๑.
ระบบขับเคลื่อนปั๊ม
ระบบต้นกำลังที่ใช้กันทั่วไปในการขับเคลื่อนปั้มประกอบด้วย
ไฟฟ้า ไอน้ำ อากาศอัดความดัน
และเครื่องยนต์
การขับเคลื่อนโดยใช้ไฟฟ้าเป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด
โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน
ข้อดีของระบบนี้คือไม่ยุ่งยาก
แต่ข้อเสียคือถ้าเกิดปัญหาไฟฟ้าดับเมื่อใด
การทำงานจะหยุดทันที
การขับเคลื่อนด้วยไอน้ำมักกระทำในโรงงานที่มีไอน้ำเหลือจากการใช้ในกระบวนการ
หรือไม่ก็ใช้กับปั๊มที่มีความสำคัญที่ต้องการให้ทำงานอยู่ได้แม้ในช่วงเวลาที่ไฟฟ้าดับ
(เช่นระบบปั๊มน้ำหล่อเย็นที่สำคัญ
ระบบปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่จ่ายให้กับหม้อไอน้ำ)
การใช้ไอน้ำขับเคลื่อนนั้นอาจใช้ในรูปแบบการขับเคลื่อนกระบอกสูบ
หรือผ่านกังหันไอน้ำ
ข้อเสียของระบบนี้อยู่ตรงที่การเริ่มเดินเครื่องนั้นจะใช้เวลา
เพราะต้องให้โลหะมีเวลาขยายตัวเนื่องจากความร้อน
การขับเคลื่อนด้วยการใช้อากาศอัดความดันเหมาะกับปั๊มขนาดเล็ก
หรือใช้ในพื้นที่ที่จัดว่าเป็นพื้นที่อันตรายเสี่ยงต่อการระเบิด
(เช่นในส่วนกระบวนการผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน
โรงงานปิโตรเคมี
ปั๊มที่ใช้สูบจ่ายของเหลวที่ลุกติดไฟได้
ปั๊มที่ติดตั้งในบริเวณที่มีไอระเหย/ฝุ่นผง
ที่สามารถเกิดการระเบิดได้)
ในพื้นที่อันตรายดังกล่าวต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ซึ่งมีราคาสูง (เรียกว่า
explosion
proof)
ในส่วนของตัวปั๊มเองตัวที่มีปัญหาคือตัวมอเตอร์กับอุปกรณ์เปิด-ปิดมอเตอร์
แต่ก็สามารถเลี่ยงได้ด้วยการใช้อากาศอัดความดันเป็นตัวขับเคลื่อนแทน
นอกจากนี้การใช้อากาศอัดความดันยังมีข้อดีตรงที่แม้ว่าไฟฟ้าจะดับ
แต่ตัวอุปกรณ์ก็ยังทำงานได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง
ด้วยการใช้อากาศที่สำรองไว้ในถังเก็บ
ทำให้ไม่สูญเสียการควบคุมทั้งหมดทันทีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ
เรื่องเกี่ยวกับการจำแนกพื้นที่อันตรายที่ต้องการอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพิเศษนี้เคยเล่าเอาไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๔๐ วันพุธที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๕๓ เรื่อง "Electrical safety for chemical process"
การขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์มักจะกระทำกับสถานที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
หรือใช้กับปั๊มสำรองฉุกเฉินในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
เช่นในกรณีของปั๊มน้ำดับเพลิงในอาคาร
เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นแหล่งขับเคลื่อนปั๊มที่ใช้กันมากที่สุด
ดังนั้นจะเกริ่นเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป
๒.
มอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้งานกันทั่วไปนั้นแบ่งออกได้เป็น
๒ ประเภทโดยใช้ชนิดกระแสไฟฟ้าเป็นเกณฑ์คือ
๑.
มอเตอร์กระแสตรง
(Direct
current motor) คือมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง
และ
๒.
มอเตอร์กระแสสลับ
(Alternative
current motor) คือมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมีข้อดีตรงเรื่องการปรับเปลี่ยนความเร็วรอบและแรงบิดเริ่มต้นทำได้ง่าย
ใช้งานกับอุปกรณ์ขนาดเล็กทั่วไปที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
หรือในยานพาหนะเช่นรถยนต์ไฟฟ้า
แต่เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปนั้นจะอยู่ในรูปของไฟฟ้ากระแสสลับ
ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับมีการใช้งานกันแพร่หลายในอุตสาหกรรมมากกว่า
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับมีอยู่
๒ ประเภทคือมอเตอร์ซิงโครนัส
(synchronous
motor) และมอเตอร์เหนี่ยวนำ
(induction
motor)
แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับความเร็วซิงโครนัส
(synchronous
speed) ก่อน
ในเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับนั้นจะมีความว่าความเร็วซิงโครนัส
(synchronous
speed) อยู่
ซึ่งเป็นค่าความเร็วรอบการหมุนของสนามแม่เหล็ก
ค่าความเร็วซิงโครนัสนี้คำนวณได้จากสูตร
n
= (120f/p)
เมื่อ
n
คือความเร็วซิงโครนัส
(หน่วยเป็น
rpm
- round per minute หรือรอบต่อนาที)
f
คือความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ
(หน่วยเป็นเฮิร์ตที่เขียนย่อว่า
Hz
หรือต่อวินาที
ในบ้านเราคือ 50
Hz) และ
p
คือจำนวนขั้วของมอเตอร์ซึ่งจะเป็นเลขคู่เสมอ
โดยจะเริ่มจาก 2
ความถี่กระแสไฟฟ้าสลับที่ใช้กันในประเทศไทยนั้นคือ
50
Hz แต่ก็มีบางประเทศที่ใช้ความถี่
60
Hz (มักเป็นประเทศที่ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์
100-120
V)
มอเตอร์ซิงโครนัสนั้นจะหมุนด้วยความเร็วซิงโครนัส
เช่นของมอเตอร์ซิงโครนัสที่มี
4
ขั้ว
ความเร็วซิงโครนัสที่คำนวณได้
(ที่ความถี่
50
Hz) คือ
1500
rpm ตัวมอเตอร์ก็จะหมุนที่ความเร็วรอบ
1500
rpm ถ้าเป็นมอเตอร์ซิงโครนัสที่มี
6
ขั้ว
มอเตอร์ก็จะหมุนที่ความเร็วรอบ
1000
rpm
ความเร็วซิงโครนัสนี้ขึ้นไม่ขึ้นอยู่กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนหรือจำนวนเฟสที่ใช้
แต่มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้กันมากที่สุดในโรงงานคือมอเตอร์เหนี่ยวนำ
(induction
motor) เพราะมีราคาถูกว่ามอเตอร์ซิงโครนัส
มอเตอร์ไฟฟ้าที่เห็นนำมาใช้ขับเคลื่อนปั๊มทั่วไปในโรงงานจะเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำ
อัตราการหมุนของมอเตอร์เหนี่ยวนำขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้และจำนวนขั้วของมอเตอร์เช่นเดียวกับมอเตอร์ซิงโครนัส
แต่จะมี "สลิป
(slip
- ที่แปลว่าลื่นไถล)"
เกิดขึ้นเล็กน้อย
ทำให้ความเร็วรอบการหมุนที่แท้จริงของมอเตอร์เหนี่ยวนำต่ำกว่าความเร็วซิงโครนัส
เช่นกรณีของมอเตอร์ที่มี
4
ขั้ว
ความเร็วซิงโครนัสที่คำนวณได้ที่ความถี่
50
Hz คือ
1500
rpm แต่ตัวมอเตอร์จะหมุนที่ความเร็วรอบประมาณ
14xx
rpm (รูปที่
๑๔)
ถ้าเป็นมอเตอร์ที่มี
2
ขั้ว
ความเร็วซิงโครนัสที่คำนวณได้ที่ความถี่
50
Hz คือ
3000
rpm แต่ตัวมอเตอร์จะหมุนที่ความเร็วรอบประมาณ
29xx
rpm
ในประเทศไทยนั้นถ้าต้องการให้หมุนที่ความเร็วรอบสูงกว่า
3000
rpm ก็คงต้องใช้ระบบเกียร์ทดหรือสายพานช่วย
ถ้าเราจ่ายไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้าก็จะหมุน
แต่ถ้าเราเอามอเตอร์ไฟฟ้ามาหมุน
(เช่นใช้กังหันไอน้ำ)
มันก็จะจ่ายไฟฟ้าออกมาได้
แต่จะกลับทิศกัน
ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่มอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในขณะทำงานจึงเป็นผลลัพท์ระหว่างกระแสที่จ่ายและกระแสที่ผลิตขึ้น
และเนื่องโครงสร้างของมอเตอร์ไฟฟ้าประกอบด้วยลวดทองแดงเป็นหลัก
ซึ่งมีความต้านทานต่ำมาก
ดังนั้นถ้าหากมอเตอร์ไฟฟ้าหยุดนิ่งหรือไม่หมุนโดยที่ยังมีการจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้าอยู่
จะเป็นเหมือนกับการลัดวงจรไฟฟ้า
กระแสจะไหลผ่านขดลวดในปริมาณมากได้
ทำให้ขดลวดไหม้ได้
พฤติกรรมของมอเตอร์ที่มีการกินกระแสไฟมากในขณะที่เริ่มหมุนนั้นส่งผลต่อการเลือก
circuit
breaker ในการป้องกันกระแสเกินขนาด
เพราะถ้าเลือก circuit
breaker ขนาดที่เล็กเกินไปหรือไวเกินไป
(คือไปคิดเฉพาะตอนมอเตอร์ทำงานปรกติ)
ก็อาจทำให้เดินเครื่องปั๊มไม่ได้
เพราะในจังหวะที่เริ่มเดินเครื่องนั้นจะมีกระแสไหลเข้าเป็นปริมาณมากเป็นช่วงเวลาสั้น
ๆ ก่อนที่จะตกลงสู่ระดับปรกติ
ดังนั้น circuit
breaker ควรที่จะไม่ตัดกระแสไฟฟ้าในช่วงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
แต่ถ้าเลือกขนาดใหญ่เกินไปก็จะไม่สามารถป้องกันความเสียหายให้กับมอเตอร์ในกรณีที่มีกระแสสูงเกินไปไหลเข้าต่อเนื่องเป็นเวลานานได้
รูปที่
๑ name
plate มอเตอร์เหนี่ยวนำ
(Induction
motor) รูปบนเป็นของมอเตอร์ชนิดไฟ
3
เฟส
4
ขั้ว
(pole)
รูปล่างเป็นของมอเตอร์ชนิดไฟ
1
เฟส
4
ขั้วเหมือนกัน
จะเห็นว่าความเร็วรอบการหมุนจะต่ำกว่าความเร็วซิงโครนัส
(1500
rpm) อยู่เล็กน้อย
แต่จะไม่ขึ้นอยู่ว่าจะเป็นมอเตอร์ชนิดไฟ
1
เฟสหรือ
3
เฟส
และไม่ขึ้นกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อน
กำลังไฟฟ้าที่มอเตอร์ผลิตได้นั้นเป็นผลคูณระหว่างความต่างศักย์กับกระแสและตัวประกอบกำลัง
(power
factor) ถ้าใช้ความต่างศักย์สูง
ก็จะกินกระแสน้อย
ถ้าใช้ความต่างศักย์ต่ำ
ก็จะกินกระแสมาก
ในขณะที่ความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดนั้นแปรผันตามปริมาณกระแสไฟฟ้ายกกำลังสอง
ดังนั้นในช่วงเวลาที่ไฟฟ้าตก
(ความต่างศักย์ลดลง)
มอเตอร์จะดึงกระแสมากขึ้น
อาจทำให้มอเตอร์เสียหายได้
หรือในกรณีของมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
3
เฟส
ถ้าเกิดไฟฟ้าขาดหายไป 1
เฟส
มอเตอร์จะดึงกระแสจากอีก
2
เฟสที่เหลือเข้ามาชดเชย
ทำให้กระแสไฟฟ้าในขดลวดอีก
2
เฟสเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ขดลวดไหม้ได้
เคยมีเหตุการณ์ไฟ
3
เฟสขาดหายไป
1
เฟสที่ตึกทำงาน
ผลก็คือมอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องปรับอากาศที่ให้ความเย็นทั้งชั้นนั้นพังไปหลายตัว
เพราะพอไฟฟ้าหายไป 1
เฟส
มันก็ไปดึงกระแสจาก 2
เฟสที่เหลือเข้ามาแทน
ทำให้ขดลวดทองแดงมอเตอร์ร้อนจัดจนไหม้
คนที่ทำงานส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้ว่าควรต้องรีบไปปิดเครื่องปรับอากาศ
(เพราะมันไม่ปิดเอง)
ช่างไม่สามารถไล่ตามปิดให้ทัน
(ตึก
๒๐ ชั้นมีชั้นละ ๔ เครื่อง)
๓.
การปรับอัตราการไหลของปั๊ม
การปรับอัตราการไหลทำได้ก็ต่อเมื่อความสามารถในการจ่ายของเหลวของปั๊มสูงกว่าความต้องการการใช้ของเหลว
เราอาจต้องทำการปรับอัตราการไหลเมื่อ
(ก)
อัตราความต้องการของเหลวนั้นไม่คงที่
มีการเปลี่ยนแปลง หรือ
(ข)
อัตราความต้องการของเหลวนั้นคงที่
แต่ปั๊มนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป
วิธีการทั่วไปที่ใช้กันในการปรับอัตราการไหลของปั๊มมี
๑.
ติดตั้งวาล์วควบคุมอัตราการไหลด้านขาออก
ซึ่งอาจเป็นการติดตั้งวาล์วบนเส้นท่อที่จ่ายของเหลวเข้าระบบ
หรือติดตั้งบนเส้นท่อนำของเหลวไหลเวียนกลับ
ถ้าเป็นกรณีของปั๊มหอยโข่งวิธีการนี้เหมาะกับกรณีที่อัตราการไหลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การเลือกใช้วิธีการนี้ต้องระวังอย่าให้มีโอกาสที่วาล์วด้านขาออกของปั๊มมีการปิดสนิทจนของเหลวไม่สามารถไหลผ่านตัวปั๊มได้
หรือปั๊มไม่สามารถอัดของเหลวไปข้างหน้าได้
ถ้าเป็นปั๊มหอยโข่งจะป้องกันโดยการมีท่อไหลย้อนกลับไปยังถังเก็บของเหลวที่ทำการสูบตลอดเวลา
ถ้าเป็นพวกปั๊มลูกสูบจะใช้การติดตั้งวาล์วระบายความดัน
๒.
ปรับความเร็วรอบการหมุน/จังหวะการทำงานของปั๊ม
ถ้าเป็นกรณีของปั๊มหอยโข่งวิธีการนี้เหมาะกับกรณีที่อัตราความต้องการของเหลวนั้นคงที่
แต่ปั๊มนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป
การใช้วาล์วจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากเกินไป
แต่ถ้าเป็นพวกปั๊มลูกสูบนั้นมักจะใช้การปรับจังหวะการทำงานของปั๊ม
การปรับการปรับความเร็วรอบการหมุน/จังหวะการทำงานของปั๊มที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าอาจทำโดย
(ก)
คงอัตราการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าเอาไว้
แล้วใช้ระบบเฟืองทด/สายพาน
(ข)
คงมอเตอร์ตัวเดิมเอาไว้
แต่ติดตั้งระบบปรับความถี่ของไฟฟ้า
วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
โดยใช้อุปกรณ์เช่นอินเวอร์เตอร์
(Inverter)
เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรงก่อน
จากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันและความถี่ตามต้องการอีกครั้ง
หรือ
(ค)
เปลี่ยนมอเตอร์
โดยใช้มอเตอร์ที่มีจำนวนขั้วที่แตกต่างไปจากของเดิม
การคงอัตราหมุนและใช้ระบบสายเฟืองทด/สายพานนั้นทำได้ในกรณีที่ไม่ได้มีการต่อเพลามอเตอร์เข้ากับเพลาปั๊มโดยตรง
ถ้าต้องการประหยัดพลังงานโดยทำให้ปั๊มหมุนช้าลง
ก็สามารถทำได้โดยการเลือกใช้มอเตอร์ที่มีจำนวนขั้วมากขึ้น
การเปลี่ยนมอเตอร์เหมาะกว่ากับปั๊มที่ใช้งานต่อเนื่อง
(เดินเครื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน)
รูปที่
๒ การปรับอัตราการจ่ายของเหลวออกด้วย
(บน)
ใช้วาล์วปรับอัตราการไหลด้านจ่ายออก
(ล่าง)
ใช้วาล์วปรับอัตราการไหลด้านไหลกลับคืนแหล่งจ่าย
เช่นถ้ามอเตอร์มีจำนวนขั้วเป็น
6
ความเร็วซิงโครนัสคือ
1000
rpm มอเตอร์ก็จะหมุนที่ความเร็วรอบต่ำกว่า
1000
rpm เล็กน้อย
ถ้าเป็นมอเตอร์มีจำนวนขั้วเป็น
8
ความเร็วซิงโครนัสคือ
750
rpm มอเตอร์ก็จะหมุนที่ความเร็วรอบไม่เกิน
750
rpm
เรื่องการเปลี่ยนมอเตอร์นี้เคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๕๖ วันจันทร์ที่
๒๘ พฤษภาคมพ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "เก็บตกฝึกงานฤดูร้อน ๒๕๕๕"
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจหน่อยว่า
สำหรับปั๊มหอยโข่งนั้น
ผู้ผลิตปั๊มก็ผลิตตัวปั๊ม
ส่วนมอเตอร์นั้นก็มาจากผู้ผลิตมอเตอร์
(ซึ่งมักไม่ใช่ผู้ผลิตปั๊ม
แต่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า)
ดังนั้นตัวปั๊มยี่ห้อเดียวกันอาจขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ต่างยี่ห้อกันได้
เคยได้เห็นข้อกำหนดในการว่าจ้างก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องปั๊ม
คือผู้ว่าจ้างนั้นมีการกำหนดยี่ห้อของตัวปั๊มที่ยอมรับ
"และ"
ยี่ห้อของมอเตอร์ที่ยอมรับ
ส่วนที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของผู้สร้างว่าจะไปหาซื้อปั๊มยี่ห้อไหน
(ตามรายชื่อที่ผู้ว่าจ้างกำหนด)
และจะไปซื้อมอเตอร์ยี่ห้อไหน
(ตามรายชื่อที่ผู้ว่าจ้างกำหนดอีก)
เพื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นระบบปั๊มที่สมบูรณ์
แต่สำหรับปั๊มขนาดเล็ก
ผู้ขายบางรายก็ประกอบเป็นชุดสำเร็จรูปมีทั้งตัวปั๊มและมอเตอร์มาให้
ผู้ซื้อไปใช้ก็มีหน้าที่ต่อสายไฟเข้าเพียงอย่างเดียว
๔.
การรักษาความดันในระบบท่อ
งานบางประเภทนั้นของเหลวในท่ออาจไม่ได้มีการไหลต่อเนื่องตลอดเวลา
แต่ต้องให้ของเหลวในระบบท่อนั้นไหลได้ทันทีที่ต้องการการใช้งาน
(เช่นเมื่อเปิดวาล์ว)
งานประเภทนี้ที่เห็นได้ชัดได้แก่
งานระบบน้ำประปา และระบบน้ำดับเพลิง
ในบางหน่วยงานผลิตนั้นอาจมีส่วนของระบบน้ำบริสุทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การรักษาความดันในระบบท่ออาจใช้วิธี
(ก)
ใช้แรงโน้มถ่วงช่วย
โดยการสูบของเหลวไปเก็บบนถังสูง
และให้ไหลลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง
วิธีการนี้ใช้มากกับระบบน้ำประปา
ใช้สวิตช์วัดระดับเป็นตัวกำหนดระดับน้ำขั้นต่ำที่ให้ปั๊มเดินเครื่อง
และระดับขั้นสูงที่ให้ปั๊มหยุดการทำงาน
ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือแม้ไฟฟ้าดับก็ยังมีของเหลวให้ใช้
อุปกรณ์บางประเภทที่ทำหน้าที่บรรจุของเหลวเข้าภาชนะก็ทำงานโดยใช้วิธีการนี้
(ที่เคยเห็นคือบรรจุซอสมะเขือเทศลงกระป๋อง)
(ข)
ใช้ปั๊มรักษาความดันในระบบท่อ
โดยให้ปั๊มทำงานเมื่อความดันในระบบท่อลดลง
(ความดันลดลงเกิดขึ้นเมื่อมีของเหลวไหลออกจากระบบท่อด้านขาออก
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดใช้งานหรือการรั่วไหล)
วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไปตามอาคารบ้านเรือน
(ที่ติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติทำงานโดยสวิตช์ความดัน
ที่จะเริ่มเดินเครื่องเมื่อเปิดก๊อก
พอน้ำไหลออกความดันในระบบท่อก็จะลดลง
และปิดเครื่องเมื่อปิดก๊อกน้ำเพราะพอน้ำหยุดไหลความดันในระบบท่อก็จะสูงขึ้น)
และใช้กับระบบท่อน้ำดับเพลิงในอาคารชนิดที่มีน้ำอยู่เต็มท่อพร้อมใช้ตลอดเวลา
(ใช้
jogging
pump รักษาระดับความดันในท่อ)
(ค)
ใช้ปั๊มรักษาความดันในระบบท่อ
โดยให้ปั๊มทำงานตลอดเวลา
แต่มีท่อสำหรับให้ของเหลวไหลย้อนกลับไปยังถังเก็บของเหลวตลอดเวลาด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโอกาสที่ปั๊มทำงานแต่ไม่มีการจ่ายของเหลวออก
วิธีการนี้เหมาะกับกรณีที่ต้องมีการจ่ายของเหลวตลอดเวลา
แต่ปริมาณที่ใช้อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลา
ท่อไหลย้อนกลับจะเป็นท่อที่มีขนาดเล็กกว่าท่อจ่ายของเหลวเข้าระบบ
(หรือไม่ก็ติดตั้งวาล์วเพื่อลดอัตราการไหล)
ขนาดของท่อนี้เพียงแค่ให้มีของเหลวไหลผ่านตัวปั๊มเพื่อให้ปั๊มยังทำงานได้อยู่โดยไม่เกิดความเสียหาย
ระบบนี้จะเหมาะกับปั๊มหอยโข่งมากกว่า
รูปที่
๓ ตัวอย่างการรักษาความดันในระบบท่อของระบบน้ำ
(ซ้าย)
สูบน้ำขึ้นไปเก็บบนถังที่อยู่บนที่สูง
จากนั้นปล่อยให้ไหลลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง
(กลาง)
ใช้ปั๊มเปิด-ปิดอัตโนมัติด้วยการใช้สวิตช์ความดัน
(ล่าง)
ให้ปั๊มทำงานตลอดเวลา
โดยมีท่อให้ของเหลวไหลย้อนกลับตลอดเวลา
เนื้อหาการอบรมดังกล่าวจบสิ้นที่นี่
แต่เนื่องจากมีบางประเด็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นในระหว่างการอบรม
คือเรื่องของปั๊มหอยโข่งความดันสูง
ก็เลยคิดว่าเรื่องชุด
"ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั๊ม"
นี้จะมีตอนที่
๔ เพิ่มเติมเป็นตอนพิเศษ
คือเรื่องของปั๊มหอยโข่งความดันสูง
ซึ่งหวังว่าคงจะออกมาได้ทันในเดือนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น