ภูเขาสองลูกนี้ทะเลาะกัน
เล่นกันแรง ลูกหนึ่งถึงกับหัวแตก
อีกลูกหนึ่งถึงกับอกทะลุ
ส่วนรายละเอียดว่าทำไปจึงทะเลาะกันนั้นจำไม่ได้แล้ว
จำได้แต่เพียงว่าตอนเด็ก
ๆ คุณตาเล่าให้ฟัง
แต่เดิม
การเดินทางไปพัทลุงที่สะดวกที่สุดก็คือรถไฟ
ถนนเพชรเกษมเองล่องใต้มาถึงชุมพรแล้วก็เลี้ยวขวาไประนอง
จากนั้นค่อยเลี้ยวซ้ายลงใต้มาจนถึงตรัง
แล้วจึงค่อยมายังพัทลุง
ส่วนทางรถไฟนั้นล่องตรงจากชุมพร
มาสุราษฎร์ธานี ทุ่งสง
และพัทลุง ทางรถไฟมาก่อน
ส่วนถนนจากชุมพรมาพัทลุงนั้นเกิดทีหลัง
ลงรถไฟแล้วมองไปทางทิศตะวันออกก็จะเห็นเขาอกทะลุ
เขาลูกนี้ก็เลยกลายเป็นสัญญลักษณ์ของจังหวัดนี้
ตอนนี้ได้ยินว่ามีการสร้างทางเดินไปจนถึงช่องเขาที่ทะลุแล้ว
แต่คงต้องขอเตรียมตัวก่อน
เพราะมันก็สูงไม่ใช่เล่นเหมือนกัน
สูงมากพอที่ทำให้มีชาวต่างชาติขึ้นไปกระโดดร่มลงมาจากบนนั้นแล้ว
ดูคร่าว ๆ ก็น่าจะสูงประมาณตึก
๓๐ ชั้นได้
Memoir
ฉบับนี้เป็นบันทึกการเดินทางของวันอังคารที่
๒๑ พฤษภาคมที่ผ่านมา
โดยมีครอบครัวคุณน้าอีกท่านหนึ่ง
(บ้านที่ผมไปพักค้าง)
เป็นผู้นำชมเมือง
ด้วยการที่เสียเวลาอยู่ที่โรงพยาบาลตอนช่วงเช้าเนื่องจากต้องพาลูกไปให้หมอเจาะถุงหนองที่ตาเปลือกตาก่อน
ที่โรงพยายาลเอกชนที่มีเพียงแห่งเดียวในตัวจังหวัดที่อยู่เลยสถานีรถไฟไปหน่อย
ทำให้กว่าจะเดินทางออกจากตัวเมืองก็เกือบเที่ยงแล้ว
ออกจากโรงพยาบาลก็แวะถ่ายรูปจุดชมวิวเขาอกทะลุและเขาหัวแตก
ที่อยู่บนถนนเส้นเลียบทางรถไฟจากตัวสถานีขึ้นไปทางสถานีปากคลอง
ทางจังหวัดเขาจัดเป็นจุดชมวิว
ทำนองว่าจะให้เป็นจุดเช็คอิน
แต่ผมว่าเขาสร้างอะไรเยอะไปหน่อย
โดยเฉพาะอาคารที่คงอยากให้มันเป็นร้านค้า
แต่ดูเส้นทางและบริเวณโดยรอบแล้วก็ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ
ณ จุดนี้ด้านหนึ่งเป็นเขาอกทะลุ
อีกด้านหนึ่งเป็นเขาหัวแตก
หรือเรียกชื่อเป็นทางการหน่อยก็คือ
"สัตตบรรพต"
ผมลงจากรถไปถ่ายรูปเพียงคนเดียว
คนอื่นเขาไม่ลงกันเพราะแดดมันแรง
จากนั้นก็ไปกินข้าวเที่ยงกันในตัวตลาด
ณ ร้านแห่งหนึ่งที่คุณน้ารู้จักกับเจ้าของร้านดี
ร้านนี้ขายบะหมี่และข้าวหมูแดง
เรียกว่าทั้งอร่อยและราคาถูกแบบหาไม่ได้ในกรุงเทพ
ระหว่างรถติดอยู่ในตัวเมือง
คุณน้าก็ชี้ให้ดูอาคารหลังหนึ่ง
และบอกว่าเป็นอาคารเก่าที่อยู่คู่ตัวเมืองมานานแล้ว
อาจเรียกได้ว่าเป็นหลังเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็ได้
รูปที่
๑ จุดชมวิวเขาอกทะลุ
อยู่ริมถนนข้างทางรถไฟสายใต้
จากสถานีรถไฟพัทลุง
ขับย้อนขึ้นเหนือเลียบฝั่งตะวันออกของทางรถไฟขึ้นมาหน่อย
ก็จะถึงจุดฃมวิว
รูปที่
๒ ฝั่งตรงข้ามของเขาอกทะลุ
ก็คือเขาหัวแตก
รูปที่
๓ อาคารรุ่นเก่า
ที่ยังมีหลงเหลืออยู่ในตัวเมือง
เสร็จจากกินข้าวคุณน้าก็พาย้อนขึ้นไปทางเหนือตามถนนสาย
๔๑
จุดแรกที่แวะให้ก็คือสวนยางพาราที่ตามโฉนดแล้วเป็นชื่อของพี่ชายผม
โดยมีคุณน้าช่วยดูแลให้
สวนยางแปลงนี้อยู่หลังวัดทุ่งขึงหนัง
(เรียกว่าหลังเมรุเผาศพก็ได้)
จากนั้นก็พาต่อไปยังที่เที่ยวแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า
"ควนน้อย
แกรนด์แคนยอน"
พื้นที่นี้เดิมเป็นบ่อดินลูกรัง
มีการขุดดินลูกรังไปขายจนเป็นหลุมลึก
ตอนหลังเขาก็ปล่อยให้น้ำท่วมขังจนเป็นเหมือนกับสระน้ำขนาดใหญ่
(แต่น้ำลึกจนไม่ให้ใครลงไปเล่น)
เหมาะแก่การมาถ่ายรูปเล่นตอนเย็น
ๆ และมากินข้าวเย็นที่ร้านอาหารริมน้ำ
บ่อดินลูกรังบ่อนี้เห็นเขาขุดแบบไม่เกรงว่าสวนยางของคนอื่นที่อยู่แปลงติดกันนั้นจะยุบลงมาเลย
เรียกว่าขุดซะแทบจะติดเส้นแบ่งเขตที่ดินก็ได้
แต่ก็โชคดีที่มันไม่พังลงมา
แต่ผ่านไปนาน ๆ
ก็ไม่รู้เหมือนกันเพราะถ้ามีน้ำซึมเข้าไปมาก
ๆ ดินก็อาจจะอ่อนตัวลงไป
รูปที่
๔ บ่อที่เกิดจากการขุดดินลูกรังขาย
ตอนหลังน้ำท่วมเต็ม
ก็เลยปล่อยให้เป็นอ่างเก็บน้ำ
แต่ไม่ให้ใครลงเล่น
เพราะน้ำมันลึก
แต่มีการปรับปรุงบริเวณรอบอ่างให้เป็นร้านอาหาร
แล้วตั้งชื่อใหม่ว่าเป็น
"ควนน้อย
แกรนด์แคนยอน"
ที่เหมาะแก่การมานั่งกินตอนเย็น
ๆ
รูปที่
๕ ตรงไหนที่เป็นดินลูกรังก็ถูกขุดไปขาย
ตรงไหนเป็นหินก็ค้างอยู่อย่างนั้น
รูปที่
๖ อีกมุมหนึ่งของอ่างเก็บน้ำ
(ที่เกิดจากการขุดบ่อดินลูกรัง)
มุมนี้จะมีร้านอาหารร้านใหญ่ตั้งอยู่
ตอนที่ไปนั้นเป็นตอนเที่ยงวัน
ไม่มีร้านเปิดสักร้าน
รูปที่
๗ อีกมุมหนึ่งของอ่างเก็บน้ำ
(ที่เกิดจากการขุดบ่อดินลูกรัง)
มุมนี้จะมีร้านอาหารเล็ก
ๆ ตั้งอยู่
จุดสุดท้ายที่แวะไปเที่ยวของวันนั้นคืออ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส อ่างเก็บน้ำนี้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการป้องกันน้ำท่วมให้กับลุ่มน้ำปากพนัง และเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ห้วยน้ำใสนี้เป็นลำธารที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างพัทลุงกับนครศรีธรรมราช แต่ถ้าเลยไปทางตะวันตกหน่อยก็จะเข้าเขตตรัง ต่อมาภายหลังมีคนเข้าไปพัฒนาเป็นสถานที่พักริมน้ำและล่องแก่ง เท่าที่สังเกตดูพวกรีสอร์ทต่าง ๆ จะตั้งอยู่ทางฝั่งพัทลุงหมด คงเป็นเพราะมันเป็นฝั่งที่มีถนน
รูปที่
๘ ที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส
เดิมนั้นคลองน้ำใสเป็นเส้นแบ่งระหว่างพัทลุงกับนครศรีธรรมราช
ถ้าเลยไปทางตะวันตกหน่อยก็จะเข้าเขตจังหวัดตรัง
รูปที่
๙ มุมเขื่อนระบายน้ำล้น
จะเห็นถนนเส้นเก่าอยู่ใต้สะพานที่เป็นถนนเส้นใหม่
ถ้าไปทางซ้ายก็จะไปตรัง
รูปที่
๑๐ จากสะพานที่เห็นในรูปที่
๙ มองย้อนกลับมายังเขื่อนระบายน้ำล้น
รูปที่
๑๑ บนจุดชมวิวของที่ทำการเขื่อน
เขาตั้งชื่อว่าภูขี้หมิ้น
รูปที่
๑๓ จากจุดเริ่มล่องแก่ง
ภาพนี้มองไปทางปลายน้ำ
รูปนี้ถ่ายโดยพยายามหลบขยะที่มีพวกมาล่องแก่งทิ้งอยู่บนฝั่ง
จากจุดนี้ไปถึงหนานมดแดง
(ดูแผนที่ในรูปที่
๘)
จะกินเวลาประมาณ
๓ ชั่วโมง
รูปที่
๑๔ บริเวณจุดขึ้นฝั่งของการล่องแก่งที่รีสอร์ทวังไม้ไผ่
ภาพนี้มองไปทางต้นน้ำ
รูปที่
๑๕ สวนยางพาราของพี่ชาย
อยู่หลังวัดทุ่งขึงหนัง
ที่คุณน้าช่วยดูแลให้
วันนั้นแวะเข้าไปก่อนเลยไปควนน้อย
เลยถ่ายรูปเอาไว้เป็นที่ระลึกหน่อย
การไปล่องแก่งที่นี่ไม่จำเป็นต้องไปพักที่รีสอร์ท
สามารถติดต่อรีสอร์ทต่าง
ๆ ที่เขาให้บริการ
เรียกว่าขับรถไปจอดไว้ที่รีสอร์ท
จากนั้นก็เปลี่ยนชุด
แล้วเขาจะพาขึ้นรถไปยังจุดปล่อยตัวที่อยู่บริเวณท้ายเขื่อน
แล้วก็พายเรือแคนูลำละ ๒
คนล่องมาตามสายน้ำเรื่อย
ๆ จนถึงรีสอร์ทที่จอดรถเอาไว้
ก็ขึ้นฝั่งที่นั่น
อาบน้ำเปลี่ยนชุดแล้วก็กลับได้
บางจุดที่อาจจะผ่านยากหน่อย
ก็จะมีเจ้าหน้าที่ของรีสอร์ทไปประจำอยู่
(ช่วยผลักเรือ)
เนื่องด้วยแต่ละรีสอร์ทนั้นอยู่ห่างจากจุดปล่อยตัวไม่เท่ากัน
ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนไปติดต่อนั้นเลือกจุดที่ใกล้หรือไกลจุดปล่อยตัว
รีสอร์ที่มีชื่อสุด
(และดูเหมือนว่าจะเป็นแห่งแรกสุด)
ของที่นี้เห็นจะได้แก่
"หนานมดแดง"
ระยะเวลาจากจุดปล่อยตัวมาถึงหนานมดแดงก็ประมาณ
๓ ชั่วโมง
บริเวณจุดปล่อยตัวนั้นเป็นต้นน้ำ
ดังนั้นมันไม่ควรมีถังขยะ
เพราะถ้าเกิดน้ำมาแรงพัดเอาถังขยะลงน้ำ
สายน้ำก็จะสกปรกหมด
และตอนที่ไปนั้นมันก็ไม่มีถังขยะ
เป็นเหมือนกับพื้นที่ราบเล็ก
ๆ ริมลำธาร
แต่ที่น่าเสียดายก็คือมีการทิ้งขยะกันเกลื่อนกลาดบริเวณจุดปล่อยตัวนี้แล้ว
ถ้าอยากให้การท่องเที่ยวที่นี่ยืนยาว
ทางผู้ให้บริการล่องแก่งก็ควรที่จะร่วมกันรักษาความสะอาด
ด้วยการย้ำไม่ให้นักท่องเที่ยว
(หรือพนักงานของรีสอร์ทเอง)
ทิ้งขยะในบริเวณดังกล่าว
และถ้ามีขยะเกิดขึ้น
ก็ควรที่จะเก็บและนำออกจากพื้นที่เอง
ไม่เช่นนั้นต่อไปก็คงเป็นการล่องแก่งชมขยะลอยน้ำหรือติดตามซอกหิน
เพราะถ้าถึงขึ้นนี้เมื่อใดก็คงไม่ต้องไปล่องแก่งถึงพัทลุงแล้ว
ล่องตามคลองต่าง ๆ
ในกรุงเทพก็ได้บรรยากาศแบบเดียวกัน
ตอนออกจากห้วยน้ำใสก็แดดกำลังดีอยู่
แต่ยังไม่ทันกลับเข้าเส้นสาย
๔๑ เมฆฝนก็โผล่มาพร้อมฝนตกแรง
ขากลับก่อนเข้าบ้าน
คุณน้าก็พาไปนั่งรถวนรอบเขาพนมวังก์
พาไปดูแปลงสวนยางริมเขา
แต่ไม่ได้ลงเพราะฝนยังลงเม็ดอยู่
แปลงนี้เป็นมรกดคุณแม่ที่โอนให้ผมกับน้องเป็นชื่อร่วมกัน
(เรียกว่ามรกดสืบทอดมาจากคุณตาคุณยาย)
โดยคุณน้าเป็นผู้ดูแลให้
บริเวณติดกันก็มีลูกพี่ลูกน้องอีกคนใช้เป็นพื้นที่ทำงานประกอบธุรกิจของเขา
ก็คือการรับลาดยางถนน
จะว่าไปหมู่บ้านต่าง ๆ
ในบริเวณนี้ ถ้าจะลำดับนับญาติกัน
โดยอิงขึ้นไปรุ่นทวดของผม
ก็คงหาความเกี่ยวข้องกันได้หมด
เพราะเป็นคนกลุ่มแรก ๆ
ที่มาบุกเบิกพื้นที่บริเวณนี้
ไม่ได้กลับไปนาน
พัทลุงเปลี่ยนไปเยอะ
สิ่งแรกที่เห็นคือมีสะพานลอยให้รถวิ่งข้ามแยกด้วย
(ตอนผมไปครั้งสุดท้ายยังไม่มีเลย
แสดงว่าไม่ได้กลับไปนาน)
จากเดิมที่เคยนั่งรถแต่เช้ามืดเพื่อไปกินข้าวเช้าที่ตรัง
(ที่มีชื่อเสียงมานาน)
ตอนนี้ร้านอาหารแบบนี้ก็มีทั่วไปในตัวจังหวัด
ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงตรัง
แต่สุดท้ายก่อนขึ้นเครื่องกลับ
ก็ได้ไปกินข้าวเช้าที่ตรังอยู่ดี
เพราะไหน ๆ ก็ต้องขึ้นเครื่องกลับที่นั่นอยู่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น