ในภาคอุตสาหกรรม
การแยก CO2
ออกจากแก๊สมีการทำกันมานานแล้วและมีอยู่ด้วยกันหลายเทคนิค
ส่วนจะเลือกใช้เทคนิคใดนั้นขึ้นอยู่กับ
ปริมาณแก๊สที่ต้องแยก
ความเข้มข้น CO2
ในแก๊สขาเข้า
ความเข้มข้น CO2
ในแก๊สขาออกที่ยอมรับได้
และองค์ประกอบอื่นที่มีอยู่ในแก๊ส
เช่นในกรณีของ
CO2
ความเข้มข้นต่ำ
(ระดับ
ppm)
ที่ปนเปื้อนอยู่ในเอทิลีนที่ใช้ในกระบวนการพอลิเมอร์ไรซ์นั้น
การใช้การดูดซับด้วยของแข็งที่เป็นเบส
(เช่น
KOH)
ก็เป็นวิธีการที่เหมาะสม
เพราะทำเพียงแค่กะปริมาณเบสที่ต้องใช้ให้มากเพียงพอที่จะทำงานได้จนถึงรอบการหยุดเดินเครื่องเพื่อเปลี่ยนเอาเบสเก่าที่หมดสภาพทิ้ง
และใส่เบสใหม่เข้าไป
โดยในระหว่างการใช้งานนั้นก็ไม่ต้องมีการดูแลอะไร
ในกรณีของแก๊สที่มีปริมาณมากและมีความเข้มข้น
CO2
สูง
(เช่นแก๊สธรรมชาติที่ได้มาจากอ่าวไทย)
การใช้สารละลายเบสที่สามารถฟื้นคืนสภาพได้
(regeneration)
เช่นสารละลาย
K2CO3
หรือเอมีนต่าง
ๆ จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมมากกว่า
โดยหลักการของวิธีการนี้ก็คือให้สารละลายเบสดูดซับ
CO2
เอาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ
จากนั้นจึงนำเอาสารละลายเบสที่ดูดซับ
CO2
จนอิ่มตัวนั้นไปต้มไล่
CO2
ออกจากสารละลายเบสนั้นที่อุณหภูมิสูงขึ้น
ก็จะได้สารละลายเบสที่ไม่มี
CO2
ละลายปนอยู่หมุนเวียนกลับไปใช้ดูดซับ
CO2
ใหม่
(แต่ต้องหลังจากทำให้เย็นตัวลง)
ส่วน
CO2
ที่แยกออกมาได้นั้นก็ปล่อยทิ้งสู่บรรยากาศหรือเข้าสู่กระบวนการอื่นถ้าหากมีความต้องการ
รูปที่
๑ แผนผังทั่วไปโดยรวมของกระบวนการแยก
CO2
ออกจากแก๊ส
ในกรอบเส้นประสีน้ำเงินทางด้านซ้ายคือส่วนที่มักจะนำเสนอกันในบทความ
ส่วนที่อยู่ทางด้านขวานั้นต่างก็มีการปลดปล่อย
CO2
แต่ไม่ได้รับการกล่าวถึง
ถ้าเทียบกับการใช้สารดูดซับที่เป็นของแข็งแล้ว
การใช้สารดูดซับที่เป็นของเหลวมันมีข้อดีตรงที่มันลำเลียงผ่านทางระบบท่อได้ง่าย
แลกเปลี่ยนความร้อนให้มันร้อนขึ้นหรือเย็นลงก็ทำได้ง่าย
แต่มันก็มีข้อเสียบ้างตรงที่อาจมีตัวทำละลายบางส่วนติดไปกับแก๊สขาออก
ทำให้ต้องมีการกำจัดตัวทำละลายนั้นออกอีก
เรื่องราวมันมาสนุกตรงที่มีความพยายามจะแยก
CO2
ออกจากแก๊สปล่อยทิ้งที่เกิดจากการเผาไหม้
เช่นจากโรงผลิตไฟฟ้า
โดยอ้างว่าเป็นการช่วย “ลด”
การปลดปล่อย CO2
ออกสู่บรรยากาศ
แก๊สประเภทนี้เป็นแก๊สที่มีอัตราการไหลสูง
อุณหภูมิสูง มีความเข้มข้น
CO2
สูง
และมีความดันต่ำอยู่ที่ประมาณสูงกว่าความดันบรรยากาศเล็กน้อย
การใช้สารดูดซับชนิดครั้งเดียวทิ้งโดยไม่สามารถทำการคืนสภาพเพื่อกลับมาใช้งานใหม่ได้นั้นไม่เหมาะสมแน่
ด้วยความดันที่ต่ำของแก๊สปล่อยทิ้งเหล่านี้ทำให้ไม่สามารถใช้ระบบที่มี
pressure
drop สูงได้
และด้วยอุณหภูมิที่สูงของแก๊สจึงทำให้ไม่สามารถใช้ระบบการแยกด้วยแผ่นเยื่อที่ทำจากพอลิเมอร์
แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่บทความเหล่านี้ทำกันก็คือ
การนำเสนอเฉพาะส่วนที่อยู่ในกรอบเส้นประสีน้ำเงินของรูปที่
๑ สิ่งที่ไม่มีการกล่าวถึงกันก็คือจัดการอย่างไรต่อกับ
CO2
ที่แยกออกมาได้
และนี่ก็เป็นที่มาของคำถามแรกคือ
ถ้าหากเป็นการปล่อยออกสู่บรรยากาศเหมือนเดิม
ดังนั้นสิ่งที่ทำก็ไม่ได้เป็นการลดการปลดปล่อย
CO2
แต่เป็นเพียงแค่เปลี่นสถานที่ปลดปล่อยเท่านั้น
ถ้านำไปเก็บเอาไว้ในรูปของเหลว
ก็ต้องถามต่อด้วยว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนจากแก๊สเป็นของเหลวนั้นปลดปล่อย
CO2
อีกเท่าใด
และมีสถานที่เก็บนั้นเพียงพอหรือไม่
ถ้าบอกว่าจะนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีตัวอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ด้วยว่าพลังงานที่ต้องใช้นั้นปลดปล่อย
CO2
อีกเท่าใด
เพราะ CO2
เป็นสารที่เฉื่อย
ต้องใช้พลังงานที่สูงในการกระตุ้นให้มันทำปฏิกิริยาได้
ซึ่งประเด็นตรงนี้เคยเล่าไว้เมื่อ
๓ เดือนที่แล้วเมื่อวันที่
๔ เมษายน ๒๕๖๒ เรื่อง
“รู้ทันนักวิจัย (๒๐)
ลดโลกร้อนด้วยการเปลี่ยน
CO2
กลับเป็นสารอินทรีย์”
ปฏิกิริยาการดูดซับ
(ไม่ว่าจะเป็นการดูดซับด้วยสารละลายของเหลว
หรือของแข็ง)
เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
ดังนั้นการไล่ CO2
ที่สารดูดซับจับเอาไว้เพื่อนำเอาสารดูดซับไปใช้งานใหม่นั้นต้องใช้พลังงานความร้อน
การนำเอาสารดูดซับที่จับ
CO2
จนอิ่มตัว
และสารดูดซับที่ผ่านการไล่
CO2
ออกไปแล้วไปใช้งานใหม่ต่างก็ต้องใช้พลังงานในการลำเลียง
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือความร้อนที่ใช้ในการไล่
CO2
และใช้ในการลำเลียงสารดูดซับนั้นได้มาจากไหน
ถ้าต่างได้มาจากแหล่งพลังงานที่มีการผลิต
CO2
วิธีการเหล่านี้ก็เป็นการเพิ่มการปลดปล่อย
CO2
ไม่ใช่การลดการปลดปล่อย
การใช้สารดูดซับที่เป็นของแข็งในระบบไหลเวียนต่อเนื่องก็ต้องพิจารณาเรื่องพลังงานที่ต้องใช้ในการลำเลียงของแข็งและการลดอุณหภูมิของแข็ง
จริงอยู่ที่ว่าในอุตสาหกรรมนั้นมีการใช้ระบบการไหลเวียนของแข็งต่อเนื่อง
โดยระบบที่สำคัญคือ FCC
ที่ย่อมาจาก
Fluidised
bed Catalytic Cracking
โดยในระบบนี้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เสื่อมสภาพเนื่องจากการสะสมของ
coke
จะถูกนำไปเผาไล่
coke
ทิ้ง
ก่อนที่จะหมุนเวียนกลับตัวเร่งปฏิกิริยามาใช้งานใหม่
โดยไม่จำเป็นต้องมีการลดอุณหภูมิของตัวเร่งปฏิกิริยาให้เย็นตัวลง
ด้วยเหตุผลที่ว่าปฏิกิริยา
cracking
นั้นเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อนที่ต้องการอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว
แต่ปฏิกิริยาการดูดซับแก๊สนั้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อนที่จะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
เคยเห็นมีคนนำเสนอการใช้
CaO
ที่เป็นของแข็งเป็นสารดูดซับ
CO2
แต่
CaO
นั้นได้มาจากการเผา
CaCO3
ที่อุณหภูมิสูงเพื่อให้มันคาย
CO2
ออกมา
ซึ่งแน่นอนว่าการผลิต CaO
นั้นก่อให้เกิดการการผลิต
CO2
ด้วยไม่ว่าที่ตัว
CaCO3
คายออกมาหรือจากการผลิตพลังงานความร้อนที่ต้องใช้ในการเผา
แถมปฏิกิริยานี้ยังยากที่จะทำให้เกิดได้สมบูรณ์
องค์ประกอบหนึ่งที่มักมีปนเปื้อนอยู่ในแก๊สเผาไหม้ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าก็คือ
SO2
ที่เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบกำมะถันเที่ปนเปื้อนอยู่ในเชื้อเพลิง
SO2
นี้สามารถทำปฏิกิริยากับออกไซด์ของโลหะอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิร์ธกลายเป็นสารประกอบซัลเฟตได้
(sulphate
แบบอังกฤษหรือ
sulfate
แบบอเมริกา)
และการทำให้สารประกอบซัลเฟตนี้สลายตัวกลายเป็นสารประกอบออกไซด์ใหม่ก็ต้องใช้อุณหภูมิสูงด้วยเช่นกัน
ถ้าสิ่งที่บทความวิจัยตีพิมพ์ต่าง
ๆ คุยนักคุยหนาว่าช่วยลดการปลดปล่อย
CO2
ได้นั้น
เป็นเรื่องจริงและสามารถใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ
ปัญหาเรื่องโลกร้อนเนื่องจาก
CO2
ที่เพิ่มขึ้นคงหมดไปนานแล้ว
Memoir
ฉบับนี้ก็ถือว่าเป็นฉบับส่งท้ายปีที่
๑๑ สรุปว่าปีที่ ๑๑ นี้เขียนไปทั้งหมด
๑๔๒ เรื่อง จำนวน ๘๑๒ หน้า
ส่วนปีที่ ๑๒ นั้นจะมีอีกไหม
หรือจะเป็นการเขียนในเรื่องทำนองไหนนั้น
ก็ยังบอกไม่ได้เหมือนกัน
เพราะลากยาวมาได้ถึงปีที่
๑๑ เนี่ย ก็คิดไม่ถึงเหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น