แนวความคิดการเกิด
carbocation
นั้นย้อนหลังขึ้นไปถึงช่วงทศวรรษ
๑๘๙๐ จนถึงทศวรรษ ๑๙๐๐
โดยผู้ที่ทำการศึกษาอนุพันธ์ของสารประกอบ
triphenylmethane
(C(C6H5)3R) ในสารละลายที่เป็นกรด
ตามเกณฑ์การเรียกชื่อของ
IUPAC
นั้น
ไอออนใด ๆ ที่เดิมเรียกว่า
carbonium
ion เช่น
CH3+
ให้เรียกว่า
carbenium
ion สปีชีย์ที่มีประจุเป็นบวกชนิดอื่นเช่น
CH5+
ให้เรียกว่า
carbonium
ion
โดยคำว่า
carbocation
จะครอบคลุมสปีชีย์ที่มีประจุบวกทั้งสองรูปแบบข้างต้น
ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการทำปฏิกิริยาของพันธะคาร์บอนไม่อิ่มตัว
(เช่น
C=C)
และวงแหวนเบนซีนมักเกิดผ่านการเกิดสารมัธยันต์ที่เป็น
carbocation
นี้
๑.
กลไกการเกิด
carbocation
กลไกการเกิด carbocation นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ กระบวนการดังนี้คือ
๑.๑
การเติม cation
เข้าไปที่โมเลกุลที่ไม่อิ่มตัว
ตำแหน่งพันธะไม่อิ่มตัวระหว่างอะตอมคาร์บอน
ซึ่งได้แก่ พันธะคู่ พันธะสาม
หรือวงแหวนนั้น เป็นตำแหน่งที่มี
πe-
อยู่
ตำแหน่งเหล่านี้มองได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีประจุลบหนาแน่นกว่าส่วนอื่นของโมเลกุลหรือเป็น
Lewis
base ดังนั้นสำหรับประจุบวกที่มีความแรงมากพอ
ก็จะสามารถเข้าไปสร้างพันธะกับ
πe-
นั้นได้
ตัวอย่างของประจุบวกได้แก่
H+
จากกรด
ถ้ากรดที่ความแรงที่มากพอ
กรดนั้นก็จะจ่ายโปรตอนให้กับโมเลกุลตรงตำแหน่ง
πe-
นั้นได้
กลไกนี้เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้เกิด
carbocation
กับโอเลฟินส์และวงแหวนอะโรแมติก
(เรื่องปฏิกิริยา
electrophilic
addition ของอัลคีน
และ electrophilic
aromatic substituion ของอะโรแมติก)
ตัวอย่างของปฏิกิริยานี้ได้แก่การเติม
halogen
เข้าไปที่วงแหวนเบนซีนโดยมี
Lewis
acid เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เช่นปฏิกิริยาระหว่าง benzene
กับ
Br2
ที่มี
FeBr3
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเกิดดังนี้
(ก๑)
ไอออน
Fe3+
ของ
FeBr3
จะจับกับโมเลกุลของ
Br2
ทำให้อะตอม
Br
ที่หันเข้า
Fe3+
มีความเป็นขั้วลบ
(เพราะอิเล็กตรอนของพันธะ
Br-Br
ถูกดึงด้วย
Fe3+)
ทำให้อะตอม
Br
ด้านที่ไม่เกาะกับ
Fe3+
มีความเป็นขั้วบวก
(หรือกลายเป็นไอออนบวก)
B
r3-Fe + Br-Br →
B r3-Fe3+---Br--Br+
(ก๒)
อะตอม
Br
ที่มีความเป็นขั้วบวก
(หรือเป็นไอออนบวก)
จะไปดึง
πe-
จากวงแหวนเบนซีน
เกิดพันธะระหว่างวงแหวนเบนซีนกับ
Br
กลายเป็น
carbocation
(ก๓)
Br- ที่อยู่กับ
B
r3-Fe3+---Br- จะรับเอาโปรตอน
(H+)
จาก
carbocation
ที่เกิดขึ้น
ได้ผลิตภัณฑ์คือ HBr
และ
Bromobenzene
(C6H5Br)
olefin
(หรือ
alkene)
ก็สามารถเกิดปฏิกิริยานี้ได้โดยใช้กรดที่มีความแรง
ตัวอย่างเช่นการเติมโปรตอนเข้าไปที่พันธะ
C=C
ของ
ethylene
(H2C=CH2) ด้วยกรด
HCl
+ AlCl3 ในการผลิต
ethylbenzene
ด้วยปฏิกิริยา
alkylation
benzene ด้วย
ethylene
ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยามีดังนี้
(ข๑)
โมเลกุล
HCl
หันด้านอะตอม
Cl
เข้าหา
AlCl3
ทำให้ด้านอะตอม
H
มีความเป็นบวกที่แรงมากขึ้นจนอะตอม
H
ของ
HCl
สามารถสร้างพันธะกับ
πe-
ของ
C=C
ได้
เกิดเป็น carbocation
C2H5+ โดยทิ้ง
Cl-
ไว้ที่
AlCl4-
(ข๒)
C2H5+
เข้าไปสร้างพันธะกับวงแหวนเบนซีน
(ข๓)
AlCl4- เข้ามารับโปรตอนจากวงแหวน
ได้ผลิตภัณฑ์เป็น ethylbenzene
AlCl3 และ
HCl
รูปจาก
(http://www.chemguide.co.uk/mechanisms/elsub/indalkyl.html)
๑.๒
การเติมโปรตอนเข้าไปยังโมเลกุลที่อิ่มตัว
กรดที่มีความแรงสูงมาก
(superacid)
สามารถจ่ายโปรตอนให้กับ
alkane
ได้
ตัวอย่างเช่น CH4
สามารถรับโปรตอนจาก
superacid
FSO3H-SbF5 (สารผสมระหว่าง
fluorosulfonic
acid กับ
antimony
pentafluoride) กลายเป็น
CH5+
ก่อนที่
carbocation
ตัวนี้จะสลายตัวกลายเป็น
CH3+
และทำปฏิกิริยากับ
CH4
โมเลกุลอื่นต่อไป
รูปจาก
(http://en.wikipedia.org/wiki/File:Methonium_cations2.gif)
alkane
โมเลกุลใหญ่ก็สามารถรับโปรตอนจากกรดที่มีความแรงมากได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่นในกรณีของ
heptane
(C7H16)
C7H16
+ strong acid →
C7H17+ →
C3H8 + C4H9+
ในกรณีของโมเลกุล
alkane
ขนาดใหญ่นั้น
การที่ carbocation
CnH2n+3+
เลือกที่จะแตกออกเป็นโมเลกุลที่เล็กลงแทนที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น
CnH2n+1+
และ
H2
นั้นเพราะโครงสร้างของ
carbocation
ที่ได้จากการแตกตัวมีเสถียรภาพมากกว่าโครงสร้าง
carbocation
ที่เกิดจากการสูญเสีย
H2
ออกไป
กลไกนี้เชื่อว่ามีบทบาทในปฏิกิริยา
catalytic
cracking สารประกอบ
alkane
โดยจะได้ผลิตภัณฑ์ไฮโดรคาร์บอนออกมาในเฟสแก๊ส
ในขณะที่ carbenium
ion นั้นยังคงค้างอยู่บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
๑.๓
การดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอมที่เป็นกลาง
Lewis
acid หรือ
carbenium
ion
ที่มีความแรงมากนั้นสามารถที่จะดึงอะตอมไฮโดรเจนออกจากโมเลกุลในรูปของ
H-
(hydride ion)
RH
+ L →
R+ + LH-
RH
+ R1+ →
R+ + R1H
กลไกนี้เป็นกลไกที่สำคัญกลไกหนึ่งของปฏิกิริยา
isomerisation
ของ
alkane
ด้วย
Lewis
acid โดย
Lewis
acidเช่น
AlCl3
จะไปดึง
H-
ออกจากโมเลกุล
alkane
CnH2n+2 ให้กลายเป็น
carbenium
ion CnH2n+1+ จากนั้น
CnH2n+1+
ที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวใหม่เพื่อให้มีเสถียรภาพมากขึ้น
(โครงสร้าง
carbenium
ion ที่อะตอม
C
ที่มีประจุบวกนั้นมีหมู่
alkyl
เกาะอยู่หลายหมู่
จะมีเสถียรภาพสูงกว่า)
และเมื่อโครงสร้างใหม่นั้นรับ
H
กลับคืนไป
ก็จะได้ alkane
โซ่กิ่ง
อีกตัวอย่างหนึ่งของปฏิกิริยานี้คือปฏิกิริยา
alkylation
ระหว่าง
benzene
กับ
1-chloropropane
(CH3CH2CH2Cl) โดยมี
AlCl3
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
AlCl3
จะไปดึง
Cl-
ออกจาก
CH3CH2CH2Cl
ดังสมการ
CH3CH2CH2Cl + AlCl3
→
CH3CH2CH2+ + AlCl4-
CH3CH2CH2+
ที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงใหม่กลายเป็น
H3C-HC+-CH3
ที่มีเสถียรภาพมากกว่า
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็น
cumene
(หรือ
isopropyl
benzene) ตัวหลัก
แทนที่จะได้ propylbenzene
ดูรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมในหัวข้อ
๒.
๑.๔
การที่โมเลกุลเกิดการแตกออก
ตัวอย่างของปฏิกิริยานี้ได้แก่ปฏิกิริยา
SN1
ของสารประกอบ
organic
halide โดยเฉพาะพวก
tertiary
halide ที่จะเกิดการแตกตัวออกเป็น
R+
(ส่วนนี้คือ
carbocation)
และ
X-
ก่อนที่จะเกิดปฏิกิริยาต่อไป
ดังตัวอย่างเช่นการแตกตัวของ
tert-Butyl
bromide
๒. เสถียรภาพของ carbocation
เมื่อมีประจุบวกเกิดขึ้นที่อะตอม
C
อะตอมหนึ่งของโมเลกุล
อะตอม C
ที่มีประจุบวกนั้นจะดึงอิเล็กตรอนจากอะตอมอยู่ที่เกาะอยู่กับมัน
เสถียรภาพของ carbocation
ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่กับว่าโครงสร้างโมเลกุลของ
carbocation
ที่เกิดขึ้นสามารถสะเทินประจุบวกที่เกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด
ถ้าหมู่ที่เกาะกับอะตอม C
ที่มีประจุบวกนั้นสามารถจ่ายอิเล็กตรอนให้กับประจุบวกนั้นได้
carbocation
ที่เกิดขึ้นก็จะมีเสถียรภาพ
หมู่
alkyl
นั้นมีอิเล็กตรอนมากกว่าอะตอม
H
ดังนั้นถ้าอะตอม
C+
มีหมู่
alkyl
มาเกาะหลายหมู่
อะตอม C+
ก็จะสามารถดึงอิเล็กตรอนจากหมู่
alkyl
เข้ามาสะเทินประจุบวกที่ตัวมันเองได้มากขึ้น
จึงทำให้ carbocation
ที่มีหมู่
alkyl
มากกว่ามีเสถียรภาพสูงกว่า
และเมื่อเทียบกันระหว่างหมู่
alkyl
ที่มีขนาดใหญ่กับหมู่
alkyl
ที่มีขนาดเล็ก
หมู่ alkyl
ที่มีขนาดใหญ่จะให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่าหมู่
alkyl
ที่มีขนาดเล็กกว่า
ดังนั้น carbocation
ที่มีหมู่
alkyl
เกาะเป็นจำนวนเท่ากัน
carbocation
ที่มีหมุ่
alkyl
ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีเสถียรภาพสูงกว่า
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้เสถียรภาพของ
carbocation
เป็นไปตามลำดับดังนี้คือ
เมื่อ
R1
R2 และ
R3
คือหมู่
alkyl
ที่อาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
ดังนั้นในปฏิกิริยาการเติมโปรตอนเข้าไปที่พันธะ
C=C
ที่ไม่สามาตร
(เช่นปฏิกิริยาในข้อ
๑.๑)
carbocation ที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวที่มีจำนวนหมู่
alkyl
มากกว่า
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปฏิกิริยาการสังเคราะห์
cumene
(C6H5-(H3CCHCH2) จาก
benzene
และ
propylene
(H3CCH=CH2) โดยในขั้นตอนแรกจะเป็นการเติม
H+
เข้าไปที่โมเลกุล
propylene
เกิดเป็น
carbocation
ดังนี้
(ปฏิกิริยานี้ก็ต้องการกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเช่นเดียวกับกรณีของ
ethylene
ที่แสดงในข้อ
๑.๑)
H3CCH=CH2
+ H+ →
H3C-HC+-CH3 หรือ
H3C-CH2-CH2+
การเติมโปรตอนเข้าไปที่อะตอม
C
ตัวขวาสุด
จะทำให้เกิด carbocation
H3C-HC+-CH3 ที่มีหมู่
alkyl
๒
หมู่ในขณะที่การเติมโปรตอนเข้าไปที่อะตอมคาร์บอนตัวกลางจะทำให้เกิด
carbocation
H3C-CH2-CH2+ ที่มีหมู่
alkyl
เพียง
๑ หมู่ ดังนั้น carbocation
ตัวหลักที่เกิดคือ
H3C-HC+-CH2
จึงทำให้ปฏิกิริยา
alkylation
ของ
benzene
ด้วยโพรพิลีนจึงได้
cumene
เป็นผลิตภัณฑ์หลักแทนที่จะได้
propyl
benzene (C6H5-CH2CH2CH3)
หมายเหตุ
เนื้อหาในบันทึกนี้ส่วนใหญ่
(เว้นแต่จะมีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น)
นำมาจากเอกสารต่อไปนี้
(๑)
บทที่
๒ เรื่อง Fundamentals
of Carbocation Behavior ในหนังสือ
Catalytic
Cracking : Catalysts, Chemistry, and Kinetics โดย
Bohdan
W. Wojciechowski และ
Avelino
Corma สำนักพิมพ์
Marcel
Dekker, Inc. ปีค.ศ.
๑๙๘๖
(พ.ศ.
๒๕๒๙)
(๒)
บทที่
๕ เรื่อง Aromatic
hydrocarbons และบทที่
๖ เรื่อง Organic
halides ในหนังสือ
A
Short Course in Organic Chemistry โดย
Edward
E. Burgoyne พิมพ์ครั้งที่
๓ ปีค.ศ.
๑๙๘๕
(พ.ศ.
๒๕๒๘)
สำนักพิมพ์
McGraw-Hill
(พิมพ์ครั้งแรกปีค.ศ.
๑๙๗๙
(พ.ศ.
๒๕๒๒)
แม้ว่าหนังสือทั้งสองเล่มนี้จะพิมพ์มานานแล้ว
(ร่วม
๓๐ ปีหรือกว่า)
แต่จะเห็นว่าความรู้พื้นฐานนั้นยังคงเหมือนเดิม
สิ่งที่เราทำวิจัยกันอยู่ในปัจจุบันก็ยังคงใช้ความรู้พื้นฐานต่าง
ๆ ที่มีมากว่าหลายสิบปีหรือกว่าร้อยปีที่แล้ว
ดังนั้นคำอธิบายหลาย ๆ
เรื่องนั้นแทนที่จะไปหาจากบทความว่ามีคนเขาอธิบายไว้ว่าอย่างไร
เราเองก็สามารถอธิบายได้โดยใช้ความรู้พื้นฐานที่เรียนกันมาตามตำราปริญญาตรีนั่นเอง