pH
มิเตอร์เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่เราใช้วัดค่า
pH
ในการเตรียมสารต่าง
ๆ อันที่จริงสิ่งที่มันวัดคือค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า
และก่อนใช้ทุกครั้ง
(หรืออย่างน้อยในแต่ละวันที่เราใช้)
เราก็ควรที่จะต้องทำการสอบเทียบ
(calibrate)
ความถูกต้องของการวัดก่อน
ด้วยการนำเอา pH
probe ไปจุ่มลงในสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน
แล้วปรับตัวเลขค่า pH
ที่มันแสดงนั้นให้ตรงกับค่า
pH
ของสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน
รูปที่ ๑ pH probe ที่เราใช้นั้นเป็นชนิดที่ต้องเติมสารละลาย KCl ถ้าหากระดับสารละลาย KCl ในตัว probe นั้นต่ำเกินไป โดยรูปเติมจะอยู่ทางด้านบนของ probe (ที่ลูกศรชี้ในรูปล่าง) ในการใช้งานจะต้องเปิดรูที่อยู่ด้านบนของตัว probe เอาไว้ด้วย เพื่อให้ความดันภายในกับภายนอกตัว probe สมดุลกัน
pH
probe ที่เราใช้นั้นมีอยู่ด้วยกันสองแบบ
ที่แตกต่างคือสิ่งที่บรรจุอยู่ในตัว
probe
พวกแรกคือพวกที่สารบรรจุอยู่ข้างในตัว
probe
จะอยู่ในรูปที่เป็นเจล
ไม่ใช่ของเหลว
ส่วนพวกที่สองนั้นจะบรรจุสารละลาย
KCl
เอาไว้ข้างใน
(ดังรูปที่
๑)
ในแลปเราจะเห็นแบบนี้เยอะกว่า
ในการใช้งาน
pH
probe ชนิดที่บรรจุสารละลาย
KCl
เอาไว้ข้างในนั้นต้องให้ระดับสารละลายใน
probe
นั้นสูงกว่าระดับของของเหลวที่ทำการวัดค่า
pH
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สารละลายที่ทำการวัดนั้นแพร่เข้ามาในตัว
probe
(ผ่านทาง
glass
membrane ที่หัว
probe)
เวลาใช้งานไปเรื่อย
ๆ ระดับสารละลาย KCl
ก็จะลดลง
เราก็จะทำการเติมสารละลาย
KCl
เข้าไปชดเชยผ่านทางรูที่อยู่ทางด้านบนของ
probe
ความเข้มข้นของสารละลาย
KCl
ที่จะเติมเข้าไปนั้นก็ต้องเลือกให้ถูกต้องกับตัว
probe
ด้วย
(ต่างยี่ห้อกันอาจใช้ความเข้มข้นที่แตกต่างกัน)
เวลาเก็บ
probe
ชนิดที่ใช้สารละลาย
KCl
เราก็จะปิดรูสำหรับเติมสารละลายนี้เอาไว้
เพื่อป้องกันไม่ให้สารละลายในตัว
probe
รั่วไหลออกมา
แต่เวลาเราจะใช้งานเราจำเป็นต้อง
"เปิด"
รูนี้
เพื่อให้ความดันเหนือผิวสารละลาย
KCl
ในตัว
probe
นั้นเท่ากับความดันเหนือผิวสารละลายที่ทำการวัดค่า
pH
บ่อยครั้งที่พบว่ามีคนบอกว่ามีปัญหาค่าที่อ่านได้นั้นไม่นิ่ง
(โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เครื่องแบบดิจิตอลแสดงผลเป็นตัวเลข)
มีสาเหตุมาจากการที่ไม่ได้เปิดรูดังกล่าวเอาไว้
(เหตุที่เกิดเมื่อวานก็เป็นแบบนี้)
พฤหัสบดี
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ปาร์ตี้ไข่เจียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น