น่าจะราว
ๆ ๔๐ ปีเศษที่แล้วบ้านเราเคยมีปัญหาการคลังจนต้องลดค่าเงินบาท
ต้องประหยัดพลังงานด้วยการงดการออกรายการโทรทัศน์ตอนหกโมงเย็นถึงสองทุ่ม
เพราะกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่พอ
ช่วงนั้นก็ได้อาศัยฟังวิทยุและอ่านหนังสือ
ไฟถนนยังเปิดดวงเว้นดวง
และสิ่งหนึ่งที่มีการบิดเบือนราคามากคือราคาน้ำมันดีเซล
คือมีการมองว่าน้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันสำคัญเพื่อการพาณิชย์
ในขณะที่น้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันของรถเก๋ง
(คนมีตังค์)
ก็เลยมีการทำให้ราคาน้ำมันดีเซลถูกกว่าเบนซินมาก
(ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะราว
ๆ ครึ่งหนึ่งของเบนซิน)
ผลก็คือโรงกลั่นบ้านเราผลิตดีเซลได้ไม่พอใช้
ต้องนำเข้าน้ำมันดีเซลสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
ในขณะที่กลั่นเบนซินได้เหลือเฟือ
ต้องส่งออก
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำมันดีเซลไม่พอใช้ก็เพราะคนหันมาซื้อรถปิคอัพกันมากแทนการใช้รถเก๋ง
เพิ่งจะมีการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลนั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับเบนซิน
(ซึ่งจะว่าไปแล้วความจริงมันก็เป็นเช่นนั้น)
เมื่อราว
ๆ ๓๐ ที่ผ่านมา (จำเวลาที่แน่นอนไม่ได้
จำได้แต่เพียงว่าช่วงนั้นเรียนอยู่ต่างประเทศ)
รูปที่
๑ นำมาจาก
http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/structure-oil-price
แสดงโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
ณ กรุงเทพมหานคร ข้อมูลเป็นของวันศุกร์ที่
๒๔ มกราคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
(ที่มีการปรับราคาครั้งสุดท้ายจนถึงวันนี้)
ช่องแรกนั้นเป็นราคาต่อลิตรหน้าโรงกลั่น
ช่องสุดท้ายของตารางนั้นเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมัน
และใต้ตารางนั้นมีราคาเอทานอลที่ใช้สำหรับผลิตแก๊สโซฮอล์
และเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมันหรือ
Biodiesel
B100 ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซล
ลองดูราคาต้นทุนเองเล่น ๆ
ก่อนนะครับ
ในตารางคำย่อ
UG
คือ
Unleaded
gasoline
ซึ่งก็คือน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วและไม่ได้ใช้เอทานอลเป็นสารเพิ่มเลขออกเทน
อักษร H
ที่นำหน้าน้ำมันดีเซลมาจาก
High
Speed Diesel (HSD) หรือน้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องยนต์รอบสูง
เพราะน้ำมันดีเซลเองนั้นยังมี
Low
Speed Diesel (LSD)
หรือน้ำมันดีเซลรอบต่ำที่บางทีเรียกว่าน้ำมันขี้โล้ที่ใช้กับเครื่องยนต์เรือขนาดใหญ่
ส่วน FO
ย่อมาจาก
Fuel
Oil หรือน้ำมันเตาที่มีการแบ่งเกรดตามค่าความหนืด
จากตารางคงเห็นได้ไม่ยากนะครับว่าต้นทุนกับราคาขายมันกลับกันอยู่
คือน้ำมันที่ต้นทุนต่ำสุด
(ไม่ว่าจะเป็นเบนซินหรือดีเซล)
กลับมีราคาขายปลีกแพงกว่าน้ำมันที่มีต้นทุนแพงกว่า
(พวกที่มีเอทานอลหรือเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมันผสมอยู่เยอะ)
ดังนั้นจึงไม่ควรแปลกใจนะครับว่าทำไมเวลาที่น้ำมันตลาดโลกมีราคาเปลี่ยนแปลง
(ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง)
ราคาน้ำมันเบนซินที่มีเอทานอลผสมอยู่ยิ่งเยอะยิ่งไม่ค่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงเท่าใด
เพราะว่ามันมีน้ำมันอยู่ในส่วนผสมที่ต่ำกว่า
ปัจจัยที่ทำให้น้ำมันที่มีราคาต้นทุนสูงขายในราคาที่ต่ำกว่าได้นั้นคือเงินจากกองทุนน้ำมัน
(Oil
Fund) จะเห็นว่าน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์
E10
และ
H-Diesel
นั้นทุก
ๆ ลิตรที่ขายได้จะต้องมีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
ส่วนพวกที่มีเอทานอลผสมอยู่เยอะ
(ได้แก่
E20
และ
E85)
หรือน้ำมันดีเซล
B10
และ
B20
ต่างต้องดึงเงินกองทุนน้ำมัน
(ที่มีรายได้จากน้ำมันต้นทุนต่ำแต่ขายแพง)
มาอุดหนุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง E85
จะเห็นว่าต้นทุนหน้าโรงกลั่นนั้นสูงกว่าราคาขายปลีกอีก
ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจนะครับว่าที่ผ่านมาที่มีการเรียกร้องให้ขยายการขาย
E20
และ
E85
กันนั้น
ทำไมมันถึงไม่มีการขยาย
เพราะถ้าคนหันมาใช้พวกนี้กันเยอะมากขึ้น
(คือใช้พวก
E10
น้อยลง)
จะเอาเงินที่ไหนมาชดเชยให้ขายในราคาถูกหรือต่ำกว่าทุนได้
ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมามีข่าวพูดถึงการจะเลิกให้แก๊สโซฮอล์
91
E10 โดยจะดันแก๊สโซฮอล์
95
E20 ขึ้นมา
ถ้าแก๊สโซฮอล์ 91
E10 หายไป
คนใช้แก๊สโซฮอล์ 91
E10 ก็คงต้องหันไปใช้แก๊สโซฮอล์
95
E10 แทน
สิ่งที่น่าจับตามองก็คือผลต่างราคาของแก๊สโซฮอล์
95
E20 กับแก๊สโซฮอล์
95
E85 นั้นจะเป็นอย่างไร
เพราะมันจะไม่มีแก๊สโซฮอล์
91
E10 เป็นตัวขวางเอาไว้
รูปที่
๑ โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปของไทย
(ราคากรุงเทพ)
ณ
วันศุกร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๓
ความสามารถในการพิ่งพาตนเองของประเทศเป็นสิ่งสำคัญ
ดังนั้นสินค้าบางอย่างแม้ว่านำเข้าจากตลาดโลกจะถูกกว่าผลิตเองในประเทศ
แต่ก็จำเป็นต้องผลิตเองในประเทศ
(เช่นน้ำตาลทรายที่เคยเป็นมา)
การใช้เอทานอลและน้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเป็นการลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศหรือลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจริงหรือไม่นั้นจำเป็นต้องดูตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต
ที่แต่ก่อนจะมีการศึกษาที่เรียกว่า
"From
cradle to grave" หรือ
"Life
cycle assessment"
คือการประเมินวัฏจักรของกระบวนการว่ามันผลิตของเสียในขั้นตอนไหน
โดยเริ่มจากแหล่งที่มาของวัตถุดิบไปจนถึงการจัดการขยะสุดท้ายที่เกิดจากการใช้งานสุดท้าย
เป็นที่ทราบกันว่าเอทานอลที่ได้จากกระบวนการหมักนั้นไม่ได้มีความเข้มข้นสูง
(ราว
ๆ 15%
ในน้ำ)
เพราะถ้าเอทานอลเข้มข้นมากไปมันจะไปฆ่าเชื้อที่ใช้ในการหมัก
และการกลั่นแยกเอทานอลที่ระดับความเข้มข้นนี้ให้สูงถึงระดับที่นำไปผสมกับน้ำมันเบนซินได้นั้น
(ต้องสูงไม่ต่ำกว่า
99.0%vol)
นั้นใช้พลังงานมาก
เผลอ ๆ อาจใช้พลังงานมากกว่าที่ได้จากเอทานอลที่กลั่นได้อีก
และพลังงานที่ต้องใช้ในการกลั่นนี้ได้มาจากไหน
(ถ่านหินนำเข้า
???)
ในขณะที่เอทานอลที่ได้นั้นสามารถนำมาทดแทนน้ำมันเบนซิน
แต่น้ำมันเชื้อเพลิงที่ยานพาหนะใช้ในการขนวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเอทานอลและขนส่งเอทานอลนั้นใช้น้ำมันอะไร
การทดแทนน้ำมันตัวหนึ่งแต่ไปเพิ่มการใช้งานน้ำมันอีกตัวหนึ่งนั้นมันสมเหตุสมผลหรือไม่
(ถ้าการชดเชยนั้นมันสูงกว่าก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้ามันต่ำกว่าก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
อันนี้ยังไม่รวมถึงการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร
(ที่ต้องจ่ายด้วยเงินตราต่างประเทศ)
เพื่อผลิตพืชที่จะนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง
กล่าวคืออาจลดการจ่ายเงินเพื่อนำเข้าเชื้อเพลิง
แต่ไปเพิ่มการจ่ายเงินในหมวดอื่นแทนในการผลิตพลังงานทดแทน
ซึ่งก็ควรต้องพิจารณาเหมือนกันว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่
หรืออย่างในกรณีของเมทิลเอสเทอร์ของน้ำมันพืช
การผลิตเมทิลเอสเทอร์นี้ต้องใช้เมทานอล
(methanol
CH3OH) ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ยิ่งมีการผลิตไบโอดีเซลเพิ่มมากขึ้น
ก็ยิ่งต้องนำเข้าเมทานอลเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งก็ควรต้องมีการพิจารณาว่าแม้ว่าจะลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้
แต่ปริมาณเมทานอลและเงินตราต่างประเทศที่ต้องจ่ายนั้นมันคุ้มกันหรือไม่
อันที่จริงในกรณีของน้ำมันปาล์มนั้นมีการมองกันไปไกลกว่านั้นอีก
คือแทนที่จะเปลี่ยนเป็นเมทิลเอสเทอร์ก็หาทางตัดสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนของโมเลกุลน้ำมันปาล์มให้กลายเป็นโครงสร้างโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่ยังเป็นโมเลกุลที่เป็นเส้นอยู่
(linear
aliphatic alkanes) แล้วขายในรูปของสารเพิ่มค่าซีเทน
(Cetane
no.) ให้กับน้ำมันดีเซล
หรือน้ำมันเครื่องยนต์เจ็ต
ก็จะได้ราคาที่ดีกว่า
แถมยังไม่ต้องไปพึ่งพาเมทานอลจากต่างประเทศด้วย
จะว่าไปก็ได้ยินมาว่ามีบางบริษัทที่ผลิตน้ำมันจากพลาสติกก็ใช้การเปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรงที่มีค่าซีเทนสูง
(ระดับ
100)
แล้วจำหน่ายเป็นสารเพิ่มเลขซีเทนแทนที่ขายได้ราคาดีกว่า
แทนที่จะขายเป็นน้ำมันดีเซล
(เลขซีเทนอยู่ที่
50
กว่า)
เคยมีวิศวกรจากโรงกลั่นแห่งหนึ่งถามความเห็นผมว่าการนำน้ำมันพืชมาผสมกับน้ำมันดีเซลนั้นมีความเห็นอย่างไร
ผมก็ตอบเขาไปว่าโดยความเห็นส่วนตัวแล้ว
ควรจะเป็นการผสมโดยตรงโดยไม่ต้องผลิตเป็นเมทิลเอสเทอร์ก่อน
เพราะมันจะช่วยลดต้นทุน
แต่คนใช้รถยนต์อาจจะไม่ชอบ
แต่มันก็มีตลาดพวกเครื่องยนต์ดีเซลที่ทำงานที่รอบเครื่องคงที่ไม่ได้หวือหวาเปลี่ยนตามอารมณ์ของผู้ควบคุมเครื่อง
(เช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า)
หรือพวกที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไอน้ำใช้ในโรงงาน
ส่วนเอทานอลนั่นหรือ
ผมว่ามันก็แปลกดีเหมือนกัน
พวกเรียนทางด้านกระบวนการหมักเพื่อผลิตอาหารนั้นผลิตสารละลายเอทานอลเข้มข้นเพียงแค่ประมาณ
5%
ก็ขายได้ตกลิตรละร่วม
๒๐๐ บาทในรูปของไวน์
ส่วนพวกเรียนวิศวกรรมเคมีนั้นพยายามผลิตเอทานอลเข้มข้น
99%
จากเอทานอลความเข้มข้นต่ำเพื่อขายในราคาลิตรละ
๒๐ กว่าบาท ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น