ผมเคยตั้งคำถามในที่ประชุมว่า
"ทำไมเวลาเราเห็นผู้เรียนไม่เก่งภาษาอังกฤษ
เราก็มักจะมาแก้ด้วยการให้ผู้สอนวิชาอื่น
(เช่น
คณิตศาสตร์ เคมี เทอร์โมไดนามิกส์)
พยายามแก้ไขด้วยสอดแทรกการสอนวิชาดังกล่าวให้เป็นภาษาอังกฤษ
แล้วทำไมเวลาที่เราเห็นผู้เรียนไม่เก่งวิชาอื่น
เช่น คณิตศาสตร์ เคมี
ที่ไม่ใช่วิชาภาษาอังกฤษ
เราจึงไม่ขอให้ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษแทรกความรู้เหล่านั้นเข้าไปในวิชาภาษาอังกฤษบ้าง"
คำถามดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับคำตอบมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว
ระหว่างเดินดูหนังสือเก่า
ๆ ที่วางอยู่บนชั้นในห้องสมุดว่ามีหนังสืออะไรบ้าง
ก็ไปพบหนังสือเล่มหนึ่งที่พิมพ์เอาไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.
๒๕๐๖
หรือกว่า ๕๐ ปีที่แล้ว
ชื่อเรื่อง "เมืองไทยในอดีต"
เขียนโดยท่านผู้ใช้นามปากกาว่า
"นายอินเครา"
จากที่ปรากฏในบทนำทำให้เดาว่าท่านน่าจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ท่านหนึ่งของหนังสือพิมพ์
"พิมพ์ไทย"
หนังสือดังกล่าวมีเรื่องที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่องโดยเฉพาะเหตุการณ์ช่วงต้นรัตนโกสินทร์
แต่เห็นมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ
เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของคนในสมัยก่อน
นั่นก็คือ "การท่องสูตรคูณ"
การท่องสูตรคูณแบบปัจจุบัน
ที่เริ่มจากแม่สอง (สองหนึ่งสอง
สองสองสี่ ...)
ไปจนถึงแม่สิบสองนั้นเริ่มขึ้นเมื่อใดก็ไม่รู้เหมือนกัน
แต่บทความในหนังสือดังกล่าวก็ทำให้ทราบว่าคงจะมีมาอย่างน้อยก็ก่อนพ.ศ.
๒๕๐๖
แล้ว ก่อนหน้านั้นจะเป็นการท่องสูตรคูณเพียงแม่เก้า
แต่แทนที่จะท่องเป็นภาษาไทยเหมือนในปัจจุบัน
เขากลับท่องกันเป็นภาษา
"บาลี"
ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเรียกว่าเป็นการ
"แทรกการสอนภาษาเข้าไปในวิชาคณิตศาสตร์"
หรือ
"แทรกการสอนคณิตศาสตร์เข้าไปในการสอนภาษา"
ดีกว่ากัน
ปิดท้ายที่ว่างของหน้ากระดาษด้วยภาพบรรยากาศจากห้องพักผ่อนที่ถ่ายเมื่อเที่ยงวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น