"บทความต่าง
ๆ
ที่นำมารวมไว้ในที่นี้ผมคัดเลือกมาจากบทความบันทึกความทรงจำของตัวเองในเรื่องราวต่าง
ๆ ทั้งที่เป็นด้านวิชาการและไม่ใช่ด้านวิชาการ
ทั้งที่เป็นเรื่องทั่วไปและบันทึกความทรงจำเรื่องส่วนตัว
ที่นำออกเผยแพร่ในรูปของ
"MO
Memoir : Memoir of metal oxide catalyst research group"
ทาง
blog
www.tamagozzilla.blogspot.com
ซึ่งนับถึงวันนี้
(วันพุธที่
๙ มีนาคม ๒๕๕๙)
ก็กว่า
๑,๑๐๐
ฉบับ เกือบ ๕,๐๐๐
หน้ากระดาษ A-4
เข้าไปแล้ว
Memoir
ต้นฉบับนั้นจัดทำเป็นขนาดกระดาษ
A-4
ที่รูปร่างส่วนหัวของบทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย
ๆ ในแต่ละเดือน
ในช่วงแรกนั้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรม
Microsoft
Office แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโปรแกรม
OpenOffice
โดยแต่ละเรื่องได้จัดทำเป็นฉบับ
pdf
ส่งให้กับสมาชิกของกลุ่มที่เป็นนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาในขณะที่กำลังศึกษาอยู่
(นับจากสัปดาห์แรกของภาคการศึกษา
ไปจนถึงวันรับพระราชทานปริญญาบัตร)
ลำดับเรื่องที่เขียนเป็น
Memoir
นั้นก็แล้วแต่เหตุการณ์และสภาพแวดล้อมพาไป
ทำให้เรื่องในส่วนที่เป็นวิชาการมีการกระโดดไปกระโดดมา
บางเรื่องบอกว่าจะมีตอนต่อไปแต่เอาเข้าจริงก็ทิ้งไว้หลายปีจึงมาเขียนต่อ
(แต่ก็มีบางเรื่องเหมือนกันที่บอกว่าจะมีตอนที่
๒ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้เขียน)
สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาในการอ่านสำหรับผู้ที่ยังไม่มีความรู้พื้นฐาน
มาคราวนี้ก็เลยถือโอกาสรวมรวมเนื้อหาในบางเรื่องราวมาจัดเรียงลำดับใหม่โดยเริ่มจากพื้นฐานไปยังการประยุกต์ใช้งาน
แต่ก็มีเรื่องพื้นฐานบางเรื่องเหมือนกัน
(ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจบทความบางบทความ)
ที่ไม่ได้นำมารวมในที่นี้
(เรื่องเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากำลัง)
เพราะตั้งใจจะแยกเอาไว้ในรวมบทความอีกชุดหนึ่ง
และถ้าบทความใดมีการอ้างอิงไปยังบทความที่ไม่ได้นำมารวมไว้ในที่นี้
ผู้อ่านก็สามารถตามไปอ่านได้ใน
blog
ที่กล่าวมาข้างต้น
ในการเขียนนั้นผมพยายามเขียนให้เพื่อให้ผู้ที่เรียนทางวิศวกรรมเคมี
ที่มีความรู้พื้นฐานไม่เกินระดับชั้นปีที่
๓ อ่านได้
แต่ถึงกระนั้นก็ตามก็คงต้องยอมรับว่าการทำความเข้าใจในบางเรื่องราวนั้น
มันจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านอื่นที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนกันในหลักสูตรปัจจุบัน
และเนื่องจากไม่ได้ตั้งใจเขียนเพื่อยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
แต่อยากให้เหมือนกับเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านหรือเป็นการบ่นเล่าเรื่องราวต่าง
ๆ ให้ฟัง ดังนั้นการใช้ภาษาในหลาย
ๆ ที่จึงเลือกที่จะสื่อในรูปแบบภาษาพูด
ผมเลือกที่จะคงรูปแบบหน้าขนาด
A-4
ไว้ก็เพราะต้องการคงขนาดของภาพถ่ายหลายภาพที่ไปถ่ายมา
จะได้เห็นรายละเอียดกันได้ชัดเจน
และเพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการพิมพ์เนื้อหาบางเรื่องออกมาใช้งาน
(เพราะตอนนี้เราก็พิมพ์กันโดยใช้กระดาษขนาด
A-4
เป็นหลักอยู่แล้ว)
หวังว่าเนื้อหาที่นำมารวบรวมไว้ในฉบับนี้คงจะให้ประโยชน์แก่ส่วนรวมบ้างไม่มากก็น้อย
แก่นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่
หรือผู้ที่กำลังจะออกไปฝึกงาน
หรือผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา
หรือผู้ที่ไม่เคยมีพื้นฐานใด
ๆ ทางวิศวกรรมศาสตร์มาก่อน
และยินดีอนุญาตให้คณาจารย์ท่านใดก็ตามที่ประสงค์นำรวมบทความชุดนี้เผยแพร่แก่นิสิตนักศึกษาในสถาบันของท่าน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนการสอนก็สามารถกระทำได้โดยไม่คิดมูลค่า"
ข้อความข้างบนมาจากคำนำที่เขียนไว้ในรวมบทความชุดที่ ๑ (๔๒ เรื่อง ๑๙๙ หน้ากระดาษ A-4) ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความดังกล่าว (ขนาดประมาณ 6 MB) ได้ที่ลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ
ข้อความข้างบนมาจากคำนำที่เขียนไว้ในรวมบทความชุดที่ ๑ (๔๒ เรื่อง ๑๙๙ หน้ากระดาษ A-4) ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความดังกล่าว (ขนาดประมาณ 6 MB) ได้ที่ลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น