เอกสารฉบับนี้แจกจ่ายเป็นการภายใน
ไม่นำเนื้อหาลง blog
บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561
รถไฟสายพระพุทธบาท ภาพสถานีรถไฟ (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๓๕) MO Memoir : Thursday 29 March 2561
รถไฟสายพระพุทธบาทที่เริ่มต้นที่
อ.ท่าเรือ
อยุธยา ไปยังพระพุทธบาท
สระบุรี จัดได้ว่าเป็นรถไฟเอกชนสายแรก
ๆ ของประเทศไทย
และเป็นสายที่ดำเนินการโดยเอกชนตั้งแต่ต้นจนเลิกกิจการ
B.
R. Whyte กล่าวไว้ในหนังสือ
"The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Combodia"
เอาไว้ว่ารถไฟสายนี้เริ่มกิจการราว
ๆ ปี ค.ศ.
๑๙๐๒
-
๑๙๐๓
ก่อนที่จะเลิกกิจการไปในปีค.ศ.
๑๙๔๒
(พ.ศ.
๒๔๘๕
หรือช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่
๒)
และด้วยการที่เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางรถไฟเอกชนที่สร้างขึ้นในยุคที่การถ่ายรูปยังไม่แพร่หลาย
ก็เลยทำให้ภาพถ่ายบรรยากาศต่าง
ๆ ของเส้นทางรถไฟนั้นแทบจะไม่มี
แม้ว่าจะมีนักเขียนบางท่านได้บรรยายบรรยากาศการนั่งรถไฟสายนี้เอาไว้บ้างก็ตาม
(เช่น
เหม เวชกร และนาวาเอก สวัสดิ์
จันทนี)
สัปดาห์ที่แล้วระหว่างเปิดดูหนังสือตามชั้นต่าง
ๆ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ก็ได้ไปเจอหนังสือ "สยามเก่า
เล่าใหม่"
ที่เขียนโดย
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
และในเรื่อง "การรถไฟไทยสมัยรัชกาลที่
๕)
ก็มีภาพที่ระบุว่าเป็น
"สถานี
รถไฟสายพระพุทธบาท"
ดังแสดงในรูปที่
๑ ข้างล่าง
และดูเหมือนจะเป็นสิ่งเดียวที่กล่าวถึงเส้นทางรถไฟสายนี้ในหนังสือเล่มนี้
จากภาพจะเห็นได้ว่าสำหรับรถไฟเล็กที่ไม่ได้บรรทุกน้ำหนักมาก
(เส้นทางสายนี้ขนคนเป็นหลัก)
แค่ทำคันทาง
วางไม้หมอน แล้วก็วางรางลงไป
ก็วิ่งรถได้แล้ว
โดยไม่ต้องมีหินโรยจนเต็มระดับไม้หมอนและออกไปทางด้านข้างทั้งสองด้านเหมือนในปัจจุบัน
รูปที่
๑ ภาพสถานีรถไฟพระพุทธบาท
ที่ปรากฏในหนังสือ "สยามเก่า
เล่าใหม่"
โดย
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
(เลขที่
๒๓๖/๖-๗
สยามสแควร์ ซอย ๒ ข้างโรงภาพยนต์ลิโด้)
พ.ศ.
๒๕๒๐
รูปที่
๒ แผนที่เส้นทางรถไฟสายพระพุทธบาท
ที่ปรากฏในเอกสาร Air
Objective Folder Thailand
เป็นเอกสารที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาจัดทำขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ เพื่อชี้เป้าหมายการทิ้งระเบิดในประเทศไทย
ในแผนที่นี้เป้าหมายหนึ่งคือสนามบินโคกกระเทียม
(Koke
Kathiem) ส่วน
G.
Hokwasaibon คือคลองหกวาสายบน
เรื่องรถไฟสายพระพุทธบาทเรื่องนี้เป็นเรื่องที่
๓ ที่เขียน สองเรื่องก่อนหน้านี้คือ
"รถไฟสายพระพุทธบาท"
(วันอาทิตย์ที่
๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖)
และ
"รถไฟสายพระพุทธบาทในหนังสือนิทานชาวไร่"
(วันพุธที่
๒๑ กันยายน ๒๕๕๙)
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561
MO Memomir รวมบทความชุดที่ ๒๐ ประสบการณ์การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา MO Memoir : Tuesday 27 March 2561
"บันทึกเรื่องราวการที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น
สาวน้อยร้อยห้าสิบเซนติเมตร
(ที่เคยทำหน้าที่เป็นหัวหน้า
pretty
งานประชุมวิชาการของแลป)
สาวน้อยนักแสดงละคร
(ที่ถ้ารับบทเล่นเป็นแกะคงดังไปนานแล้ว)
สาวน้อยหน้าบาน
สาวน้อยนักร้องคาราโอเกะ
(คู่หูสาวน้อยหน้าบาน)
สาวน้อยผู้แสนเรียบร้อย
(จากกลุ่มวิจัยเพื่อนบ้าน
ที่เพื่อน ๆ ตั้งฉายาให้ว่านางฟ้าเมมเบรน)
สาวน้อยคมเข้มผมหยิกนัยน์ตาสวย
(ซึ่งความสูงไม่สัมพันธ์กับความยาวของจังหวัดบ้านเกิด)
สาวน้อยจากเมืองริมทะเลตะวันออก
สาวน้อยใส่แว่นจากจังหวัดติดประเทศกัมพูชา
สาวน้อยหน้าใสใส่แว่นยิ้มได้ทั้งวัน
สาวน้อยหน้าใสจากบางละมุง
สาวน้อยจากเมืองวัดป่ามะม่วง
สาวน้อยผมยาวจากชายแดนใต้
สาวน้อยเมืองสิงห์บุรี
สาวน้อยเมืองชลบุรี
สาวน้อยบ้านสวน
สาวน้อยเมืองโอ่ง
สาวน้อยเมืองขุนแผน
สาวน้อยพระประแดง
หนุ่มหล่อผิวขาวร่างสูงสไตล์เกาหลี
หนุ่มสูงโปร่งคมเข้มชอบใส่กางเกงขาลีบ
ๆ มีไรหนวดเหนือริมฝีปากเล็กน้อย
และหนุ่มสาวอีกหลายต่อหลายคน
ที่ได้เข้ามาร่วมทำงานกันในกลุ่มวิจัยที่มีชื่อว่า
(ที่ใครก็ไม่รู้ตั้งชื่อให้)
"ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์"
อันที่จริงจะว่าไปแล้ว
จะเรียกว่าเป็นบันทึกวิชาการก็คงจะไม่ค่อยถูกต้อง
และด้วยการที่เรื่องราวต่าง
ๆ ที่นำมารวบรวมไว้นี้เป็นบันทึกประสบการณ์การทำงาน
ดังนั้นแม้ว่ามันจะเป็นวิชาการ
แต่ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดทฤษฎีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องเอาไว้ทั้งหมด
หลายเรื่องราวที่ผู้อ่านที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่มีการกล่าวถึง
ขอให้ผู้อ่าน "อ่านระหว่างบรรทัด"
ให้มากด้วย
รูปที่อยู่ท้ายบางบทความนั้นเป็นรูปที่ไม่ได้มีอยู่ในบทความต้นฉบับ
แต่นำมาแทรกเข้าไปเพราะหน้ากระดาษมันว่างอยู่
ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องเตือนความทรงจำว่าในกลุ่มวิจัยนี้เคยมีใครบ้างที่ผ่านเข้ามา
แม้ว่ารูปเหล่านี้จะเป็นเพียงแค่ส่วนน้อยของผู้ที่ได้เข้ามาร่วมทำงานด้วยกันเท่านั้นเอง"
ประโยคข้างต้นทั้งหมดคือคำนำที่เขียนไว้ในรวมบทความชุดที่
๒๐ ประสบการณ์การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา
เนื้อหาในชุดนี้คัดมาเฉพาะเรื่องบน
blog
ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา
ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การทดลองอื่นนั้นจะนำมารวมไว้ในรวมบทความที่จะออกตามมาอีกไม่นาน
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561
รถไฟ ไปเรื่อย ๆ (๕) ในอุ้งหัตถ์กรมพระกำแพง ฯ MO Memoir : Sunday 25 March 2561
กรุงเทพฯ
๔
มีนาคม ค.ศ.
๑๙๑๗
สหรัฐอเมริกาได้ตัดสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศเยอรมันนีและบีบบังคับให้ประเทศที่ยังเป็นกลางกระทำเช่นนั้นด้วย ทุกคนที่นี่จึงรู้สึกตึงเครียดเพราะไม่ทราบว่าประเทศสยามจะมีท่าทีตอบโต้อย่างไร ความตึงเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อหน่วยข่าวของรอยเตอร์ได้โทรเลขแจ้งมาว่า ประเทศจีนได้ตัดสินใจปฏิบัติตามสหรัฐอเมริกา ส่วนข่าวของที่นี่ไม่ได้เอ่ยถึงท่าทีของสยามที่มีต่อทิศทางทางการเมืองที่เปลี่ยนไปแม้แต่น้อย และไม่มีสัญญาณใด ๆ เช่นเดียวกันที่จะบ่งบอกว่าประเทศสยามจะละทิ้งความเป็นกลางที่ยึดถืออย่างเหนียวแน่นมาตลอดเวลานั้น ทุกสิ่งยังคงเหมือนเดิม ดังนั้นพวกเราจึงรู้สึกพึงพอใจ
ย่อหน้าข้างบนนำมาจากหน้า
๒๕๕ ในหนังสือ "กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย"
ที่เป็นการแปลบันทึกของ
ลูอิส ไวเลอร์
ชาวเยอรมันผู้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมรถไฟของสยามในเวลานั้น
การสร้างเส้นทางรถไฟของไทยนั้นเริ่มจากให้บริษัทอังกฤษเป็นผู้สำรวจ
พอจะสร้างเส้นทางสายไปโคราชปรากฏว่าทางเยอรมันประมูลได้
ทางอังกฤษก็โวยวายหาว่าไม่เป็นธรรม
สุดท้ายทางรัฐบาลไทยจึงต้องยอมให้อังกฤษเป็นคนก่อสร้าง
แต่การควบคุมงานให้เป็นหน้าที่ของวิศวกรเยอรมัน
ทำให้เจ้ากรมรถไฟสามคนแรกของไทยนั้นเป็นชาวเยอรมัน
แต่พอเป็นเส้นทางสายใต้
ที่อังกฤษถือว่าฝั่งตะวันตกของสยามนั้นเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ
ประกอบกับรัฐบาลสยามมีปัญหาเรื่องเงินที่จะใช้ในการก่อสร้าง
(ตอนนั้นการก่อสร้างเส้นทางสายเหนือและสายอีสานก็ยังไม่เรียบร้อย)
จึงต้องยอมยกรัฐในคาบสมุทรมลายาให้กับอังกฤษและให้อังกฤษเป็นคนก่อสร้าง
เพื่อแลกกับเงินกู้
ทำให้ตอนนั้นสยามมีหน่วยงานกำกับดูแลรถไฟสองหน่วยงานด้วยกัน
โดยหน่วยงานแรกนั้นดูแลเส้นทางสายเหนือและอีสาน
(ที่ใช้รางขนาด
standard
gauge) และหน่วยงานที่สองที่ดูแลเส้นทางสายใต้
(ที่ใช้รางขนาด
metre
gauge)
วันที่
๕ มิถุนายน ปีพ.ศ.
๒๔๖๐
(ค.ศ.
๑๙๑๗)
รัชกาลที่
๖ ได้ยุบรวมหน่วยงานกำกับดูแลเส้นทางรถไฟทั้งสองเส้นทางเข้าด้วยกัน
โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระเจ้าน้องยาเธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร
กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
(พระอิสรยศในขณะนั้น)
โดยให้ลูอิส
ไวเลอร์ เป็นหัวหน้าวิศวกร
และนาย เอช กิตตินส์
เป็นที่ปรึกษากรมรถไฟ
และในเดือนถัดมาในวันที่
๒๒ กรกฎาคม สยามก็ประกาศสงครามกับเยอรมัน
ส่งผลให้วิศวกรเยอรมันที่ทำงานก่อสร้างและกำกับดูแลการรถไฟต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งและควบคุมตัวไว้ในค่ายเชลยศึก
การที่สยามต้องประกาศสงครามกับเยอรมันโดยเลือกไปอยู่ฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นจะเรียกว่าทำความเสียใจให้กับคนไทยจำนวนไม่น้อย
เพราะช่วงเวลาก่อนหน้านั้นต่างก็ได้รับรู้การกระทำที่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสกระทำต่อสยาม
ในขณะที่ทางเยอรมันนั้นไม่ได้มีพฤติกรรมดังกล่าว
การที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
และแรงกดดันจากมหาอำนาจ
ทำให้สยามที่เป็นประเทศที่ไม่มีกำลังทหารจะไปต่อรองกับใครต้องตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่
๑ แม้สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศของสยามเริ่มดีขึ้น
แต่ตามความหวาดระแวงก็ยังคงมีอยู่
ปัญหานี้นำมาซึ่งการโต้เถียงเรื่องการขยายเส้นทางรถไฟและการปรับเปลี่ยนขนาดรางรถไฟ
ในขณะนั้นเส้นทางสายใต้
(ที่ใช้รางขนาด
meter
gauge) นั้นเรียกได้ว่าสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
(รูปที่
๒)
แต่การเชื่อมต่อไปยังเส้นทางสายเหนือและอีสานยังเป็นปัญหาอยู่
เนื่องจากยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำ
และการที่ใช้รางที่มึความกว้างที่แตกต่างกัน
(สายเหนือใช้รางขนาด
standard
gauge)
ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรมีการปรับรางให้เป็นขนาด
standard
gauge เพื่อป้องกันไม่ให้มหาอำนาจเข้ามาใช้เส้นทางรถไฟของสยามได้
เพราะในขณะนั้นเส้นทางรถไฟของอังกฤษและฝรั่งเศสที่สร้างในภูมิภาคนี้ต่างก็ใช้รางขนาด
metre
gauge
แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสยามควรมีการพัฒนาด้วยการเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยรถไฟในภูมิภาคนี้
ดังนั้นควรต้องใช้รางขนาด
metre
gauge เพื่อที่จะได้สามารถเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟใน
พม่า คาบสมุทรมลายา เขมร
และเวียดนาม เข้าด้วยกันได้
ในบทที่
๒ หัวข้อ ๒.๒
หน้าที่ ๕๐ ของหนังสือ "Rails
of the Kingkon : The History of Thai Railways" ผู้แต่งคือ
Ichiro
Kakizaki ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า
"ในการเลี้ยงอาหารค่ำ
ณ สโมสรโรตารี กรุงเทพ ในปีค.ศ.
๑๙๒๖
กรมพระกำแพงเพชรแสดงความตั้งใจที่ชัดแจ้งว่าต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางของเส้นทางรถไฟในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยได้อธิบายด้วยการใช้มือแทนเครือข่ายรถไฟในสยามโดย
นิ้วหัวแม่มือแทนเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังพม่า
นิ้วชี้แทนเส้นทางรถไฟสายเหนือ
นิ้วกลางแทนเส้นทงารถไฟสายขอนแก่น
นิ้วนางแทนเส้นทางรถไฟสายอุบลราชธานี
นิ้วก้อยแทนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก
และแขนแทนเส้นทางรถไฟสายใต้"
แต่ก่อนที่จะไปถึงเวลานั้น
สยามต้องตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าจะเลือกใช้รางกว้างขนาดเท่าใด
รูปที่
๑
รูปนี้ถ่ายจากภาพที่แขวนไว้ในตู้รถไฟที่ใช้เป็นห้องสมุดรถไฟนพวงศ์
เป็นภาพหัวรถจักรไอน้ำที่สถานีหัวลำโพง
เดิมนั้นเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นรางกว้างขนาด
standard
gauge (ลูกศรสีเหลือง)
พอจะให้รถไฟที่ใช้รางขนาด
meter
gauge วิ่งได้ก็ต้องทำการวางรางเพิ่มอีกเส้นหนึ่ง
(ลูกศรสีเขียว)
แสดงว่าภาพนี้ถ่ายไว้ในช่วงที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนขนาดรางเพื่อให้รถไฟที่ใช้รางขนาดความกว้างแตกต่างกันนั้นวิ่งบนเส้นทางเดียวกันได้
รูปที่
๒ แผนการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังประเทศต่าง
ๆ ของไทยในปีค.ศ.
๑๙๒๕
ที่ประมวลโดย Ichiro
Kakizaki
รูปที่
๓ "ฉัตรชยานุสสรณ
๒๔๘๐"
บรรจุพระสรีรางคารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร
กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ถ่ายไว้เมื่อวันพุธที่ ๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๕๖
รูปที่
๔ "ฉัตรชยานุสสรณ
๒๔๘๐"
ถ่ายไว้เมื่อวันพุธที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
รูปที่
๕ "ฉัตรชยานุสสรณ
๒๔๘๐"
ถ่ายไว้เมื่อวันพุธที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๙ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๓) MO Memoir : Thursday 22 March 2561
Memoir
ฉบับนี้จะเรียกว่าเป็นฉบับต่อจากฉบับเมื่อวันอังคารที่
๒๐ ที่ผ่านมาก็ได้
เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัสดุรูพรุนที่มีพื้นที่ผิวสูง
โดยพื้นที่ผิวที่สูงนั้นเป็นส่วนของ
mesopore
(รูพรุนขนาดกลาง)
ในการจำแนกขนาดรูพรุนนั้น
ตามนิยามของ IUPAC
จะแบ่งออก
๓ ขนาดด้วยกันคือ รูพรุนขนาดเล็กหรือ
micropore
คือเป็นรูพรุนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนต่ำกว่า
2.0
nm ถัดขึ้นมาคือรูพรุนขนาดกลางหรือ
mesopore
คือเป็นรูพรุนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนอยู่ช่วงจาก
2
- 50 nm และรูพรุนขนาดใหญ่หรือ
macropore
คือเป็นรูพรุนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนใหญ่กว่า
50
nm
รูปที่ ๑ และ ๒ เป็นไอโซเทอมการดูดซับของ BET โดยใช้แก๊สไนโตรเจนที่นำมาจากบทความที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่สองบทความด้วยกัน อยากให้ลองพิจารณากันเองก่อน
รูปที่ ๑ และ ๒ เป็นไอโซเทอมการดูดซับของ BET โดยใช้แก๊สไนโตรเจนที่นำมาจากบทความที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่สองบทความด้วยกัน อยากให้ลองพิจารณากันเองก่อน
รูปที่
๑ ไอโซเทอมการดูดซับของ
BET
โดยใช้แก๊สไนโตรเจน
(ตัวอย่าง
NHPC)
นำมาจากบทความเรื่อง
"Biomass-derived
nitrogen-doped hierarchically porous carbon networks as efficient
absorbents for phenol removal from wastewater over a wide pH range"
โดย
Wenyi
Du, Junting Sun, Yongxi Zan, Zhengping Zhang, Jing Ji,ab Meiling Dou
และFeng
Wang ตีพิมพ์ในวารสาร
RSC
Advances., vol 7 ปีค.ศ.
2017 หน้า
46629
- 46635 คณะผู้วิจัยรายงานว่าตัวอย่างนี้มีพื้นที่ผิวของ
micropore
1072 m2/g พื้นที่ผิวรวม
2687
m2/g โดยรูพรุนเป็นชนิด
micropore
1-2 nm และ
interconnected
open mesopore ขนาด
2-6
nm และ
macropore
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
50-200
nm
รูปที่
๒ ไอโซเทอมการดูดซับของ
BET
โดยใช้แก๊สไนโตรเจน
นำมาจากบทความเรื่อง "Biomass
derived hard carbon used as a high performance anode material for
sodium ion batteries" โดย
Kun-lei
Hong, Long Qie, Rui Zeng, Zi-qi Yi, Wei Zhang, Duo Wang, Wei Yin,
Chao Wu, Qing-jie Fan, Wu-xing Zhang และ
Yun-hui
Huang ในวารสาร
Journal
of Materials Chemistry A vol. 2 ปีค.ศ.
2014 หน้า
12733
- 12738 ตัวอย่างนี้คณะผู้วิจัยรายงานว่ามี
mesopore
ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
4
nm และ
23
nm พื้นที่ผิว
BET
รวม
1272
m2/g
ตัวอย่างในรูปที่
๑ และ ๒ นั้นเป็นตัวอย่างประเภทเดียวกัน
โดยตัวอย่างในรูปที่ ๑
นั้นสามารถดูดซับแก๊สได้เต็มที่ประมาณ
1500
ml/g ส่วนตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นดูดซับแก๊สได้เต็มที่ประมาณ
1100
ml/g หรือประมาณ
73%
ของตัวอย่างในรูปที่
๑ แต่พื้นที่ผิวของตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นมีค่าเพียงแค่ครึ่งเดียวของตัวอย่างในรูปที่
๑
วัสดุที่มีรูพรุนสูงจะสามารถดูดซับแก๊สได้ปริมาตรมากขึ้น
แต่รูพรุนขนาดเล็กจะมีอัตราส่วนพื้นที่ผิวรูพรุนต่อปริมาตรรูพรุนที่สูงกว่า
ในส่วนของรูพรุนขนาดเล็กหรือ
micropore
นั้น
(รูที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่
2
nm ลงไป)
แก๊สจะเข้าไปเต็มรูพรุนได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าค่า
p/p0
จะต่ำมาก
(เช่นต่ำกว่า
0.05)
ดังนั้นถ้าต้องการวัดการกระจายขนาดรูพรุนในช่วงนี้จำเป็นต้องค่อย
ๆ เพิ่มความดันแก๊สในระบบอย่างช้า
ๆ แต่จะทำให้การวิเคราะห์นั้นกินเวลานานมากขึ้น
ไอโซเทอมในรูปที่ ๑
นั้นมีการวิเคราะห์ตรงช่วงนี้
เห็นได้จากการที่กราฟมีจุดจำนวนมากตรงบริเวณ
p/p0
มีค่าใกล้ศูนย์
(ในกรอบสี่เหลี่ยมสีส้ม)
ในกรณีที่ไม่ได้สนใจ
micropore
ก็อาจทำการวิเคราะห์ด้วยการเพิ่มดันที่จุดแรกนั้นให้แก๊สเติมเต็ม
micropore
ไปเลย
ทำให้เห็นจุดแรกของไอโซเทอมอยู่ที่ค่าห่างออกมาจากแกน
p/p0
(กรอบสีส้มในรูปที่
๒)
ในกรณีของของแข็งที่มีพื้นที่ผิวต่ำนั้น
เราจะเห็นปริมาตรของแก๊สที่
micropore
ดูดซับไว้ได้นั้นมีค่าต่ำ
ซึ่งอาจจะเห็นเกือบเป็นศูนย์เลยก็ได้ในกรณีที่วัสดุรูพรุนนั้นมีพื้นที่ผิวต่ำ
(เช่นระดับ
10
m2/g หรือต่ำกว่า)
แต่ถ้าเป็นของแข็งที่มีพื้นที่ผิวสูงขึ้น
(เช่นระดับ
100
- 500 m2/g) เราก็จะเห็นปริมาตรของแก๊สที่
micropore
ดูดซับไว้ได้นั้นมีค่าสูงขึ้น
(เช่นระดับหลายสิบหรือเข้าสู่หลักร้อย
ml/g)
และถ้าเป็นของแข็งที่มีพื้นที่ผิวสูง
(เช่นระดับ
1000
m2/g) เราก็จะเห็นปริมาตรของแก๊สที่
micropore
ดูดซับไว้ได้นั้นมีค่าสูงมากขึ้นไปอีก
(เช่นระดับหลายร้อย
ml/g)
มีบางครั้งเหมือนกันที่แม้ว่าของแข็งมีรูพรุนนั้นจะมี
micropore
แต่ในการเกิดปฏิกิริยานั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องสนใจการมีอยู่ของมัน
เช่นในกรณีที่สารตั้งต้นนั้นมีขนาดโมเลกุลใหญ่จนยากที่จะแพร่เข้าหรือไม่สามารถแพร่เข้าไปใน
micropore
ได้
ในกรณีเช่นนี้พื้นที่ผิวเฉพาะส่วนของ
mesopore
จะมีความสำคัญมากกว่าเพราะเป็นส่วนที่โมเลกุลสารตั้งต้นสามารถแพร่เข้าไปได้
แต่การวัดพื้นที่ผิวด้วยเทคนิค
BET
นั้นเราจะวัดได้แต่ค่าพื้นที่ผิวของ
micropore
และพื้นที่ผิวรวม
ดังนั้นถ้าอยากทราบพื้นที่ผิวเฉพาะส่วนของ
mesopore
เราก็ยังต้องวัดพื้นที่ผิวของส่วนที่เป็น
micropore
อยู่ดี
เพื่อที่จะได้เอาค่านี้ไปหักจากพื้นที่ผิวรวมเพื่อให้ได้ค่าพื้นที่ผิวเฉพาะส่วนของ
mesopore
ถ้าพิจารณาพื้นที่ผิวในส่วนของ
micropore
ตัวอย่างในรูปที่
๑ นั้นมีปริมาตรส่วนของ
micropore
ประมาณ
450
ml/g และมีพื้นที่ผิว
micropore
ประมาณ
1000
m2/g ส่วนตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นมีปริมาตรส่วนของ
micropore
ประมาณครึ่งเดียวของตัวอย่างในรูปที่
๑ แม้ว่าตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นจะไม่มีการวัดพื้นที่ผิวส่วนของ
micropore
แต่เราก็อาจประมาณได้จากสัดส่วนปริมาตรแก๊สที่
micropore
ดูดซับเอาไว้ได้
(แม้จะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์
แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมาก็พบว่าพอจะใช้ประมาณได้)
ว่าตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นน่าจะมีพื้นที่ผิวในส่วนของ
micropore
ประมาณ
500
m2/g ดังนั้นพื้นที่ผิวในส่วน
mesopore
ของตัวอย่างในรูปที่
๒ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 700
m2/g หรือประมาณ
40%
ของพื้นที่ผิวในส่วนของ
mesopore
ของตัวอย่างในรูปที่
๑
แต่ถ้าพิจารณาปริมาตรของ
mesopore
จะเห็นว่าปริมาตร
mesopore
ของรูปที่
๒ นั้น (ประมาณ
850
ml/g) อยู่ที่ระดับ
80%
ของปริมาตร
mesopore
ของรูปที่
๑ (ประมาณ
1050
m2/g) นั่นแสดงว่าขนาดของ
mesopore
ของตัวอย่างในรูปที่
๒ นั้นต้องใหญ่กว่าขนาดของ
mesopore
ของตัวอย่างในรูปที่
๑ ซึ่งผลการวิเคราะห์ขนาด
mesopore
ก็เป็นเช่นนั้น
รูปที่
๓ ผลของอุณหภูมิต่อปริมาณฟีนอลที่ดูดซับได้
(qm)
จากบทความในรูปที่
๑
รูปที่
๓ เป็นข้อมูลจากบทความในรูปที่
๑ (จากวารสารที่มี
impact
factor 3.108) ที่มีการนำเอาตัวอย่างเชิงพาณิชย์
(Norit
CGP) มาทดสอบเปรียบเทียบ
โดยทำการวัดปริมาณฟีนอลที่ดูดซับได้ที่อุณหภูมิต่าง
ๆ ตรงนี้มีจุดสังเกตนิดนึงตรงที่ในกรณีของ
Norit
CGP นั้นผู้ทดลองพบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะดูดซับฟีนอลได้มากขึ้น
ในขณะที่ตัวอย่าง NHPC
(ที่เป็นตัวอย่างที่คณะผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น)
ดูดซับได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
ทั้ง ๆ
ที่ในความเป็นจริงสำหรับปฏิกิริยาการดูดซับที่เกิดได้เองนั้น
(Gibb's
free energy หรือ
ΔG
มีค่าเป็นลบ
และ Heat
of adsorption หรือ
ΔH
นั้นมีค่าเป็นลบ)
ควรจะดูดซับได้น้อยลงที่อุณหภูมิสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องผลของอุณหภูมิต่อการดูดซับนี้นี้เคยอธิบายเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๗๕ วันพุธที่ ๑๔
ธันวาคม ๒๕๕๔ เรื่อง
"อุณหภูมิและการดูดซับ"
เมื่อไปพิจารณาวิธีการทดลองก็พบว่า
ผู้วิจัยใช้วิธีเติม adsorbent
ลงในสารละลายโดยไม่มีการไล่อากาศออกจากรูพรุนก่อน
โดยเฉพาะในส่วนของ micropore
ที่ไล่อากาศออกยาก
ตรงนี้ใครที่เคยวัดพื้นที่ผิว
BET
วัสดุที่มี
micropore
จำนวนมากน่าจะรู้ดีว่าต้องทำสุญญากาศนานแค่ไหนแม้ว่าจะมีการให้ความร้อนช่วยก็ตาม
ทำให้สงสัยเหมือนกันว่าอาจเป็นเพราะตัวอย่าง
Norit
CGP นั้นมี
mesopore
จำนวนน้อยกว่า
NHPC
มาก
การดูดซับส่วนใหญ่จึงเกิดที่
micropore
เป็นหลัก
(ไม่เหมือน
NHPC
ที่เกิดที่
mesopore
เป็นหลัก)
แต่เนื่องจากใน
micropore
มีอากาศค้างอยู่
พื้นที่ผิวที่สัมผัสกับของเหลว
(พื้นที่ผิวจริงที่สามารถทำการดูดซับฟีนอลจากของเหลว)
จึงต่ำกว่าพื้นที่ผิวที่วัดได้อยู่มาก
แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการทดลองให้สูงขึ้น
อากาศจะขยายตัวและไหลออกจาก
micropore
ได้ง่ายขึ้น
ของเหลวที่มีความหนืดลดลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจึงเข้าไปเติมเต็มรูพรุนได้มากขึ้น
พี้นที่ผิวที่สามารถทำหน้าที่ดูดซับจึงเพิ่มสูงขึ้น
ทำให้เห็นการดูดซับนั้นดีขึ้นที่อุณหภูมิสูง
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนบอกให้ทราบถึงความยากง่ายในการแพร่เข้า-ออกจากรูพรุน
ปัญหานี้จะเด่นชัดในกรณีของปฏิกิริยาที่เกิดในเฟสของเหลว
เพราะมีทั้งการที่ต้องทำให้แก๊สต่าง
ๆ ที่อยู่ในรูพรุนนั้นออกมาให้ได้ก่อน
เพื่อที่ของเหลวจะไหลเข้าไปในรูพรุนได้
ส่วนพื้นที่ผิวของรูพรุนนั้นบอกให้ทราบถึงความสามารถในการดูดซับสารเอาไว้
ถ้าหากว่าสารนั้นสามารถแพร่เข้าไปในรูพรุนได้
ถือเสียว่าบทความนี้เป็นการยกตัวอย่างมาเพื่อการฝึกการอ่านกราฟและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ก็แล้วกันครับ
วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561
การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๘ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๒) MO Memoir : Tuesday 20 March 2561
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผมได้รับคำถามมาคำถามหนึ่งเกี่ยวกับไอโซเทอมการดูดซับแบบ
BET
ของวัสดุรูพรุนชนิดหนึ่งที่มีพื้นที่ผิวสูงอยู่ในช่วง
1300-1600
m2/g กราฟที่ผมได้มาแสดงในรูปที่
๑ ข้างล่าง ลองพิจารณาดูกันเองก่อนนะครับ
คำถามที่เขาถามผมมาก็คือทำไมกราฟในช่วง
relative
pressure (p/p0) ตั้งแต่
0.3
ขึ้นไปจึงไม่แสดงลักษณะของ
hysteresis
loop (คือมีการไต่ขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง
p/p0
เข้าใกล้
1.0)
แต่ไต่ขึ้นในลักษณะที่เรียกว่าแทบจะเป็นเส้นตรงตลอดทั้งช่วง
(ยกเว้นช่วง
p/p0
ใกล้
0)
แล้วจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าอย่างไรดี
รูปที่
๑ ไอโซเทอมการดูดซับ (Exp
(Ad)) - คายซับ
(Exp
(De)) แก๊สไนโตรเจนบนพื้นผิววัสดุรูพรุนชนิดหนึ่งที่
-196ºC
ในเดือนกุมภาพันธ์ปีค.ศ.
๑๙๓๘
(จะตรงกับพ.ศ.
๒๔๘๐
นะครับ เพราะช่วงนั้นบ้านเราจะเริ่มปีใหม่ในวันที่
๑ เมษายน ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น
๑ มกราคมในปีพ.ศ.
๒๔๘๔)
Stephen Brunauer, P. H. Emmett และ
Edward
Teller ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง
"Adsorption
of gases in multimolecular layers" ในวารสาร
Journal
of the American Cheical Society ๖๐(๒)
หน้า
๓๐๙ -
๓๑๙
ในบทความนี้ได้นำเสนอแบบจำลองการดูดซับโมเลกุลแก๊สบนพื้นผิวของแข็งที่ยอมให้มีการดูดซับซ้อนกันหลายชั้น
ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามแบบจำลอง
BET
(อ่านว่า
บี-อี-ที
เพราะเป็นชื่อย่อของคนทั้งสาม)
ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายจวบจนถึงปัจจุบัน
รูปแบบของสมการ
BET
ที่พบเห็นกันทั่วไปนั้นคือสมการ
(A)
ในกรอบสีแดงของรูปที่
๒ ข้างล่าง ตามสมการนี้ถ้าเขียนกราฟโดยให้ค่า
p/p0
เป็นแกน
x
และ
p/(v(p0
- p)) เป็นแกน
y
ก็จะได้กราฟเส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ
(c
- 1)/(vmc) และจุดตัดแกน
y
ที่
1/(vmc)
โดย
p
คือค่าความดันของการดูดซับ
p0
คือค่าความดันอิ่มตัว
v
คือปริมาตรแก๊สที่ของแข็งดูดซับเอาไว้
vm
คือปริมาณแก๊สที่ปกคลุมผิวของแข็งโดยมีความหนาเพียงชั้นโมเลกุลเดียว
(ที่เรียกว่า
monolayer)
และ
c
คือค่าคงที่
และเมื่อได้ค่า vm
มาก็จะคำนวณหาจำนวนโมเลกุลแก๊สที่ต้องใช้ในการปิดคลุมพื้นผิวด้วยความหนาเพียงชั้นโมเลกุลเดียวได้
จากนั้นเมื่อนำจำนวนโมเลกุลคูณด้วยพื้นที่ที่
๑ โมเลกุลปิดคลุมพื้นผิว
(เช่นในกรณีของไนโตรเจนจะมีค่าประมาณ
0.1620
nm2
โดยค่านี้ยังขึ้นอยู่กับว่าประมาณจากปริมาตรแก๊สที่กลายเป็นของเหลวหรือของแข็ง)
ที่มาที่ไปของสมการนี้เคยแสดงไว้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๐๒ วันพฤหัสบดีที่
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง
"การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ตอนที่ ๖ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ BET"
แต่สมการ
(A)
นี้ตั้งอยู่บนข้อสมมุติที่ว่าจำนวนชั้นการดูดซับนั้นสามารถหนาได้ถึง
"อนันต์"
และพบว่าใช้ได้ดีในกรณีที่ค่า
p/p0
ไม่เกิน
0.3
ดังนั้นข้อมูลที่จะนำมาคำนวณค่า
vm
และ
c
ควรอยู่ในช่วงที่ค่า
p/p0
ไม่เกิน
0.3
รูปที่
๒ สมการ (A)
ในกรอบสีแดงคือสมการ
BET
ที่ใช้ในกรณีที่ยอมให้จำนวนชั้นการดูดซับเพิ่มได้มากถึงเป็นอนันต์
ส่วนสมการ (B)
ในกรอบสีเขียวเป็นกรณีที่จำนวนชั้นการดูดซับมีจำกัด
ในกรณีที่จำนวนชั้นการดูดซับนั้นมีจำกัด
คือซ้อนกันหนาได้ไม่เกินระดับหนึ่ง
(เช่นเกิดจากขนาดของรูพรุนที่แคบ
ทำให้จำนวนชั้นโมเลกุลที่สามารถเรียงซ้อนกันได้นั้นมีจำกัด)
ปริมาณแก๊สที่พื้นผิวดูดซับเอาไว้ได้จะเป็นดังสมการ
(B)
ที่อยู่ในกรอบสีเขียวในรูปที่
๒ โดย n
คือจำนวนชั้นของการดูดซับที่เกิดขึ้น
สมการ (B)
นี้เกิดจากการสังเกตพบว่าเมื่อทำการเขียนกราฟโดยใช้สมการ
(A)
นั้น
ในช่วง p/p0
ตั้งแต่ประมาณ
0.35
ไปจนถึง
0.50
กราฟมีการเบี่ยงเบนออกไปจากการเป็นเส้นตรง
(รูปที่
๓)
การหาค่า
n
นั้นทำได้ด้วยการเดาค่า
n
ขึ้นมา
แทนค่าลงในสมการ (B)
แล้วพิจารณาดูว่าค่า
n
ไหนที่ให้ผลการคำนวณเข้ากับข้อมูลจากการทดลองมากที่สุด
ถ้าให้
n
= 1 สมการ
(B)
ก็จะกลายเป็นแบบจำลองการดูดซับของ
Langmuir
ที่การดูดซับนั้นมีความหนาเพียงชั้นโมเลกุลเดียว
รูปที่
๓ เนื้อหาของบทความที่กล่าวถึงผลการทดลองที่ไม่เป็นไปตามสมการ
(A)
แต่สามารถใช้สมการ
(B)
ทำนายได้
ตัวอย่างที่มีพื้นที่ผิวสูงมักจะเป็นตัวอย่างที่มีรุพรุนขนาดเล็ก
และด้วยรูพรุนที่มีขนาดเล็กทำให้จำนวนชั้นการซ้อนทับกันของการดูดซับนั้นมีจำกัด
จากข้อมูลในรูปที่ ๑
นั้นเมื่อใช้ค่าช่วง p/p0
ไม่เกิน
0.3
จะได้ค่า
vm
= 377.5009 ml/g ที่
STP
และ
c
= 10.250241 (เครื่องวิเคราะห์มันคำนวณให้
ผมไม่ได้คำนวณเอง)
รูปที่
๔ เป็นการเปรียบเทียบผลการทดลอง
(ใช้เส้นการดูดซับ)
ค่าที่คำนวณได้จากสมการ
(A)
และค่าที่คำนวณได้จากสมการ
(B)
โดยสมมุติค่า
n
= 5, 6 และ
7
จะเห็นว่าที่ค่า
n
= 6 นั้นจะให้ผลการคำนวณที่ใกล้กับผลการทดลองมาก
และถ้าเพิ่มค่า n
ขึ้นไปเรื่อย
ๆ สมการ (B)
ก็จะวิ่งเข้าหาสมการ
(A)
ผลการคำนวณในรูปที่
๔ แสดงว่าวัสดุรูพรุนที่เขาเอาผล
BET
มาสอบถามผมนั้นมีขนาดรูพรุนที่ค่อนข้างจำกัด
ไม่ได้มีรูพรุนที่มีขนาดที่ใหญ่มากจนโมเลกุลแก๊สสามารถเรียงซ้อนทับกันได้หลายชั้น
ณ
จุดนี้จะเห็นนะครับว่า
คำอธิบายผลการทดลองที่กระทำในปีนี้
มีปรากฏอยู่ในบทความต้นฉบับที่ตีพิมพ์เผยแพร่เอาไว้ตั้งแต่เมื่อ
๘๐ ปีที่แล้ว
ถ้ามัวแต่ค้นหาดูแต่บทความย้อนหลังไม่เกิน
๕ ปีหรือ ๑๐
ปีแบบที่หลายสำนักในเมืองไทยเขาสอนนิสิตกัน
ก็ไม่รู้ว่าจะเจอคำตอบหรือเปล่า
รูปที่
๔ กราฟเปรียบเทียบข้อมูลเส้นการดูดซับ
(Exp
(Ad)) จากรูปที่
(๑)
กับผลการคำนวณด้วยสมการ
(A)
และสมการ
(B)
ที่ค่า
n
= 5, 6 และ
7 (เมื่อ n คือจำนวนชั้นของการดูดซับที่เรียงซ้อนกัน)
โดยใช้ค่า
vm
= 377.5009 ml/g ที่
STP
และ
c
= 10.250241 จะเห็นว่าที่
n
= 6 จะให้ผลการคำนวณที่ใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการวัดมาก
วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561
แม่นก กกลูกนก (๕) MO Memoir : Sunday 18 March 2561
ในที่สุดก็ถึงเวลา
ที่นกน้อยต้องโผบินออกจากรัง
เพื่อออกไปผจญภัยเพียงลำพัง
เย็นวันวาน
ขณะกำลังทำความสะอาดรถ
ก็ได้ยินเสียงนกกระพือปีกที่ต้นแก้ว
ตรงที่แม่นกทำรัง
พอโผล่ออกไปดู
ก็ไม่เห็นนกสักตัวเหลืออยู่ในรัง
เหลือแต่นกน้อยที่โผออกมาเกาะอยู่ที่กิ่งดอกแก้วข้างรัง
ตอนเช้ายังเห็นแม่นกและลูกนกยังคงอยู่คู่กัน
ก็คิดว่าคงใกล้จะถึงวัน
ที่ทั้งคู่จะต้องทิ้งรัง
เช้าวันนี้ก็เลยขอเอารูปภาพครอบครัวนกตอนที่อยู่ในรัง
ที่บันทึกเอาไว้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
มารวบรวมไว้หน่อย
เชื่อว่าคงมีสักวัน
ที่พวกเขาคงจะกลับมาทำรัง
บนแง่กิ่งต้นไม้ที่มีร่มใบ
ที่สามารถปกป้องลูกนกน้อยจากแสงแดดที่ร้อนแรง
และลมพายุฝนที่อาจพัดกระชากรัง
สำหรับหลายคนแล้ว
เช้าวันอาทิตย์เหมาะแก่การนอนตื่นสาย
แต่สำหรับผม การได้มานั่งชิงช้าหน้าบ้าน
จิบกาแฟร้อน ๆ พร้อมขนมปังปิ้ง
ท่ามกลางสายลมพัดอ่อน ๆ
ฟังเสียงนกร้อง
และดูกระรอกกระโดดวิ่งเล่นข้ามต้นไม้ไปมา
ก็ถือว่าคุ้มค่าต่อการตื่นแต่เช้าเหมือนกัน
และก็เป็นอีกหนึ่งวัน
ที่เรื่องบนหน้า blog
วันนี้
เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระอีกครั้งหนึ่ง
รูปที่
๑ ถ่ายตอนเย็นวันอังคารที่
๑๓ มีนาคมที่ผ่านมาโดยใช้แฟลช
รูปที่
๒ ท่าทางไม่ค่อยตื่นกล้องเท่าไรนัก
(ถ่ายไว้เมื่อวันอังคารที่
๑๓ ที่ผ่านมา)
รูปที่
๔ เช้าวันพฤหัสบดี
เมื่อลูกนกอยู่ในรังตัวเดียว
รูปที่
๗ ลูกนก เมื่อเช้าวันวาน
ตอนยังอยู่ในรังกับแม่นก
รูปที่
๙ สภาพรังนกที่เหลืออยู่
รูปที่
๑๐ เช้าวันนี้เห็นคู่นี้มาเกาะอยู่ที่รังที่โคมไฟหน้าบ้าน
ไม่รู้ว่าจะมาออกไข่ที่นี่อีกหรือเปล่า
จะว่าไปแล้วรังนี้เป็นรังเก่า
เพราะไม่เห็นนกมาอยู่ตั้งนานแล้ว
หรือว่าขี้เกียจทำรังใหม่กันก็ไม่รู้
รูปที่
๑๑ ปีนขึ้นไปดูก็ไม่มีอะไรจริง
ๆ สภาพเช่นนี้น่าจะไปทำรังใหม่ที่สะอาดอยู่จะดีกว่า