ตอนแรกก็ไม่คิดว่าเรื่องนี้มันจะลากยาว
แต่พอลองศึกษาดูก็พบว่ามันมีอะไรที่เราต้องทำความเข้าใจมันอยู่เหมือนกัน
เพราะ carbocation
เป็นสารมัธยันต์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ต่าง
ๆ เวลาที่อ่านทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ
carbocation
นั้นรู้สึกว่าต้องดูด้วยว่าผู้เขียนนั้นเน้นไปที่การทำปฏิกิริยาแบบไหน
เพราะปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นอาจะเกิดในแบบปฏิกิริยาเอกพันธ์
(homogeneous
reaction) หรือในแบบปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
(heterogeneous
reaction)
แต่เท่าที่ค้นเอกสารดูเหมือนว่าผู้เขียนส่วนใหญ่จะอิงการเกิดปฏิกิริยาแบบเอกพันธ์เป็นหลัก
แต่ในงานที่เราจะศึกษานั้นปฏิกิริยาเป็นชนิดปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธ์
โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นของแข็ง
ส่วนสารตั้งต้น/ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นแก๊สหรือของเหลว
เรื่องเกี่ยวกับ
carbocation
สองตอนก่อนหน้านี้
(ซึ่งจะให้เป็นตอนที่
๑ และตอนที่ ๒)
คือ
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๒๓ วันจันทร์ที่
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"Carbocation
- การเกิดและเสถียรภาพ"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๓๓ วันเสาร์ที่
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"Carbocation
- การทำปฏิกิริยา"
เนื้อหาในบันทึกนี้บางส่วนอาจจะซ้ำซ้อนกับสองฉบับก่อนหน้า
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการขยายความและชี้ประเด็นคำถามที่เมื่อเรานำไปใช้ควรต้องมีการพิจารณาให้ดี
๑.
การจำแนกประเภท-การเรียกชื่อ
ขอเริ่มด้วยการจำแนกประเภทและการเรียกชื่อก่อน
เพราะต่อไปเมื่อมีการกล่าวถึงจะได้คุยกันรู้เรื่องว่าพูดถึงโครงสร้างแบบไหนอยู่
๑.๑
Primary
(1º)
carbocations
carbocation
ประเภทนี้จะมีประจุ
+
อยู่ที่อะตอม
C
ที่อยู่ที่ปลายสายโซ่
โดยหมู่อื่นที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
นั้นประกอบด้วยอะตอม
H
2 อะตอม
และหมู่ R
อีก
1
หมู่
ดังตัวอย่างในรูปที่ ๑
ข้างล่าง โดยที่หมู่ R
นั้นอาจเป็นอะตอม
H
ก็ได้
(คือเป็น
methyl
carbocation)
รูปที่
๑ ตัวอย่างโครงสร้าง 1º
carbocations (ซ้าย)
โครงสร้างทั่วไป
(กลาง)
เมื่อหมู่
R
คือหมู่
aryl
(ขวา)
เมื่อหมู่
R
คือหมู่
alkyl
๑.๒
Secondary
(2º)
carbocations
carbocation
ประเภทนี้จะมีประจุ
+
อยู่ที่อะตอม
C
ที่อยู่ที่กลางสายโซ่
โดยหมู่อื่นที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่มีประจุบวกนั้นประกอบด้วยอะตอม
H
1 อะตอม
และอีก 2
หมู่ได้แก่หมู่
R1
และ
R2
โดยที่หมู่
R1
และ
R2
นั้นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
หรือเป็นโคงสร้างที่ต่อเป็นวงก็ได้
ดังตัวอย่างในรูปที่ ๒
ข้างล่าง
รูปที่
๒ ตัวอย่างโครงสร้าง 2º
carbocations (ซ้าย)
โครงสร้างทั่วไป
(กลาง)
เมื่อหมู่
R
เป็นโครงสร้างที่เป็นวง
(cyclic)
(ขวา)
เมื่อหมู่
R1
คือหมู่
ethyl
-CH2CH3 และหมู่
R2
คือหมู่
methyl
-CH3
๑.๓
Tertiary
(3º)
carbocations
carbocation
ประเภทนี้จะมีประจุ
+
อยู่ที่อะตอม
C
ที่อยู่ที่กลางสายโซ่
โดยหมู่อื่นที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่มีประจุบวกนั้นประกอบด้วยหมู่
R1
R2 และ
R3
โดยที่หมู่
R1
R2 และ
R3
นั้นไม่ใช่อะตอม
H
และอาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
หรือเป็นโคงสร้างที่ต่อเป็นวงก็ได้
ดังตัวอย่างในรูปที่ ๓
ข้างล่าง
รูปที่
๓ ตัวอย่างโครงสร้าง 3º
carbocations (ซ้าย)
โครงสร้างทั่วไป
(กลาง)
เมื่อหมู่
R1
และ
R2
เป็นโครงสร้างที่เป็นวง
(cyclic)
ส่วน
R3
คือหมู่
methyl
-CH3 (ขวา)
เมื่อหมู่
R1
คือหมู่
ethyl
-CH2CH3 และหมู่
R2
และ
R3
คือหมู่
methyl
-CH3
๑.๔
Allylic
carbocation
allylic
carbocation จะมีอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
อยู่ถัดจากอะตอมคาร์บอนที่มีพันธะคู่
C=C
ดังตัวอย่างในรูปที่
๔ ข้างล่าง
รูปที่
๔ ตัวอย่างของ allylic
carbocation (ซ้าย)
โครงสร้างทั่วไปโดยที่หมู่
R
แต่ละหมู่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
(ขวา)
ally carbocation ซึ่งเป็นกรณีที่ทุกหมู่
R
คืออะตอม
H
๑.๕
Vinylic
carbocation
vinyl
carbocation นั้น
อะตอม C
ที่มีประจุ
+
เป็นส่วนหนึ่งของพันธะคู่
C=C
รูปที่
๕ ตัวอย่างของ vinylic
carbocation (ซ้าย)
โครงสร้างทั่วไปโดยที่หมู่
R
แต่ละหมู่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
(ขวา)
vinyl carbocation ซึ่งเป็นกรณีที่ทุกหมู่
R
คืออะตอม
H
๑.๖
Benzylic
carbocation
ในกรณีนี้อะตอม
C
ที่มีประจุ
+
จะอยู่ถัดจากวงแหวนอะโรมาติก
รูปที่
๖ ตัวอย่างของ benzylic
carbocation (ซ้าย)
โครงสร้างตัวไปโดยที่หมู่
R
แต่ละหมู่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
(กลาง)
เมื่อหมู่
R
ทุกหมู่คืออะตอม
H
ในกรณีนี้จะเป็น
1º
carbocations ด้วย
(ขวา)
ในกรณีนี้จะเป็น
2º
carbocations ด้วย
๑.๗
Aryl
carbocation
ในกรณีนี้อะตอม
C
ที่มีประจุ
+
จะเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนอะโรมาติก
รูปที่
๗ ตัวอย่างของ aryl
carbocation (ซ้าย)
โครงสร้างตัวไปโดยที่หมู่
R
แต่ละหมู่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
(ขวา)
phenyl carbocation (หมู่
R
ทุกหมู่คืออะตอม
H)
๒.
เสถียรภาพของ
carbocation
ในบันทึกฉบับที่
๕๒๓ นั้นได้กล่าวเอาไว้ว่าเสถียรภาพของ
carbocation
นั้นขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างโมเลกุลนั้นจะสามารถสะเทินประจุบวกที่เกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด
ซึ่งมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
3
ปัจจัยคือ(๑,๒)
๒.๑
หมู่แทนที่
(substitution
group)
ในกรณี่ที่หมู่
R
ที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
นั้นสามารถจ่ายอิเล็กตรอนให้กับอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
ได้
carbocation
ที่เกิดขึ้นก็จะมีเสถียรภาพสูงขึ้น
เรื่องนี้ได้กล่าวเอาไว้แล้วในบันทึกฉบับที่
๕๒๓ ตรงที่เสถียรภาพของ
carbocation
เรียงตามลำดับดังนี้
3º > 2º > 1º > CH3+
โดย
methyl
carbocation CH3+ นั้นถือว่ามีเสถียรภาพต่ำสุด
(ใช้พลังงานมากสุดในการทำให้)
จนมีการเสนอแนะว่าไม่ควรได้รับการพิจารณาว่าเกิดขึ้นในระหว่างการทำปฏิกิริยา
เว้นแต่ว่าจะไม่มีทางเลือกอื่นให้พิจารณา
ซึ่งเรื่องนี้เราจะกลับมาพิจารณากันใหม่ตอนที่เราจะคุยกันเรื่อง
benzene
methylation ด้วย
CH3OH
๒.๒
การเกิด resonace
การเกิด
resonace
ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญมากกว่าหมู่แทนที่
กล่าวคือ 1º
carbocation ที่เกิด
resonance
นั้นสามารถที่จะมีเสถียรภาพที่สูงกว่า
2º
carbocation ได้
การเกิด resonance
นั้นเอาจเกิดได้จาก
๒.๑
พันธะ C=C
ที่อยู่ถัดจากอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
โดยทำให้ประจ
+
นั้นกระจายไปยังอะตอม
C
ต่าง
ๆ ดังตัวอย่างแสดงในสมการข้างล่าง
๒.๒
มีอะตอมที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
(เช่น
N
O) เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
โดยอะตอมที่มีอิเล็กตรอนคู่โดยเดี่ยวนั้นจะจ่ายอิเล็กตรอนคู่โดยเดียวมาสร้างพันธะคู่กับอะตอม
C
ที่มีประจุ
+
ดังตัวอย่างแสดงในสมการข้างล่าง
๓.
การจัดเรียงโมเลกุลใหม่
(rearrangement)
ในบันทึกฉบับที่
๕๓๓ ได้กล่าวถึงการที่
carbocation
ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถจัดเรียงโมเลกุลใหม่
ทำให้โครงสร้างโมเลกุลเปลี่ยนแปลงไปจากสารตั้งต้นที่เป็นตัวที่เกิด
carbocation
ได้
(ปฏิกิริยา
skeletal
isomerisaton)
ในเอกสาร
(๔)
กล่าวไว้ว่าในกรณีของปฏิกิริยาที่เกิดในเฟสแก๊สนั้น
benzyl
cation (C6H5-CH2+)
จะเกิดการจัดเรียงตัวใหม่กลายเป็น
tropylium
cation ดังสมการ
ซึ่ง
tropylium
cation ที่เกิดขึ้นนั้นจะมีเสถียรภาพสูงกว่า
benzyl
cation เพราะประจุ
+
สามารถเกิด
resonance
กับพันธะ
C=C
ที่อยู่ข้างเคียงได้
๔.
เสถียรภาพ
1º
carbocation
เนื้อหาในส่วนนี้ขอฝากให้พวกคุณเก็บเอาไว้พิจารณาก่อน
คิดว่าถ้ามีการเริ่มโครงการเมื่อใดคงจะได้กลับมาพิจารณากันโดยละเอียดอีกที
(เราอาจจำเป็นต้องใช้มัน)
ในหัวข้อที่
๒.
ของบันทึกฉบับที่
๕๒๓ นั้นได้กล่าวไว้ว่าเมื่อ
propylene
(H3CCH=CH2) ได้รับ
proton
จากกรดที่แรงมากพอนั้น
propylene
จะกลายเป็น
propyl
cation ได้ดังสมการ
H3CCH=CH2
+ H+ →
H3C-HC+-CH3 หรือ
H3C-CH2-CH2+
ถ้ามองจากแง่เสถียรภาพแล้ว
H3C-HC+-CH3
ซึ่งเป็น
2º
carbocation จะมีเสถียรภาพมากกว่า
H3C-CH2-CH2+
ซึ่งเป็น
1º
carbocation จึงทำให้ผลิตภัณฑ์หลักระหว่าง
propylene
กับ
benzene
จึงเป็น
cumene
ไม่ใช่
n-propyl
benzene
แต่ในมุมมองของผมเห็นว่าปฏิกิริยาดังกล่าวนั้นเขียนขึ้นโดยพิจารณาว่า
propyl
carbocation กับ
benzene
ที่ต่างอยู่อย่างอิสระนั้นทำปฏิกิริยาเข้าด้วยกัน
กล่าวคือโมเลกุล propylene
รับ
H+
จากพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาแล้วกลายเป็น
cation
อิสระที่เข้าไปสร้างพันธะกับวงแหวน
benzene
ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้
propyl
cation ที่เกิดขึ้นเมื่อและหลุดออกไปจากพื้นผิวจะเป็น
2º
carbocation เป็นส่วนใหญ่
แต่ผมสงสัยว่าถ้าหาก
H3C-CH2-CH2+
ที่เกิดขึ้นนั้นยังคงเกาะอยู่บนพื้นผิว
(เช่นที่ตำแหน่ง
O2-)
1º carbocation ตัวนี้ก็น่าจะคงประจุบวกให้อยู่ที่อะตอม
Cที่อยู่ที่ปลายโซ่ได้
(รูปที่
๘)
โดยเกิด
resonance
กับอิเล็กตรอนคู่โดยเดี่ยวของไอออน
O2-
ของพื้นผิว
ดังนั้นจึงน่าจะทำให้เกิดเป็น
n-propyl
benzene ได้
และเมื่อพิจารณาค่า
enthalpy
of formation (∆Hf)(๓)
พบว่าของ
H3C-HC+-CH3
มีค่า
191.8
kcal/mol ในขณะที่ของ
H3C-CH2-CH2+
มีค่า
208
kcal/mol ซึ่งสูงกว่าไม่มาก
ดังนั้นด้วยการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมเราก็น่าที่จะเพิ่มปริมาณ
H3C-CH2-CH2+
ให้สูงขึ้นได้
ในทำนองเดียวกันถ้า
benzyl
cation (∆Hf 213
kcal/mol)(๓)
สามารถเกาะบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
benzyl
cation ก็น่าจะคงอยู่ได้โดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็น
tropylium
cation (∆Hf 211
kcal/mol)(๓)
รูปที่
๘ เป็นไปได้ไหมว่า 1º
carbocation
สามารถมีเสถียรภาพได้ถ้าเกิดการดูดซับเข้ากับไอออนลบบนพื้นผิว
ในเอกสาร
(๔)
นั้นกล่าวว่าไม่มีตรวจพบว่ามีการเกิดสปีชีย์ที่ประจุบวก
"ทั้งหมด"
ไปอยู่ที่อะตอมคาร์บอนที่ปลายโซ่
(primary
carbon) เป็นสารมัธยันต์ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
1º
carbocation นั้นไม่มีอยู่จริง
เพราะอะตอม H
ของอะตอม
C
ข้างเคียงสามารถเกิด
H-bridge
กับอะตอม
C
ที่มีประจุบวก
ทำให้ประจุบวกกระจายอยู่ระหว่างอะตอม
C
และอะตอม
H
นั้น
ดังเช่นในกรณีของ ethyl
cation (H3C-CH2+) นั้น
อะตอม H
อะตอมหนึ่งของหมู่
H3C-
จะสร้าง
H-bridge
กับประจุบวกของหมู่
-CH2+
ทำให้ประบวกย้ายมาอยู่ที่บริเวณตอนกลางของโมเลกุลได้ดังรูปที่
๙ ข้างล่าง
รูปที่
๙ ethyl
cation (เขียนขึ้นตามความเข้าใจของผมเองที่อ่านมาจากเอกสาร
(๓))
ฉบับนี้ร่ายยาวมา
๖ หน้าแล้ว คงต้องขอพอก่อน
บรรณานุกรม
บันทึกฉบับนี้เขียนโดยอ้างอิงเนื้อหาจากแหล่งต่อไปนี้คือ
(๑)
http://masterorganicchemistry.com/2011/03/11/3-factors-that-stabilize-carbocations/
เรื่อง
"3
Factors That Stabilize Carbocations"
(๒)
http://www.chem.ucla.edu/harding/tutorials/cc.pdf
เรื่อง
"Carbocations
- Based on a Fall 2001 Chemistry 30BH Honors project by Patricia
Young"
(๓)
http://chemistry.umeche.maine.edu/CHY556/carbocat.html
เรื่อง
"Carbocation
Stability"
(๔)
http://chemistry.umeche.maine.edu/CHY556/carbocat2.html
เรื่อง
"Mythical
Carbocations?"