ช่วงเวลานี้บนหน้า
facebook
ของผมในส่วนของนิสิตป.ตรี
เห็นศิษย์เก่าภาควิชาหลายคนบ่นออกมาทางหน้าเฟส
แม้จะไม่ชัดเจนว่าเรื่องอะไร
แต่ก็เดาว่าคงเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน
ซึ่งในชีวิตการทำงานของแต่ละคนนั้นต่างก็ประสบกับทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย
และสิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ
จะจัดการกับเรื่องร้ายนั้นอย่างไร
เมื่อผมเริ่มทำงานได้ไม่กี่ปี
แลปวิจัยที่ร่วมกลุ่มทำอยู่นั้นก็มีขนาดใหญ่ขึ้น
ได้พื้นที่ขยายใหญ่ขึ้น
ความวุ่นวายก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
เรื่องอุปกรณ์ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าใด
เรื่องคนนี่ซิมีปัญหามากกว่า
คนหลายคนมาอยู่รวมกันก็ต้องมีกติกากลางในการอยู่ร่วมกัน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
และพฤติกรรมการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
มีอยู่ปีหนึ่งผมพบว่ามีนิสิตเอาของเข้ามากินในห้องพักแล้วไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อย
คือทิ้งถุงใส่ของกินไว้ที่โต๊ะหรือไม่ก็ไม่เก็บจานไปล้าง
ถามนิสิตในแลปก็ไม่มีใครยอมบอกว่าใครเป็นคนทำ
บอกแต่เพียงว่าอาจารย์น่าจะรู้เอง
(ผมจะไปรู้ได้อย่างไรก็ในเมื่อผมไม่ได้เฝ้าแลปตลอด
๒๔ ชั่วโมงและไม่ได้มีกล้องวงจรปิดจับภาพด้วย)
เหตุการณ์เป็นอย่างนี้มาเรื่อย
ๆ จนกระทั่งนิสิตกลุ่มนี้สำเร็จการศึกษา
แล้วก็มีคนมาบอกกับผมว่าทำไมอาจารย์ไม่ลงโทษคน
ๆ นั้นที่เขาเอาเปรียบเพื่อนด้วยการกินทิ้งแล้วให้เพื่อนตามเก็บ
ผมก็ตอบเขากลับไปว่ามาบอกอะไรกับผมตอนนี้ว่าคนนั้นเขาเป็นใคร
ก่อนหน้านี้ผมก็เคยถามแล้วแต่พวกคุณไม่บอกผมแล้วผมจะรู้ได้อย่างไร
แล้วมาบ่นให้ฟังตอนนี้ทำไม
ก็อยากช่วยปกป้องคนทำผิดเอง
ตอนที่ผมจะสอบวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่อังกฤษนั้น
จำเป็นต้องพิมพ์เข้าเล่มให้เรียบร้อย
คือเข้าเล่มปกแข็งสีน้ำเงิน
ตัวหนังสือสีทอง ส่งให้กรรมการสอบ
๒ ท่านอ่าน
เมื่อท่านเหล่านั้นอ่านจบแล้วก็จะนัดวันสอบ
จำนวนเล่มที่ทำก็จะอยู่ประมาณ
๕ เล่ม คือให้กรรมการสอบ ๒
ท่าน ให้กับทางมหาวิทยาลัย
ให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา
และเก็บเอาไว้เอง
กติกาของการเขียนที่เป็นที่รู้กันก็คือ
ต้องให้กรรมการสอบยอมรับในสิ่งที่เราเขียนโดยไม่ต้องมีการแก้ไข
เพราะถ้าแก้ไขเมื่อใดก็ต้องส่งให้ร้านหนังสือตัดหน้าเก่าออกแล้วแทรกหน้าใหม่
ซึ่งจะทำแบบนี้ได้ถ้าหากต้องแก้ไขเพียงไม่กี่หน้า
เพราะถ้ามีมากกว่านั้นก็ต้องรื้อเล่มเก่าออก
และทำปกใหม่ทั้งเล่ม
ดังนั้นในการเขียนวิทยานิพนธ์จึงต้องทำการตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายรอบ
ไม่ว่าจะเป็นรูปเล่ม
(เช่นรูปแบบรูปภาพ
การจัดหน้ากระดาษ ดัชนี ฯลฯ)
การสะกดคำและไวยากรณ์
เรียกว่าตอนนั้นถอยกลับไปยังพื้นฐานใหม่หมด
ต้องตรวจแต่ละประโยคที่เขียนว่า
ประธาน กิริยา และกรรม
นั้นมีครบไหม
และรูปแบบของคำกิริยานั้นสอดคล้องกับประธาน
(คือประธานเป็น
เอกพจน์ พหูพจน์ บุคคลที่หนึ่ง
บุคคลที่สอง หรือบุคคลที่สาม)
แต่ถึงตรวจกันขนาดนี้พอตอนสอบจริงกรรมการสอบก็ยังพบจุดที่พิมพ์ผิดอีก
พอกลับมาสอนปริญญาโท
ในฐานะที่เป็นทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมก็ต้องตรวจความเรียบร้อยของเล่มวิทยานิพนธ์ของนิสิตก่อนส่งให้กรรมการสอบอ่าน
จากงานนี้พบว่านิสิตจำนวนไม่น้อยคิดว่าวิทยานิพนธ์นั้นสักแต่ว่าให้มีปึกกระดาษส่งให้กรรมการอ่านก่อน
เพราะยังไงกรรมการสอบต้องส่งมาให้แก้อยู่ดี
คือกะใช้กรรมการสอบเป็นคนตรวจหาความไม่เรียบร้อย
บางรายเขียนมาแบบชุ่ยมาก
อ่านไม่รู้เรื่อง
ตอนตรวจเล่มก็ทำได้แค่เขียนด้วยปากกาหมึกแดงไว้ที่แผ่นแรกว่า
"อ่านไม่รู้เรื่อง
ให้ไปเขียนมาใหม่"
จะใช้เวลาในการเปลี่ยนความคิดของพวกเขาว่า
ต้องกะให้เขารับในสิ่งที่เราส่ง
คือต้องสิ้นสุดที่เล่มที่เราส่งโดยไม่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลังสอบ
ช่วงเวลานั้นก็มีโปรแกรม
word
processor ใช้กันแล้ว
เป็นยุคของ Windows
3.0 และ
Mircosoft
word 2.0 ที่มันทำได้ทั้งการจัดหน้ากระดาษและตรวจคำผิด
มีอยู่รายหนึ่งมีที่พิมพ์ผิดเต็มไปหมด
จนตอนที่ผมส่งเล่มให้เขากลับไปแก้นั้นผมก็ถามเขาว่าทำไมไม่ให้โปรแกรมตรวจหาคำผิดก่อน
แล้วแก้ไขก่อนพิมพ์มาให้ตรวจ
เขาก็ตอบกลับมาว่า "มันเสียเวลา"
ของเขา
ผมก็เลยถามกลับไปว่า
"แล้วเวลาของผมล่ะ
คุณคิดว่ามันไม่มีค่าหรือ"
เวลาตรวจเจอที่ผิดแบบเดิม
ๆ นั้น ก็จะเขียนเพียงแค่ว่าให้ไปแก้มา
และตรวจแก้ทุกจุดด้วย
คือผมเองจะไม่ตรวจแก้ที่ผิดซ้ำ
ๆ ทุกจุด
แต่ก็มีเหมือนกันที่จะแก้ตรงเฉพาะจุดที่กรรมการสอบทำเครื่องหมายเอาไว้เท่านั้น
ถ้ามีที่ผิดเหมือนกัน ๑๐
ที่ แต่กรรมการสอบทำเครื่องหมายไว้ที่เดียว
โดยบอกว่าให้ไปตรวจแก้ที่อื่นเอง
เขาก็จะแก้เฉพาะตรงที่กรรมการสอบทำเครื่องหมายเท่านั้น
มีอยู่รายหนึ่งทำพฤติกรรมแบบนี้ตลอด
ขนาดสอบผ่านแล้วเหลือแต่แก้เล่ม
ก็ยังไม่ยอมแก้
ผมตรวจเห็นก็ยังไม่ยอมลงชื่อในเอกสารฉบับสุดท้ายให้
ส่งให้กลับไปแก้มาใหม่
เขาก็ทำแบบนี้อีก
คือแก้เฉพาะตรงที่ทำเครื่องหมาย
ตรงอื่นที่ผิดนั้นไม่ยอมตรวจแก้
ยื้อกันจนถึงวันสุดท้ายที่ต้องส่งเล่มฉบับสมบูรณ์
ไม่เช่นนั้นการสอบที่ผ่านมาก็เป็นโมษะ
เขาก็มาหาผมที่ห้องทำงานกับเพื่อนอีกคนหนึ่งเพื่อให้ผมลงชื่อในเอกสารส่งเล่มวิทยานิพนธ์
ผมรับเล่มของเขามาตรวจก็พบว่ายังมีที่ผิดที่ไม่ยอมแก้ไขอีก
เขาก็ตอบผมว่าขอให้ช่วยอาจารย์เซ็นให้หน่อยเพื่อให้เขาสามารถส่งเอกสารได้ก่อน
แล้วเขาจะแก้ไขเล่มให้เสร็จ
ผมก็ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารฉบับนั้นให้เขา
พอเขาได้รับเอกสารฉบับนั้นกลับไปถือในมือ
เขาก็พูดกับผมต่อหน้าเพื่อนอีกคนหนึ่งที่มาด้วยกันว่า
"แล้วอาจารย์คิดหรือว่า
จะกลับมาให้เห็นหน้าอีก"
เพื่อนเขาก็ตกใจที่ได้ยินประโยคนั้น
ส่วนผมก็นิ่งเฉยไม่ได้ว่าอะไร
แล้วเขาก็ขอตัวไปส่งเอกสาร
รายนี้เขาไปได้งานเป็นอาจารย์ที่สถาบันแห่งหนึ่ง
พอทำงานได้พักหนึ่งทางสถาบันอนุญาตให้ลาเรียนต่อปริญญาเอกในประเทศได้
(มันเป็นช่วงหลังวิกฤตการเงินปี
๒๕๔๐ ไม่นาน)
เขาก็ทำเรื่องจะมาสมัครเรียนที่แลปที่ผมทำงานอยู่อีก
ผมมารู้ตอนที่มีการประชุมอาจารย์ประจำแลป
มีการถามว่ามีใครสนใจรับศิษย์เก่าหรือไม่
ผมก็ถามว่าแน่ใจหรือว่าเขาจะมา
เพราะเขาเคยพูดประโยคข้างต้นกับผมเอาไว้
แต่สุดท้ายเขาก็ได้ไปเรียนที่อื่น
เรื่องนี้มันเกิดเมื่อกว่า ๒๐ ปีที่แล้ว :) :) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น