ในการเกิดปฏิกิริยาที่โมเลกุลหนึ่งจำเป็นต้องมีการสูญเสียอะตอม
(เช่น
H
หรือเฮไลด์)
หรือกลุ่มอะตอม
(เช่น
-OH)
ของตัวมันเองออกไป
เพื่อที่จะสามารถสร้างพันธะกับอีกโมเลกุลหนึ่งที่เข้ามาทำปฏิกิริยาได้นั้น
โอกาสเกิดปฏิกิริยาจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างส่วนที่เหลือของโมเลกุลหลังจากที่ได้สูญเสียอะตอมหรือกลุ่มอะตอมออกไปแล้วนั้น
มีเสถียรภาพมากน้อยเพียงใด
ถ้ามันมีเสถียรภาพมากพอ
มันก็จะมีเวลานานพอที่จะทำปฏิกิริยากับอีกโมเลกุลหนึ่ง
การสูญเสียอะตอมหรือกลุ่มอะตอมออกไปทำให้โมเลกุลนั้นกลายเป็น
ไอออนบวก (เกิดตำแหน่งที่ขาดอิเล็กตรอนเช่นการเกิด
carbocation)
ไอออนลบ
หรืออนุมูลอิสระ
(เกิดตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนหนาแน่นสูง)
ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสารและการทำปฏิกิริยา
เสถียรภาพของสารมัธยันต์
(intermediate)
ที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการกับอะตอมตรงตำแหน่งที่ขาดอิเล็กตรอน/มีอิเล็กตรอนหนาแน่นนั้นอย่างไร
ถ้าส่วนที่เหลือของโมเลกุลสามารถลดทอนการขาดอิเล็กตรอนหรือช่วยกระจายอิเล็กตรอนส่วนเกินนั้นไม่ให้อยู่หนาแน่น
ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งได้
สารมัธยันต์ที่เกิดขึ้นก็จะมีเสถียรภาพ
การลดทอนหรือช่วยกระจายความหนาแน่นประจุอาจทำได้ด้วยการเกิด
resonance
กับโครงสร้างส่วนที่เหลือ
(เช่นกรณีของหมู่คาร์บอกซิล
-COOH)
การที่มีอะตอมอื่นจ่ายอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมาให้
(เช่นกรณีของหมู่ที่เป็น
ring
activationg group ในปฏิกิริยา
electrophilic
substitution ของวงแหวนเบนซีน)
หรือมีอะตอมที่ช่วยดึงเอาอิเล็กตรอนออกจากบริเวณดังกล่าว
(เช่นผลของอะตอมฮาโลเจนที่ทำให้ความเป็นกรดของแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์สูงขึ้น)
เกณฑ์การเรียกชื่อตำแหน่งอะตอมในโมเลกุลด้วยการใช้อักษรกรีกก็เป็นข้อตกลงหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปในเคมีอินทรีย์
ในการเรียนกชื่อนี้จะใช้ตำแหน่งหมู่ฟังก์ชันที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นหลัก
ตำแหน่งที่อยู่เคียงข้างหมู่ฟังก์ชันดังกล่าวจะเรียกว่าเป็นตำแหน่ง
อัลฟา (α)
และตำแหน่งถัดไปเรียกว่าเป็นตำแหน่งเบต้า
(β)
แต่ถ้าเป็นการนับจากอะตอมตัวที่อยู่ทางด้านไกลสุดจากตำแหน่งหมู่ฟังก์ชันจะใช้อักษรโอเมก้า
(ω)
แล้วใช้ตัวเลขกำกับว่าถ้านับจากด้านไกลสุดนั้นจะเป็นอะตอมตัวที่เท่าใด
ดังเช่นตัวอย่างของกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่แสดงในรูปที่
๑ ข้างล่าง
รูปที่
๑
การเรียกชื่อตำแหน่งอะตอมคาร์บอนจะอาศัยลำดับความสำคัญของหมู่ฟังก์ชันเป็นหลัก
ดังเช่นกรดไขมันไม่อิ่มตัวในรูปจะมีหมู่ฟังก์ชันสองหมู่คือหมู่คาร์บอกซิล
(-COOH)
และพันธะคู่
C=C
แต่เนื่องจากหมู่คาร์บอกซิลมีลำดับความสำคัญสูงกว่าจึงใช้ตำแหน่งหมู่คาร์บอกซิลเป็นหลัก
อะตอม C
ตัวที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอกซิลเรียกว่า
อัลฟาคาร์บอนอะตอม (α-carbon
atom)
และอะตอมไฮโดรเจนที่เกาะอยู่กับอัลฟาคาร์บอนอะตอมนี้ก็จะเรียกว่าอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
(α-hydrogen
atom) ที่อาจมีได้ถึง
3
ตัว
แต่ถ้านับจากทางปลายโซ่เข้ามา
จะให้อะตอม C
ตัวที่อยู่ตรงปลายโซ่เป็นตำแหน่ง
ω-1
ตัวถัดมาก็จะเป็นตัวที่
2,
3. ... ไล่ไปเรื่อย
ๆ อย่างเช่นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
ω-3
ก็จะหมายถึงกรดไขมันที่มีพันธะ
C=C
ตรงตำแหน่งอะตอม
C
ตัวที่
3
เมื่อนับจากปลายสายโซ่เข้ามา
(หรือพันธะ
C=C
เชื่อมระหว่างอะตอม
C
ตัวที่
3
และ
4)
ในทำนองเดียวกันกรดไขมันไม่อิ่มตัว
ω-6
ก็จะหมายถึงกรดไขมันที่มีพันธะ
C=C
ตรงตำแหน่งอะตอม
C
ตัวที่
6
เมื่อนับจากปลายสายโซ่เข้ามา
ในหลายโครงสร้าง
อัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
(คืออะตอมไฮโดรเจนที่เกาะอยู่กับอัลฟาคาร์บอนอะตอม)
มีคุณสมบัติที่เป็นกรด
กล่าวคือถ้ามีเบสที่แรงพอก็จะสามารถดึงอัลฟาไฮโดรเจนอะตอมออกมาในรูปของ
H+
ได้
ส่วนที่ว่าจะเป็นกรดที่แรงแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าโมเลกุลส่วนที่เหลือมีวิธีการจัดการกับอิเล็กตรอนส่วนเกินที่หลงเหลืออยู่จากการสูญเสีย
H+
นั้นอย่างไร
ถ้าหากโมเลกุลส่วนที่เหลือสามารถทำให้อิเล็กตรอนตัวนั้น
(ที่เกิดจากการสูญเสีย
H+)
เกิดการเคลื่อนย้ายตำแหน่งกระจายตัวไปยังส่วนอื่นของโมเลกุลได้
(ไม่ว่าจะเป็นการเกิด
resonance
หรือมีอะตอมที่มีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนสูงอยู่ใกล้เคียง)
ความหนาแน่นประจุตรงตำแหน่งอะตอมที่สูญเสีย
H+
ออกไปก็จะลดลง
โครงสร้างโมเลกุลส่วนที่เหลือก็จะมีเสถียรภาพที่สูงขึ้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือมีความเป็นกรดที่แรงขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเรื่องนี้ก็คือความเป็นกรดของหมู่คาร์บอกซิลในกรณีของกรดอินทรีย์
และหมู่ไฮดรอกซิลในกรณีของแอลกอฮอล์
รูปที่
๒ ค่า pKa
(คือค่า
-log[Ka]
ดังนั้นค่า
pKa
ที่ต่ำจึงหมายถึงความเป็นกรดที่สูง
ดังนั้นค่า pKa
ที่ต่างกัน
1
หน่วยจะมีความแรงของกรดที่แตกต่างกัน
10
เท่า)
ของการแตกตัวของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
(ที่ระบายสีเหลืองเอาไว้)
ของสารอินทรีย์บางตัว
(รูปภาพจาก
http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/724/741576/chapter_19.html)
ตัวอย่างเช่นในรูปที่
๒ อัลฟาไฮโดรเจนอะตอมของไดไนโตรมีเทน
(dinitromethane
O2N-CH2-NO2
ตัวที่อยู่มุมล่างขวาสุดของตาราง
ที่มีค่า pKa
= 3.6) มึความเป็นกรดที่สูงเป็นเพราะอะตอม
N
นั้น
(ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลืออยู่)
ช่วยดึงเอาอิเล็กตรอนที่เกิดจากการสูญเสีย
H+
ออกจากอัลฟาคาร์บอนอะตอม
ในขณะที่อะซีโตไนไตรล์
(acetonitrile
H3C-CN
ที่มีค่า
pKa
= 25) มีความเป็นกรดที่ต่ำกว่ามากเพราะอะตอม
N
ยังมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลืออยู่
ในกรณีของอะเซทัลดีไฮด์
(acetaldehyde
H3C-C(O)H) ที่มีค่า
pKa
= 17 ที่แสดงความเป็นกรดที่สูงกว่าอะซีโทน
(acetone
H3C-C(O)-CH3) ที่มีค่า
pKa
20 เป็นเพราะอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิล
(carbonyl
-C(O)-) ของอัลดีไฮด์มีความเป็นบวกที่สูงกว่าของคีโตน
(เพราะในกรณีของอัลดีไฮดล์อะตอม
C
ตัวนี้มีหมู่อัลคิลที่สามารถดึงอิเล็กตรอนเข้ามาชดเชยได้เพียงแค่หมู่เดียว)
"Active
methylene" หมายถึงหมู่
-CH2-
ที่มีหมู่คาร์บอนิลสองหมู่ขนาบข้าง
ในกรณีนี้อะตอม H
ของหมู่
active
methylene
จะมีความเป็นกรดที่แรงขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับตัวที่มีหมู่คาร์บอนนิลอยู่เคียงข้างเพียงตัวเดียว
เช่นอะเซทิลอะซีโทน
(acetylacetone
H3C-C(O)-CH2-C(O)-CH3) ที่หมู่
-CH2-
ที่มีหมู่คาร์บอนิลขนาบข้างทั้งสองด้านนั้นมีค่า
pKa
= 8.9 แสดงให้เห็นถึงความเป็นกรดที่แรงกว่าหมู่
-CH3
ของอะซีโทนมาก
Memoir
ฉบับนี้เป็นการปูพื้นฐานสำหรับเรื่องปฏิกิริยา
aldol
condensation ที่จะเขียนเป็นเรื่องถัดไป
(ทั้ง
ๆ ที่อันที่จริงผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับ
aldol
condensation ไปหลายเรื่องแล้ว)
และสำหรับผู้ที่เพิ่งจะได้เห็นบทความฉบับนี้
ขอแนะนำให้อ่านบทความด้านล่างของ
blog
นี้ประกอบด้วย
เพื่อที่จะได้ภาพพื้นฐานเรื่องความมีเสถียรภาพของโครงสร้างโมเลกุลชัดเจนขึ้น
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๒๓ วันจันทร์ที่
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"Carbocation - การเกิดและเสถียรภาพ"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๓๓ วันเสาร์ที่
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"Carbocation - การทำปฏิกิริยา"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๓๙ วันเสาร์ที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"Carbocation - การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ"
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๖๖ วันศุกร์ที่
๓ เมษายน ๒๕๕๘ เรื่อง
"เสถียรภาพอนุมูลอิสระ (๑)"
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๖๗ วันอาทิตย์ที่
๕ เมษายน ๒๕๕๘ เรื่อง
"เสถียรภาพอนุมูลอิสระ (๒)"
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๖๘ วันอังคารที่
๗ เมษายน ๒๕๕๘ เรื่อง
"เสถียรภาพอนุมูลอิสระ (๓)"
ปีที่
๘ ฉบับที่ ๑๑๙๔ วันอังคารที่
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ เรื่อง
"ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑"
ปีที่
๘ ฉบับที่ ๑๑๙๗ วันเสาร์ที่
๒ กรกฏาคม ๒๕๕๙ เรื่อง
"ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๒"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น