Process
Flow Diagram หรือที่มักจะเรียกกันย่อ
ๆ ว่า PFD
เป็นแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการผลิตต่าง
ๆ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม
เคมี ปิโตรเคมี และกลั่นน้ำมัน
PFD
เป็นแผนผังที่แสดงรายการอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
การไหลเชื่อมต่อ (เข้า-ออก)
ของสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง
ๆ อุณหภูมิ อัตราการไหล
ความดัน องค์ประกอบ ฯลฯ
(ตามความจำเป็น)
ของสารที่
เข้า -
อยู่ภายใน
-
ออก
ของแต่ละอุปกรณ์ ตัวอย่างของ
PFD
ของหอกลั่นสุญญากาศที่ใช้กลั่นน้ำมันดิบนำมาแสดงไว้ในรูปที่
๑ก และ ๑ข อันที่จริงมันเป็นรูปเดียวกัน
แต่เป็นแผ่นใหญ่
เลยต้องแยกสแกนเป็นสองหน้า
รายละเอียดที่ใส่ไว้ใน
PFD
นั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงงานจะกำหนด
เคยเจอโรงงานแห่งหนึ่งมีการเพิ่ม
Engineering
Flow Diagram (EFD) เข้ามาอีก
โดยเขาบอกว่า EFD
มันมีรายละเอียดมากกว่า
PFD
แต่โดยส่วนตัวผมเห็น
EFD
ก็คือ
PFD
นั่นแหละ
เพียงแต่ใครจะไปกำหนดเอาเองว่ามีรายละเอียดแค่ไหนจะเรียก
PFD
และมีรายละเอียดแค่ไหนจึงจะเรียก
EFD
แต่เห็นส่วนใหญ่เขาก็ไม่สนกัน
เขาเรียกว่า PFD
กันทั้งนั้น
PFD
นั้นแตกต่างไปจาก
P&ID
(ที่ย่อมาจาก
Piping
and Instrumental Diagram) โดย
PFD
นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเดินเครื่องเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมกระบวนการ
(การเฝ้าตรวจการทำงาน)
หรือการออกแบบกระบวนการ
ส่วน P&ID
นั้นเป็นตัวแทนรายละเอียดของระบบท่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง
ๆ (เช่นพวกอุปกรณ์วัด
รวมทั้งการเรียงลำดับการติดตั้งตามแนวเส้นท่อ)
ทั้งหมดที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์/หน่วยผลิตต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน
และมักใช้เพื่อการลงมือไปปฏิบัติหน้างาน
(ไม่ว่าจะเป็นการเดินเครื่อง
การแก้ปัญหาหน้างาน)
และการปรับปรุงระบบ
เพื่อให้มองเห็นภาพลองพิจารณารูปที่
๑ก และ ๒ก ที่มีปั๊ม P1201A&B
สูบของเหลวจาก
V-1202
ส่งไปยัง
S-1206
และต่อไปยัง
C-1201
นั้น
ตัว PFD
นั้นไม่มีการระบุว่าท่อที่ใช้เป็นท่อแบบไหน
มีขนาดเท่าใด มีการติดตั้งวาล์วอะไรบ้าง
บอกแต่เพียงว่าสารที่ไหลผ่านระบบนี้ตอนขาเข้ามีอุณหภูมิและความดันเท่าใด
และเมื่อผ่าน P1201A&B
และ
S-1206
(furnace ให้ความร้อน)
ไปแล้วจะมีอุณหภูมิและความดันเท่าใด
แม้แต่ปั๊ม P1201
ที่มีอยู่
๒ ตัวคือ P1201A
และ
P1201B
ก็ยังแสดงไว้เพียงตัวเดียว
(ในความเป็นจริงมีสองตัว)
เพื่อเป็นการบอกว่าปรกติจะมีการเดินปั๊มเพียงตัวเดียวเท่านั้น
(คือเลือกเดินตัว
A
หรือตัว
B)
ทั้ง
ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นท่อที่มาจาก
V-1202
จะแยกเข้าปั๊ม
P1201A
และ
P1201B
และท่อด้านออกจากปั๊ม
P1201A
และ
P1201B
ก็จะมาบรรจบกันก่อนที่จะไหลต่อไปยัง
S-1206
รายละเอียดเช่นนี้ไม่มีแสดงใน
PFD
แต่จะไปมีปรากฏใน
P&ID
โดยใน
P&ID
นั้นจะมีการระบุถึงขนาดท่อ
รหัสแสดงวัสดุที่ใช้ทำท่อ
การหุ้มฉนวนมีหรือไม่
มีการติดตั้งวาล์วชนิดไหน
ขนาดเท่าใด มีท่อแยกออกไป
ณ ตำแหน่งใด ฯลฯ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรู้ได้ว่าถ้าต้องการใช้
P1201A
ในการสูบของเหลวจาก
V-1202
ส่งไปยัง
S-1206
นั้น
ต้องไปปิด-เปิดวาล์วตัวไหนบ้างเพื่อปิดกั้น
P1201B
ออกจากระบบ
วาล์วที่จะมียกเว้นอยู่บ้างก็ได้แก่วาล์วควบคุม
(control
valve) ที่สำคัญ
(ไม่ได้หมายความว่าวาล์วควบคุมทุกตัวต้องมีปรากฏใน
PFD
นะ)
รูปที่
๒ข เป็นภาพขยายมุมขวาบนของรูปที่
๑ข โดยแสดงบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ
3-stage
Steam Ejector (E-1212X E1213X และ
E-1214X)
ที่ใช้ในการทำสุญญากาศให้กับหอ
C-1201
แม้ว่าภาพต้นฉบับที่มีนั้นจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าใด
แต่ก็หวังว่าคงจะทำให้ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ทางด้านวิศวกรรมเคมีพอจะมองเห็นภาพแล้วว่า
PFD
นั้นคืออะไร
ส่วน P&ID
นั้นหน้าตาเป็นอย่างไรก็ขอเอาไว้ในฉบับต่อไปก็แล้วกัน
รูปที่
๑ก ตัวอย่าง Process
Flow Diagram (PFD)
รูปที่ ๑ข รูปด้านขวาของ Process Flow Diagram (PDF) ของรูปที่ ๑ก
รูปที่ ๒ก รูปขยายหน่วยทางมุมซ้ายบนของรูปที่ ๑ก
รูปที่ ๒ข รูปขยายหน่วยทางมุมขวาบนของรูปที่ ๑ข E-1212X E-1213X และ E-1214X คือ steam ejector ที่ใช้ทำสุญญากาศให้กับหอกลั่นน้ำมันที่ความดันสุญญากาศ ในรูปจะเป็น steam ejector ๓ ตัวต่ออนุกรมกัน ของเหลวที่ควบแน่น (น้ำ + น้ำมัน) จะไหลมาแยกชั้นกันที่ V-1202 ส่วนไอที่ไม่ควบแน่นจะระบายออกทาง V-1203
รูปที่ ๑ข รูปด้านขวาของ Process Flow Diagram (PDF) ของรูปที่ ๑ก
รูปที่ ๒ก รูปขยายหน่วยทางมุมซ้ายบนของรูปที่ ๑ก
รูปที่ ๒ข รูปขยายหน่วยทางมุมขวาบนของรูปที่ ๑ข E-1212X E-1213X และ E-1214X คือ steam ejector ที่ใช้ทำสุญญากาศให้กับหอกลั่นน้ำมันที่ความดันสุญญากาศ ในรูปจะเป็น steam ejector ๓ ตัวต่ออนุกรมกัน ของเหลวที่ควบแน่น (น้ำ + น้ำมัน) จะไหลมาแยกชั้นกันที่ V-1202 ส่วนไอที่ไม่ควบแน่นจะระบายออกทาง V-1203
รูปข้างล่างไม่เกี่ยวข้องอะไรกับบทความหรอก
เพียงแต่เห็นช่วงนี้เป็นเทศกาลเลือกภาควิชา
ก็เลยแซวภาควิชาตัวเองเล่นซะหน่อย
:)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น