ภาคใต้ของประเทศไทยนั้นเคยเป็นแหล่งแร่ดีบุกและวุลแฟรมที่สำคัญ
มีการออกใบประทานบัตรให้เอกชนหลายรายเข้ามาขุดแร่มาเป็นเวลานานแล้ว
และยังมีการอนุญาตให้เอกชนบางรายทำการวางรางรถไฟ
(หรือรถราง)
ในการลำเลียงสินแร่ออกจากเหมืองมายังตัวเมืองหรือท่าเรือ
เพื่อทำการส่งไปขายต่อไป
ผมไม่ทราบว่าเส้นทางรถไฟหัตถกรรมเหล่านี้มีแผนที่ระบุเส้นทางฉบับสมบูรณ์อยู่ที่ไหน
ในราชกิจจานุเบกษาที่อนุญาตให้สร้างและเดินรถไฟนั้นก็ระบุเพียงแค่จุดตั้งต้น
(มักจะเป็นเหมืองแร่ที่ได้ประทานบัตร)
ไปยังจุดสิ้นสุด
โดยที่ไม่มีแผนที่ระบุเส้นทาง
ที่พอหาได้คือถ้าหากเส้นทางรถไฟเหล่านั้นโฉบผ่านเข้าไปในตัวเมือง
จะเป็นตำบลหรืออำเภอก็ดี
เวลาที่มีการประกาศตั้งสุขาภิบาลหรือเทศบาล
ก็จะมีเส้นทางรถไฟเหล่านั้นปรากฏในแผนที่
แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเส้นทางแต่ก็ยังนับว่าดีกว่าการไม่มีหลักฐานใด
ๆ แสดงว่าเส้นทางที่ได้รับอนุญาตนั้นมีการก่อสร้างจริง
รูปที่
๑ นำมาจากแผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง
จัดตั้งสุขาภิบาลท่านา
อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓
ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๒๐ กันยายน
พ.ศ.
๒๔๙๙
ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐
แสดงเส้นทางรถรางของบริษัทเรือขุดแร่จุติ
จำกัด ที่วางรางผ่านเขตสุขาภิบาลท่านา
และที่ตั้งสำนักงานบริษัทเรือขุดแร่จุติ
จำกัด
ส่วนรูปที่
๒ นำมาจากแจ้งความกรมรถไฟหลวง
เรื่องสร้างและเดิรรถไฟหัตถกรรม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๕
หน้า ๑๓๑๖ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม
พ.ศ.
๒๔๗๑
ที่อนุญาตให้บริษัทราดตรุดเบซินทินเดร็ดยิงโนไลเอบิลลิตี้
ทำการสร้างและเดินรถไฟจากปากคลองสิชลไปยังเหมืองแร่ของบริษัทที่อยู่ห่างไป
๒๕ กิโลเมตร
ผมสงสัยว่าเส้นทางรถไฟดังกล่าวคือเส้นทางที่ระบุว่าเป็น
"รถรางของกรมโลหกิจ"
ที่มีจุดตั้งต้นบริเวณปากน้ำสิชลที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง
จัดตั้งสุขาภิบาลสิชล
อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓
ตอนที่ ๔๕ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม
พ.ศ.
๒๔๙๙
ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑ (ดูรูปที่
๓)
เส้นทางรถไฟอีกเส้นทางหนึ่งที่ค้นเจอคือเส้นทางรถไฟบรรทุกไม้ในเขตอำเภอบ้านนาสาร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เส้นทางดังกล่าวปรากฏในแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๗ พ.ศ.
๒๕๐๗
เรื่องประกาศเขตแนวป่าสงวน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๘๑ ตอนที่ ๑๒๖ วันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๗๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖
เส้นทางดังกล่าวมีปลายทางด้านหนึ่งอยู่บริเวณเขาตังกวน
และปลายทางอีกด้านหนึ่งมุ่งไปยังเส้นทางรถไฟสายใต้ที่สถานีห้วยมุด
ในหนังสือ
The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia โดย
B.R.
Whyte หน้า
๔๔ กล่าวว่า ที่สถานีรถไฟห้วยมุดมีรถไฟรางเล็ก
(narrow
gauge - ในที่นี้คือทางรถไฟที่มีขนาดรางกว้างน้อยกว่า
1
เมตร
รางรถไฟของเส้นทางสายใต้ตั้งแต่เริ่มต้นใช้ขนาดรางกว้าง
1
เมตร)
อยู่
๒ เส้นทางเพื่อใช้ในการขนไม้
เส้นทางแรกนั้นเริ่มจากทิศใต้ของสถานีวิ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
เป็นระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
และในสมัยหนึ่งเคยมีเส้นทางสั้น
ๆ ยาวประมาณ ๑
กิโลเมตรไปสิ้นสุดที่เหมืองแร่ห้วยคุ้ม
รูปที่
๑ แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง
จัดตั้งสุขาภิบาลท่านา
อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓
ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๒๐ กันยายน
พ.ศ.
๒๔๙๙
ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐
รูปที่
๒ แจ้งความกรมรถไฟหลวง
เรื่องสร้างและเดิรรถไฟหัตถกรรม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๕
หน้า ๑๓๑๖ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม
พ.ศ.
๒๔๗๑
อีกเส้นทางหนึ่งนั้นเริ่มจากทางด้านทิศเหนือของสถานี
ก่อนมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ไปสิ้นสุดที่เขาตังกวน
ระยะทางยาวประมาณ ๑๑ กิโลเมตร
เส้นทางรถไฟสายนี้คือเส้นทางที่ปรากฏในแผนที่ในรูปที่
๔
เส้นทางรถไฟเหล่านี้เป็นเส้นทางสำหรับนำไม้มาทำเป็นไม้หมอนและไม้ฟืนสำหรับรถไฟ
โดยเดิมมีโรงเลื่อยไม้อยู่ที่บริเวณสถานีห้วยมุด
ขนาดความกว้างของรางที่รายงานไว้คือ
๖๐๐ มิลลิเมตร
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรถไฟเป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง
การทำความเข้าใจประวัติศาสตร์รถไฟจำเป็นต้องเรียนรู้สภาพการเมือง
สังคม และเศรษฐกิจ ในช่วงเวลานั้นด้วย
เอาไว้จะค่อย ๆ
เอาเรื่องเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟัง
รูปที่
๓ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง
จัดตั้งสุขาภิบาลสิชล
อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓
ตอนที่ ๔๕ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม
พ.ศ.
๒๔๙๙
ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑
(รูปนี้ผมพลิกมันให้อยู่ในความยาวหน้ากระดาษเพื่อให้ได้รูปใหญ่ขึ้น)
รูปที่
๔ แผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๗ พ.ศ.
๒๕๐๗
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๘๑ ตอนที่ ๑๒๖ วันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๗๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖
ปรากฏเส้นทางรถไฟบรรทุกไม้จากเขาตังกวนไปยังทางรถไฟสายใต้ในเขตอำเภอบ้านนาสาร
(ในวงแดง)