วันที่
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ รัฐมนตรีกระทรวบเศรษฐกิจ
การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น
ประกาศว่าทางญี่ปุ่นจะเข้มงวดการส่งออกสินค้าสำคัญ
๓ ตัวไปยังเกาหลีใต้คือ
Fluorinated
polyimide ที่ใช้ในการผลิตจอแสดงภาพโทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วนต่าง
ๆ,
Photoresist (สารไวแสง)
ที่ใช้ในการผลิตซับเทรตสารกึ่งตัวนำ
และ Hydrogen
fluoride (HF) ที่ใช้ในการล้างสารกึ่งตัวนำ
ประกาศดังกล่าวส่งผลกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทั้งรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้
เพราะสารสองตัวแรก (Fluorinated
polyimide และ
Photoresist)
ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเกือบ
100%
ของตลาดโลก
ส่วน (HF)
นั้นญี่ปุ่นก็มีส่วนแบ่งของผู้ผลิตในตลาดโลกถึง
70%
(รูปที่
๑)
ข่าวไม่มีการให้รายละเอียดว่า
HF
นั้นเป็นเกรดใด
แต่ HF
ที่ใช้ในการล้างสารกึ่งตัวนำน่าจะเป็นเกรดที่เรียกว่า
12N
(อ่านว่า
twelve
nine) คือเกรดที่มีความบริสุทธิ์
99.9999999999
(99 จุด
9
อีก
10
ตัว)
แม้ว่าแก๊ส
Hydrogen
fluoride (HF) หรือกรด
Hydrofluoric
ที่เป็นสารละลายในน้ำของ
HF
จะเป็นที่รู้จักกันมานาน
แต่การศึกษาเพื่อหาประโยชน์ในการใช้งานก็ต้องล่าช้าเป็นเวลานาน
นั่นก็เป็นเพราะฤทธิ์กัดกร่อนที่สูงของกรด
HF
ที่สามารถกัดได้แม้แต่แก้ว
(ที่ถือว่าเป็นวัสดุที่มีความเฉื่อยสูงมากตัวหนึ่งในห้องปฏิบัติการเคมี)
ด้วยเหตุนี้กว่าที่จะมีการผลิต
HF
และ
F2
ได้ในปริมาณมากเพื่อที่จะนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม
ก็ต้องรอจนล่วงพ้นต้นศตวรรษที่
๒๐
มาพักใหญ่จนกระทั่งมีการพัฒนาทางด้านวัสดุศาสตร์ที่สามารถหาวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารทั้งสองได้
เหตุการณ์สองเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในเวลาไล่เลี่ยกันที่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้มีการผลิต
HF
และ
F2
เพื่อการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมในปริมาณมากเห็นจะได้แก่
การค้นพบพอลิเมอร์ตระกูล
fluorocarbon
โดยเฉพาะตัว
Polytetra-fluoroethylene
(PTFE) ที่มีชื่อทางการค้าว่า
TEFLON
ในปีค.ศ.
๑๙๓๘
(พ.ศ.
๒๔๘๑)
และการเกิดสงครามโลกครั้งที่
๒ ที่นำไปสู่ Manhattan
Project ที่เป็นโครงการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก
การค้นพบพอลิเมอร์ตระกูลฟลูออโรคาร์บอนทำให้มีวัสดุสำหรับเคลือบผิวอุปกรณ์ต่าง
ๆ ให้ทนต่อการกัดก่อนของ
HF
และ
F2
ที่จำเป็นสำหรับสังเคราะห์สารประกอบ
UF6
ที่ต้องใช้ในการแยกไอโซโทป
U-235
ออกจาก
U-238
ข้อมูลจาก
Wikipedia
บอกว่า
Uranium
tetrafluoride (UF4) หลอมเหลวที่
1036ºC
และเดือดที่
1417ºC
แต่พอเป็น
Uranium
hexafluoride (UF4) อุณหภูมิจุดหลอมเหลวกลับลดลงเหลือ
64.05ºC
และเดือดที่
56.5ºC
ซึ่งจะว่าไปแล้ว
UF6
มันสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องไม่มากด้วยซ้ำ
ด้วยการที่
UF6
กลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิไม่สูง
การแยกเอาไอโซโทป U-235
ออกจาก
U-238
จึงอาศัยการเปลี่ยนสารประกอบยูเรเนียมให้กลายเป็น
UF6
ก่อน
โดยกระบวนการเริ่มจากการนำเอา
UO2
(Uranium dioxide) มาทำปฏิกิริยากับ
Anhydrous
HF ก็จะได้
UF4
ที่เป็นของแข็งและไอน้ำเป็นผลพลอยได้
จากนั้นจึงค่อยนำเอา UF4
มาทำปฏิกิริยาต่อกับแก๊สฟลูออรีนอีกที
ก็จะได้สารประกอบ UF6
รูปที่
๒ เป็นแผงผังกระบวนการเปลี่ยน
UO2
ให้กลายเป็น
UF4
ที่เกิดขึ้นในฟลูอิไดซ์เบด
เอกสาร
"Nickel-containing
alloys in hydrofluoric acids, hydrogen fluoride, and fluorine"
(รูปที่
๓)
กล่าวว่าปฏิกิริยาของ
UO2
กับ
HF
เพื่อเปลี่ยนเป็น
UF4
นั้นกระทำในถังปฏิกรณ์ที่ทำจาก
Alloy
600 (N06600) ที่อุณหภูมิ
600ºC
(มีน้ำเกิดขึ้นด้วย)
ส่วนการเปลี่ยน
UF4
เป็น
UF6
นั้นอาศัยการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ
500ºC
ในถังปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์ที่ทำจาก
Alloy
400 กรด
HF
ที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาจะถูกควบแน่นในเครื่องควบแน่นที่ทำจาก
Alloy
400
รูปที่ ๑ ข่าวจาก The Yomiuri Shimbun กล่าวถึงการควบคุมการส่งออกวัสดุสำคัญ ๓ ตัวไปยังเกาหลีใต้ของประเทศญี่ปุ่น
รูปที่ ๑ ข่าวจาก The Yomiuri Shimbun กล่าวถึงการควบคุมการส่งออกวัสดุสำคัญ ๓ ตัวไปยังเกาหลีใต้ของประเทศญี่ปุ่น
แม้ว่าในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันเองก็มีการใช้กรด
HF
ในปฏิกิริยา
alkylation
ที่เป็นการนำเอาโมเลกุลขนาดเล็กสองโมเลกุลมาต่อเข้าด้วยกันกลายเป็นโมเลกุลกิ่งก้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
เพื่อให้ใช้การเพิ่มเลขออกเทนให้กับน้ำมันเบนซิน
แต่ด้วยการที่ทั้ง HF
(ในรูป
anhydrous
หรือปราศจากน้ำที่ย่อว่า
AHF)
และแก๊ส
F2
นอกจากจะมีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแล้วแล้วก็มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับการเพิ่มความเข้มข้น
U-235
เพื่อนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หรือระเบิดนิวเคลียร์
จึงอาจเป็นด้วยสาเหตุที่ทำให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิต
การใช้งาน และการทำงานกับ
HF
และ
F2
(โดยเฉพาะพวกที่มีความเข้มข้นสูง)
นั้นไม่ค่อยมีการเปิดเผยกันอย่างแพร่หลาย
ตัวอุปกรณ์กระบวนการผลิตต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ไม่ว่าจะเป็นการผลิต
HF
และ
F2
หรือการนำเอาสารทั้งสองไปใช้งาน)
จึงได้รับการควบคุมที่เข้มงวดมากด้วยเมื่อเทียบกับกรณีของคลอรีน
รูปที่ ๒ แผนผังกระบวนการผลิต Uranium tetrafluoride (UF4) จากบทความเรื่อง "The Design of Plants for Handling Hydrofluoric Acid" โดย K.M. Hill, Symposium on Process Hazards (1960: Instn Chem. Engrs)
รูปที่ ๒ แผนผังกระบวนการผลิต Uranium tetrafluoride (UF4) จากบทความเรื่อง "The Design of Plants for Handling Hydrofluoric Acid" โดย K.M. Hill, Symposium on Process Hazards (1960: Instn Chem. Engrs)
เนื้อหาการเลือกวัสดุสำหรับฟลูออรีน
ไฮโดรเจนฟลูออไรด์
และกรดไฮโดรฟลูออริก
ที่นำมาเขียนบทความนี้นำมาจากเอกสารคู่มือการเลือกใช้โลหะผสมที่จัดทำโดย
Nickel
Development Institute ที่แสดงในรูปที่
๓ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นตอนต่อจากฉบับที่แล้วที่เป็นเรื่องของ
คลอรีน ไฮโดรเจนคลอไรด์
และกรดไฮโดรคลอรีน ก็ได้
รูปที่ ๓ เอกสาร Nickel-containing alloys in hydrofluoric acids, hydrogen fluoride, and fluorine ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.nickelinstitute.org/media/1828/thecorrosionresistanceofnickel_containingalloysinhydrofluoricacid_hydrogenfluoride_andfluorine_10074_.pdf ที่ใช้เป็นต้นเรื่องในการเขียนบทความนี้
รูปที่ ๓ เอกสาร Nickel-containing alloys in hydrofluoric acids, hydrogen fluoride, and fluorine ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.nickelinstitute.org/media/1828/thecorrosionresistanceofnickel_containingalloysinhydrofluoricacid_hydrogenfluoride_andfluorine_10074_.pdf ที่ใช้เป็นต้นเรื่องในการเขียนบทความนี้
รูปที่ ๔ ตารางชื่อโลหะผสม (อิงตาม Unified Numbering System - UNS ซึ่งจะแตกต่างไปจากชื่อการค้าที่เรียกกันในท้องตลาดอยู่) และอัตราส่วนผสม รูปที่ ๓ - ๘ ต่างก็นำมาจากเอกสารฉบับนี้
ความแตกต่างอย่างหนึ่งของการได้มาซึ่งแก๊สฟลูออรีนที่แตกต่างไปจากคลอรีนคือ
ในขณะที่เราสามารถผลิตแก๊สคลอรีนได้โดยตรงจากปฏิกิริยาอิเล็กโทรไลซิส
NaCl
นั้น
(แล้วจึงค่อยเอา
Cl2
ที่ได้ไปผลิตเป็น
HCl
หรือจะไม่ผลิตก็ได้)
ฟลูออรีนกลับได้มาจากปฏิกิริยาอิเล็กโทรไลซิแอนไฮดรัสไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในสารละลายเกลือหลอมเหลว
KF.HF
(โพแตสเซียมฟลูออไรด์กับไฮโดรเจนฟลูออไรด์)
กล่าวคือต้องผลิตกรด
HF
ก่อนแล้วจึงค่อยได้
F2
ดังนั้นโรงงานผลิต
F2
จึงต้องใช้วัสดุที่ต้องทนได้ตั้งแต่กรด
HF
เจือจางไปจนถึงแก๊ส
F2
บริสุทธิ์
ในเอกสารที่นำมาเป็นต้นเรื่องนั้นยังกล่าวไว้ด้วยว่ารายละเอียดของกระบวนการผลิตไฮโดรเจนฟลูออไรด์นั้นถูกปกปิดเอาไว้มาก
ที่เปิดเผยออกสู่สาธารณะนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
รูปที่ ๕ เป็นแผนผังอย่างง่ายกระบวนการผลิต
โดยเริ่มจากการนำเอาสินแร่
Fluorospar
(calcium fluoride CaF2) มาทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันเข้มข้น
(Oleum
- H2SO4.SO3) ใน
Kiln
reactor (6) ที่อุณหภูมิ
150ºC
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกำมะถันและ
Fluorospar
จะเปลี่ยน
CaF2
เป็น
CaSO4
พร้อมกับเกิดแก๊ส
HF
แก๊ส
HF
ที่เกิดขึ้นจะเข้าสู่หอชะ
(2)
ที่จะผ่านการชะด้วยกรดกำมะถันอีกครั้งก่อนจะถูกนำไปเก็บเป็น
crude
HF ที่ความเข้มข้นประมาณ
80%
ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการกลั่นเพื่อให้ได้
HF
บริสุทธิ์
99.9%
พึงสังเกตว่าส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรดที่ไม่มีความชื้นนั้น
(เช่น
(1),
(2) และ
(10))
สามารถใช้
carbon
steel มาขึ้นรูปอุปกรณ์ได้
(รวมทั้งระบบท่อด้วย)
รูปที่ ๕ แผนผังกระบวนการผลิตไฮโดรเจนฟลูออไรด์โดยเริ่มจากสินแร่ Fluorospar และชนิดโลหะที่ใช้ในการขึ้นรูปอุปกรณ์ต่าง ๆ คำว่า "line" คือการบุผนังด้านในที่สัมผัสกับสาร ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่ทนการกัดกร่อนขึ้นรูปอุปกรณ์ทั้งชิ้น สามารถใช้วัสดุธรรมดาขึ้นรูปอุปกรณ์ได้ เพียงแต่เคลือบหรือบุผนังด้านที่สัมผัสกับสารด้วยวัสดุที่ทนการกัดกร่อน
รูปที่
๖ และ ๗
ให้รายละเอียดชนิดโลหะที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานกับสารละลายกรด
HF
ที่ความเข้มข้นและอุณหภูมิต่างๆ
เอกสารที่นำมาเป็นต้นเรื่องนั้นยังกล่าวไว้ด้วยว่า
Alloy
400
จัดว่าเป็นโลหะผสมที่เหมาะสมเพราะทนต่อกรดในช่วงอุณหภูมิและความเข้มข้นที่กว้าง
(จะเป็นรองก็แค่
พลาทินัม ทองคำ และเงิน
ซึ่งก็คงไม่มีใครเอามาทำเป็นอุปกรณ์การผลิต)
แต่ทั้งนี้อาจเกิด
stress-corrosion
cracking (SCC) ได้ในสภาวะที่มีความชื้นร่วมกับออกซิเจน
(คือมีความชื้นอย่างเดียวไม่เป็นไร
แต่ถ้ามี O2
ปนด้วยจะมีปัญหา)
วัสดุพวกสแตนเลสสตีล
(เช่น
304,
316) นั้นแม้ว่าจะทนต่อ
Anhydrous
HF (AHF) แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างไว้วางใจได้กับกรดเจือจาง
แม้ว่าจะมีบางกรณีที่สามารถนำมาใช้กับกรด
HF
เจือจางที่อุณหภูมิห้องได้
โลหะนิเกิลผสมสูง (เช่น
Alloy
200) ทนต่อ
HF
ความเข้มข้นต่ำกว่า
20%
และถูกนำมาใช้ทำ
rupture
disk สำหรับ
AHF
แต่ก็มีราคาสูง
ในขณะที่ Alloy
600 นั้นจะใช้ในกระบวนการผลิตได้ที่อุณหภูมิสูงถึง
600ºC
หรือใช้แทน
Alloy
400 ในวาล์ว
เพราะ Alloy
400 มีความเสี่ยงที่จะเกิด
stress-corrosion
cracking ได้
รูปที่ ๖ การเลือกชนิดโลหะให้เหมาะสมกับช่วงการทำงาน (ดูรูปที่ ๗ ประกอบ)
Carbon
steel นั้นเหมาะสำหรับใช้ทำภาชนะเก็บ
HF
ที่ความเข้มข้นสูงเกินกว่า
64%
เพราะถ้าความเข้มข้นของกรดนั้นลดต่ำกว่า
60%
ตัวโลหะจะถูกกัดกร่อนอย่างรวดเร็ว
แต่ทั้งนี้อุณหภูมิไม่ควรจะสูงเกินกว่า
32ºC
สำหรับสารละลายกรด
HF
และไม่ควรสูงเกินกว่า
65ºC
สำหรับ
AHF
การที่
carbon
steel ทนต่อ
HF
ได้นั้นเป็นเพราะเมื่อแรกเริ่มที่มันสัมผัสกับ
HF
เนื้อโลหะที่สัมผัสกับกรดจะกลายเป็นสารประกอบ
FeF3
ปิดคลุมผิวเป็นชั้นฟิล์มป้องกันเอาไว้
ทำให้การทำปฏิกิริยายุติ
ด้วยเหตุนี้ก่อนใช้งาน
vessel
จึงควรทำการ
pre-passivated
ด้วย
AHF
ประมาณ
๑ วันก่อนการใช้งาน
และในระหว่างการใช้งานไม่ควรให้อัตราการไหลสูงเกินกว่า
0.5
m/s เพื่อไม่ให้ชั้นฟิล์มป้องกันถูกชะออกไป
รูปที่
๗ รายละเอียดโลหะที่เหมาะสมสำหรับแต่ละโซนในรูปที่
๖
รูปที่
๘ ตารางแสดงอัตราการกัดกร่อนของ
Alloy
400 ในกรด
HF
ที่อุณหภูมิและสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ
ความเร็วในการไหลนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัด
และในระบบท่อนั้นพื้นที่หน้าตัดของตัวอุปกรณ์บางตัวที่อยู่ในระบบท่อ
เช่น globe
valve จะมีขนาดเล็กกว่าของท่อ
หรือในกรณีของปั๊มหอยโข่งนั้นที่อาศัยการเหวี่ยงของเหลวให้มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อเปลี่ยนพลังงานจลน์เป็นพลังงานศักย์
หรือในกรณีของใบพัดกวนที่ของเหลวบริเวณใบพัดจะมีความเร็วที่สูง
หรือความเร็วของของเหลวที่ไหลผ่านท่อของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
หรือความเร็วของแก๊สที่ไหลผ่าน
bubble
cap ของหอกลั่น
ความเร็วของของเหลวที่สัมผัสกับตัวอุปกรณ์เหล่านี้มีโอกาสที่จะสูงเกินกว่า
0.5
m/s ได้
วัสดุที่อาศัยการเกิดชั้นฟิล์มป้องกันทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนจึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์เหล่านี้ก็เพราะความเร็วการไหลที่สูงจะคอยชะชั้นฟิล์มป้องกันออกไป
แก้วและวัสดุที่มีซิลิกาเป็นองค์ประกอบนั้น
แม้ว่าจะทนกรดต่าง ๆ ได้ดี
(ไม่ว่าจะเจือจางหรือเข้มข้น)
แต่ไม่เหมาะสมกับ
HF
ที่ได้ชื่อว่าเป็น
"กรดกัดแก้ว"
แก๊สฟลูออรีนมีคุณสมบัติคล้ายคลอรีนตรงที่ในสภาพที่แห้งนั้นไม่ค่อยมีฤทธิ์กัดกร่อนทั้งโลหะและโลหะผสม
carbon
steel และเหล็กกล้าไร้สนิม
18-8
สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง
300ºC
แต่ถ้าเมื่อใดที่มีความชื้น
ฟลูออรีนจะมีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแรง
และควรใช้โลหะผสมในกลุ่ม
Alloy
400 และนิเกิล
200
ที่สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง
500ºC
ที่มาของบทความชุด
"การเลือกวัสดุสำหรับ
Cl2
และ
HCl"
(ฉบับที่แล้ว)
และ
"การเลือกวัสดุสำหรับ
F2
และ
HF"
(ฉบับนี้)
เกิดจากการที่ได้เข้ารับการอบรมเรื่องการประเมินผู้ใช้งานสินค้าที่ใช้ได้สองทางเมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา
โดยในการอบรมดังกล่าวมีแบบฝึกหัดหนึ่งที่หน่วยงานเทศบาลแห่งหนึ่งของซื้อวาล์วขนาด
1/2
นิ้วที่มีโลหะ
Monel
เป็นองค์ประกอบตรงส่วนที่เป็น
bellow
(ที่ป้องกันการรั่วไหลตรงบริเวณ
stem
ของวาล์ว
โดย Monel
นี้เป็นวัสดุควบคุม)
โดยอ้างว่าเป็นวาล์วใช้สำหรับแก๊สคลอรีนที่ใช้เพื่อการบำบัดน้ำเสีย
ว่าคำขอซื้อดังกล่าวสมเหตุสมผลหรือไม่
แต่ก่อนอื่นเราลองทำความรู้จัก
bellow
seal valve กันก่อนดีไหมครับ
ขอให้ดูรูปที่ ๙ ในหน้าถัดไปประกอบ
เวลาที่เราหมุน
hand
wheel (ตัวสีน้ำเงินบนสุด)
นั้น
ตัว stem
(สีฟ้า)
จะเคลื่อนตัวขึ้นหรือลงขึ้นกับทิศทางการหมุน
hand
wheel ของเรา
ซึ่งการเคลื่อนตัวขึ้น-ลงของตัว
stem
นี้จะไปทำให้ตัว
plug
(สีเขียว)
ที่ใช้อุดรูการไหลนั้นยกตัวขึ้น-ลงตามไปด้วย
เพื่อที่จะให้ตัว stem
นั้นเคลื่อนที่ขึ้นลงได้สะดวกโดยมีความเสียดทานต่ำแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถป้องกันการรั่วไหลของ
process
fluid ออกทางช่องทางการเคลื่อนที่ของตัว
stem
จึงจำเป็นต้องมี
packing
(ซึ่งก็คือปะเก็นที่เห็นเป็นสีน้ำเงินอยู่ตรงกลางรูป)
อัดเอาไว้เพื่อป้องกันการรั่วไหล
ซึ่งในความเป็นจริงนั้นก็อาจมีการรั่วไหลได้บ้างในปริมาณเล็กน้อยที่ยากจะสังเกตหรือรู้สึกได้
ซึ่งถ้าสารนั้นไม่ใช่สารที่เป็นพิษอะไร
ก็อาจจะยอมปล่อยให้มันฟุ้งกระจายหายไป
แต่ในกรณีที่
process
fluid นั้นเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง
การรั่วไหลตรงตำแหน่งนี้แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยมากก็อาจทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงานได้
จึงจำเป็นต้องหาวิธีการปิดกั้นการรั่วไหลตรงบริเวณนี้
วิธีการหนึ่งที่ทำได้ก็คือการติดตั้ง
bellow
(ตัวสีชมพูที่มีลักษณะเป็นท่อที่ยืดหยุ่นได้)
โดยปลายด้านหนึ่งของ
bellow
จะยึดตรึงเข้ากับส่วน
bonnet
วาล์ว
(ลำตัวครึ่งบน)
และปลายอีกด้านหนึ่งนั้นจะยึดตรึงอยู่กับส่วน
plug
ด้วยการที่มันต้องยืดหยุ่นได้
ผนังของตัว bellow
เองจึงไม่ได้หนาอะไร
แต่ในขณะเดียวกันมันยังต้องทนต่อความดันและอุณหภูมิของ
process
fluidได้ด้วย
วัสดุที่ใช้ทำ bellow
จึงต้องมีความพิเศษหน่อย
เรียกว่าอาจเป็นคนละชนิดกับที่ใช้ทำลำตัววาล์วและ
plug
เลยก็ได้
ในแบบฝึกหัดดังกล่าวมีหลายประเด็นที่ขอให้ทำการพิจารณาเช่น
-
กระบวนการบำบัดน้ำเสียนั้นมีความจำเป็นต้องใช้คลอรีนเหลวหรือไม่
-
ผู้ที่ขอซื้อวาล์วนั้นมีตัวตนจริงทำงานเกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียหรือไม่
-
จำนวนและขนาดของวาล์วนั้นสมเหตุสมผลกับงานดังกล่าวหรือไม่
-
ราคาต่อหน่วยของวาล์วนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่
รูปที่ ๙ ตัวอย่าง Bellow seal valve (รูปจาก http://bellowseal.com/products.html)
รูปที่ ๙ ตัวอย่าง Bellow seal valve (รูปจาก http://bellowseal.com/products.html)
การพิจารณาตามประเด็นต่าง
ๆ นั้นพบว่า
การบำบัดน้ำเสียก็อาจมีการใช้คลอรีนช่วยฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยออกสู่แหล่งธรรมชาติ
หากน้ำเสียนั้นมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายปะปนอยู่
ผู้ที่ขอซื้อนั้นมีตัวตนจริงและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย
ขนาดและจำนวนของวาล์วที่ขอซื้อเพื่อนำไปเปลี่ยนทดแทนนั้นก็เหมาะสมกับขนาดกระบวนการ
และราคาต่อหน่วยของวาล์วก็สมเหตุสมผล
(คือถ้าพบว่าราคามันแพงเกินควรก็อาจสงสัยว่าเป็นการซื้อของคุณภาพสูงแต่อ้างเป็นของคุณสมบัติต่ำ
จะได้ไม่โดนตรวจสอบ)
ซึ่งก็ผ่านทุกประเด็น
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมได้ตั้งประเด็นถามเอาไว้คือ
ผมรู้สึกว่าวาล์วนั้นมันดีเกินไป
จริงอยู่ที่ว่ามันใช้กับคลอรีนเหลวได้
แต่ในขณะเดียวกันมันก็ใช้กับฟลูออรีนได้
และอาจใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงด้วย
(ที่ไม่ใช่อุณหภูมิการทำงานของระบบฆ่าเชื้อโรคในน้ำ)
และเพื่อที่จะคลี่คลายข้อสงสัย
ก็เลยต้องมีการส่งข้อความไปถามวิศวกรท่านหนึ่งที่ทำงานอยู่ในโรงงานที่มีการผลิตแก๊สคลอรีนเพื่อนำไปผลิตเป็นไวนิลคลอไรด์
คำถามที่ผมถามเขาไปก็คือ
๑.
สำหรับการใช้งานที่อุณหภูมิห้อง
(เช่นระบบน้ำประปา
หรือฆ่าเชื้อโรคในน้ำทิ้ง)
สามารถใช้
diaphragm
valve ได้หรือไม่ครับ
๒.
ในกรณีของวาล์วโลหะ
จำเป็นไหมครับที่ต้องใช้โลหะพวก
Monel
(หรือ
Alloy
400)
ส่วนคำตอบที่ได้รับกลับมาก็คือ
ข้อ
๑ สำหรับที่โรงงานมีใช้เป็น
ball
valve กับ
globe
valve สำหรับ
line
liquid ครับ
ถ้า diaphragm
จะใช้กับ
gas
phase
ข้อ
๒ โลหะที่โรงงานส่วนใหญ่เป็น
carbon
steel ธรรมดาเลยครับ
ถ้าพวก
special
model จะเป็นพวก
line
ที่มีความเสี่ยง
กับความชื้น
........ จบ
........ จบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น