เทคนิค
Temperature
programmed reduction (TPR) ด้วยแก๊สไฮโดรเจน
(H2-TPR)
และ
Temperature
programmed desorption ของแก๊สแอมโมเนีย
(NH3-TPD)
เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา
โดยเทคนิค H2-TPR
จะใช้ในการวัดความยากง่ายในการรีดิวซ์องค์ประกอบที่เป็นโลหะออกไซด์
ส่วนเทคนิค NH3-TPD
จะใช้ในการวัดปริมาณและความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรด
แม้ว่าโดยหลักการแล้วเทคนิคทั้งสองจะไม่มีความซับซ้อนอะไร
แต่การแปลผลที่น่าสงสัยก็มีอยู่ให้เห็นเสมอเป็นประจำในบทความวิชาการตีพิมพ์ต่าง
ๆ ซึ่งปัญหาตรงนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียมตัวอย่าง
อุปกรณ์ และชนิดของตัวตรวจวัดที่ใช้
ในเทคนิค
H2-TPR
นั้นจะอาศัยการวัดปริมาณ
H2
ที่หายไป
(ที่เกิดจากการที่มันไปรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์)
หรือ
H2O
ที่เกิดขึ้น
(ที่เกิดจาก
H2
รวมตัวกับไอออนออกซิเจนที่ดึงออกมา)
ส่วนเทคนิค
NH3-TPD
อาศัยการวัดปริมาณ
NH3
ที่ปะปนมากับ
carrier
gas ที่ไหลผ่านตัวอย่างเมื่อตัวอย่างคายซับแก๊ส
NH3
ที่ดูดซับเอาไว้ก่อนหน้าออกมา
ตัวตรวจวัดที่นิยมใช้กันนั้นคือ
Thermal
conductivity detector (TCD)
ตัวอย่างของอุปกรณ์วิเคราะห์ที่ใช้ตัวตรวจวัดชนิดนี้แสดงไว้ในรูปที่
๑ ตัวตรวจวัดชนิดนี้อาศัยการวัด
"ค่าการนำความร้อน"
ที่เปลี่ยนไปของแก๊ส
ซึ่งค่าการนำความร้อนของแก๊สนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น
อุณหภูมิแก๊ส อัตราการไหล
(ความเร็วที่ไหลผ่านตัวตรวจวัด)
และองค์ประกอบของแก๊ส
โดยในการวิเคราะห์นั้นผู้วิเคราะห์มักจะคิดว่าสัญญาณที่เห็นนั้นเกิดจากองค์ประกอบของแก๊สที่เปลี่ยนไป
แต่ในความเป็นจริงนั้นเมื่อตัวอย่างมีอุณหภูมิสูงขึ้น
อุณหภูมิและอัตราการไหลของแก๊สที่ไหลเข้าสู่ตัวตรวจวัดก็จะเปลี่ยนไปด้วยถ้าหากไม่มีการควบคุมที่ดี
ดังนั้นแม้ว่าระบบนั้นจะมีเพียง
carrier
gas ที่ไหลผ่านตัวตรวจวัด
แต่เมื่อตัวอย่างมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นก็จะเห็นมีสัญญาณเกิดขึ้นที่มีรูปร่างเหมือนกับเป็นพีค
แต่ในความเป็นจริงนั้นมันไม่ใช่พีค
แต่เป็นเส้น "base
line" พฤติกรรมนี้เคยแสดงไว้ใน
Memoir
ปีที่
๙ ฉบับที่ ๑๒๕๖ วันศุกร์ที่
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ เรื่อง
"NH3-TPD- การลาก base line (๒)"
ตัวตรวจวัดอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานกันคือ
mass
spectrometer
แต่ด้วยการที่ตัวตรวจวัดชนิดนี้มีราคาที่สูงกว่าและมีการทำงานที่ยุ่งยากกว่า
TCD
จึงทำให้ไม่ค่อยมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนัก
แต่ด้วยการที่มันตรวจวัดสิ่งที่ตัวอย่างคายออกมาจากพื้นผิวโดยตรง
(NH3
ในกรณีของ
NH3-TPD
และ
H2O
ในกรณีของ
H2-TPR)
จึงทำให้มันไม่มีปัญหาเรื่องอุณหภูมิหรืออัตราการไหลของ
carrier
gas ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออุณหภูมิตัวอย่างเพิ่มขึ้น
(แต่อาจเกิดการรบกวนได้ถ้าหากตัวอย่างมีการคายน้ำในโครงร่างผลึกออกมาที่อุณหภูมิสูง)
ทำให้ถ้าเทียบกับ
TCD
แล้ว
ผลที่ได้จาก mass
spectrometer จะมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากกว่า
Memoir
ฉบับนี้เป็นการรวบรวมตัวอย่างผล
H2-TPR
ของ
MgO
และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้
MgO
เป็นตัวรองรับ
ที่มีการรายงานไว้ในบทความวิชาการ
เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า
แม้ว่าจะเป็น MgO
เหมือนกัน
ผลการวัดและการแปลผลก็ยังแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับผู้เขียนบทความแต่ละคน
รูปที่ ๒ ผล H2-TPR -ของ MgO และตัวเร่งปฏิกิริยา Fe/MgO บทความนี้ใช้ตัวตรวจวัดชนิด TCD วิเคราะห์ในช่วงอุณหภูมิ 50 - 900ºC โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา 10/minºC
เริ่มจากบทความแรก
(รูปที่
๒)
ที่เป็นการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา
Fe/MgO
บทความนี้ใช้ตัวตรวจวัดชนิด
TCD
ในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค
H2-TPR
ในช่วงอุณหภูมิ
50
- 900ºC โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา
10/minºC
พึงสังเกตกราฟของ
MgO
(เส้นล่างสุด)
ที่มีการไต่ขึ้นเรื่อย
ๆ ตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
ก่อนจะที่จะลดลงมาเมื่อใกล้ถึง
800ºC
โดยบทความกล่าวไว้ว่าพีคที่เห็นนี้
(ที่อุณหภูมิราว
ๆ 730ºC)
เกิดจากการที่
framwork
ของ
MgO
ถูกทำลายด้วยบรรยากาศไฮโดรเจน
และเมื่อมี Fe
ร่วมอยู่ด้วยปรากฏว่า
MgO
"ถูกรีดิวซ์"
ได้ง่ายขึ้นอีก
ทีนี้ลองดูอีกบทความหนึ่ง
(รูปที่
๓)
ที่ศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา
Mo/MgO
บทความนี้มีการวัด
H2-TPR
ของ
MgO
เช่นกัน
(เส้นล่างสุดในรูป)
พึงสังเกตว่าที่อุณหภูมิตั้งแต่
773
K หรือ
500ºC
ขึ้นไป
เส้นสัญญาณเรียบตลอด
แสดงให้เห็นว่า MgO
ไม่ได้ถูกรีดิวซ์เลย
รูปที่ ๓ ผล H2-TPR -ของ MgO ตัวเร่งปฏิกิริยา Mo/Al2O3 และตัวเร่งปฏิกิริยา Mo/MgO บทความนี้ไม่ระบุชนิด detector ที่ใช้ การวิเคราะห์เริ่มจากอุณหภูมิห้องไปจนถึง1000ºC ด้วยอัตราการเพิ่ม 10ºC/min เส้นของ MgO คือเส้นล่างสุด
รูปที่ ๓ ผล H2-TPR -ของ MgO ตัวเร่งปฏิกิริยา Mo/Al2O3 และตัวเร่งปฏิกิริยา Mo/MgO บทความนี้ไม่ระบุชนิด detector ที่ใช้ การวิเคราะห์เริ่มจากอุณหภูมิห้องไปจนถึง1000ºC ด้วยอัตราการเพิ่ม 10ºC/min เส้นของ MgO คือเส้นล่างสุด
รูปที่ ๔ ผล H2-TPR -ของ MgO และตัวเร่งปฏิกิริยา Au/MgO บทความไม่ได้ให้รายละเอียดช่วงอุณหภูมิและอัตราการเพิ่มอุณหภูมิที่ใช้ เนื้อหาในบทความบอกว่าการวิเคราะห์ใช้เครื่องอัตโนมัติ AMI-200 Catalyst Characterization Instrument ที่ติดตั้ง quadrupole mass spectrometer เป็นตัวตรวจวัด แต่ทำไมแกนตั้งของกราฟถึงบอกเป็น TCD signal ก็ไม่รู้
บทความที่สาม
(รูปที่
๔)
เป็นผลการวิเคราะห์
H2-TPR
-ของ
MgO
และตัวเร่งปฏิกิริยา
Au/MgO
กราฟของ
MgO
คือเส้นบางสีเทา
ส่วนของ Au/MgO
คือเส้นทึบสีดำ
พึงสังเกตความคล้ายคลึงกันของเส้นสัญญาณ
MgO
ในรูปที่
๔ นี้กับในรูปที่ ๓
ที่เห็นได้ว่าที่อุณหภูมิตั้งแต่
500ºC
ขึ้นไป
เส้นสัญญาณเรียบตลอด บ่งบอกว่า
MgO
ไม่ได้ถูกรีดิวซ์เลยเนื้อหาใน
แต่ที่แปลกอย่างหนึ่งคือบทความบอกว่าการวิเคราะห์ใช้เครื่องอัตโนมัติ
AMI-200
Catalyst Characterization Instrument ที่ติดตั้ง
quadrupole
mass spectrometer เป็นตัวตรวจวัด
แต่ทำไมแกนตั้งของกราฟถึงบอกเป็น
TCD
signal ก็ไม่รู้
รูปที่ ๕ ผล H2-TPR ของตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/MgO และ Ni-Cu/MgO บทความไม่ระบุชนิด detector ที่ใช้และไม่ได้ให้รายละเอียดช่วงอุณหภูมิและอัตราการเพิ่มอุณหภูมิที่ใช้ จากเส้น Ni/MgO จะเห็นได้ว่ากราฟในรูปด้านขวานั้นขยายสเกลเพื่อให้ให้พีคใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับกราฟในรูปด้านซ้าย
บทความที่สี่
(รูปที่
๕)
ทำการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา
Ni/MgO
และ
Ni-Cu/MgO
ด้วยเทคนิค
H2-TPR
เช่นกัน
บทความไม่ได้ให้รายละเอียดใด
ๆ กับช่วงอุณหภูมิและอัตราการเพิ่มอุณหภูมิที่ใช้
แต่ดูจากลักษณะการไต่ขึ้นของกราฟเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจนถึงราว
640ºC
ก่อนจะลดลงทำให้คาดได้ว่าคงใช้ตัวตรวจวัดชนิด
TCD
ในบทความนี้ไม่มีการพูดถึงการรีดิวซ์
MgO
เลย
พีคต่าง ๆ
ที่เห็นนั้นได้รับการแปลว่าเป็นพีคการรีดิวซ์ของ
Ni
ไม่ก็
Cu
บทความที่ห้า
(รูปที่
๖)
ทำการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา
Cu/MgO
ด้วยเทคนิค
H2-TPR
โดยใช้เครื่องมือที่ทำขึ้นเองโดยใช้
TCD
ตรวจวัดปริมาณไฮโดรเจนที่ใช้ไป
ผลการวิเคราะห์ทุกตัวอย่างพบพีคเกิดขึ้นเพียงพีคเดียวที่ตำแหน่งอุณหภูมิประมาณ
330ºC
(ราว
ๆ 600
K) ที่ถูกแปลว่าเกิดจากการรีดิวซ์
CuO
เป็น
Cu
จากตัวอย่างต่าง
ๆ ที่ยกมาคงจะเห็นแล้วนะครับว่า
แม้ว่าจะเป็นตัวอย่างชนิดเดียวกันคือ
MgO
แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันกลับได้สัญญาณออกมาที่ไม่เหมือนกัน
บางกลุ่มนั้นตรวจไม่พบเลยว่า
MgO
ถูกรีดิวซ์ด้วยไฮโดรเจนได้แม้ว่าจะใช้อุณหภูมิสูง
แต่บางกลุ่มนั้นสรุปว่า
"สิ่งที่เห็นเป็นพีคที่อุณหภูมิสูง"
นั้นคือพีคที่เกิดจากการรีดิวซ์
MgO
หรือไม่ก็เกิดจากสารประกอบโลหะออกไซด์
(คือ
MgO
ไม่ได้ถูกรีดิวซ์)
ซึ่งผลการวิเคราะห์เหล่านี้ถ้าได้ทำการสอบเทียบกับหลาย
ๆ กลุ่มก็คงจะเห็นความขัดแย้งกันอยู่
และจุดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่ค่อยจะทำการวัดปริมาณ
H2
ที่ใช้ไป
เพราะถ้าทำการวัดแล้วอาจจะเห็นว่าถ้าสิ่งที่เห็นนั้นคือพีคจริง
ปริมาณออกซิเจนที่ดึงออกไปนั้นอาจมากกว่าน้ำหนักตัวอย่างก็ได้
รูปที่ ๖ ผล H2-TPR ของตัวเร่งปฏิกิริยา Cu/MgO ที่ใช้ TCD เป็นตัวตรวจวัด การวิเคราะห์เริ่มจากอุณหภูมิห้องไปจนถึง 650ºC (923 K) ด้วยอัตราการเพิ่ม 5ºC/min
รูปที่ ๖ ผล H2-TPR ของตัวเร่งปฏิกิริยา Cu/MgO ที่ใช้ TCD เป็นตัวตรวจวัด การวิเคราะห์เริ่มจากอุณหภูมิห้องไปจนถึง 650ºC (923 K) ด้วยอัตราการเพิ่ม 5ºC/min
อันที่จริงในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค
H2-TPR
หรือ
NH3-TPD
ที่ใช้
TCD
เป็นตัวตรวจวัดนั้น
การเตรียมตัวอย่างก่อนให้ทำการดูดซับแก๊ส
NH3
หรือเพิ่มอุณหภูมิหลังผ่านแก๊สผสม
H2
เข้าไปก็มีความสำคัญด้วย
เพราะปรกติแล้วตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์มักจะสัมผัสกับอากาศ
ทำให้รูพรุนของตัวอย่างเต็มไปด้วยอากาศ
ดังนั้นก่อนเริ่มการวิเคราะห์
(คือก่อนให้ทำการดูดซับแก๊ส
NH3
หรือเพิ่มอุณหภูมิหลังผ่านแก๊สผสม
H2)
จำเป็นที่ต้องกำจัดอากาศในรูพรุนออกให้หมดก่อน
เพราะถ้ามีอากาศค้างอยู่ในรูพรุน
พออุณหภูมิตัวอย่างเพิ่มสูงขึ้นอากาศก็จะแพร่ออกมากจากรูพรุน
และด้วยการที่อากาศนั้นมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าทั้ง
He
(ที่มักใช้เป็น
carrier
gas ในการวัด
NH3-TPD)
และ
H2
(แก๊สที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงจะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าแก๊สที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำกว่า)
จึงทำให้เห็นสัญญาณที่เปรียบเสมือนว่ามี
NH3
คายซับออกมาหรือ
H2
หายไปได้
แล้วตัวผมเองคิดว่า
"สิ่งที่เห็นเป็นพีคที่อุณหภูมิสูง"
นั้นคืออะไรเหรอ
การแปลผลตรงนี้ต้องระวังมาก
เพราะคำตอบหนึ่งได้เคยแสดงไว้แล้วใน
Memoir
ฉบับที่
๑๒๕๖ ที่กล่าวถึงข้างต้น
ซึ่งการทดสอบตรงนี้ทำได้ง่าย
ๆ ด้วยการผ่านแต่แก๊สเฉื่อยเท่านั้น
แล้วดูว่าตัวตรวจวัดมันให้สัญญาณอะไรออกมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น