พฤติกรรมการทำปฏิกิริยาของพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอน
C=C
ที่อยู่โดดเดี่ยว
กล่าวคือในโมเลกุลมีพันธะคู่อยู่เพียงตำแหน่งเดียว
หรือมีหลายพันธะคู่หลายตำแหน่ง
แต่พันธะคู่เหล่านั้นแยกห่างจากกันด้วยพันธะเดี่ยวคั่นกลางตั้งแต่สองพันธะขึ้นไป
(เช่น
-C=C-C-C=C-)
ซึ่งเป็นลักษณะของ
isolated
double bond
การทำปฏิกิริยาของพันธะคู่เหล่านั้นจะไม่ขึ้นอยู่กับพันธะคู่ตัวอื่น
จะเป็นเหมือนกับการทำปฏิกิริยาของพันธะคู่ที่อยู่โดดเดี่ยว
ทั้งนี้เพราะ πe-
ของพันธะคู่เหล่านั้นจะอยู่ประจำตำแหน่งโดยไม่ได้รับผลกระทบจากพันธะข้างเคียง
(ดู
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๔๗ วันจันทร์ที่
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เรื่อง
"Electrophilicaddition ของalkene")
แต่ถ้าในโมเลกุลนั้นมีพันธะคู่มากกว่าหนึ่งพันธะ
และพันธะคู่เหล่านั้นแยกห่างจากกันด้วยพันธะเดี่ยวเพียงพันธะเดียว
เช่น -C=C-C=C-
โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า
conjugated
double bonds
พฤติกรรมการทำปฏิกิริยาของพันธะคู่เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้เพราะ πe-
จะไม่อยู่ประจำตำแหน่ง
แต่จะเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างพันธะคู่ที่อยู่เคียงข้างได้
เรื่องเกี่ยวกับ conjugated
double bond และความเป็นอะโรมาติก
เคยเล่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๑๘ วันศุกร์ที่
๑๒ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "Conjugated
double bonds กับ
Conjugated double bonds กับ Aromaticity"
ในที่นี้เราลองมาดูปฏิกิริยา
electrophilic
additionระหว่าง
1,3-butadiene
กับ
HBr
ที่อุณหภูมิ
40ºC
จากการทดลองพบว่าเกิดผลิตภัณฑ์
2
ชนิด
โดยผลิตภัณฑ์แรกคือ
1-Bromo-2-butene
ที่เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่งอะตอม
C
ตัวที่
1
และ
4
(เรียก
1,4-addition)
และตำแหน่งพันธะคู่ย้ายไปอยู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตัวที่
2
และ3
และผลิตภัณฑ์ที่สองคือ
3-Bromo-1-butene
ที่เกิดจากการแทนที่ที่ตำแหน่งอะตอมคาร์บอนตัวที่
1
และ
2
(เรียก
1,2-addition)
โดยเกิดผลิตภัณฑ์แรกในสัดส่วนประมาณ
80%
และผลิตภัณฑ์ที่สองในสัดส่วนประมาณ
20%
การแทนที่แบบ
1,2-addition
ที่ทำให้เกิด
3-Bromo-1-butene
นั้นก็เหมือนกับการแทนที่ที่เกิดที่พันธะ
C=C
ทั่วไป
แต่การแทนที่แบบ 1,4-addition
ที่ทำให้เกิด
1-Bromo-2-butene
นั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งอะตอม
C
ของพันธะคู่คนละพันธะแล้ว
ยังมีการทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งของพันธะคู่อีก
ซึ่งตรงนี้เป็นผลของการมีพันธะคู่อยู่เคียงข้างประจุบวกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเติม
H+
เข้าไปยังอะตอม
C
ตัวที่อยู่ที่ปลายโซ่
ในขั้นตอนแรกนั้น
H+
จะเข้าไปสร้างพันธะกับ
πe-
ของพันธะคู่ก่อน
โดย H+
จะเข้าไปที่ตำแหน่งอะตอม
C
ตัวที่
1
ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นสารมัธยันต์
(intermediate)
ที่มีประจุบวก
(+)
อยู่ที่ตำแหน่งอะตอมคาร์บอนตัวที่
2
แต่เนื่องจาก
C
ตัวที่
3
ที่อยู่เคียงข้างนั้นมี
πe-
ที่เป็นของพันธะคู่ระหว่างอะตอม
C
ตัวที่
3
กับ
4
ประจุบวกจึงไปดึง
πe-นั้นและย้ายพันธะคู่มาอยู่ระหว่างอะตอม
C
ตัวที่
2
และ
3
และตำแหน่งของประจุบวกจะไปอยู่ที่ตำแหน่งอะตอม
C
ตัวที่
4
carbocation
ที่มีประจุบวกอยู่ข้างพันธะคู่
C=C
นี้มีชื่อว่า
allylic
carbocation หรือ
allylic
carbonium ion ในความเป็นจริงนั้นโครงสร้างไม่ได้เป็นดังรูปข้างบน
(ที่แสดงการเปลี่ยนกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว)
แต่เป็น
resonance
hybrid ดังรูปข้างล่าง
ปฏิกิริยา
electrophilic
additionของ
conjugated
diene นี้นักเคมีชาวรัสเซียชื่อ
Alexander
Mikhaylovich Zaitsev ได้ทำการศึกษา
และได้ตั้งข้อสรุปเอาไว้ว่า
"ผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีหมู่อัลคิลเกาะกับอะตอมคาร์บอนที่เป็นพันธะคู่
(C=C)
มากที่สุด"
ซึ่งตามตัวอย่างที่ยกมานั้นจะเห็นว่า
1-Bromo-2-butane
จะมีหมู่อัลคิล
2
หมู่
(CH3-
กับ
-CH2Br)
เกาะกับอะตอมคาร์บอนที่เป็นพันธะคู่
ในขณะที่ 3-Bromo-1-butene
มีหมู่อัลคิลเพียงหมุ่เดียว
(H3C-CHBr-)
เกาะกับอะตอมคาร์บอนที่เป็นพันธะคู่
ข้อสรุปดังกล่าวต่อมาเรียกว่าเป็น
Saytzeff's
rule หรือ
Zaitsev's
rule (แปลตัวสะกดชื่อจากรัสเซียเป็นอังกฤษได้หลายแบบ)
อันที่จริง
"อุณหภูมิ"
ยังเป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งในการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์หลักที่จะเกิดนั้นจะเกิดจาก
1,2-addition
หรือ
1,4-addition
ดังแสดงในรูปที่
๑ ข้างล่าง
รูปที่
๑ การเปลี่ยนแปลงพลังงานในปฏิกิริยา
electrophilic
addition ของ
1,3-butadiene
กับ
HBr
(ดัดแปลงจาก
Albert
Zlatkis, Eberhard Breitmaier and Günther
Jung, "A concise introduction to organic chemistry", 13th
printing, McGraw Hill, 1985.)
จากรูปที่
๑ จะเห็นว่าพลังงานกระตุ้นของการเกิด
1,2-addition
(ผ่าน
carbocation
ที่มีประจุบวกอยู่ที่อะตอม
C
ตัวที่
2
ซึ่งเป็น
secondary
carbocation) นั้นต่ำกว่าพลังงานกระตุ้นของการเกิด
1,4-addition
(ผ่าน
carbocation
ที่มีประจุบวกอยู่ที่อะตอม
C
ที่อะตอม
C
ตัวที่
4
ซึ่งเป็น
primary
carbocation) แต่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก
1,4-addition
นั้นมีเสถียรภาพสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก
1,2-addition
ดังนั้นที่อุณหภูมิต่ำ
ปฏิกิริยาจะเน้นไปทางการเกิด
1,2-addition
มากกว่า
เพราะต้องการพลังงานกระตุ้นน้อยกว่า
แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
ปฏิกิริยาจะเน้นไปทางการเกิด
1,4-addition
เพราะระบบมีพลังงานที่สูงมากพอ
ระบบก็จะปรับตัวโดยเปลี่ยนไปอยู่ในโครงสร้างที่มีพลังงานในตัวสูงขึ้น
(เปลี่ยนจากรูป
secondary
carbocation ไปเป็น
primary
carbocation เพื่อดูดซับพลังงานเอาไว้)
นอกจากนี้การเกิด
1,4-addition
ยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีการคายพลังงานออกมากกว่า
ดังนั้นเส้นทางการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับจะเกิดได้ยากกว่าด้วย
สิ่งที่จะฝากทิ้งท้ายไปตรงนี้ก็คือ
จะเห็นว่าเส้นทางการเกิดปฏิกิริยาผ่านสารมัธยันต์ที่มีเสถียรภาพต่ำ
(หรือพลังงานในตัวสูง)
นั้น
ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้น
แต่ถ้าเราป้อนพลังงานให้กับระบบสูงมากพอ
ระบบก็จะพยายามปรับตัวด้วยปรับเปลี่ยนโมเลกุลไปอยู่ในโครงสร้างที่มีพลังงานในตัวสูงขึ้นเพื่อดูดซับเอาพลังงานที่ป้อนเข้าไปนั้น
ดังนั้นเมื่อให้พลังงานกับระบบสูงมากพอ
เส้นทางการเกิดปฏิกิริยาผ่านทางสารมัธยันต์ที่มีพลังงานในตัวสูงก็สามารถเกิดได้เช่นเดียวกัน
หนังสือประกอบการเขียน
Albert
Zlatkis, Eberhard Breitmaier and Günther
Jung, "A concise introduction to organic chemistry",
13th
printing, McGraw Hill, 1985.
Edward
E. Burgoyne, "A short course in organic chemistry", 3rd
printing, McGraw Hill, 1985.
บันทึกที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพของ
carbocation
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๒๓ วันจันทร์ที่
๒๒ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "Carbocation- การเกิดและเสถียรภาพ"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๓๙ วันเสาร์ที่
๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "Carbocation ตอนที่๓ การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ"
Alexander
Mikhaylovich Zaitsev (หรือ
Zaitsev
หรือ
Saytzeff)
เกิดวันที่
๒ กรกฎาคม ค.ศ.
๑๘๔๑
ถึงแก่กรรม ๑ กันยายน ค.ศ.
๑๙๑๐
ข้อมูลจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_Mikhaylovich_Zaytsev
ภาพจาก
http://tatar.museum.ru/univer/col-zay.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น