"
... สมัยโน้นนะครับ
รถไฟยังไม่แล่นเร็วเหมือนสมัยนี้หรอก
หากไปรถเย็น ค่ำยุงเป็นฝูง
ๆ บินตามรถไฟ เพื่อกัดคนโดยสารได้
ผมเคยเห็นคนโดยสารบางคนนั่งรถธรรมดาเอาผ้าขาวม้าคลุมโปงกันเป็นแถว
ๆ ..."
จากเรื่อง
"ผีเข้าที่แม่กลอง"
โดย
สง่า อารัมภีร ในหนังสือ
"ผีกระสือที่บางกระสอ"
สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
๒๕๓๙
ระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีนมีคลองเชื่อมต่อหลักอยู่ด้วยกันสองคลอง
คลองแรกอยู่ทางด้านเหนือคือ
"คลองดำเนินสะดวก"
คลองนี้จะเป็นคลองขุดตัดตรง
ส่วนอีกคลองหนึ่งอยู่ทางด้านใต้คือ
"คลองหมาหอน"
หรือเรียกให้สุภาพหน่อยก็
"คลองสุนัขหอน"
ซึ่งดูลักษณะการคดเคี้ยวแล้วน่าจะคลองธรรมชาติ
คลองแนวตะวันออก-ตกนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้น้ำเค็มไหลย้อนลึกเข้าไปในแผ่นดินได้ง่าย
โดยเฉพาะเวลาหน้าแล้งและน้ำขึ้นสูง
ทำให้บริเวณรอบคลองดำเนินสะดวกนั้นเหมาะกับการทำสวน
(ที่ใช้น้ำจืด)
ส่วนทางด้านใต้ของคลองสุนัขหอนที่เป็นป่าชายเลนก็ทำประมงชายฝั่งไม่ก็นาเกลือไป
รูปที่
๑ แผนที่สมุทรสาคร
จัดทำโดยกองทัพอังกฤษในเดือนกันยายนปีค.ศ.
๑๙๔๕
(พ.ศ.
๒๔๘๘)
หรือหลังสงครามโลกครั้งที่
๒ เพิ่งสิ้นสุด (ภาพจาก
National
Library of Australia http://www.nla.gov.au)
ภาพนี้ตัดมาเฉพาะส่วนเส้นทางรถไฟจากบ้านแหลมไปจนก่อนถึงบางโทรัด
แผนที่กองทัพอังกฤษที่จัดทำในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ (รูปที่
๑)
ก็แสดงให้เห็นว่าชุมชนต่าง
ๆ
จะอยู่ระหว่างบริเวณริมคลองสุนัขหอนกับทางรถไฟสายแม่กลองที่อยู่ทางด้านทิศใต้
ทางด้านทิศใต้ของทางรถไฟไปจนจรดชายทะเลนั้นมีการบุกเบิกพื้นที่กันบ้าง
มีการทำนาเกลือกันบ้าง
แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นป่าชายเลนอยู่
และจะว่าไปยุงที่ป่าชายเลนนี่ก็ใช่เล่น
ผมเคยเจอตอนไปเที่ยวป่าชายเลนชลบุรี
ขนาดใส่กางเกงขายาวมันยังกัดทะลุกางเกงได้สบาย
รูปที่
๒ ถ่ายตอนขบวนรถไฟกำลังเคลื่อนเข้าสถานีบ้านบ่อ
ถ่ายจากทางด้านขวาของรถมองไปทางหัวขบวน
ป้ายนี้เป็นป้ายแบบเก่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่
ภาพไม่ค่อยชัด
แต่ถ้าอยากดูภาพที่ชัดก็คงต้องไปดูในคลิปที่แนบมาด้วย
ที่เป็นขณะที่รถไฟกำลังเคลื่อนเข้าสถานีบ้านบ่อ
รูปที่
๔ ถัดจากสถานีบ้านบ่อคือบางโทรัดและบ้านกาหลง
แต่เนื่องจากเคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสองสถานที่นี้แยกเอาไว้ต่างหากแล้ว
ก็เลยขอข้ามไป
ถัดจากบ้านกาหลงคือสถานีบ้านนาขวาง
รูปนี้ถ่ายเอาไว้ตอนต้นเดือนกรกฎาคมตอนไปสำรวจเส้นทางครั้งแรก
ถ่ายจากด้านซ้ายของตัวรถขณะรถกำลังเคลื่อนเข้าสถานีที่อยู่ใต้สะพานข้ามทางรถไฟของถนนพระราม
๒
รูปที่
๕ ป้ายบอกสถานีบ้านนาขวาง
ช่วงจากบ้านแหลมมาบ้านนาขวาง
ทางรถไฟจะอยู่ทางทิศใต้ของถนนพระราม
๒ เรียกว่าอยู่ทางด้านใต้ของคลองสุนัขหอนกับป่าชายเลน
(ที่เคยมี)
ก็ได้
พอพ้นสถานีนี้ถนนพระราม ๒
จะอยู่ทางทิศใต้ของทางรถไฟ
รูปที่
๖ รถกำลังเคลื่อนออกจากสถานีบ้านนาขวาง
รูปนี้ถ่ายจากทางด้านซ้าย
มองย้อนกลับไปทางท้ายขบวน
ที่เห็นเป็นร่มเงาก็เพราะตัวสถานีนี้อยู่ข้างใต้สะพานข้ามทางรถไฟของถนนพระราม
๒ ใน Memoir
ฉบับนี้มีรูปถ่ายจากสองวันด้วยกัน
คือวันพฤหัสบดีที่ ๕
และวันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม
แต่เอามารวมเข้าด้วยกันเพื่อให้ครบทุกสถานีตามเส้นทาง
รูปที่
๗ ถัดจากบ้านนาขวางก็เป็นบ้านนาโคก
อาคารหลังคาสีฟ้าที่เห็นมีคนนอนอยู่คืออาคารพักรอรถไฟ
บางทีชีวิตสโลว์ไลฟ์ที่คนเมืองใหญ่มองหากัน
ก็ไม่ต้องไปหาที่ไกล ๆ
บรรยากาศชุมชนเล็ก ๆ ณ
สถานีรถไฟเล็ก ๆ ที่นาน ๆ
ทีมีรถไฟวิ่งผ่านสักขบวนมันก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
รูปที่
๘ รถไฟหยุดที่สถานีเขตเมือง
สถานีนี้เป็นจุดรอยต่อระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับสมุทรสงคราม
รูปนี้ถ่ายจากด้านขวามองไปทางหัวขบวนรถ ส่วนคลิปวิดิโอขณะรถไฟเคลื่อนที่เข้าสถานีเขตเมืองเอาไว้รอดูตอนหน้าก็แล้วกัน
อันที่จริงที่เห็นต้นไม้เยอะก็เฉพาะข้างทางรถไฟนะ
หลังพุ่มไม้นี้ออกไปเป็นแต่ที่โล่ง
ๆ เลยสถานีนี้ไปหน่อยก็เป็นถนน
รูปที่
๑๐ อาคารพักรอรถไฟของสถานีเขตเมือง
รูปนี้ถ่ายเอาไว้ตอนต้นเดือน
(พฤหัสบดีที่
๕ กรกฎาคม)
จะเห็นว่าด้านหลังศาลาเป็นแต่ที่โล่ง
ๆ ที่ถูกจับจองไปนานแล้ว
แนวพุ่มไม้มีเฉพาะบริเวณริมทางรถไฟ
รูปที่
๑๑ ข้างทางยังมีการทำนาเกลืออยู่
แต่ฤดูกาลนี้คงไม่เหมาะเพราะฝนตก
ก็เลยถ่ายรูปโรงเก็บเกลือที่เห็นจากหน้าต่างรถไฟขณะวิ่งผ่านมาฝากแทน
รูปนี้ถ่ายเมื่อรถเคลื่อนออกจากสถานีเขตเมืองได้ไม่นาน
ที่เห็นเป็นแอ่งน้ำเป็นเพียงแค่น้ำตื้น
ๆ ท่วมพื้นนาเกลือ คูน้ำเล็ก
ๆ ที่เห็นด้านหน้านั้นน้ำยังลึกกว่าอีก
รูปที่
๑๒ แผนที่ทหาร L509
ใช้ข้อมูลปีค.ศ.
๑๙๕๘
หรือพ.ศ.
๒๕๐๑
ในการประมวลผล
จะเห็นว่าถ้าจะเดินทางด้วยรถยนต์มายังสมุทรสาครนั้น
ต้องใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม
(เส้นสีแดงทางด้านบน)
จากนั้นจึงเลี้ยวลงใต้มายังกระทุ่มแบนก่อนถึงมหาชัย
การเดินทางด้วยรถไฟจากคลองสานหรือวงเวียนใหญ่จึงเป็นเส้นทางที่สั้นกว่าและสะดวกกว่า
ฉบับนี้ก็เป็นตอนต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว
ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องด้วยรูปเพื่อบันทึกความทรงจำของผมเองเพื่อกันลืมก็แล้วกัน
ว่าวันหนึ่งเคยพาครอบครัวเดินทางไปเที่ยวที่ไหนอย่างไรบ้าง
และเป็นการตามรอยเส้นทางการเดินทางที่ศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่งได้เคยเล่าสิ่งที่ท่านได้พบเห็นเมื่อกว่า
๖๐ ปีที่แล้ว
คลิปวิดิโอขณะรถไฟเคลื่อนเข้าสถานีบ้านบ่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น