ถนนเลียบคลองประเวศบุรีรมย์ได้มีโอกาสเข้าไปครั้งแรกก็น่าจะตอนที่มอเตอร์เวย์ไปชลบุรีสร้างเสร็จใหม่ ๆ ที่เข้าไปก็เพราะเห็นมีป้ายบอกไปตลาดคลองสวน ๑๐๐ ปีก็เลยอยากรู้ว่าตลาดนี้มันเป็นอย่างไร ถนนตอนนั้นเป็นถนนลาดยางสองช่องทางจราจร ไม่มีไหล่ทาง บางช่วงตรงบริเวณคอสะพานจะมีกระสอบทรายวางกั้นน้ำเวลาน้ำในคลองขึ้นสูง บางช่วงของปีจะมีร้ายขายหนูนาและงูเห่า (สำหรับทำอาหาร) อยู่ริมถนน ช่วงฤดูทำนายังเห็นนาข้าวขึ้นเขียวขจีสองข้างทางในบางช่วง ตลาดคลองสวนตอนนั้นยังเป็นตลาดเงียบ ๆ แบบของชุมชนเล็ก ๆ ยังไม่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบในปัจจุบัน ยังมีร้านขายอาหารตามสั่งแบบธรรมดา ๆ นั่งกินได้ริมคลองแบบเงียบ ๆ รับลมเย็นแบบสบาย
เมื่อตอนต้นเดือนอยากจะลองเปลี่ยนเส้นทางขับรถก็เลยขับเข้าเส้นนี้ใหม่ วันนี้ถนนเส้นนี้กลายเป็นถนนคอนกรีตฝั่งละสามช่องจราจร บรรยากาศร่มรื่นแบบเดิมหายไปหมดแล้ว (แบบเดียวกับถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ช่วงจากพุทธมณฑลสาย ๒ ไปยังศาลายา) แต่ครั้งนี้ตั้งใจจะไปหาโอกาสถ่ายรูปสถานีรถไฟสายตะวันออกย่านชานเมืองเก็บสะสมเอาไว้ว่าขณะนี้มีบรรยากาศอย่างไร เผื่อในอนาคตชานเมือนมันจะเปลี่ยนแปลงแบบไม่เหลือเค้าเดิมเพราะกลายเป็นเมืองไปหมดแล้วเช่นตามทางรถไฟสายใต้ ดูจากเวลาที่มีแล้วก็คิดว่าคงแวะได้สักสองที่ และที่เลือกไว้ก็คือสถานีเปรงและคลองแขวงกลั่น สำหรับวันนี้ก็จะเป็นการเล่าเรื่องด้วยรูปของสถานีเปรง ส่วนอีกสถานีขอเอาไว้คราวต่อไป
รูปที่ ๑ รูปจากแผนที่ทหารรหัส L509 จัดทำโดยกองทัพสหรัฐ ฉบับจัดพิมพ์ครั้งแรกที่ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๕๒ (พ.ศ. ๒๔๙๕) และนำมาประมวลผลในปีค.ศ. ๑๙๕๘ (พ.ศ. ๒๕๐๑) จะเห็นว่าสถานีเปรง (2) อยู่ระหว่างสถานีคลองหลวงแพ่ง (1) ด้านตะวันตก และสถานีคลองบางพระ (3) ด้านตะวันออก รูปที่ ๒ ป้ายเก่าบอกชื่อสถานีข้างเคียง ยังบอกว่าอยู่ระหว่างคลองหลวงแพ่งกับคลองบางพระ รูปที่ ๓ แต่ตอนนี้มีสถานีเพิ่มคือสถานีคลองอุดมชลจรกับคลองแขวงกลั่น รูปที่ ๔ ป้ายชื่อเก่าประจำอาคารสถานี รูปที่ ๕ มองไปยังด้านทิศตะวันตก (สถานีคลองอุดมชลจร) รูปที่ ๖ ตัวอาคารที่ทำการสถานีปัจจุบัน รูปที่ ๗ มองไปทางทิศตะวันออก (สถานีคลองแขวงกลั่น)รูปที่ ๘ สุดปลายชานชาลาด้านตะวันตก
รูปที่ ๙ บรรยากาศบริเวณด้านหน้าของอาคารสถานี
รูปที่ ๑๐ ขึ้นมาถ่ายรูปบนสะพานลอยข้ามทางรถไฟ มองไปยังทิศตะวันออก สถานีนี้มี ๖ รางด้วยกัน
รูปที่ ๑๑ จากสะพานลอยมองไปยังด้านทิศตะวันตก
รูปที่ ๑๒ บรรยากาศชุมชนบริเวณรอบตัวสถานีด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือรูปที่ ๑๓ บรรยากาศชุมชนบริเวณรอบตัวสถานีด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
รูปที่ ๑๔ รูปข่าวจากเว็บหนังสือพิมพ์บ้านเมือง สถานีนี้เคยมีรถไฟบรรทุกปูนซิเมนต์วิ่งเลยสุดราง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น