วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

เส้นทางรถไฟที่หายไป (๓) (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๔๖) MO Memoir : Sunday 20 January 2562

ในหลายท้องที่ของไทยที่ทั้งการทำไม้และทำเหมืองนั้น การมีเส้นทางรถไฟดูเหมือนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดชุมชนใหม่ ๆ ขึ้นแม้ว่าเส้นทางรถไฟดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม เพราะการมีเส้นทางรถไฟทำให้คนสามารถเดินทางเข้า-ออกพื้นที่ที่ยากหรือต้องใช้เวลานานในการเดินเท้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่กรณีของเส้นทางรถไฟทำไม้ของบริษัทศรีมหาราชา ที่ทำให้เกิดการบุกเบิกพื้นที่ป่าเดิมลึกเข้าไปในแผ่นดิน การเกิดชุมชนใหม่ตามจุดที่เป็นสถานีรถไฟ และการทำให้ศรีราชากลายเป็นชุมชนใหญ่จนได้รับการยกฐานะขึ้นมาเป็นอำเภอแทนบางพระ

รูปที่ ๑ แผนที่ทหาร L509 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ ของบริเวณจ.สุราษฏร์ธานี

ข้อดีอย่างหนึ่งของรถไฟก็คือใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย ใครมีถ่านหินก็เผาถ่านหินต้มน้ำ ใครมีไม้ฟืนก็เผาไหม้ฟืนต้มน้ำ ถึงแม้ว่าเชื้อเพลิงที่ต่างกันจะให้ความร้อนที่ไม่เท่ากัน แต่มันก็ทำให้รถไฟวิ่งได้เหมือนกัน ในกรณีของไม้ฟืนนั้นถ้าหากตามเส้นทางรถไฟนั้นมีป่าอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขนไม้จากแหล่งอื่นไปกองไว้ตามเส้นทางที่รถไฟวิ่ง สามารถใช้การตัดไม้จากป่าในบริเวณข้างทางรถไฟมากองไว้ยังจุดพักเติมฟืนได้เลย (จะมีแปลกหน่อยก็คือรถไฟลากไม้ของบริษัทศรีมหาราชา ที่จะทำการขนเศษไม้จากโรงเลื่อยไปด้วย ให้เพียงพอสำหรับการเดินทางทั้งไปและกลับ) และหลายแห่งนั้นการขนไม้จากป่าบริเวณข้างทางรถไฟก็ใช้การสร้างเส้นทางรถไฟแตกแขนงออกไป ดังเช่นที่บ้านห้วยมุด สุราษฎร์ธานี
 
สำหรับ Memoir ฉบับนี้ก็ถือว่าเป็นการรวมสิ่งที่ได้ไปพบเห็นจากแผนที่ที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ก็เลยขอนำมาบันทึกไว้ในที่นี้เพื่อกันลืม เพื่อว่าต่อไปในอนาคตใครอยากจะค้นคว้าลงลึกไปอีก ก็จะได้พอมีข้อมูลให้เริ่มต้นบ้าง ดังนั้นวันนี้ก็ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพก็แล้วกัน สวัสดีครับ

รูปที่ ๒ จากแผนที่ในรูปที่ ๑ บริเวณบ้านห้วยมุดปรากฏแนวเส้นทางรถไฟ (ที่คงใช้สำหรับการลำเลียงไม้ฟืนจากป่า) มายังสถานนีรถไฟ

รูปที่ ๓ แผนที่ TACTICAL PILOTAGE CHART TPC K9-C นำมาจาก http://legacy.lib.utexas.edu/maps/tpc/txu-pclmaps-oclc-22834566_k-9c.jpg แผนที่นี้เน้นเฉพาะการเดินทางทางอากาศ โดยมีการระบุในกรอบสี่เหลี่ยมทางด้านซ้ายว่าข้อมูลที่ใช้มีการยืนยันถึงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๘๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) แต่ในข้อความในคอลัมน์ด้านขวาบอกว่าใช้ข้อมูล (คงเป็นภูมิประเทศ) ที่ทำการประมวลผลในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๖๙ (พ.ศ. ๒๕๑๒) เรียกว่าข้อมูลภูมิประเทศไม่ได้มีการปรับความถูกต้องตั้ง ๒๐ ปีก็ได้

รูปที่ ๔ ภาพขยายของแผนที่ในรูปที่ ๓ บริเวณสถานีรถไฟห้วยมุด ยังปรากฏแนวเส้นทางรถไฟจากสองข้างทางมายังสถานีรถไฟห้วยมุด

รูปที่ ๕ แผนที่ TACTICAL PILOTAGE CHART TPC K9-C ฉบับเดียวกับในรูปที่ ๓ แต่มาขยายเน้นบริเวณจังหวัดระนองและชุมพร ในฝั่งจ.ระนองทางด้านซ้ายยังปรากฏแนวรถไฟทำเหมือง (ในกรอบสีแดง) และในฝั่งจ.ชุมพรก็ยังปรากฏแนวเส้นทางรถไฟทำเหมืองบริเวณสถานีควนหินมุ้ย

รูปที่ ๖ แผนที่ฉบับนี้นำมาจาก https://911gfx.nexus.net/nc4707.html ขยายบริเวณจ.ชุมพร บริเวณตอนล่างจะเห็นแนวเส้นทางรถไฟทำเหมืองบริเวณสถานีควนหินมุ้ย

รูปที่ ๗ ภาพขยายของแผนที่ในรูปที่ ๖ บริเวณควนหินมุ้ย

รูปที่ ๘ แผนที่ส่วนต่อจากรูปที่ ๖ (นำมาจาก https://911gfx.nexus.net/mapnc4711.html) จะปรากฏแนวเส้นทางรถไฟทำเหมืองที่บริเวณบ้านควนหินมุ้ยทางตอนบนของแผนที่
 
รูปที่ ๙ แผนที่ส่วนขยายของรูปที่ ๘

รูปที่ ๑๐ แผนที่ TACTICAL PILOTAGE CHART TPC K9-C ฉบับเดียวกับในรูปที่ ๓ แต่มาขยายเน้นบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏเส้นทางรถรางของกรมโลหะกิจที่ขนแร่มายัง อ.สิชล เส้นทางรถรางสายนี้เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งใน Memoir ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒๖ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง "ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่ ๒๘ รถไฟหัตถรรม (เหมืองแร่-ป่าไม้ ในภาคใต้)"


รูปที่ ๑๑ แผนที่ TACTICAL PILOTAGE CHART TPC K9-C ฉบับเดียวกับในรูปที่ ๓ แต่มาขยายเน้นบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่แสดงเส้นทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคม ใน Memoir ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑๘๘ วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ เรื่อง "เส้นทางรถไฟที่หายไป" ในรูปที่ ๑๐ ที่ผมเขียนไว้ว่าอาจจะไม่ใช่เส้นทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคม แต่เมื่อตรวจสอบกับแผนที่นี้แล้วพบว่าคือตำแหน่งเส้นทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น