จากอ่าวไทยมาจนถึงทะเลน้อยที่
อ.ควนขนุน
จะว่าไปแล้วมันก็มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อถึงกัน
เรียกว่าจากทะเลน้อยก็มีคลองนางเรียมที่เชื่อมต่อออกสู่ทะเลสาบลำปำ
และก็มีทางน้ำเชื่อมต่อออกไปยังทะเลสาบสงขลาทางด้าน
จ.สงขลา
และออกไปยังอ่าวไทย
ในส่วนของทะเลสาบลำปำนั้นด้านตะวันตกจะเป็น
จ.พัทลุง
(อ.เมือง
อ.เขาชัยสน
อ.ปากพะยูน)
ส่วนทางด้านตะวันออกที่ติดอ่าวไทยนั้นก็เป็น
จ.สงขลา
(อ.ระโนด
อ.กระแสสินธุ์
อ.สะทิงพระ)
ในทะเลลำปำนี้มีเกาะใหญ่
ๆ อยู่สองเกาะคือเกาะหมากและเกาะนางคำ
แต่เกาะที่มีความสำคัญและมีเรื่องราวกันเป็นประจำเห็นจะได้แก่
เกาะสี่เกาะห้า (มันไม่มีหนึ่ง
สอง สาม นะ)
ที่ไม่มีใครอาศัยอยู่
เว้นแต่คนเฝ้าเกาะ
เพราะเป็นเกาะที่นกนางแอ่นมาทำรัง
เฉพาะผู้ที่ได้รับสัมปทานจึงจะเข้าไปเก็บรักนกได้
ผมเองไม่ได้ลงไปเยี่ยมพัทลุงมาหลายปี
ปีนี้พอจะมีโอกาสที่สมาชิกครอบครัวมีวันหยุดตรงกันช่วงหลังกลางเดือนพฤษภาคม
ก็เลยถือโอกาสไปเยี่ยมญาติที่นั่นเสียหน่อย
(แถมเลยไปแวะดูที่สวนยางที่คุณแม่มอบให้เป็นมรดก
แต่ฝากให้คุณน้าช่วยดูแลอยู่)
วันจันทร์ที่
๒๐ พฤษภาคม
ร้านอาหารที่ครอบครัวคุณน้าอีกท่านหนึ่งทำกิจการอยู่นั้นปิดร้าน
ท่านก็เลยใจดีพาเที่ยวชมเมือง
ท่านถามว่าอยากจะไปไหน
ผมก็บอกว่าอยากไปเที่ยวชมวิถีชีวิตทั่วไปของเมืองพัทลุง
ไม่เอาแบบที่ที่คนเขาชอบแห่ไปเช็คอินถ่ายรูปอวดกัน
และอยากไปดูสถานที่เก่า ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของจังหวัด
ก็เลยเป็นการเดินทางบนเส้นทางเลียบทะเลสาบสงขลา
(หรือที่คนพัทลุงเขาเรียกทะเลสาบลำปำ)
ช่วง
อ.เขาชัยสน
ตามเส้นทางจากพัทลุงลงไปหาดใหญ่
ตัวอำเภอเขาชัยสนจะแยกออกไปทางด้านซ้าย
เป็นอำเภอที่เส้นทางรถไฟสายใต้ทอดผ่าน
แต่ด้วยการที่มันไม่ได้อยู่ริมถนนหลัก
ก็เลยทำให้ไม่ค่อยมีคนจากที่ไกล
ๆ รู้จักกันเท่าใดนัก
ในช่วงที่ประเทศกำลังเผชิญภัยคุกคามจากพรรคคอมมิวนิสต์
อำเภอนี้ก็มีชื่อเสียงในทางไม่ดี
โดยเฉพาะเรื่อง "ถีบลงเขา
เผาลงถังแดง"
ผมเดินทางออกจากตัวจังหวัดพัทลุงช่วงสาย
แวะซื้อขนมติดรถนิดหน่อยในตัวจังหวัด
และก็เดินทางไปเรื่อย ๆ
เลียบลงใต้ตามเส้นทางที่อยู่ระหว่างถนนเพชรเกษมและทะเลสาบลำปำ
จุดแรกที่แวะพักคือหาดพัดทอง(รูปที่
๓)
บริเวณนี้เหมือนกับเป็นป่าชายเลนเก่า
มีการบุกเบิกเพื่อข้าวและปาล์มน้ำมัน
(แต่ดูจากสภาพดินแล้วคงได้ผลผลิตที่ไม่ค่อยดีเท่าใดนัก)
หาดตรงนี้ไม่เหมือนหาดทรายริมทะเลทั่วไป
คือมันมีต้นไม้ขึ้นไปจนถึงริมหาด
น้ำที่ริมหาดจะใส
มองเห็นปลาและสาหร่ายที่ขึ้นอยู่
เช้าวันที่ไปถึงนั้นน้ำนิ่งมาก
(เหมือนในบึงมากกว่าทะเล)
สามารถลงมาเล่นน้ำหรือพายเรือเล่นได้
(มีบริการให้เช่า)
มีร้านอาหารอยู่หลายร้าน
(และกำลังเปิดมากขึ้น)
เรียกว่าเหมาะสำหรับการมานั่งกินอาหารเงียบ
ๆ ตอนเที่ยงหรือตอนเย็น
หรือถ้าอยากจะถ่ายรูปดวงอาทิตย์ขึ้นก็ต้องมาตอนเช้า
ถ้าดูจากแผนที่ใน
google
map แล้ว
ถนนเลียบหาดพัดทองจะเป็นทางตัน
แต่สอบถามคนท้องถิ่นแล้วเขาบอกว่าสุดทางลาดยางจะมีถนนลูกรังเล็ก
ๆ ที่รถยนต์วิ่งผ่านได้
ถนนเส้นนี้จะเลียบคลองท่ามะเดื่อออกไปวัดเขียนบางแก้วได้
ก็เลยได้ใช้ถนนเส้นนี้เป็นทางลัดตัดออกไปวัดเขียนบางแล้ว
และก็ได้เห็นวิถีชีวิตการทำมาหากินของคนแถบนี้
ที่เป็นเรื่องปรกติของเขา
แต่ตอนนี้คนต่างถิ่นต่างตื่นเต้นกันใหญ่ที่จะมาเห็น
(ผลจากการรีวิวบนอินเทอร์เน็ต)
นั่นก็คือการจับปลาด้วยการยกยอ
(รูปที่
๔ และ ๕)
ยอนี้ผมเองก็เห็นตั้งแต่เด็ก
ๆ แล้วตอนนั่งรถไฟไปใต้
การทำงานของยอจับปลาแบบนี้ก็อาศัยหลักของคาน
คือต้องมีการถ่วงน้ำหนักไว้ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง
ทำให้ผู้ใหญ่เพียงคนเดียวก็สามารถยกยอตัวใหญ่ได้
คุณแม่เคยเล่าว่าเวลาจะจับปลาก็หย่อนยอลงไปในน้ำ
โยนอาหารปลาที่ใช้เป็นเหยื่อลงไปกลางยอ
พอฝูงปลาเข้ามากินอาหาร
ก็ทำการยกยอให้พ้นจากน้ำ
สภาพคลองหลายคลองที่นี่ที่มียอขนาดใหญ่เรียงรายเป็นแถว
แสดงให้เห็นว่าแหล่งน้ำแถวนี้คงมีปลาชุมน่าดูเหมือนกัน
รูปที่
๓ บรรยากาศช่วงสายที่ริมทะเลสาบสงขลาที่หาดพัดทอง
เหมาะกับการดูดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้า
และมานั่งกินข้าวยามเย็น
ภาพถ่ายในชุดนี้ทั้งหมดถ่ายเอาไว้เมื่อวันจันทร์ที่
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
รูปที่
๔ ถนนเลียบคลองท่ามะเดื่อ/คลองบางแก้ว
จากเส้นเลียบหาดพัดทองไปยังวัดเขียนบางแก้ว
ยังมีการยกยอจับปลาที่เป็นวิถีชาวบ้านให้เห็นอยู่
ถนนเส้นนี้ไม่ปรากฏใน google
map แต่ถามคนท้องถิ่นเขาบอกว่ามีทางลูกรังที่รถขับไปได้
รูปที่
๖ พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว
ณ วัดเขียนบางแก้ว เขาชัยสน
พัทลุง
วัดเขียนบางแก้ว
(รูปที่
๖ และ ๗)
เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของ
จ.พัทลุง
เป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุเจดีย์และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่มีการนำน้ำไปใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกที่ผ่านมา
และยังมีอาคารเก็บรวบรวมวัตถุโบราณที่มีผู้มาบริจาคให้วัด
แต่วันที่ผมไปนั้นอาคารนี้ปิด
ก็เลยไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชม
เลยได้แต่นมัสการพระมหาธาตุเจดีย์
อันที่จริงบริเวณด้านข้างบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ยังมีสิ่งที่ดูเหมือนซากเหล็กมาติดตั้งเอาไว้
แต่ไม่มีป้ายบอกว่าคืออะไร
ซึ่งผมก็ได้ค้นคว้าและเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งนั้นไปแล้วใน
Memoir
ฉบับเมื่อวันอังคารที่
๒๑ พฤษภาคมที่ผ่านมาในเรื่อง
"Marshall, Sons and Co. Portable Steam Engine No. 34746"
รูปที่
๗ อีกมุมหนึ่งของพระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว
ณ วัดเขียนบางแก้ว เขาชัยสน
พัทลุง
จุดมุ่งหมายถัดไปต่อจากวัดเขียนบางแก้วคือแวะพักกินข้าวเที่ยง
ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งแถวบ้านแหลมจองถนน
แต่บังเอิญขับรถเลยไปก็เลยได้ไปแวะแถวบ้านปากพลเพื่อถามทางและถือโอกาสถ่ายรูปเล่นด้วยเลย
จากจุดจอดรถ (รูปที่
๘ และ ๙)
บริเวณใกล้ปากคลอง
"หมาขบค่าง"
จะมีสะพานข้ามไปยังอีกฟากหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของศาลาพ่อท่านชู
อดีตเจ้าอาวาสวัดปากพล และ
"ต้นมะขาม"
ตอนนั่งรถผ่านก็เห็นป้ายบอกข้างทางเหมือนกันว่าจะไปดูต้นมะขามให้ขับรถไปทางไหน
และที่แวะพักก็เพื่อจะถ่ายรูปทิวทัศน์
แต่บังเอิญต้นมะขามต้นนั้นมันอยู่แถว
ๆ นั้นด้วย
ก็เลยแวะเข้าไปดูหน่อยว่ามะขามต้นนี้พิเศษอย่างไรถึงอยากให้ใครต่อใครเข้าไปเยี่ยมชม
(รูปที่
๑๐ -
๑๒)
ก่อนที่จะเลยไปหาข้าวเที่ยงกินต่อ
ไม่รู้ว่าเพราะเป็นตอนเที่ยงที่ร้านเพิ่งจะเปิดหรือเปล่า
ทำให้ไม่ค่อยมีคนมากินข้าวเท่าไรนักแม้ว่าจะเป็นวันหยุดชดเชย
จะว่าไปบรรยากาศแถวนี้ก็เหมาะทั้งการกินข้าวเที่ยงและข้าวเย็น
จากร้านที่เข้าไปกินนั้นสามารถมองเห็นทั้ง
จ.สงขลา
ที่อยู่อีกฟากของทะเลสาบ
เกาะสี่เกาะห้า และเกาะหมาก
ที่อยู่ในพื้นที่ อ.ปากพะยูน
พักผ่อนกินข้าวเที่ยงเสร็จก็บ่ายกว่าแล้วก็ถือโอกาสถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหน่อย
(รูปที่
๑๓)
ก่อนเดินทางย้อนกลับไปตัวจังหวัด
โดยคราวนี้จะกลับทางเส้นทางเพชรเกษม
แต่ไหน ๆ ต้องผ่านตัว อ.เขาชัยสน
แล้วก็เลยแวะที่บ่อน้ำร้อนเพื่อแวะแช่เท้าหน่อย
บ่อน้ำร้อนนี้อยู่ที่เชิงเขาใกล้กับตัวอำเภอ
ถ้าขับรถเข้ามาทางเพชรเกษมก็จะอยู่ถึงก่อนตัวอำเภอเล็กน้อย
อันที่จริงภูเขาลูกนี้มีทั้งบ่อน้ำร้อนและธารน้ำเย็นอยู่ใกล้กัน
ตรงธารน้ำเย็นจะมีถ้ำลอดสามารถนั่งเรือเข้าไปเที่ยวชมได้
(มีบริการเรือนำเที่ยว)
ส่วนตรงบ่อน้ำร้อนนั้นมีทั้งส่วนสำหรับให้นั่งแช่เท้าฟรีและห้องอาบน้ำ
แต่ที่สำคัญก็คือมีลิงด้วย
(ใครถือกระเป๋าอะไรก็ระวังให้ดีก็แล้วกัน)
ที่แปลกก็คือมีป้ายเตือนเอาลิงเอาไว้ด้วยว่าตรงไหนห้ามไปกินอาหาร
(รูปที่
๑๔ และ ๑๕)
จะว่าไปแล้วเขาหลายลูกที่เห็นมันโผล่ขึ้นโดด
ๆ มากลางที่ราบ มันจะมีธารน้ำไหลผ่านใต้ภูเขา
จุดที่มีชื่อเสียงที่สุดของที่นี่เห็นจะได้แก่ถ้ำสุมโน
ถ้านี้ผมเคยไปครั้งแรกตอนที่เขาพบกัน
ตอนนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์เล็ก
ๆ
ต่อมามีการขยายใหญ่ขึ้นด้วยการขุดเอาดินที่อยู่ในถ้ำออกไปจนเหลือแต่ผนังหิน
ก็เลยกลายเป็นถ้ำใหญ่ขึ้น
ตามด้วยการก่อสร้างสิ่งต่าง
ๆ ภายในถ้ำ (เช่นทางเดินภายใน)
รวมทั้งอาคารต่าง
ๆ ภายนอกด้วย
(แสดงว่าวัดนี้น่าจะมีรายได้เยอะอยู่เหมือนกัน)
รูปที่
๘ แวะถ่ายรูปที่บริเวณปากคลอง
"หมาขบค่าง"
(ชื่อตาม
google
map) แต่วันที่ไปนั้นไม่เห็นทั้งหมาและทั้งค่าง
รูปที่
๙ ประวัติหมู่บ้าน "บ้านปากพล"
รูปที่
๑๐ ต้นมะขามที่วัดปากพล
รูปที่
๑๑ ศาลาพ่อท่านชู
อดีตเจ้าอาวาสวัดปากพล
รูปที่
๑๒ ประวัติของต้นมะขาม ณ
วัดปากพล
รูปที่
๑๓
หลังจากพักรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งที่แหลมจองถนนแล้ว
ก็ขอถ่ายรูปเอาไว้เป็นที่ระลึกหน่อย
จากบริเวณนี้จะมองเห็น
จ.สงขลา
ที่อยู่อีกฟากของทะเลสาบ
เกาะสี่เกาะห้า เกาะหมาก
กะว่าคราวหน้ามีเวลาลงไปเมื่อใดคงจะหาโอกาสเดินทางไปเยือนถิ่นแถวนั้นบ้าง
รูปที่
๑๔ ป้ายเล่าประวัติบ่อน้ำร้อนที่เขาชัยสน
รูปที่
๑๕ สงสัยว่าลิงที่บ่อน้ำร้อนนี่คงฉลาด
เพราะเขียนป้ายเตือนกันได้ด้วย
:)
:) :)
ที่พัทลุงนี้มึความพยายามที่จะโปรโมตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่
ผมได้คุยกับคุณน้าอีกท่านที่เป็นที่รู้จักของคนในท้องถิ่นเกี่ยวกับความพยายามดังกล่าว
ความคิดเห็นส่วนตัวของผม
(ซึ่งก็ตรงกับของคุณน้า)
ก็คือหลายสถานที่นั้นที่อาศัยการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อให้คนไปเช็คอิน
ถ่ายรูปลง facebook
นั้นไม่น่าจะอยู่ได้นาน
จุดขายของพัทลุงน่าจะเป็นการใช้ชีวิตตามปรกติที่เรียบง่ายและไม่รีบร้อนของชาวบ้าน
ที่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในเมืองนั้นแทบจะไม่ได้สัมผัสและโหยหา
การสร้างที่พักแบบโฮมสเตย์ที่เปิดโอกาสให้คนในเมืองได้มีโอกาสไปพักผ่อนแบบสงบ
การได้ไปเดินตลาดนัดของชุมชมที่มีอยู่แล้ว
(แทนการสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ)
น่าจะเป็นสิ่งที่ยั่งยืนกว่า
เพราะจะว่าไปแล้วผมเองเวลาเดินทางไปต่างจังหวัดก็ชอบที่จะแวะตามตลาดนัดชุมชน
เพราะมันมีโอกาสที่จะได้กินอาหารท้องถิ่นหลายอย่างที่คนในพื้นที่บริโภคกัน
แบบไม่ใช่ทำขึ้นเพื่อขายนักท่องเที่ยว
การเดินทางในวันนี้ยังไม่จบ
เพราะช่วงบ่ายยังมีการไปแวะที่อื่นอีก
เอาไว้จะมาเล่าให้ฟัง
(แต่อันที่จริงคือเป็นการบันทึกสิ่งที่ได้ไปเห็นมาเพื่อกันลืม)
สำหรับวันนี้คงถือว่าเป็นดูรูปที่ผมถ่ายมาเล่น
ๆ ก็แล้วกัน สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น