พฤติกรรมการทำปฏิกิริยาของพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอน
C=C
ที่อยู่โดดเดี่ยว
กล่าวคือในโมเลกุลมีพันธะคู่อยู่เพียงตำแหน่งเดียว
หรือมีหลายพันธะคู่หลายตำแหน่ง
แต่พันธะคู่เหล่านั้นแยกห่างจากกันด้วยพันธะเดี่ยวคั่นกลางตั้งแต่สองพันธะขึ้นไป
(เช่น
-C=C-C-C=C-)
ซึ่งเป็นลักษณะของ
isolated
double bond
การทำปฏิกิริยาของพันธะคู่เหล่านั้นจะไม่ขึ้นอยู่กับพันธะคู่ตัวอื่น
จะเป็นเหมือนกับการทำปฏิกิริยาของพันธะคู่ที่อยู่โดดเดี่ยว
ทั้งนี้เพราะ πe-
ของพันธะคู่เหล่านั้นจะอยู่ประจำตำแหน่งโดยไม่ได้รับผลกระทบจากพันธะข้างเคียง
แต่ถ้าในโมเลกุลนั้นมีพันธะคู่มากกว่าหนึ่งพันธะ
และพันธะคู่เหล่านั้นแยกห่างจากกันด้วยพันธะเดี่ยวเพียงพันธะเดียว
เช่น -C=C-C=C-
โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า
conjugated
double bonds
พฤติกรรมการทำปฏิกิริยาของพันธะคู่เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้เพราะ πe-
จะไม่อยู่ประจำตำแหน่ง
แต่จะเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างพันธะคู่ที่อยู่เคียงข้างได้
ทำให้พันธะคู่ประเภท conjugated
double bonds นั้นมีเสถียรภาพมากกว่า
isolated
doule bond
รูปที่
๑ (บน)
โมเลกุล
Eicosapentaenoic
acid ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
C20
ที่มีพันธะคู่
C=C
5 ตำแหน่ง
แต่พันธะคู่ C=C
เหล่านี้ถูกคั่นระหว่างกันด้วยพันธะเดี่ยว
C-C
สองพันธะ
ดังนั้นพันธะคู่ C=C
จึงไม่แสดงสมบัติที่เป็น
conjugated
double bonds (ล่าง)
โมเลกุล
Vitamin
A ซึ่งมีพันธะคู่
C=C
5 พันธะเช่นเดียวกัน
แต่พันธะคู่ C=C
ถูกคั่นด้วยพันธะเดี่ยว
C-C
เพียงพันธะเดียว
ทำให้พันธะคู่ C=C
ของโมเลกุล
Vitamin
A แสดงคุณสมบัติเป็น
conjugated
double bonds πe-
มีการเคลื่อนย้ายได้ระหว่างด้านซ้ายและด้านขวาของโมเลกุล
ถ้าหากโครงสร้างที่มีคุณสมบัติเป็น
conjugated
double bonds นั้นเกิดขดเป็นวงขึ้นมา
โดยเฉพาะโครงสร้างที่มี C
6 อะตอม
πe-
จะสามารถวิ่งวน
(หรือกระจายตัว)
ไปได้ทั่วทั้งโมเลกุล
ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างพิเศษที่เราเรียกว่าวงแหวน
Benzene
(C6H6)
โครงสร้างของวงแหวนเบนซีนนี้มีเสถียรภาพสูงกว่าโครงสร้าง
conjugated
double bonds ที่ไม่ใช่วงแหวน
ที่เห็นได้ชัดคือพันธะที่ไม่อิ่มตัวของวงแหวนเบนซีนจะทำปฏิกิริยา
addition
และ
oxidation
ได้ยากกว่าพันธะ
C=C
ของ
conjugated
double bonds
โมเลกุลที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวนที่ไม่อิ่มตัวและมีคุณสมบัติทำนองเดียวกันกับวงแหวนเบนซีนเรียกว่าโมเลกุลนั้นมีความเป็น
aromaticity
ในปีค.ศ.
๑๙๓๑
(พ.ศ.
๒๔๗๔)
Eric Hückel
ได้เสนอแนวความคิดว่าโมเลกุลที่จะมีความเป็น
aromaticity
ได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
(ก)
โครงสร้างโมเลกุลจะต้องแบนราบ
(ข)
จำนวน
πe-
ของวงแหวนจะต้องประกอบด้วย
πe-
จำนวน
(4n
+ 2)πe-
เมื่อ
n
มีค่าเป็น
0,
1, 2, 3, ...
แนวความคิดนี้ถูกเรียกว่า
Hückel's
rule ในกรณีของเบนซีนนั้นมี
3
พันธะคู่
แต่ละพันธะคู่มี πe-
2 ตัว
ดังนั้นจำนวน πe-
ของวงแหวนเบนซีนจึงมีค่าเท่ากับ
6
ซึ่งเป็นไปตามข้อ
(ข)
เมื่อ
n
= 1
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นกรณีที่โครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยสายโซ่ที่มีแต่อะตอม
C
เท่านั้น
แต่การเคลื่อนที่ของ πe-
นั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยพันธะคู่
C=C
อะตอมอื่นที่สามารถสร้างพันธะคู่ข้างหนึ่งและพันธะเดี่ยวข้างหนึ่ง
(เช่น
-N=)
หรืออะตอมที่สร้างพันธะเดี่ยวเข้ากับอะตอม
C
ที่มีพันธะคู่ทางด้านซ้ายและขวาของมัน
โดยที่ตัวมันเองยังมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
(lone
pair electron) เหลืออยู่
(เช่น
-N-,
-O- และ
-S-)
ก็สามารถทำให้
πe-
เคลื่อนย้ายไปมาระหว่างส่วนต่าง
ๆ ของโมเลกุลได้ (รูปที่
๒)
และถ้าอะตอมเหล่านี้อยู่ในวงแหวน
ก็สามารถทำให้วงแหวนนั้นมีความเป็น
aromaticity
ได้
วงแหวนที่โครงสร้างอะตอมของวงแหวนประกอบด้วยอะตอมอื่นนอกเหนือไปจากอะตอม
C
จะเรียกว่า
Aromatic
heterocyclic system ตัวอย่างของโครงสร้างเหล่านี้แสดงไว้ในรูปที่
๓
รูปที่
๒ อะตอม N
และ
S
ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงทำหน้าที่เป็นสะพานที่ยอมให้
πe-
จากวงแหวนด้านหนึ่งเคลื่อนที่ไปยังวงแหวนอีกด้านหนึ่งได้
รูปที่
๓ (ซ้าย)
Pyrrole (กลาง)
Furan และ
(ขวา)
Thiophene เป็นตัวอย่างของโครงสร้างที่มีอะตอมที่ไม่ใช่
C
อยู่ในโครงสร้างวงแหวน
และยังเป็นวงที่มีความเป็น
aromaticity
ทั้งนี้เนื่องจากอะตอท
N
O และ
S
นั้นมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่
(ภาพในรูปที่
๑-๓
นำมาจาก www.en.wikipedia.org
เพราะคราวนี้ไม่มีเวลาวาดเอง)
ที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นกรณีที่
πe-
เคลื่อนที่ไปมาได้ในโมเลกุลเพียงโมเลกุลเดียว
(ไม่ว่าจะเป็นจากซ้ายไปขวาหรือวิ่งวนรอบอยู่ในโครงสร้างที่เป็นวง)
ประเด็นที่น่าสนใจคือจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรามีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ที่เป็นพันธะโควาเลนซ์
ที่ πe-
สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ตลอดทั้งโครงสร้าง
สิ่งที่เราจะได้คือวัสดุนั้นจะ
"นำไฟฟ้าได้"
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของวัสดุที่นี้มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปคือแกรไฟต์
แกรไฟต์นั้นประกอบด้วยโครงสร้างวงแหวน
aromatic
ที่หลอมรวมกันจนเปรียบเสมือนเป็นแผ่นผืนโมเลกุลสองมิติขนาดยักษ์จำนวนหลายชั้นที่วางเรียงซ้อนทับกัน
จึงทำให้แกรไฟต์นำไฟฟ้าได้ดีในทิศทางระนาบของแผ่นผืนโมเลกุลสองมิติขนาดยักษ์เมื่อเทียบกับทิศทางที่ตั้งฉากกับระนาบของแผ่นผืนโมเลกุลสองมิติขนาดยักษ์นั้น
ความรู้เรื่องนี้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบพอลิเมอร์นำไฟฟ้า
(conductive
polymer) พอลิเมอร์มีคุณสมบัติที่ดีกว่าโลหะตรงที่ทนต่อความล้า
(fatigue)
ได้ดีกว่าโลหะและมีความอ่อนตัวมากกว่า
จึงเหมาะแก่การนำมาใช้กับชิ้นส่วนที่ต้องมีการบิดงอบ่อยครั้ง
ตัวอย่างของพอลิเมอร์พวกนี้แสดงในรูปที่
๔ ข้างล่าง
รูปที่
๔ ตัวอย่างโครงสร้างพอลิเมอร์นำไฟฟ้าเริ่มจาก
(บนซ้าย)
polyacetylene ซึ่งมีทั้งโครงสร้างแบบ
trans
และแบบ
cis
แต่ที่แสดงในรูปคือโครงสร้างแบบ
trans
(บนขวา)
polyphenylene (ล่างซ้าย)
ถ้า
X
= NH หรือ
N
ก็จะเป็น
polyaniline
แต่ถ้า
X
= S ก็จะเป็น
polyphenylene
sulfide (ล่างขวา)
ถ้า
X
= NH ก็จะเป็น
polypyrrole
ถ้า
X
= S ก็จะเป็น
polythiophene
(รูปจาก
www.en.wikipedia.org)
จะเห็นว่าโครงสร้างโมเลกุลเหล่านี้มีพันธะคู่
(หรืออะตอมที่มีอิเล็กตรอนคู่โดยเดี่ยว)
วางสลับกับพันธะเดี่ยวไปตลอดทั้งโครงสร้างโมเลกุล
พึ่งจะมีเวลาย่อยเนื้อหาเคมีอินทรีย์ตอนที่ไม่มีวิชานี้ให้สอน
แปลกดีเหมือนกัน :)