นับถึงวันนี้ก็ขาดอีกไม่กี่เดือนก็จะครบ
๖ ปีแล้วที่ได้เข้าร่วมกับคณะทำงานของกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
เกี่ยวกับการเตรียมการเรื่องสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
(Dual-Use
Items หรือที่ย่อว่า
DUI)
จากปีแรกที่เข้าร่วมที่มีหลากหลายอาจารย์จากหลากหลายภาควิชาจากหลายหลากมหาวิทยาลัย
ที่มีความรู้ในแต่ละด้านที่แตกต่างกัน
กลายเป็นว่าเหลือกันเพียงแค่สิบคนเศษ
ๆ
ทำอย่างไรจึงจะทำให้งานนั้นเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคนทำงาน
นั่นคือสิ่งที่ท้าทาย
และสิ่งหนึ่งที่เห็นพอจะช่วยได้ก็คือการบันทึกประสบการณ์และความรู้ที่มี
เพื่อให้ผู้ที่มาใหม่หรือคนที่มารับช่วงงานได้รู้ว่าในช่วงก่อนหน้านั้นได้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง
และมีประเด็นปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่มีคำตอบหรือยังไม่เกิด
แต่ก็ควรที่ต้องเตรียมการรับมือ
การออกกฎข้อบังคับโดยที่ไม่สามารถอธิบายให้ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎนั้นเข้าใจว่าทำไมต้องมีข้อห้าม
จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปฏิบัติตามกฎได้
รวมบทความชุดนี้จึงเป็นการรวบรวมเนื้อหาที่เขียนลง
blog
โดยคัดมาเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ
DUI
ในส่วน
Australia
Group vol 1 ที่เป็นเรื่องของสารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมีโดยตรง
เนื้อหาในรวมบทความชุดนี้อาจแยกได้เป็นสองส่วนใหญ่
ๆ ส่วนแรกคือ อะไรคือ DUI
และ
DUI
นั้นครอบคลุมไปถึงไหนบ้าง
ส่วนที่สองนั้นจะเกี่ยวข้องกับสารเคมีที่ต้องควบคุม
ว่าทำไมจึงต้องควบคุม
วัตถุประสงค์ของการรวมบทความชุดนี้ก็เพื่อมอบเป็นของที่ระลึกให้กับคณะทำงานของกรมการค้าต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเรื่องนี้โดยตรง
จะเรียกว่าเป็นการแบ่งปันความรู้ทางด้านวิศวกรรมเคมีจากผู้ร่วมงานคนหนึ่ง
(ที่พอมีความรู้ทางด้านนี้อยู่บ้าง)
ให้ทางคณะทำงานเก็บเอาไว้เป็นฐานความรู้เผื่อจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ทำงานทางด้านนี้
ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ศึกษามาทางด้านวิศวกรรมเคมี
หรือศึกษามาทางด้านอื่นก็ตาม
กฎหมายฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันพุธที่
๑ มกราคม ๒๕๖๓
ที่กำลังจะถึงนี้
และด้วยการที่เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย
จึงยังมีสิ่งที่ท้าทายคณะทำงานอยู่อีกมาก
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความตระหนักถึงให้เห็นความสำคัญ
การทำให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่าย
การหาผู้มีความรู้และประสบการณ์
ไม่ว่าจะเป็นจากทางสถาบันการศึกษาหรือภาคอุตสาหกรรม
ที่จะเข้ามาช่วยในการพิจารณาว่าสินค้าแต่ละรายการนั้นเข้าข่ายหรือไม่
รวมทั้งการสะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf กดที่นี่
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf กดที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น