Probe
molecule ตัวหลักที่ใช้ในการจำแนกความเป็นกรดแบบ
Brönsted
หรือ
Lewis
บนพื้นผิวของแข็งเห็นจะได้แก่ไพริดีน
(pyridine
C5H5N) เนื่องจากไพริดีนที่เกาะบนกรดแบบ
Brönsted
หรือ
Lewis
นั้นมีรูปแบบการสั่นที่แตกต่างกัน
(รูปที่
๑)
ที่ดูดกลืนรังสีอินฟราเลข
ณ ตำแหน่งเลขคลื่นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
โดยไพริดีนที่เกาะบนตำแหน่งกรด
Brönsted
จะกลายเป็น
pyridimium
ion ที่ดูดกลืนรังสีอินฟราเลขที่เลขคลื่น
1540
cm-1 และไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความแรงของกรด
ในขณะที่ไพริดีนที่เกาะบนตำแหน่งกรด
Lewis
จะดูดกลืนรังสีอินฟราเลขที่เลขคลื่น
1445
และ
1460
cm-1 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อความแรงเพิ่มขึ้น
รูปที่
๑ รูปแบบการเกาะบนตำแหน่งกรดแบบ
Brönsted
หรือ
Lewis
ของ
(ซ้าย)
ไพริดีนและ
(ขวา)
ไดเมทิลไพริดีน
ในสภาพที่เป็นของเหลวนั้น
NH3
มีฤทธิ์ที่เป็นเบสที่แรงกว่าไพริดีน
แต่ในสภาพที่เป็นไอนั้นไพริดีนมีฤทธิ์ที่เป็นเบสที่แรงกว่า
NH3
ดังนั้นถ้าพิจารณาในแง่ของความแรงแล้ว
ไพริดีนจะเข้าจับกับตำแหน่งกรดที่อ่อนได้ดีกว่า
NH3
แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของขนาดโมเลกุลแล้ว
ไพริดีนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่กว่าจะเข้าถึงตำแหน่งที่เป็นกรดที่อยู่ในรูพรุนขนาดเล็กได้ยากกว่า
และด้วยการที่มันเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
การให้ตัวอย่างดูดซับไพริดีนจึงต้องทำในสภาวะสุญญากาศ
ทั้งนี้เพื่อให้ไพริดีน
ระเหยกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง
(จากประสบการณ์ที่เคยทำมาพบว่ามันยังมีปัจจัยอื่นมากกว่านี้อีกในส่วนของการออกแบบอุปกรณ์และเทคนิคการวิเคราะห์
เพราะถ้าทำไม่ถูกวิธีก็มีสิทธิ์ที่จะไม่สามารถทำให้ตัวอย่างดูดซับไพริดีนได้)
การมีหมู่อัลคิลมาเกาะที่วงแหวนไพริดีนจะทำให้ความเป็นเบสของไพริดีนแรงขึ้น
(ผลจากการที่หมู่อัลคิลเป็นหมู่จ่ายอิเล็กตรอน
จึงช่วยทำให้อะตอม N
จ่ายอิเล็กตรอนได้ดีขึ้นเมื่อมีไอออนบวกมาดึงอิเล็กตรอนจากอะตอม
N)
และจะส่งผลมากถ้าหากเกาะที่ตำแหน่ง
2
และ
6
(คือด้านซ้ายและขวาของอะตอม
N)
แต่การที่มีหมู่อัลคิลมาเกาะก็ทำให้โมเลกุลมีจุดเดือดเพิ่มสูงขึ้น
(ทำให้ยากต่อการทำให้กลายเป็นไอ)
เกิดปัญหาเรื่องการแพร่เข้าไปในรูพรุนขนาดเล็กและการยึดเกาะบนตำแหน่งกรด
Brönsted
แต่ปัญหาสองข้อหลังนี้อาจเป็นข้อดีก็ได้ในกรณีที่สารตั้งต้นของปฏิกิริยาที่เราสนใจนั้นมีขนาดโมเลกุลใหญ่
การใช้ probe
molecule
ที่มีขนาดใหญ่จึงเป็นการวัดตำแหน่งที่เป็นกรดที่สารตั้งต้นนั้นสามารถเข้าถึงได้จริง
และยังสามารถใช้ประโยชน์ในการแยกแยะว่าปฏิกิริยาชอบที่จะเกิดบนตำแหน่งกรด
Brönsted
หรือ
Lewis
เพราะหมู่ขนาดใหญ่ที่มาเกาะที่ตำแหน่ง
2
และ
6
นั้นจะทำให้ยากที่อะตอม
N
จะทำปฏิกิริยากับตำแหน่งกรด
Lewis
รูปที่
๒ การเกาะของ 2,6-dimethylpyridine
บน
γ-Al2O3
ในบทความนี้ระบุว่าการดูดกลืนที่
1618
cm-1 (ตรงลูกศรสีแดงชี้)
เป็นการเกาะบนตำแหน่งกรด
Brönsted
ที่อ่อน
บทความนี้น่าจะเป็นบทความแรกที่นำเสนอเรื่องนี้
จุดเด่นอย่างหนึ่งของการใช้ไพริดีนหรือไพริดีนที่มีหมู่แทนที่
(substituted
pyridines) คือในกรณีของการทำปฏิกิริยากับตำแหน่งกรด
Lewis
ที่มีการสร้างพันธะโควาเลนซ์ระหว่างไอออนบวก
(ที่เป็นกรด
Lewis
ด้วยการรับคู่อิเล็กตรอน)
กับอะตอม
N
ของวงไพริดีนนั้น
(ที่เป็นเบส
Lewis
ด้วยการให้คู่อิเล็กตรอน)
ความแข็งแรงของพันธะนี้ขึ้นอยู่กับความแรงของกรด
Lewis
(ที่จะดึงอิเล็กตรอนออกจากวงแหวนได้มาน้อยเท่าใด)
จึงส่งผลต่อรูปแบบการสั่นของวงแหวนไพริดีนด้วย
ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะดูการดูดกลืนคลื่นแสงที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการยึดเกาะบนตำแหน่งกรด
Lewis
ที่มีความแรงแตกต่างกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคการเพิ่มอุณหภูมิไล่เบส
(ในกรณีของตำแหน่งกรด
Brönsted
นั้น
ตัวโมเลกุลจะรับ H+
แล้วกลายเป็นไอออน
รูปแบบการสั่นจึงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความแรงของตำแหน่งกรด
Brönsted)
แต่ทั้งนี้การแปลผลก็ยังต้องใช้ความระมัดระวังดังตัวอย่างที่ยกมาให้ดูในที่นี้
บทความในรูปที่
๒ นั้นอาจเป็นบทความแรก ๆ
ที่กล่าวถึงการใช้
2,6-dimethylpyridine
เป็น
probe
molecule ในการจำแนกชนิดและความแรงของกรดบนพื้นผิวของแข็ง
ในบทความนี้มีการกล่าวว่าโมเลกุลนี้ไม่สามารถแยกแยะระหว่างกรด
Lewis
ที่มีความแรงแตกต่างกัน
(ดังปรากฏในบทคัดย่อ)
ส่วนในกรณีของกรด
Brönsted
นั้นมีการกล่าวถึงการดูดกลืนที่ตำแหน่งเลขคลื่น
1618
cm-1 ว่าเกิดจาก
2,6-dimethylpyridine
รับโปรตอนจากตำแหน่งกรด
"Brönsted"
ที่อ่อน
รูปที่
๓ อีกบทความหนึ่งที่ตีพิมพ์ในอีก
๑๗ ปีให้หลังที่มีการทดสอบหาว่าการดูดกลืนที่
1618
cm-1 ของ
2,6-dimethylpyridine
เกิดจากการดูดซับที่ตำแหน่งใด
คอลัมน์ด้านซ้ายที่เป็น
Introduction
นั้นตัดมาเฉพาะสองย่อหน้าสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงข้อถกเถียงถึงรูปแบบการยึดเกาะที่ตำแหน่งดังกล่าว
ส่วนคอลัมน์ด้านขวาเป็นส่วนของข้อสรุปโดยตัดมาเฉพาะข้อแรกที่กล่าวว่าดูดกลืนที่
1618
cm-1 เป็นรูปแบบการสั่นแบบ
8a
ของโมเลกุล
2,6-dimethylpyridine
ที่เกาะบนตำแหน่งกรด
Lewis
ส่วนที่ว่ารูปแบบการสั่นแบบ
8a
เป็นอย่างใดก็ดูได้ในรูปที่
๔
ดูเหมือนว่าต้นตอของการดูดกลืนที่ตำแหน่งเลขคลื่น
1618
cm-1 คืออะไรนั้นจะเป็นข้อถกเถียงต่อเนื่องกันมาหลายปี
ตัวอย่างเช่นบทความที่นำมาให้ดูในรูปที่
๓ ที่ตีพิมพ์หลังบทความในรูปที่
๒ ถึง ๑๗ ปีก็ยังพยายามหาคำตอบอยู่
ข้อสรุปจากผลการทดลองที่บทความในรูปที่
๓ กล่าวไว้ก็คือตำแหน่งดังกล่าวเกิดจากการที่
2,6-dimethylpyridine
ทำปฏิกิริยากับตำแหน่งกรด
"Lewis"
เรียกว่าได้ข้อสรุปไปกันคนละทาง
ซึ่งจะว่าไปมันก็มีความเป็นไปได้อยู่เพราะหมู่
-CH3
ก็ไม่ได้ใหญ่อะไรนัก
ยังพอที่จะทำให้อะตอม N
ทำปฏิกิริยากับไอออนบวกที่อยู่ที่ตำแหน่งที่เหมาะสมบนพื้นผิวได้
ส่วนผลสรุปสุดท้ายว่าในที่สุดแล้วอันไหนได้รับการยอมรับกันนั้นคงจะไม่ขอกล่าวในที่นี้
เพราะไม่ได้ตามเรื่องนี้โดยละเอียด
จะเห็นนะครับว่าการพยายามอธิบายผลการทดลองด้วยการใช้บทความยืนยัน
แม้แต่ผลเดียวกันก็สามารถหาบทความที่ให้ข้อสรุปที่ตรงข้ามกันได้
รูปที่
๔ ชื่อต่าง ๆ
ของรูปแบบการสั่นของวงแหวนเบนซีนจากบทความของ
M.
Alcolea Palafoxa and F. J. Meléndezb, "A comparative study of
the scaled vibrational frequencies in the local anesthetics procaine,
tetracaine and propoxycaine by means of semiempirical methods: AM1,
PM3 and SAM1", Journal of Molecular Structure: THEOCHEM Vol.
459, Issues 1–3, 8 February 1999, Pages 239-271
อันที่จริงบทความของ
Lercher
และคณะยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับ
probe
molecule ตัวอื่นอีก
แต่ก็ค่อนข้างจะเป็นการเฉพาะกับปฏิกิริยา
ข้อเสียอย่างหนึ่งของการใช้ไพริดีนคือการวัด
"ปริมาณ"
ของตำแหน่งที่เป็นกรดแต่ละชนิด
(คือจะแยกว่ามี
Brönsted
หรือ
Lewis
อย่างละเท่าใด)
ทำได้ยาก
เพราะพีคสัญญาณการดูดกลืนอินฟราเรดนั้นมักซ้อนทับกับพีคอื่นจำนวนมาก
(ดูในรูปที่
๒ ดูก็ได้)
หรือแม้แต่การระบุตำแหน่งพีคเองก็อาจทำได้ยาก
เพราะพีคที่มีขนาดใกล้กันและอยู่เคียงข้างกันนั้น
เมื่อมาซ้อนทับกันก็อาจทำให้ตำแหน่งปรากฏของพีครวมนั้นแตกต่างไปจากตำแหน่งที่แท้จริงของแต่ละพีค
หรืออาจเห็นเป็นแค่ "ไหล่
(shoulder)"
เท่านั้น
การหาตำแหน่งที่ถูกต้องต้องใช้การทำ
peak
deconvolution ซึ่งจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล
ซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายแต่ในอดีตนั้นเป็นเรื่องที่ยากที่จะทำ
ดังนั้นการหาปริมาณเบสจากพื้นที่หรือความสูงของพีคนั้นจึงมีความไม่แน่นอนอยู่สูง
แม้การใช้การวัดปริมาณเบสที่คายซับออกมาเมื่อเพิ่มอุณหภูมิตัวอย่างให้สูงขึ้นก็ทำได้ยาก
เพราะการทำให้ไพริดีน
(หรือสารกลุ่มนี้)
กลายเป็นไอระเหยได้นั้นต้องทำในสุญญากาศ
และในการให้ความร้อนไล่ก็ต้องมีการทำสุญญากาศเพื่อดึงเอาโมเลกุลที่พื้นผิวคายออกมานั้นออกจากระบบตลอดเวลา
การที่จะรวบรวมโมเลกุลที่ระเหยออกมานี้ส่งต่อไปยังอุปกรณ์วิเคราะห์ตัวอื่นเพื่อวัดปริมาณจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก
(คือถ้าจะทำจริง
ๆ ก็ทำได้ คงขึ้นอยู่กับว่าจะวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอะไร
แต่ก็ต้องระวังไม่ให้โมเลกุลที่ระเหยออกมาจากตัวอย่างที่มีอุณหภูมิสูง
เกิดการควบแน่นในระบบ
downstream)
ไม่เหมือนกับ
NH3
ที่เป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
จึงสามารถส่งต่อไปยังอุปกรณ์วัดตัวอื่น
(เช่น
thermal
conductivity detector หรือ
mass
spectroscopy) ด้วยการใช้แก๊สตัวอื่นนำพาไปได้
ปิดท้ายที่ว่างของหน้าด้วยรูป
sample
cell ของอุปกรณ์ที่เคยใช้วัด
pyridine
adsorption ที่ต่อร่วมกับนิสิตปริญญาโทในที่ปรึกษาเมื่อปีราว
ๆ ปี ๒๕๓๙ เอาไว้หน่อย
ซึ่งการวัดมันก็ไม่ยากหรอก
.....
ถ้ารู้เทคนิค
:)
:) :)
รูปที่
๕ Sample
cell
สำหรับใส่ตัวอย่างเพื่อวัดการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของโมเลกุลที่เกาะอยู่บนพื้นผิวของแข็ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น