็จะเห็นวัดบัณฑูรสิงห์อยู่ทางขวามือตรงเชิงสะพานข้ามคลอง
เลยวัดมาหน่อยก็เป็นโรงเรียน
และถัดมาอีกนิดก็พบกับทางรถไฟสายแม่กลอง
"ทำไงล่ะ
มีคนมานอนบนศาลาของเราเสียแล้ว"
"จะแหกอกไล่เขาไปดีไหม"
ผมได้ยินคำว่า
"แหกอก"
ก็นึกรู้ทันทีว่าต้องไม่ใช่คนแน่
แต่ยังใจเย็นทนฟังต่อไปได้
โดยนอนตะแคงลืมตามองไปยังเขาทั้งสองนั้น
เสียงกระซิบกันต่อไปอีก
"ปล่อยให้เขานอนต่อไปอีก
เขามาช่วยงานวัดเรา
ไปทำให้เขาตกอกตกใจ
งานของหลวงพ่อจะเสีย"
"แล้วเราจะไปนอนที่ไหนดีล่ะ
บนกุฏิ พระท่านก็ลงยันต์ไว้ทุกหน้าต่างทุกประตู
มีแต่ศาลานี่เท่านั้นพอจะอาศัยได้"
"เขาคงค้างคืนเดียวเท่านั้น
ให้เขานอนให้สบายเถิด
เราไปพักกันในศาลากลางป่าแสมดีกว่า"
พอขับรถไปจนถึงเส้นทางรถไฟก็ชะงักไปเหมือนกัน เพราะไม่แน่ใจว่ารถจะเข้าไปได้ตลอดทางหรือเปล่า เพราะแม้ว่ามันจะเป็นถนนลาดยางก็ตามแต่รถวิ่งสวนกันไม่ได้ บังเอิญในขณะที่จอดรถเพื่อตัดสินใจอยู่นั้น ก็มีรถอีกคันหนึ่งที่วิ่งแซงหน้าและเลี้ยวขวาวิ่งเลียบทางรถไฟไป ก็เลยอาศัยขับตามเขาไป รูปที่ ๔ ถึง ๑๒ นั้นเป็นภาพที่จับมาจากวิดิโอที่ถ่ายด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือที่ติดไว้หน้ารถ ความละเอียดและความชัดเจนของภาพก็เลยไม่สูงมาก
รูปที่
๔ พอเลี้ยวขวาเขาถนนเลียบทางรถไฟมาหน่อยก็เจอสภาพถนนเช่นนี้
รูปที่
๖ เลยสถานีมาอีกหน่อยจะเป็นสะพานข้ามคลอง
สะพานนี้คอสะพานหักมุมค่อนข้างมาก
รถท้องต่ำมีปัญหาแน่
สะพานกว้างเพียงแค่รถวิ่งผ่านได้เพียงคันเดียว
ตอนขึ้นก็ต้องระวังรถสวนด้วยเพราะสะพานงสูงจนมองไม่เห็นอีกฝั่งหนึ่ง
รูปที่
๗ พอมาอยู่บนสะพาน (สะพาน
๑ ในรูปที่ ๒)
ก็จะเห็นสภาพชุมชมอีกฟากเป็นดังนี้
ตอนลงสะพานก็ต้องลุ้นอีกรอบว่าท้องรถจะกระทบพื้นหรือเปล่า
สะพานนี้ข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างคลองสุนัขหอนที่อยู่ทางด้านขวาของถนน
คือคลองบางกระลาบและคลองบางใหม่
(ดูชื่อคลองจาก
google
map) ที่อยู่ทางด้านซ้ายของทางรถไฟ
ถนนเลียบทางรถไฟนี้
ถ้าไม่นับส่วนที่เป็นสะพานข้ามคลองแล้ว
ดูเหมือนว่าเดิมจะเป็นถนนลาดยางสองช่องจราจร
แต่พอมีการปรับปรุงทางรถไฟ
(ดูแล้วน่าจะมีการยกสูงขึ้นด้วย)
ทำให้ถนนบางช่วงนั้นเหลือเพียงช่องจราจรเดียว
รูปที่
๘ ลงสะพานมาหน่อยก็จะผ่านชุมชนสองข้างทางรถไฟ
จะเห็นว่าทางรถไฟมีการวางรางใหม่
มีการสร้างกำแพงข้างทางเพื่อยกแนวรางให้สูงขึ้น
รูปที่
๙ ทางด้านซ้ายของทางรถไฟจะเป็นคลองบางใหม่
และมีถนนแยกซอยออกไปเป็นช่วง
ๆ แต่มีเฉพาะบางเส้นที่รถยนต์สามารถข้ามไปได้
ส่วนใหญ่ดูแล้วถ้าไม่ใช่ทางคนเดินก็ไปได้แค่รถมอเตอร์ไซค์
ดูจากแผนที่แล้วคลองบางใหม่จะขนานทางรถไฟไปเป็นระยะหนึ่ง
ก่อนที่จะหักเลี้ยวลงใต้ไหลออกสู่ทะเล
วิดิโอกล้องหน้ารถนั้นตั้งให้มันเริ่มต้นไฟล์ใหม่ทุก
๒๐ ที บังเอิญว่าพอขับรถเลียบทางรถไฟได้พักหนึ่ง
ไฟล์ก่อนหน้ามันก็ครบ ๒๐
นาทีแล้วก็ขึ้นไฟล์ใหม่
ภาพถนนช่วงนี้ก็เลยมีแยกอยู่สองไฟล์
(แต่ผมใช้โปรแกรมตัดมันให้เหลือเฉพาะช่วงที่ขับเลียบทางรถไฟ)
รูปที่
๑๐ ก่อนถึงสถานีบ้านกาหลงก็จะมีสะพานข้ามคลองอีกสะพาน
สะพานนี้ทางสีสวยหน่อย
(สะพาน
๒ ในรูปที่ ๒)
เป็นสะพานข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างคลองสุนัขหอน
(ที่อยู่ทางด้านซ้ายของถนน)
กับคลองมรณะ
(ใน
google
map มันบอกชื่อคลองไว้อย่างนี้)
ที่อยู่ทางด้านซ้ายของทางรถไฟ
โดยที่คลองนี้จะเลียบทางรถไฟจากทางตะวันตกไปตะวันออกเป็นระยะหนึ่ง
ก่อนที่จะหักเลี้ยวออกสู่ทะเล
รูปที่
๑๑ สุดเส้นทางแล้ว
ถนนจะพาข้ามทางรถไฟ
ทางรถไฟนี้ไม่มีเครื่องกั้นและไม่มีสัญญาณใด
ๆ ก่อนข้ามก็ต้องหยุดรถดูรถไฟให้ดี
ถ้าเลี้ยวขวาตรงรถแท๊กซี่จอดก่อนข้ามทาง
ก็จะเป็นสถานนีรถไฟบ้านกาหลง
ถ้าข้ามทางรถไฟไปแล้วเลี้ยวซ้ายก็จะไปสู่ทะเลบ้านกาหลง
ถ้าข้ามทางแล้วเลี้ยวขวาก็จะวิ่งผ่านฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟ
รูปที่
๑๒ ข้ามทางรถไฟมาแล้วเลี้ยวขวา
จะเห็นป้ายสถานีรถไฟบ้านกาหลงอยู่ทางด้านซ้าย
ถ้าขับต่อไปถนนจะพาข้ามทางรถไฟกลับไปทางด้านขวาอีก
ซึ่งเป็นถนนพาออกไปถนนพระราม
๒ จากจุดนี้ถ้าตรงไปถนนพระราม
๒ จะใกล้กว่าการย้อนกลับทางบางโทรัด
รูปที่
๑๓ ฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟบ้านกาหลงยังมีการทำนาเกลือกันอยู่
รูปนี้ถ่ายจากรถไฟตอนนั่งรถไฟผ่านเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเริ่มมีคนไปเที่ยวสะพานปลาที่หมู่บ้านนี้ที่มีการทาสีจนมีคนเรียกสะพานสายรุ้ง
เพื่อหาสถานที่ถ่ายรูปแห่งใหม่
เอาไว้ฉบับหน้าจะเล่าให้ฟังว่าที่ทะเลที่หมู่บ้านกาหลงเป็นอย่างไร
ฉบับนี้ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องด้วยรูปก็แล้วกัน
รูปที่
๑๔ แผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่
๑,๒๐๒
พ.ศ.
๒๕๓๐
เรื่องกำหนดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ
"
... พูดจบ
ร่างหนึ่งก็ลุกขึ้น
ฉุดมืออีกร่างหนึ่งก้าวพรวดเดียวลงไปยืนที่พื้นดินเลย
แล้วร่างที่เท่าคนธรรมดาก็ยืดสูงขึ้นจนเหนือต้นไม้ในวัด
เขาก้าวขา ๒ ครั้งก็เห็นโย่ง
ๆ ไปในป่าแสมแล้วก็หายลับตาไป
ผมลุกขึ้นดูพรรคพวกว่าจะมีใครเห็นเหตุการณ์บ้าง
ก็เห็นเขากรนลั่นกันเป็นอย่างดีก็เลยนอนต่อจนรุ่งเช้า
...
"
วิดิโอตอนที่ ๑
วิดิโอตอนที่ ๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น