หมู่
p-quinone
และหมู่
azo
เป็นหมู่โครโมฟอร์
(chromophore
หรือหมู่ทำให้เกิดสี)
ที่แรง
ส่วนหมู่ฟังก์ชันที่เป็นเบสพวก
-NH2
-NHR -NR1R2 และหมู่ฟังก์ชันที่เป็นกรดเช่น
-SO3H
ต่างก็เป็นหมู่ออกโซโครม
(auxochrome
หรือหมู่เร่งสี)
ที่แรงที่ช่วยให้สีที่เกิดจากหมู่โครโมฟอร์นั้นเข้มขึ้น
ดังนั้นสารอินทรีย์ที่มีหมู่เหล่านี้อยู่ในโมเลกุลจึงเป็นที่ต้องการในวงการสีย้อมที่เป็นสารอินทรีย์
และสารตัวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างโมเลกุลสารอินทรีย์ที่มีสีคือ
Sulfanilic
acid ที่ประกอบด้วยหมู่
-NH2
และ
-SO3H
ที่อยู่ในตำแหน่ง
para
ของวงแหวนเบนซีน
(รูปที่
๑)
สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก
"หมู่ทำให้เกิดสี
(chromophore)"
และ
"หมู่เร่งสี
(auxochrome)"
คืออะไร
ขอแนะนำให้ย้อนอ่าน Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๘๕ วันอาทิตย์ที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"หมู่ทำให้เกิดสี (chromophore) และหมู่เร่งสี (auxochrome)"
เพื่อเป็นการปูความรู้พื้นฐานเบื้องต้น
รูปที่
๑ ตัวอย่างหมู่ทำให้เกิดสี
(chromophore)
และหมู่เร่งสี
(auxochrome)
หมู่
-NH2
เป็น
ring
activating group ที่แรงตัวหนึ่ง
(และยังเป็นหมู่
ortho
และ
para
directing group ด้วย)
ทำให้วงแหวนเบนซีนมีความว่องไวในการแทนที่ครั้งที่สองมากขึ้น
แต่ด้วยความที่หมู่ -NH2
มีฤทธิ์เป็นเบส
ด้วยเหตุนี้ในปฏิกิริยาที่มีกรดเข้าร่วมด้วยนั้น
เช่นปฏิกิริยา sulphonation
และ
nitration
กรดจะเข้าไปเกาะที่หมู่
-NH2
ก่อน
ทำให้มันกลายเป็นหมู่ -NH3+
ที่เป็นหมู่ดึงอิเล็กตรอนออกจากวงแหวน
ทำให้วงแหวนมีความว่องไวต่ำลงและยังเกิดการแทนที่ครั้งที่สองที่ตำแหน่ง
meta
แทน
รูปที่
๒ บทความการทำปฏิกิริยา
sulphonation
ของ
aniline
ที่เผยแพร่ในวารสาร
J.
Chem. Soc., Perkin Trans. 2, 1977,0, 1008-1010
กรดไนตริก
HNO3
เข้มข้นมีความเข้มข้นประมาณ
70%
ในขณะที่กรดกำมะถัน
H2SO4
เข้มข้นมีความเข้มข้น
98%
และถ้าละลาย
SO3
ลงไปในกรดกำมะถันเข้มข้นก็จะได้สารละลายที่เรียกว่า
"Fuming
sulphuric acid" หรือ
"Oleum"
ที่บางทีก็เขียนด้วยสูตรเคมีว่า
H2SO4.SO3
หรือ
H2S2O7
กรดกำมะถันที่ระดับความเข้มข้นสูงนี้มันไม่มีการแตกตัวให้
H+
เพราะมันไม่มีโมเลกุลอื่น
(เช่น
H2O)
มารับโปรตอน
มันก็เลยบรรจุในถังเหล็กได้โดยไม่กัดกร่อน
บทความที่นำมาแสดงในรูปที่
๒ และ ๓ เป็นการทดลองการทำปฏิกิริยา
sulfonation
ของ
aniline
ด้วยสารละลายกรดกำมะถันเข้มข้น
การทำปฏิกิริยาทำทั้งในกรดกำมะถันเข้มข้นและตัวทำลาย
"aprotic
solvent" (พวกที่ไม่มีอะตอม
H
ที่มีฤทธิ์เป็นกรด
ดังนั้นจึงไม่การสร้างพันธะไฮโดรเจน)
โดยในกรณีของการทำปฏิกิริยาใน
aprotic
solvent ที่อุณหภูมิห้องพบว่าผลิตภัณฑ์หลักเกิดจากปฏิกิริยา
N-sulphonation
(กรดเข้าไปทำปฏิกิริยาที่อะตอม
N
ของหมู่
-NH2)
แต่เมื่ออุณหภูมิการทำปฏิกิริยาสูงขึ้นจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่ง
ortho
และ
para
แต่พอเป็นการทำปฏิกิริยาด้วยกรดกำมะถัน
oleum
ที่อุณหภูมิ
25ºC
พบว่าผลิตภัณฑ์หลักที่ได้เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่ง
meta
โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่ง
para
ในปริมาณที่ต่ำกว่าเล็กน้อย
(Table
2 ในรูปที่
๓)
แต่พอเปลี่ยนเป็นการทำปฏิกิริยาด้วยกรดกำมะถันเข้มข้นที่อุณหภูมิสูงกลับพบว่าผลิตภัณฑ์หลักที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่ง
para
(ซึ่งก็คือ
sulfanilic
acid) เป็นหลัก
โดยมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่ง
ortho
ในปริมาณที่ต่ำกว่ามาก
(Table
3 ในรูปที่
๓)
รูปที่
๓ ผลการทดลองที่รายงานไว้ในบทความที่นำมาแสดงในรูปที่
๒ จะเห็นว่าการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ที่ได้
ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรด
H2SO4
ที่ใช้และอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา
Table
2 เป็นการทำปฏิกิริยาด้วย
oleum
(เห็นได้จากความเข้มข้นของกรดสูงเกินกว่า
100%)
ส่วน
Table
3 เป็นการทำปฏิกิริยาด้วยกรดกำมะถันเข้มข้น
Sulfanilic
acid
เป็นกรดที่เป็นสารตั้งต้นที่สำคัญตัวหนึ่งในการสังเคราะห์สีอินทรีย์
และยังนำไปใช้ในการผลิตสารที่ทำให้เกิดการเรืองแสงสีขาว
(ที่นำไปใช้กับกระดาษและสิ่งทอเพื่อให้ดูขาวขึ้น)
ด้วยเหตุนี้จึงมีความพยายามที่จะหาทางทำปฏิกิริยา
sulphonation
ของ
aniline
เพื่อให้ได้
sulfanilic
acid ในสัดส่วนที่มากที่สุด
(หรือทำให้เกิดการแทนที่ที่ตำแหน่ง
ortho
และ
meta
ให้ต่ำทึ่สุด)
ตัวอย่างเช่นสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
US
4,808,342 ชื่อ
Production
of Sulfonated Amines ได้นำเสนอวิธีการสังเคราะห์
sulfanilic
acid ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับโรงงาน
เช่นตัวอย่างในรูปที่ ๔
ที่แสดงวิธีการสังเคราะห์
sulfanilic
acid ด้วยกระบวนการแบบต่อเนื่องในระดับห้องปฏิบัติการ
แต่สิ่งหนึ่งที่บทความที่นำมาแสดงในรูปที่
๒ และ ๓ และสิทธิบัตร US
4,808,342 มีความเหมือนกันก็คือใช้กรดกำมะถันในสัดส่วนที่สูงกว่า
aniline
ในการทำปฏิกิริยา
รูปที่
๔ ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับการทำปฏิกิริยา
sulphonation
ของ
aniline
อย่างต่อเนื่อง
ที่เผยแพร่ในเอกสารสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
US
4,808,342 Production of Sulfonated Amines เมื่อ
๒๘ กุมภาพันธ์ ปีค.ศ.
๑๙๘๙
กลไกการเกิด
sulfanilic
acid ที่มีการนำเสนอกันคือ
H2SO4
เข้าเกาะที่หมู่
-NH2
ของ
aniline
ก่อน
จากนั้นเมื่อได้รับความร้อนจึงเกิดการ
"rearrangement"
โดยหมู่
H2SO4
ย้ายมาเกาะที่ตำแหน่ง
para
(เมื่อเทียบกับหมู่
-NH2)
พร้อมกับคายน้ำออก
(รูปที่
๕)
คำว่า
"rearrangement"
หมายถึงการที่หมู่ใดหมู่หนึ่งมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งจากตำแหน่งเดิมในโมเลกุลไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง
หรือมีการจัดการเรียงตัวรูปแบบใหม่ทำให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
แต่ถ้าว่าการตามแบบจำลองนี้มันก็มีคำถามตามมาว่าการย้ายตำแหน่งนี้มันไม่ใช่การย้ายไปยังอะตอม
C
ข้าง
ๆ (คือที่ตำแหน่ง
ortho)
ซึ่งเมื่อโมเลกุล
H2SO4
หลุดออกมาก็จะได้หมู่
-NH2
ซึ่งเป็น
ortho
directing group กลับคืนมา
และในช่วงที่โมเลกุล H2SO4
ย้ายตำแหน่งนั้น
มันไม่มีโมเลกุล H2SO4
อีกหนึ่งเข้ามาเกาะที่หมู่
-NH2
ที่ว่างลงหรือ
รูปที่
๕ กลไกการเกิดปฏิกิริยาที่มีการนำเสนอกันและสิทธิบัตร
US
4,808,342 นำมากล่าวเอาไว้
ในกลไกนี้กล่าวถึงการเกิดการ
rearrangement
ของ
H2SO4
ที่เดิมเกาะอยู่กับหมู่
-NH2
ว่ามีการย้ายมาเกิดปฏิกิริยายังตำแหน่ง
para
เมื่อทำการให้ความร้อนเพื่อไล่น้ำ
(ขั้นตอน
II)
ซึ่งสิทธิบัตร
US
4,808,342 กล่าวว่าปฏิกิริยาไม่น่าจะเกิด
พึงสังเกตว่าการทำปฏิกิริยานี้กระทำในตัวกลางที่เฉื่อย
มีจุดเดือดสูง และไม่ผสมรวมเข้ากับน้ำได้
ด้วยเหตุนี้จึงมีการมองกันว่าในเมื่อปฏิกิริยาเกิดในสารละลายกรดเข้มข้มที่มีกรดมากเกินพอ
มันไม่ง่ายกว่าหรือถ้าจะมองว่ามี
H2SO4
อีกโมเลกุลที่หนึ่งเข้าเกาะที่ตำแหน่ง
para
แล้วค่อยปล่อยโมเลกุล
H2SO4
ที่เกาะที่
-NH2
ออกไป
แบบจำลองในรูปที่
๖ นั้นโมเลกุล H2SO4
จะเข้าเกาะที่หมู่
-NH2
ก่อนกลายเป็น
phenylsulfamic
acid (ขั้นตอน
III
และ
IV)
พึงสังเกตว่าอะตอม
N
ของ
phenylsulfamic
acid นี้ยังคงมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่
ดังนั้นยังคงคุณสมบัติเป็น
ortho
และ
para
direction group อยู่
แต่ความเป็นเบสของอะตอม N
ลดลงเนื่องจากมีหมู่
-SO3H
ดึงอิเล็กตรอนออก
จากนั้นโมเลกุล H2SO4
อีกโมเลกุลหนึ่งจึงเข้ามาเกาะกับวงแหวนที่ตำแหน่ง
para
(ขั้นตอน
V)
ตามด้วยการคายหมู่
H2SO4
ที่เกาะกับหมู่
-NH2
ออกไป
ก็จะได้ sulfanilic
acid เป็นผลิตภัณฑ์
(ขั้นตอน
VI)
รูปที่
๖ กลไกที่สิทธิบัตร US
4,808,342 กล่าวว่าน่าจะเกิดมากกว่าคือมีโมเลกุล
H2SO4
อีกโมเลกุลหนึ่ง
(คนละตัวกับที่เกาะอยู่กับหมู่
-NH2)
ที่เข้าไปทำปฏิกิริยาที่ตำแหน่ง
para
อันที่จริงการเปลี่ยนจาก
phenylsulfamic
acid ไปเป็น
sulfanilic
acid ได้อย่างไรนั้นก็เป็นหัวข้อที่ได้ครับความสนใจมานานแล้ว
ดังเช่นบทความที่นำมาแสดงในรูปที่
๗ ที่เป็นผลการศึกษาเอาไว้เมื่อกว่า
๖๐ ปีที่แล้วที่กล่าวว่าการจัดเรียงตัวใหม่ของ
phenylsulfamic
acid ไปเป็น
sulfanilic
acid นั้นมีทั้งเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้
ซึ่งตรงนี้ดูเหมือนว่าชนิดของตัวทำละลายที่ใช้และอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาต่างมีบทบาทสำคัญทั้งคู่
รูปที่
๗ บทความที่ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ที่
phenylsulfamic
acid จะเกิดการเรียงตัวใหม่กลายเป็น
sulfanilic
acid (G. Illuminati, J. Am. Chem. Soc., 78, 2603-2606 (1956))
จากบทคัดย่อในรูปที่
๗ นั้น รายงานกล่าวว่าการทดลองที่กระทำโดยใช้
"glacial
acetic acid"
ที่เย็นเป็นตัวทำละลายนั้นนั้นไม่แสดงให้เห็นถึงการเกิดการจัดเรียงตัวใหม่ของ
phenylsulfamic
acid แต่การทดลองที่ใช้
"dioxane"
ที่แห้ง
(คือปราศจากน้ำ)
ที่
100ºC
กลับพบว่าผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาคือ
sulfanilic
acid เป็นตัวหลัก
สองการทดลองนี้ต่างกันตรงที่
glacial
acetic acid (กรดอะซีติกที่ไม่มีน้ำ)
เป็นตัวทำละลายชนิด
"polar
protic" คือมีขั้วและสร้างพันธะไฮโดรเจนได้
และตัวมันเองก็ยังสามารถแตกตัวให้โปรตอนโดยให้โมเลกุล
CH3COOH
อีกโมเลกุลหนึ่งเป็นตัวรับโปรตอนได้
แต่ในกรณีของการทดลองที่สองนั้นใช้
dioxane
ที่เป็นตัวทำละลายชนิด
"polar
aprotic" คือมีขั้วแต่ไม่สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนได้
ดังนั้นกรด H2SO4
ในการทดลองที่สองนี้จึงไม่น่าจะมีการแตกตัวเหมือนในการทดลองแรก
และด้วยการใช้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่สูงกว่า
ผลที่ได้จึงแตกต่างกัน
รูปที่
๘ เป็นปฏิกิริยาการสังเคราะห์
methyl
orange ที่ใช้เป็นอินดิเคเตอร์ตัวหนึ่งในการไทเทรต
โดยเตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง
sulfanilic
acid กับ
N,N-Dimethylaniline
การเตรียมเริ่มด้วยการที่
sulfanilic
acid ทำปฏิกิริยากับกรด
HNO2
ก่อน
เกิดเป็น diazonium
ion ซึ่งจะทำปฏิกิริยา
coupling
กับ
N,N-Dimethylaniline
อีกที
รูปที่
๘ ปฏิกิริยาการสังเคราะห์
methyl
orange
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น