อย่างที่ได้เกริ่นให้นิสิตรหัส
๕๕ บางคนฟังไป (ขาดไป
๒ คน คือไปเตรียมสอบ ๑
คนและเตรียมขึ้นเขียง ๑ คน)
เมื่อเช้าวันพุธที่
๑๐ ที่ผ่านมา
ว่างานที่กำลังจะทำต่อไปนั้นจะต้องอาศัยพื้นฐานเรื่องเคมีอินทรีย์เป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงอยากจะขอทบทวนและปรับความเข้าใจในสิ่งที่พวกคุณเรียนมา
ผมไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่พวกคุณได้เรียนมานั้นมันผิด
เพียงแต่ต้องการให้เปลี่ยนมุมมองจาก
"การท่องจำ"
มาเป็น
"การเข้าใจในหลักการ"
เพื่อจะได้มองเห็นภาพการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำกันต่อไป
(มันไม่มีเนื้อหาในหนังสือ
แต่มันใช้หลักการที่มีปรากฏอยู่แล้วในหนังสือ)
เนื้อหาในบันทึกฉบับนี้จะเป็นการขยายความเนื้อหาในข้อ
3.
ในหน้าที่
3
ของบันทึกปีที่
๒ ฉบับที่ ๖๑ วันพุธ ๓๐ กันยายน
๒๕๕๒ เรื่อง "การเกิดปฏิกิริยาเคมี"
ที่กล่าวถึงเรื่อง
ความเป็นขั้ว/ประจุ/ความหนาแน่นของอิเล็กตรอน
ซึ่งผมจะค่อย ๆ พยายามปูพื้นไปทีละขั้น
โดยจะแยกเขียนเป็นเรื่องสั้น
ๆ ไปจนกว่าจะไปถึงงานที่เราจะทำกัน
ในการทำปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลสองโมเลกุลนั้น
นอกจากเรื่องตำแหน่งการชนกันแล้วยังมีเรื่องของความหนาแน่นประจุในโครงสร้างของโมเลกุลนั้นด้วย
โมเลกุลที่เป็นกลาง
(ที่ไม่ใช่ไอออนนั้น)
ไม่ได้หมายความว่าอิเล็กตรอนจะกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งโมเลกุล
แต่อิเล็กตรอนอาจจะชอบไปอยู่
ณ บางตำแหน่งของโมเลกุลนั้นมากกว่าตำแหน่งอื่น
ทำให้บริเวณที่อิเล็กตรอนชอบไปอยู่นั้นมีความเป็นลบ
(เป็นขั้วลบ)
ส่วนบริเวณที่อิเล็กตรอนไม่ชอบไปอยู่จะมีความเป็นบวก
(เป็นขั้วบวก)
เรื่องนี้ก็อยู่ในเรื่องพันธะมีขั้ว/ไม่มีขั้ว
ตัวอย่างเช่น
carbon
dioxide O=C=O หรือ
cabon
disulfide S=C=S ซึ่งโมเลกุลสารทั้งสองตัวนี้มีประจุเป็นศูนย์
แต่ถ้าดูการกระจายอิเล็กตรอนแล้วจะพบว่าอะตอม
O/S
จะดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอม
C
ทำให้ตำแหน่งอะตอม
C
มีอิเล็กตรอนหนาแน่นต่ำกว่าตำแหน่งอะตอม
O/S
ตำแหน่งอะตอม
C
จึงมีความเป็นขั้วบวก
ตำแหน่งอะตอม O/S
จึงมีความเป็นขั้วลบ
และถ้าเทียบกันระหว่าง
O=C=O
และ
S=C=S
แล้ว
เนื่องจาก O
มีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนได้สูงกว่า
S
จึงทำให้อะตอม
C
ของ
O=C=O
มีความเป็นบวกสูงกว่าอะตอม
C
ของ
S=C=S
อีกตัวอย่างได้แก่กรณีของ
formaldehyde
H-CO-H กับ
phosgene
Cl-CO-Cl ซึ่งสารทั้งสองต่างเป็นสารที่มีความว่องไวสูงในการทำปฏิกิริยา
ในกรณีของ
H-CO-H
นั้นอะตอม
C
ถูกดึงอิเล็กตรอนด้วยอะตอม
O
เพียงอะตอมเดียว
แต่ในกรณีของ Cl-CO-Cl
นั้นอะตอม
C
ถูกดึงอิเล็กตรอนด้วยอะตอม
O
หนึ่งอะตอมและอะตอม
Cl
อีกสองอะตอม
จึงทำให้อะตอม C
ของ
Cl-CO-Cl
มีความเป็นบวกที่แรงกว่าอะตอม
C
ของ
H-CO-H
Nulceophile
แปลว่าชอบนิวเคลียส
หมายถึงหมู่ที่ชอบอะตอมที่มีประจุบวก
ซึ่งก็คือพวกมีประจุลบ
Electrophile
แปลว่าชอบอิเล็กตรอน
หมายถึงหมู่ที่ชอบอะตอมที่มีประจุลบ
ซึ่งก็คือพวกที่มีประจุบวก
ถ้าว่ากันตามนี้
หมู่หรืออะตอมที่เป็น
nucleophile
ก็จะชอบที่ทำปฏิกิริยากับหมู่หรืออะตอมที่เป็น
electrophile
ส่วนปฏิกิริยาจะมองว่าเป็น
nucleophilic
substitution หรือ
electrophilic
substitution
ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับมุมมองว่าเรามองจากสารตั้งต้นตัวไหนเป็นหลัก
เช่นถ้าเราไปเปิดหนังสือเคมีอินทรีย์ดูในเรื่อง
organic
halide หรือ
aldekyde
เราจะพบกับปฏิกิริยา
nucleophilic
substitution เพราะเขามองจากมุมสารประกอบ
organic
halide หรือ
aldehyde
เป็นหลัก
ตัวอย่างเช่นสารประกอบ
organic
halide นั้นอาจทำปฏิกิริยาโดย
(ก)
การที่อะตอมเฮไลด์หลุดออกจากโครงสร้าง
ทำให้โมเลกุลส่วนที่เหลืออยู่มีประจุบวก
หมู่ที่จะเข้ามาแทนที่อะตอมเฮไลด์จึงต้องเป็นพวก
nucleophile
ซึ่งปฏิกิริยาแบบนี้ในหนังสือจะเรียกว่าเป็นปฏิกิริยาแบบ
SN1
(มาจาก
1st
order nucleophilic substitution reaction) หรือ
(ข)
อะตอม
C
ที่เกาะกับอะตอมเฮไลด์นั้นมีความเป็นประจุบวก
จึงทำให้สามารถสร้างพันธะกับอะตอมที่มีความเป็นลบที่วิ่งเข้าหา
จากนั้นจึงปล่อยอะตอมเฮไลด์เดิมออกไป
อะตอมที่มีความเป็นลบที่วิ่งเข้าหานี้อาจเป็นไอออนของอะตอมเดียวหรือเป็นอะตอมที่มีความเป็นขั้วลบของโครงสร้างโมเลกุลที่ใหญ่กว่า
ปฏิกิริยาแบบนี้ในหนังสือจะเรียกว่าเป็นปฏิกิริยาแบบ
SN2
(มาจาก
2nd
order nucleophilic substitution reaction)
ในกรณีของ
aldehyde
ก็จะเป็นตำแหน่งอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิล
(C=O)
ที่มีความเป็นขั้วบวก
แต่ถ้าเราไปเปิดดูบท
alkene
หรือ
aromatic
เราจะพบกับปฏิกิริยา
electrophilic
addition (กรณีของอัลคีน)
หรือ
electrophilic
substitution (กรณีของอะโรมาติก)
ทั้งนี้เพราะบริเวณพันธะคู่
C=C
ของ
alkene
(ของ
aklyne
ก็เช่นเดียวกัน)
หรือวงแหวน
aromatic
นั้นมี
πe-
อยู่
ทำให้บริเวณนี้มีอิเล็กตรอนหนาแน่นมากกว่าบริเวณอื่น
ดังนั้นปฏิกิริยาบางประเภทเช่นปฏิกิริยาระหว่าง
phenol
(C6H5-OH) กับ
formaldehyde
(H-CO-H) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ในการผลิต
phenolic
resin โดยโมเลกุล
formaldehyde
จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อโมเลกุล
phenol
เข้าด้วยกันนั้น
ถ้ามองโดยยึด phenol
เป็นหลักก็จะบอกว่าเป็นปฏิกิริยา
electrophilic
แต่ถ้ามองจาก
formaldehyde
เป็นหลักก็จะเป็นปฏิกิริยา
nucleophilic
จะว่าไปปฏิกิริยาทำนองนี้มันก็ก้ำกึ่งกับการมองในรูปของปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสตามนิยามของ
Lewis
ตามนิยามของลิวอิสนั้น
"กรด"
คือสารที่รับคู่อิเล็กตรอน
และ "เบส"
คือสารที่ให้คู่อิเล็กตรอน
โมเลกุล/ไอออนที่มีอะตอมที่มีอิเล็กตรอนคู่โดยเดี่ยว
(เช่นอะตอม
O
ของ
OH-)
จะจัดให้เป็น
Lewis
base หรือ
nucleophile
ก็ได้
ส่วนโมเลกุล/ไอออนที่มี
orbital
ว่างที่สามารถรับคู่อิเล็กตรอน
(เช่นอะตอม
Al
ของ
Al(OH)3)
จะจัดให้เป็น
Lewis
acid หรือ
electrophile
ก็ได้
ดังนั้นถ้าเรามัวแต่คอยจำว่าปฏิกิริยาว่าปฏิกิริยานั้นปฏิกิริยานี้มันเป็นระหว่าง
nucleophile
กับ
electrophile
หรือระหว่างกรด-เบสของลิวอิส
เราก็จะมีปัญหาในการระบุว่าปฏิกิริยาที่เราพบเจอแล้วมันไม่มีในหนังสือ
จะจัดให้เป็นปฏิกิริยาประเภทไหนระหว่างสองอันนี้
ทั้ง ๆ ที่อันที่จริงมันจะเป็นแบบไหนก็ได้
ขึ้นอยู่กับว่าต้องการพูดในเรื่องอะไร
ในบันทึกฉบับที่ ๖๑
ผมถึงได้ให้มองในรูปที่เป็นปฏิกิริยาระหว่างตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนมาก/หนาแน่น
กับตำแหน่งอะตอมที่มีความเป็นขั้วบวกโมเลกุล
ซึ่งมันจะครอบคลุมปฏิกิริยาระหว่าง
nucleophile
กับ
electrophile
และระหว่างกรด-เบสของลิวอิส
แต่ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดนั้นยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาอีก
ดังเช่นกรณีของ formaldehyde
กับ
phenol
และ
phosgene
กับ
bisphenol
phosgene
แตกต่างจาก
formaldehyde
ตรงที่อะตอม
H
ทั้งสองอะตอมของ
formaldehyde
ถูกแทนที่ด้วยอะตอม
Cl
ส่วน
phenol
และ
ฺBisphenol
A นั้นมีตำแหน่งที่สามารถทำปฏิกิริยาได้อยู่สองตำแหน่ง
คือตัวหมู่ hydroxyl
-OH ที่แสดงฤทธิ์เป็นกรด
กับตัววงแหวนเอง
ถ้าเราเอา
formaldehyde
มาทำปฏิกิริยากับ
phenol
อะตอม
C
ของโมเลกุล
formaldehye
จะเข้าไปดึงอิเล็กตรอนจากวงแหวน
สร้างพันธะกับวงแหวนโดยดึงเอาอะตอม
H
เดิมที่เกาะอยู่ที่วงแหวนออก
และทำการเชื่อมโมเลกุล
phenol
สองโมเลกุลเข้าด้วยกัน
โดยโมเลกุล formaldehyde
เองจะสูญเสียอะตอม
O
ซึ่งจะไปจับกับโมเลกุล
H
ของวงแหวนที่ถูกดึงออกมา
กลายเป็นโมเลกุลน้ำ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ฺBisphenol
F ที่แสดงในรูปที่
๑ ข้างล่างซึ่งก็คือโมเลกุล
phenol
สองโมเลกุลที่เชื่อมต่อกันด้วยสะพานหมู่
methylene
(CH2)
รูปที่
๑ โมเลกุล ฺBisphenol
F ในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินคือส่วนที่มาจากโมเลกุล
phenol
ส่วนในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงคือ
methylene
bridgeที่มาจากโมเลกุล
formaldehyde
ที่สูญเสียอะตอม
O
ไป
Bisphenol
A ก็เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง
phenol
กับ
acetone
การเกิดปฏิกิริยาก็เป็นเช่นเดียวกับปฏิกิริยาระหว่าง
phenol
กับ
formaldehyde
Bisphenol A
นั้นยังมีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถทำปฏิกิริยาได้อยู่สองหมู่คือ
-OH
และตัววงแหวนเอง
เมื่อนำ Bisphenol
A มาทำปฏิกิริยากับ
phosgene
ปรากฏว่าแทนที่อะตอม
C
ของฟอสจีนจะเข้าไปดึงอิเล็กตรอนจากวงแหวนแล้วปล่อยอะตอม
O
ออก
กลับกลายเป็นว่าอะตอม Cl
ของ
phosgene
เองเข้าไปดึงอะตอม
H
ของหมู่
-OH
และหลุดออกไปเป็น
HCl
ทำให้เกิดเป็นสะพานหมู่
carbonyl
(C=O) เชื่อมโมเลกุล
Bisphenol
A เข้าด้วยกับ
(รูปที่
๒)
ปฏิกิริยานี้คือปฏิกิริยาที่ใช้ในการสังเคราะห์
polycarbonate
รูปที่
๒ ปฏิกิริยาระหว่าง Bisphenol
A กับ
phosgene
(COCl2)
ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินคือส่วนที่มาจากโมเลกุล
acetone
(H3C-CO-CH3) ที่ทำหน้าที่เชื่อมโมเลกุล
phenol
สองโมเลกุลเข้าด้วยกันเป็น
Bisphenol
A ส่วนที่อยู่ในวงกลมสีแดงคือหมู่
carbonyl
ที่มาจากโมเลกุล
phosgene
ที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโมเลกุล
Bisphenol
A สองโมเลกุลเข้าด้วยกัน
(รูปจาก
www.en.wikipedia.org)
อนึ่งเมื่อวานเพิ่งจะทราบมาว่าสมาชิกของเราที่กำหนดขึ้นเขียงเมื่อวานถูกเลื่อนกำหนดการไปเป็นสัปดาห์หน้า
และมีบางคนยังต้องไปเป็นผู้ใช้แรงงานสร้างฝายชะลอน้ำอีก
ดังนั้นที่บอกไว้เมื่อวานว่าจะจัด
Workshop
ในวันที่
๑๘ นั้นคงต้องเลื่อนออกไปก่อน
โดยอาจเป็นวันจันทร์ที่
๒๒ ตุลาคม เพราะจะเลื่อนไปจากช่วงนี้คงไม่ได้แล้ว
เพราะมันเปิดเทอมแล้ว
หรือว่าไปจัดที่เขาใหญ่ในวันที่
๒๕-๒๖
ตุลาคมดี เพราะยังไงก็ต้องไปประชุมที่นั่นอยู่แล้ว