คนที่ศึกษาทางด้านการสังเคราะห์พอลิเมอร์เคยตั้งคำถามไหมครับ
ว่าทำไมเราสามารถสังเคราะห์
Polyethylene
(PE), Polyvinyl chloride (PVC), Polystyrene (PS) และ
Polyisobutylene
ด้วยวิธี
Free
radical polymerisation ได้
(แม้ว่าจะยากอยู่บ้างในกรณีของ
PE)
แต่สำหรับ
Polypropylene
แล้วกลับไม่สามารถทำได้
จำเป็นต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาช่วย
ทั้ง ๆ ที่โพรพิลีน (H2C=CH-CH3)
ที่เป็นสารตั้งต้นของ
PP
นั้นแตกไปจากเอทิลีน
(H2C=CH2)
ตรงที่อะตอม
C
ที่มีพันธะคู่นั้นมีหมู่เมทิล
(-CH3)
เพิ่มเข้ามา
๑ หมู่ และแตกต่างไปจากไอโซบิวทิลีน
(H2C=C(CH3)2)
ตรงที่อะตอม
-H
อีกอะตอมหนึ่งที่เหลือของอะตอม
C
ที่มีหมู่เมทิลเกาะอยู่นั้น
ถูกแทนที่ด้วยหมู่เมทิลอีกหมู่หนึ่ง
(ดูรูปที่
๑ ข้างล่างประกอบ)
รูปที่ ๑ จากบนลงล่าง Polyethylene (PE), Polyvinyl chloride (PVC), Polystyrene (PS) และ Polyisobutylene ต่างสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยา free radical polymerisation ด้วยการใฃ้ initiator เป็นตัวเริ่มต้นการทำปฏิกิริยา แต่ Polypropylene (PP) ไม่สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการดังกล่าว จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา
อนุมูลอิสระ
(Free
radical) คืออะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีอิเล็กตรอนตัวหนึ่งที่ไม่มีคู่
(unpaired
electron) อนุมูลอิสระมีประจุรวมเป็นศูนย์
ในกรณีของสารอินทรีย์นั้นอะตอม
C
มักจะเป็นอะตอมตัวที่มีอิเล็กตรอนตัวหนึ่งที่ไม่มีคู่ดังกล่าว
อนุมูลอิสระนี้จะมีความว่องไวในการทำปฏิกิริยา
แต่ความว่องไวในการทำปฏิกิริยาก็ขึ้นอยู่กับอะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่อยู่ข้างเคียงอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนตัวหนึ่งที่ไม่มีคู่ดังกล่าว
เสถียรภาพของอนุมูลอิสระขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนอิสระนั้นจะสามารถดึงอิเล็กตรอนจากอะตอม
(หรือหมู่อื่น)
ที่อยู่ข้างเคียงนั้นเข้ามาได้มากน้อยเท่าใด
(ทำนองเดียวกันกับ
carbocation
ที่ถ้าหากสามารถลดความเป็นประจุบวก
หรือทำให้ประจุบวกกระจายออกไปได้
ด้วยการดึงอิเล็กตรอนจากหมู่ข้างเคียงเข้ามา)
ถ้าดึงเข้ามาได้มาก
อนุมูลอิสระนั้นก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น
ลองดูตัวอย่างในรูปที่
๒ ข้างล่าง สมมุติว่าเราเริ่มจากสาร
H3C-H
แล้วเราต้องการดึงหมู่
H
ออกเพื่อให้ได้
methyl
free radical (ตัวซ้ายสุดในรูปที่
๑)
ในกรณีนี้อะตอม
C
มีเพียงอะตอม
H
เพียง
3
อะตอมให้ดึงอิเล็กตรอนเข้ามาชดเชยอิเล็กตรอนที่หายไป
แต่อะตอมไฮโดรเจนแต่ละอะตอมก็มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว
ทำให้อะตอม C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นไม่สามารถชดเชยความขาดแคลนอิเล็กตรอนของมันเองด้วยการดึงอิเล็กตรอนจากอะตอม
H
ที่เหลืออยู่
3
ตัวได้
ทำให้ methyl
free radical ที่เกิดขึ้นมีเสถียรภาพต่ำ
เพราะมันพึงพอใจที่จะดึงเอาอะตอม
H
ที่หลุดออกไปนั้นกลับคืนมามากกว่า
รูปที่
๒ ลำดับเสถียรภาพของอนุมูลอิสระ
ทีนี้ถ้าเรามีสาร
H3C-CH2-H
และเราทำการดึงหมู่
H
ออกเพื่อให้เกิดเป็น
ethyl
free radical (ตัวที่สองจากซ้ายในรูปที่
๑)
อะตอม
C
ของ
ethyl
free radical
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นจะไปดึงอิเล็กตรอนจากหมู่ข้างเคียงเข้ามาชดเชย
ในกรณีของ ethyl
free radical นี้อะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นมีหมู่เมทิล
-CH3
1 หมู่และอะตอม
H
สองอะตอมเกาะอยู่
และเนื่องจากหมู่เมทิลนั้นมีอิเล็กตรอนให้ดึงมากกว่าอะตอม
H
จึงทำให้อะตอม
C
ของ
ethyl
free radical
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นสามารถดึงอิเล็กตรอนจากหมู่เมทิลเข้ามาชดเชยได้บ้าง
จึงทำให้ ethyl
free radical มีเสถียรภาพมากกว่า
methyl
free radical และในทำนองเดียวกันถ้าอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นมีหมู่เมทิลมาเกาะเพิ่มมากขึ้น
เสถียรภาพของอนุมูลอิสระนั้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
หรือจะมองในอีกมุมมองหนึ่งคือมองจากพลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้เกิดอนุมูลอิสระ
ในการดึงอะตอม H
ให้หลุดออกมานั้นจำเป็นต้องใส่พลังงานเข้าไปเพื่อทำลายพันธะ
C-H
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ได้
(คืออนุมูลอิสระ)
จะมีพลังงานในตัวสูงกว่าสารตั้งต้น
พลังงานที่ต้องใช้ในการดึงอะตอม
H
ออกจากอะตอม
C
ที่อยู่
ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ของโมเลกุลมีลำดับดังนี้
รูปที่
๓ ลำดับพลังงานที่ต้องใช้ในการดึงอะตอม
H
ออกจากอะตอม
C
ที่อยู่
ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ของโมเลกุล
การดึงอะตอม H
ออกจากโมเลกุลมีเทน
(CH4)
จะใช้พลังงานมากสุด
(แปลว่าพันธะแข็งแรงมาก)
ในขณะที่การดึงอะตอม
H
ออกจากตำแหน่งอะตอม
C
ที่เป็น
tertiary
carbon atom จะใช้พลังงานน้อยสุด
ตรงนี้ขอย้อนกลับไปยัง
Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๖๔ วันจันทร์ที่
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘ เรื่อง
"เมื่อตำรายังพลาดได้
(Free
radical polymerisation"
ที่ผมเกริ่นเอาไว้ว่าเวลาตำราอินทรีย์เคมีพูดถึงคำว่า
"เสถียรภาพ"
นั้นเขามักจะ
"ไม่คำนึงถึงสภาวะของการทำปฏิกิริยา"
หรือไม่ก็ตั้งอยู่บนข้อสมมุติที่ว่า
"สภาวะของการเกิดปฏิกิริยานั้นไม่รุนแรง"
แต่ในทางปฏิบัตินั้นถ้าเราใช้สภาวะการทำปฏิกิริยาที่รุนแรงมากพอ
ณ สภาวะนั้นสปีชีส์ (ไอออน
อนุมูลอิสระ ฯลฯ)
ใด
ๆ
ที่มีพลังงานในตัวสูงจะเป็นตัวที่มีเสถียรภาพมากกว่าตัวที่มีพลังงานในตัวต่ำกว่า
ซึ่งนั่นก็เป็นไปตามหลักสมดุลเคมีของเลอชาเตลิเย
ลองนึกภาพโดยสมมุติว่าเรามีโมเลกุลโพรเพน
H3C-CH2-CH3
อยู่
เมื่อเราค่อย ๆ
รบกวนระบบโดยใส่พลังงานให้กับโมเลกุลโพรเพน
โมเลกุลโพรเพนก็จะพยามยามลดการรบกวนนั้นด้วยการดูดกลืนพลังงานเข้าไป
และเมื่อถึงระดับหนึ่งอะตอม
H
ก็จะหลุดออกจากอะตอม
C
ตัวที่อยู่ตรงกลาง
ทำให้เกิดเป็น isopropyl
free radical (ณ
สภาวะนี้ isopropyl
free radical จะมีเสถียรภาพมากกว่าโมเลกุลโพรเพน)
แต่ถ้าเราให้พลังงานที่สูงมากขึ้นไปอีก
อะตอม H
ที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ที่อยู่ที่ปลายโซ่จะหลุดออกมาได้
กลายเป็น propyl
free radical ที่มีระดับพลังงานในตัวสูงกว่า
isopropyl
free radical ณ
สภาวะนี้ propyl
free radical ก็จะมีเสถียรภาพสูงกว่า
isopropyl
free radical
อิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่นั้นจะพยายามหาอิเล็กตรอนจากแหล่งอื่นมาชดเชยความขาดแคลนอิเล็กตรอนของตัวมันเอง
(ทำนองเดียวกับ
carbocation)
ซึ่งอิเล็กตรอนที่มันดึงเข้ามานั้นอาจมาจากโมเลกุลอื่น
หรือดึงจากหมู่ที่อยู่ข้างเคียงในโมเลกุลของตัวมันเอง
ถ้าเป็นการดึงจากโมเลกุลอื่นก็จะเกิดการแทนที่หรือต่อโมเลกุลให้ขยายใหญ่ขึ้น
แต่ถ้าเป็นการดึงจากหมู่ที่อยู่ข้างเคียงในตัวโมเลกุลของมันเอง
ก็จะทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้น
และหมู่ที่อยู่ในโมเลกุลเดียวกันที่อิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นสามารถดึงอิเล็กตรอนเข้ามาชดเชยจนทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งของหมู่ที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
ข้างเคียง
และหมู่ที่ถูกย้ายได้ง่ายที่สุดคืออะตอม
H
(กรณีของ
carbocation
ก็เป็นแบบเดียวกัน
แต่อาจแรงจนถึงย้ายตำแหน่งหมู่อัลคิลทั้งหมู่ได้
แทนที่จะทำการย้ายเพียงแค่อะตอม
H
และนี่ก็เป็นหัวใจของปฏิกิริยา
isomerisation
ที่ทำการเปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรงให้กลายเป็นโซ่กิ่ง)
ทีนี้เราลองมาพิจารณาการทำปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรซ์ด้วยการทำให้เกิดอนุมูลอิสระของโอเลฟินส์ดูบ้าง
โดยสมมุติว่าเราเริ่มจากการทำให้
initiator
แตกตัวกลายเป็นอนุมูลอิสระ
(รูปที่
๔)
รูปที่
๔ การแตกตัวของ initiator
กลายเป็นอนุมูลอิสระ
ในกรณีของเอทิลีน
(รูปที่
๕)
อนุมูลอิสระที่เกิดจาก
initiator
จะเข้าไปดึง
pi
อิเล็กตรอนของโมเลกุลเอทิลีน
ทำให้เกิดเป็นอนุมูลอิสระที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นอยู่ที่อะตอม
C
ที่ปลายสายโซ่
(ขั้นตอน
initiation)
และอนุมูลอิสระนี้ก็จะไปดึง
pi
อิเล็กตรอนของโมเลกุลเอทิลีนอีกโมเลกุลหนึ่ง
และเกิดขึ้นเช่นนี้ไปเรื่อย
ๆ จนทำให้สายโซ่ที่ยาวขึ้น
รูปที่
๕ การเริ่มการเกิดการพอลิเมอร์ไรซ์โมเลกุลเอทิลีน
(Ethylene
H2C=CH2)
สายโซ่อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้จะพยายามทำให้ตัวมันเองมีเสถียรภาพด้วยการไปดึงอิเล็กตรอนจาก
(ก)
pi อิเล็กตรอนของโมเลกุลเอทิลีน
ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้สายโซ่อนุมูลอิสระนี้ยาวออกไปอีก
หรือ
(ข)
อะตอม
H
ของอะตอม
C
ที่อยู่ข้างเคียง
ซึ่งจะทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนอิสระ
จากเดิมที่อยู่ที่ปลายสายโซ่มาเป็นอยู่กลางสายโซ่
(รูปที่
๖)
รูปที่
๖ การย้ายตำแหน่ง (หรือ
rearrangement)
อะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ในสายโซ่พอลิเอทิลีน
ในรูปที่
๖ นั้น อนุมูลอิสระรูปแบบ
(i)
ซึ่งเป็นแบบปฐมภูมิหรือ
primary
นั้นมีพลังงานในตัวสูงกว่ารูปแบบ
(ii)
หรือ
(iii)
ที่เป็นแบบทุติยภูมิหรือ
secondary
ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับว่าสภาวะที่ใช้ในการทำปฏิกิริยานั้นรุนแรงมากน้อยเพียงใด
ถ้าเราต้องการให้สายโซ่พอลิเมอร์นั้นมีความยาวมากขึ้น
เราก็ต้องหาทางทำให้อนุมูลอิสระนั้นคงอยู่ในรูปแบบ
(i)
และนี่ก็เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมการสังเคราะห์พอลิเอทิลีนผ่านการการทำปฏิกิริยาแบบอนุมูลอิสระนั้นจำเป็นต้องใช้ภาวะการทำปฏิกิริยาที่รุนแรง
(ความดันระดับ
1000-3000
bar และอุณหภูมิระดับ
80-300ºC)
แต่ถึงกระนั้นก็ตามก็ยังเกิดการย้ายตำแหน่งของอิเล็กตรอนอิสระเข้ามาอยู่ตอนกลางสายโซ่
ซึ่งทำให้ได้สายโซ่พอลิเมอร์ที่มีกิ่งก้าน
ความหนาแน่นของพอลิเมอร์ที่ได้จึงต่ำ
กลายเป็นพอลิเมอร์ที่เราเรียกว่าพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ
(LDPE
- Low Density Polyethylene)
ถัดไปเราลองมาพิจารณากรณีของไอโซบิวทิลีนดูบ้าง
(รูปที่
๗)
โดยเริ่มจากขั้นตอน
Initiation
ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ
ตามด้วยขั้นตอน propagation
ที่เป็นการต่อโมเลกุลให้ยาวขึ้น
ตรงนี้ขอให้สังเกตว่าในกรณีของไอโซบิวทิลีนนี้อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนั้นเป็นชนิดตติยภูมิ
(tertiary)
คืออะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นเกาะอยู่กับอะตอม
C
อื่นอีก
3
อะตอม
มันจึงมีอิเล็กตรอนจากแหล่งอื่นดึงเข้ามาชดเชยได้มากกว่ากรณีของการต่อโมเลกุลเอทิลีน
รูปที่
๗ การเริ่มต่อโมเลกุลของไอโซบิวทิลีน
(Isobutylene
(H3C)2CH=CH2)
ทีนี้ถ้าเราลองมาพิจารณาว่าถ้าอนุมูลอิสระที่เกิดจากการต่อโมเลกุลไอโซบิวทิลีนนั้นมีการจัดเรียงตัวใหม่
มันจะมีความเป็นไปได้ว่าจะได้อนุมูลอิสระในหน้าตาใดบ้าง
ในรูปที่ ๘ นั้นอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ
(i)
ซึ่งเป็นชนิดตติยภูมิที่มีเสถียรภาพสูง
(มีพลังงานในตัวต่ำ)
ถ้าอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนอิสระไปดึงเอาอิเล็กตรอนจากหมู่เมทิลีน
-CH2-
ซึ่งจะทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งอะตอม
H
กลายเป็นโครงสร้างแบบ
(ii)
ที่เป็นแบบทุติยภูมินั้น
(มีพลังงานในตัวสูงขึ้นไปอีก)
จำเป็นต้องมีการใส่พลังงานเพิ่มเข้าไปในระบบ
หรือถ้าอะตอม C
ที่มีอิเล็กตรอนอิสระไปดึงเอาอิเล็กตรอนจากหมู่เมทิล
-CH3
ซึ่งจะทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งอะตอม
H
กลายเป็นโครงสร้างแบบ
(iv)
ที่เป็นแบบปฐมภูมิ
จะต้องมีการใส่พลังงานให้สูงขึ้นไปกว่าการเกิดเป็นโครงสร้างแบบ
(ii)
อีก
ดังนั้นถ้าเราคุมสภาวะการทำปฏิกิริยาไม่ให้รุนแรง
อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นก็จะคงอยู่ในโครงสร้างแบบ
(i)
การเกิดโครงสร้างแบบ
(ii)
หรือ
(iv)
ก็จะมีโอกาสเกิดได้น้อยมากหรือไม่มี
และเมื่อไม่มีการเกิดโครงสร้างแบบ
(ii)
โอกาสที่จะเกิดโครงสร้างแบบ
(iv)
ที่มีการย้ายหมู่เมทิลทั้งหมู่ก็จะหมดไปด้วย
และเมื่ออนุมูลอิสระนั้นคงอยู่ในโครงสร้างแบบ
(i)
สายโซ่พอลิเมอร์ก็จะต่อยาวออกไปได้เรื่อย
ๆ (แต่จะว่าไปแล้วไอโซบิวทิลีนเกิดการพอลิเมอร์ไรซ์ในรูปแบบ
cationic
ได้ดีกว่าด้วยการใช้กรดเติมเข้าไปที่ตำแหน่งพันธะคู่
ทำให้เกิดเป็น carbocation
ที่ไอออนบวกที่มีเสถียรภาพ
คงอยู่นานพอที่จะทำปฏิกิริยากับโมโนเมอร์ตัวต่อไปได้)
รูปที่
๘ การย้ายตำแหน่ง (หรือ
rearrangement)
อะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ในสายโซ่พอลิไอโซบิวทิลีน
ถัดไปเราลองมาพิจารณาการต่อโมเลกุลโพรพิลีนดูบ้าง
(รูปที่
๙)
พึงสังเกตว่าอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแบบทุติยภูมิหรือ
secondary
คืออะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นเกาะอยู่กับอะตอม
C
อื่นอีก
2
อะตอมและกับอะตอม
H
อีก
1
อะตอม
รูปที่
๙ การเริ่มต่อโมเลกุลของโพรพิลีน
(Propylene
H3C-CH=CH2)
ในทำนองที่คล้ายกับกรณีของไอโซบิวทิลีน
ถ้าอนุมูลอิสระที่เกิดจากการต่อโมเลกุลโพรพิลีนที่มีโครงสร้างรูปแบบ
(i)
(ดูรูปที่
๑๐)
มีการจัดเรียงตัวใหม่
ความเป็นไปได้คือเกิดการย้ายอะตอม
H
จากหมู่เมทิลทำให้ได้โครงสร้างแบบ
(iv)
แต่โครงสร้างแบบ
(iv)
นี้เป็นอนุมูลอิสระแบบปฐมภูมิ
ดังนั้นการเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างแบบ
(iv)
ต้องการพลังงานที่สูงขึ้น
อนุมูลอิสระตามโครงสร้าง
(iv)
จะมีพลังงานในตัวที่สูงกว่าแบบ
(i)
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือโครงสร้างแบบ
(iv)
มีเสถียรภาพต่ำกว่า
แต่ถ้าโครงสร้างแบบ
(i)
นั้นจัดเรียงตัวใหม่โดยไปดึงเอาอะตอม
H
ที่อยู่ด้านในสายโซ่ออกมา
โครงสร้างใหม่ที่ได้คือแบบ
(iii)
ก็ยังเป็นโครงสร้างอนุมูลอิสระแบบทุติยภูมิอยู่
แต่โครงสร้าง (iii)
จะมีพลังงานในตัวที่ต่ำกว่าโครงสร้าง
(i)
เพราะหมู่เอทิล
(-C2H5)
เป็นหมู่ที่ใหญ่กว่าหมู่เมทิล
(-CH3)
หมู่เอทิลจึงจ่ายอิเล็กตรอนให้ได้มากกว่า
และถ้าโครงสร้างแบบ (ii)
มีการจัดเรียงตัวใหม่โดยไปดึงเอาอะตอม
H
ของอะตอม
C
ตัวถัดไปที่อยู่ทางด้านในสายโซ่ออกมา
ก็จะได้โครงสร้างแบบ (iii)
ที่เป็นแบบตติยภูมิที่มีระดับพลังงานต่ำลงไปอีก
(กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีเสถียรภาพสูงขึ้นไปอีก)
รูปที่
๑๐ การย้ายตำแหน่ง (หรือ
rearrangement)
อะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ในสายโซ่พอลิโพรพิลีน
โครงสร้างรูปแบบ
(i)
ในกรณีของไอโซบิวทิลีนนั้นคล้ายคลึงกับโครงสร้างรูปแบบ
(iii)
ในกรณีของโพรพิลีน
ต่างกันที่โครงสร้างรูปแบบ
(iii)
ในกรณีของโพรพิลีนอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่นั้นมีหมู่โพรพิล
(-CH2CH2CH3)
เกาะอยู่แทนที่จะเป็นหมู่เมทิล
(-CH3)
ดังกรณีของโครงสร้างรูปแบบ
(i)
ในกรณีของไอโซบิวทิลีน
เนื่องจากหมู่โพรพิเป็นหมู่ที่ใหญ่กว่าหมู่เมทิล
หมู่โพรพิลจึงจ่ายอิเล็กตรอนได้มากกว่า
ทำให้อะตอม C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ของโครงสร้างรูปแบบ
(iii)
ในกรณีของโพรพิลีนนั้นมีความขาดแคลนอิเล็กตรอนที่น้อยกว่าอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ของโครงสร้างรูปแบบ
(i)
ในกรณีของไอโซบิวทิลีน
ด้วยเหตุนี้อะตอม C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ของโครงสร้างรูปแบบ
(iii)
ในกรณีของโพรพิลีนจึงมีความว่องไวต่ำกว่าในการไปดึงอิเล็กตรอนจาก
pi
อิเล็กตรอนของโมโนเมอร์เมื่อเทียบกับอะตอม
C
ที่มีอิเล็กตรอนไม่มีคู่ของโครงสร้างรูปแบบ
(i)
ในกรณีของไอโซบิวทิลีน
อนุมูลอิสระที่มีเสถียรภาพน้อยนั้นก็ยากที่จะทำให้มันเกิด
เพราะต้องใช้พลังงานที่สูง
ในทางตรงกันข้าม
อนุมูลอิสระที่มีเสถียรภาพมากนั้นก็ยากที่จะทำปฏิกิริยาต่อไป
เพราะมันสามารถคงอยู่ในรูปที่มันเป็นอยู่ได้
แต่ใช่ว่าการพอลิเมอร์ไรซ์โพรพิลีนให้กลายเป็นพอลิโพรพิลีนนั้นจะทำไม่ได้เลย
เพราะก็เคยมีผู้ทดลองทำอยู่เหมือนกัน
แต่ที่ภาวะการทำปฏิกิริยาที่ใช้ความดันที่สูงกว่ากรณีของเอทิลีนมาก
(รูปที่
๑๑)
รูปที่
๑๑ บทความเกี่ยวกับการพอลิเมอร์ไรซ์โพรพิลีนด้วยกลไก
free
radical polymerisation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น