"
... ส่วนผมกับปุ๊ยไปทางรถไฟวงเวียนใหญ่
รถไฟสายนี้เร็วกว่าแต่ก่อนมาก
แต่ผู้โดยสารชอบเอาหนังสือพิมพ์บ้าง
กระเป๋าบ้างวางไว้ใกล้ ๆ
ที่ที่ตนนั่ง เป็นทีว่ามีผู้จองที่นั่งแล้ว
แต่ความจริงไม่อยากให้ใครมานั่งเบียด
พอชึ้นรถก็ต้องยืน
เป็นเช่นนี้มานานแล้ว
เมื่อไรการรถไฟจะขายตั๋วให้มีที่นั่งเหมือนที่หัวลำโพงเสียทีก็ไม่รู้
จะได้ไม่ต้องยืนแกร่วไปแกร่วมา
อีกประการหนึ่ง
เรือสำหรับข้ามฟากเมื่อลงจากรถไฟก็ต้องเดินบ้างวิ่งบ้างเป็นการใหญ่
หนุ่ม ๆ สาว ๆ ก็ไม่เป็นไร
อาวุโสหน่อยก็ต้องมายืนหอบอยู่ในเรือเป็นเวลานาน
น่าเวทนาผู้ที่ใช้บริการรถไฟสายแม่กลองเป็นยิ่งนัก
พอคนกำลังขึ้นรถไฟอีกต่อนึง
ยังไม่ทันขึ้นนั่งเรียบร้อย
ระฆังก็ดังแล้วประกาศว่า
อีก ๓ นาทีรถจะออกละ พอสิ้นเสียงพูด
รถไฟก็เปิดหวูดเตรียมตัวออกจากสถานีบ้านแหลมทันที
ผู้อาวุโสหลังจากหอบอยู่ในเรือข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้วก็เดินบ้างวิ่งบ้างมาหอบบนรถไฟต่ออีกนาน"
จากเรื่อง
"ผีที่บางโทรัด"
โดย
สง่า อารัมภีร ในหนังสือ
"ผีกระสือที่บางกระสอ"
สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
๒๕๓๙
"บางกระเจ้า"
ในที่นี้เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
ไม่ใช่ "บางกระเจ้า"
แถวพระประแดงที่ตอนนี้มีคนนิยมไปปั่นจักรยานเล่นกัน
นับจากเวลาที่
สง่า อารัมภีร
เล่าถึงเหตุการณ์การเดินทางโดยรถไฟไปยังแม่กลองมาถึงปัจจุบัน
ก็เรียกว่าหลายสิบปีแล้ว
(คงจะมากกว่าอายุผมอีก)
ทั้งตัวรถไฟและตารางเวลารถไฟก็เปลี่ยนไปจากเดิม
คือมีเวลาเดินจากสถานีมหาชัยไปข้ามเรือเพื่อเดินต่อไปยังสถานีบ้านแหลมโดยไม่ต้องรีบร้อนเหมือนก่อน
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเห็นไม่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ
พฤติกรรมของผู้โดยสารรถไฟบางส่วน
รูปที่
๑ จากเรือข้ามฟากมองไปยังท่าเรือ
"ท่าฉลอม"
ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
เรือข้ามฟากนี้ให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นเรือข้ามไปได้ด้วย
เมื่อวันเข้าพรรษาที่ผ่านมา
(เสาร์
๒๘ กรกฎาคม)
ถือโอกาสพาครอบครัวไปกินข้าวเที่ยงที่มหาชัย
โดยจับรถไฟเที่ยว ๑๐.๔๐
น.
จากสถานีวงเวียนใหญ่
เดินทางไปถึงมหาชัยก็ใช้เวลาเพียงแค่ชั่วโมงเดียว
เดินดูตลาดมหาชัยพักนึงก็ไปนั่งกินข้าวเที่ยงกันที่ร้านอาหารตรงท่าเรือข้ามฟากไปท่าฉลอก
กินข้าวเที่ยงเสร็จก็พากันข้ามเรือเพื่อไปขึ้นรถไฟเที่ยว
๑๓.๓๐
น.
จากสถานีบ้านแหลมไปยังแม่กลอง
รูปที่
๒
จากท่าเรือท่าฉลอมต้องเดินเลี้ยวซ้ายไปยังสถานีรถไฟบ้านแหลมที่อยู่เลยองค์พระทางด้านขวาของรูปที่ตั้งอยู่ในวัดแหลมสุวรรณาราม
ทางรถไฟจากบ้านแหลมไปยังแม่กลองนี้
หลังจากปิดซ่อมทั้งเส้นทางไปเมื่อปี
๒๕๕๘ ก็เรียกว่านั่งสบายกว่าช่วงจากวงเวียนใหญ่มามหาชัยมาก
สิ่งที่ยังเห็นหลงเหลืออยู่ข้างทางจากการซ่อมแซมก็คือเศษไม้หมอนเก่าและถนนที่ทำขึ้นใหม่ในบางช่วงที่คิดว่าคงทำขึ้นเพื่อการขนเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์
และตัวระดับรางที่วางใหม่ก็ดูเหมือนจะสูงกว่าระดับเดิมอยู่มาก
เรียกว่าของเดิมนั้นจากระดับชานชาลาก็สามารถเดินขึ้นบันไดตู้รถไฟได้
แต่พอวางรางใหม่แล้วก็ต้องมีการสร้างขั้นบันไดเพิ่มขึ้นอีก
๒ ขั้นที่ตัวชานชาลาเพื่อให้เดินขึ้นบันได้ของตู้รถไฟได้
ตอนที่นั่งมาจากวงเวียนใหญ่นั้นดูเหมือนจะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวสักเท่าไรนัก
ส่วนใหญ่ก็เป็นคนท้องถิ่นที่คงใช้รถไฟขบวนนี้เดินทางเป็นประจำ
พอมาขึ้นรถไฟที่บ้านแหลมก็พบว่ามีนักท่องเที่ยวมากอยู่เหมือนกัน
(แต่ก็ไม่ใช่คนส่วนใหญ่บนรถ)
ขบวนที่ผมขึ้นนั้นคนไม่เยอะเท่าไร
ยังหาที่นั่งกันได้ตามสบาย
อันที่จริงถ้าจะเรียก
"สถานีรถไฟ"
มันก็ต้องมีตัวอาคารที่ทำการ
ที่มีห้องขายตั๋ว
แต่บางจุดที่มีคนขึ้นลงมากบางช่วงเวลา
รถไฟก็จะหยุดรับ-ส่งเหมือนกัน
เรียกว่าเป็น "ป้ายหยุดรถ"
คนขึ้นรถไฟที่นี่ก็สามารถซื้อตั๋วโดยสารได้จากพนักงานบนรถ
แต่สำหรับในที่นี้
ผมขอเรียกทุกป้ายที่รถไฟหยุดรับ-ส่งคนว่า
"สถานี"
ก็แล้วกัน
Memoir
ฉบับนี้ก็เช่นเดิม
คงไม่มีเรื่องราวมีสาระอะไร
แค่เป็นการบันทึกการเดินทางของตัวเองกันลืม
และยังเป็นการเล่าเรื่องราวด้วยรูปเช่นเดิม
โดยปิดท้ายด้วยคลิปวิดิโอสั้น
ๆ (ถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือ)
ช่วงก่อนรถไฟจะเข้าจอดที่สถานีบางกระเจ้า
รูปที่
๓ อาคารสีสวยสดที่เห็นคือห้องน้ำ
อาคารถัดไปคืออาคารขายตั้วของสถานีบ้านแหลม
ตัวอาคารอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน
แตทางเข้าสถานีอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง
เรียกว่าพอมาถึงสถานีก็ต้องเดินจากหัวขบวนมายังท้ายขบวนเพื่อมาซื้อตั๋วรถไฟก่อนขึ้นรถ
แต่รถไฟขบวนนี้มีแค่ ๔ ตู้
รูปที่
๔ สถานีนี้ชานชาลามีฝั่งเดียว
บันไดไม้ที่เห็นคือสำหรับเดินขึ้นรถไฟ
ภาพนี้มองไปยังหัวขบวนที่มุ่งไปยังแม่กลอง
รูปที่
๕ จากบ้านแหลมก็มาจอดที่สถานีแรกคือท่าฉลอม
รูปนี้ถ่ายจากทางด้านขวาของตัวรถมองไปทางหัวขบวน
รูปที่
๖ ป้ายชื่อสถานีท่าฉลอมอยู่ทางด้านซ้ายของขบวนรถ
ตรงนี้เป็นลานกว้างที่เป็นตลาดด้วย
แต่ท่าทางจะเป็นตลาดตอนเย็นมากกว่าตอนกลางวัน
รูปที่
๗ ถ้ดจากท่าฉลอมก็เป็นสถานี
"บ้านชีผ้าขาว"
จะเรียกว่าเป็นจุดก่อนออกจากชุมชมท่าฉลอมก็ได้
เพราะพอพ้นสถานีนี้ไปแล้วทิวทัศน์สองข้างทางก็จะเปลี่ยนไป
รูปนี้มองจากทางด้านขวาของรถไปยังหัวขบวน
ฝั่งด้านนี้ไม่มีชานชาลาให้ขึ้น-ลง
ใครจะขึ้นลงรถฝั่งนี้ก็คงต้องมีการปีนป่ายกันหน่อย
รูปที่
๘ ถัดจากสถานีบ้านชีผ้าขาวก็เป็นสถานี
"คลองนกเล็ก"
ผมลองค้นที่ตั้งสถานีใน
google
map ก็ไม่เห็นมันปรากฏ
ผมเองนั่งอยู่ที่ตู้ท้ายขบวน
รูปนี้เป็นรูปที่ถ่ายจากทางด้านขวาไปทางท้ายขบวน
รูปที่
๙ พอมองไปทางหัวขบวนศาลาสำหรับพักรอรถไฟที่สถานี
"คลองนกเล็ก"
สภาพทางเดินไปยังศาลาและสภาพแวดล้อมรอบ
ๆ ศาลารอพักรถก็เป็นอย่างที่เห็น
รูปที่
๑๐ ถัดจากคลองนกเล็กก็คือสถานี
"บางสีคต"
อาคารพักรอรถที่สถานีนี้ดูเล็กกว่าของบางนกเล็กแต่ว่าก็ตั้งอยู่ริมถนน
เวลารถไฟจอดทีก็จอดขวางถนนแบบนี้
รถที่ผ่านมาก็ต้องรอให้รถไฟรับส่งคนให้เรียบร้อยก่อนและเคลื่อนขบวนออกไป
เครื่องกั้นจึงจะเปิดให้รถวิ่งผ่านไปได้
รูปที่
๑๑ พยายามจับภาพศาลานั่งรอรถไฟที่สถานีบางสีคตขณะรถไฟวิ่งผ่าน
ก็จับมาได้เพียงเท่านี้
ป้ายบอกว่าสถานีถัดไปคือ
"บางกระเจ้า"
รูปที่
๑๒ ถึงสถานี "บางกระเจ้า"
แล้ว
รูปนี้มองจากด้านขวาไปยังหัวขบวน
บริเวณรอบ ๆ สถานีนี้ดูจะโล่งหน่อย
ไม่ค่อยรถเหมือนบางสถานี
ป้ายชื่อสถานที่เห็นดูเหมือนจะเป็นป้ายไวนิล
ไม่ใช่ป้ายแบบคอนกรีตที่เห็นทั่วไปตามเส้นทางรถไฟหลัก
อาคารที่อยู่หลังป้ายสถานีคืออาคารพักรอรถไฟ
รูปที่
๑๓ ตัวอาคารพักรอรถไฟ
ถ่ายขณะรถไฟกำลังเคลื่อนตัวผ่าน
คลิปวิดิโอขณะรถไฟเคลื่อนเข้าสถานีบางกระเจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น