หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยมีปรากฏในอดีตนั้น
ยากเหมือนกันที่จะหาว่ามันหายไปเมื่อใด
ลำคลองสายต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครก็เช่นกัน
เส้นทางน้ำที่เคยมีปรากฏอยู่ในแผนที่เก่า
ๆ นั้น
ถ้าเป็นคลองที่ปัจจุบันกลายเป็นถนนสายหลักไปแล้วก็คิดว่าน่าจะพอมีหลักฐานอยู่ว่าหายไปเมื่อใด
ด้วยการไปหาข้อมูลว่าถนนเส้นนั้นมีการขยายเมื่อใด
ส่วนจะหาได้ที่ใดนั้นก็ไม่รู้เหมือนกัน
แล้วถ้าเป็นคลองที่อยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานต่าง
ๆ ล่ะ
แผนที่ในรูปที่
๑ นั้นผมนำมาจากแผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติโอนคลองไผ่สิงห์โต
ให้สภากาชาดไทย พ.ศ.
๒๔๘๕
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๙ ตอนที่ ๘๑ หน้า ๒๕๘๙ วันที่
๒๙ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๕)
ตั้งแต่ตอนที่เขียนเรื่อง
"คลองอรชร"
ที่ยังมีส่วนหนึ่งของสะพานข้ามคลองเหลือให้เห็นอยู่ที่สุดถนนอังรีดูนังต์ด้านถนนพระราม
๑ และตัวคลองตั้งแต่ถนนพระราม
๑ ไปจนจรดคลองแสนแสบ (Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๖๑๓ วันอังคารที่
๓๐ เมษายน ๒๕๕๖)
ตามแผนที่ฉบับนี้
คลองไผ่สิงห์โตเป็นคลองที่ทอดยาวจากถนนอังรีดูนังต์ด้านตะวันตก
(ไม่รู้เหมือนกันว่าเชื่อมต่อเข้ากับคลองอรชรหรืออีกชื่อหนึ่งคือคลองสนามม้าหรือเปล่า)
ไปออกยังคลองราชดำหริด้านตะวันออก
และดูเหมือนว่าฝั่งตรงข้ามกับตำแหน่งที่คลองไผ่สิงห์โตบรรจบกับคลองราชดำหรินั้นยังมีคลองต่อออกไปอีก
เห็นได้จากการมีสะพานบนถนนราชดำหริตรงตำแหน่งดังกล่าว
(รูปที่
๑)
ซึ่งปัจจุบันคลองทั้งหมดดังกล่าวไม่มีให้เห็นแล้ว
ด้วยความอยากรู้ว่าปัจจุบันนี้คลองไผ่สิงห์โตในอดีตกลายเป็นอะไรไปแล้ว
ก็เลยลองเอาแผนที่ในรูปที่
๑ นั้นมาเทียบกับแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม
(รูปที่
๒ ที่ได้มาจากทางอินเทอร์เน็ต)
ในปัจจุบัน
ก็พบว่าตำแหน่งที่เป็นคลองไผ่สิงห์โตเดิมนั้นน่าจะอยู่ทางด้านทิศเหนือของธนาคารไทยพาณิชย์สาขาสภากาชาดไทย
เมื่อ
๒ อาทิตย์ที่แล้วบังเอิญมีธุระให้แวะไปแถวนั้น
ได้ไปนั่งกินข้าวเที่ยงที่โรงอาหารใต้ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาดังกล่าว
ก็เลยถือโอกาสแวะดูหน่อยว่าทางด้านทิศเหนือของธนาคารนั้นพอจะมีร่องรอยอะไรเหลือให้เห็นว่าที่ตรงนั้นเคยเป็นคลองมาก่อนหรือเปล่า
ก็พบว่าด้านริมรั้วติดถนนนั้นมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำที่เป็นทางน้ำเชื่อมต่อกับระบบทางระบายน้ำของถนนอังรีดูนังต์และทางระบายน้ำภายในโรงพยาบาลจุฬาฯ
(รูปที่
๓)
จุดนี้ถ้ามองจากทางด้านนอกจะอยู่ด้านหลังป้ายรถเมล์
(รูปที่
๔)
สิ่งที่เห็นนั้นจะเป็นคลองไผ่สิงห์โตที่หลงเหลืออยู่หรือไม่นั้น
ผมคงไม่สามารถยืนยันอะไรได้
แต่ถ้ามันเป็นระบบท่อระบายน้ำที่วางขึ้นทีหลังด้วยการขุดดินขึ้นมาเพื่อฝังท่อระบายน้ำลงไป
มันก็ผิดปรกติตรงที่ทำไมจึงเปิดผิวหน้าให้เป็นแอ่งน้ำเฉพาะตรงนั้น
ซึ่งไม่ใช่เรื่องปรกติที่ใครเขาทำกัน
เห็นแผนที่เก่า
ๆ ของกรุงเทพที่เต็มไปด้วยลำคลอง
จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมแต่ก่อนชาวตะวันตกจึงเรียกกรุงเทพว่าเป็น
"เวนิชตะวันออก"
รูปที่
๑ แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติโอนคลองไผ่สิงห์โต
ให้สภากาชาดไทย พ.ศ.
๒๔๘๕
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๙ ตอนที่ ๘๑ หน้า ๒๕๘๙ วันที่
๒๙ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๕)
แสดงแนวคลองไผ่สิงห์โตที่ด้านตะวันตกบรรจบกับถนนสนามม้า
(ถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน)
และด้านตะวันออกที่เชื่อมต่อกับคลองราชดำหริ
(ที่ตอนนี้กลายเป็นถนนไปแล้ว)
รูปที่
๒ ผมลองเทียบกับแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมปัจจุบัน
ประมาณว่าแนวคลองดังกล่าวน่าจะอยู่ทางด้านทิศเหนือของธนาคารไทยพาณิชย์สาขาสภาพกาชาดไทยในปัจจุบัน
รูปที่
๓ แอ่งน้ำที่สงสัยว่าน่าจะเป็นร่องรอยของคลองไผ่สิงห์โตในอดีต
อยู่ด้านหลังป้ายรถเมล์ในรูปที่
๔
รูปที่
๔ ถ้ายืนดูจากสะพานลอยข้ามถนนอังรีดูนังต์
ตรงหน้าประตูคณะรัฐศาสตร์
แอ่งน้ำในรูปที่ ๓
จะเป็นบริเวณหลังป้ายรถเมล์ที่ลูกศรสีเหลืองชี้
รูปที่
๕ อันนี้เป็นรูปถ่ายที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
เป็นอาคารของคณะรัฐศาสตร์
มุมถ่ายภาพน่าจะเป็นจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
(ด้านถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน)
มองไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
จะเห็นมุมขวาของภาพปรากฏสะพานอยู่
คิดว่าคงเป็นสะพานข้ามคลองอรชร
ส่วนฝั่งตรงข้ามอาคารดังกล่าว
(ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นตึกเรียนไปหมดแล้ว)
มีลักษณะเป็นพื้นที่ต่ำ
(ไม่รู้ว่าเป็นคลองหรือทางระบายน้ำหรือเปล่า)
รูปที่
๖ รูปนี้เป็นอีกรูปหนึ่งที่แสดงในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
จะเห็นว่าทางด้านซ้ายของภาพ
(ทิศเหนือของหอประชุม)
เคยมีคลองอยู่
ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงแค่สระน้ำเล็ก
ๆ ข้างหอประชุมเท่านั้นเอง
และคงเป็นคลองเดียวกันกับที่ปรากฏในรูปหน้าตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่เคยเอามาให้ดูก่อนหน้านี้
(Memoir
ปีที่
๙ ฉบับที่ ๑๓๑๖ วันเสาร์ที่
๒๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง
"สถาปัตยกรรมคณะราษฎร ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๒๗)"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น