เหตุการณ์ที่สองงที่นำมาเล่าในวันนี้นำมาจาก
http://www.shippai.org/fkd/en/cfen/CC1000137.html
ในหัวข้อเรื่อง "Explosion
of hydrogen peroxide due to the change of a feeding line to a vessel
at a surfactant manufacturing plant"
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดที่เมือง
Sodegaura, Chiba
ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๓๒ ในเหตุการณ์นี้มีสารเคมีที่เกี่ยวข้องอยู่
3 ตัวด้วยกันคือ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์,
dodecylbenzenesulphonic acid (C12H25-C6H4-S(O)2OH)
(รูปที่ ๑)
และ alkyl
amine (ในรายงานไม่ได้มีการระบุว่าเป็นตัวไหน)
รูปที่ ๑ โครงสร้างโมเลกุลของ dodecylbenzenesulphonic acid
Dodecylbenzenesulphonic acid เป็นสารชะล้าง (surfactant) ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โครงสร้างโมเลกุลของสารนี้ประกอบด้วยส่วนที่ไม่มีขั้วซึ่งได้แก่หมู่อัลคิล (alkyl) ที่ทำหน้าที่ละลายไขมันหรือโมเลกุลไม่มีขั้ว และส่วนที่มีขั้วซึ่งได้แก่ -SS(O)2O-H+) ข้อดีของกรดตัวนี้คือมันไม่ตกตะกอนเมื่อพบกับไอออนที่มีประจุตั้งแต่ 2+ ขึ้นไป (เช่น Ca2+ และ Mg2+) ดังเช่นสบู่ที่ทำจากกรดไขมันพืชหรือสัตว์ จึงทำให้ใช้งานได้กับน้ำที่มีความกระด้าง ในการนำมาใช้งานนั้นจะทำการสะเทินกรดตัวนี้ด้วยเบสก่อน และเบสที่นิยมใช้กันก็คือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide NaOH)
แต่สำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภท (เช่นที่มาในรูปของ unit dose) การสะเทินด้วย NaOH ทำได้ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม (เช่น ความหนืดที่มากเกินไป และการทำปฏิกิริยากับวัสดุห่อหุ้ม) จึงได้มีการใช้เบสตัวอื่น และเบสกลุ่มหนึ่งที่มีการนำมาใช้กันก็คือสารประกอบอัลคิเอมีน (Alkyl amine) ที่อะตอม N นั้นทำหน้าที่เป็นเบส โดยในบางกรณีนั้นก็อาจเปลี่ยนจากหมู่อัลคิลเป็นหมู่อัลคานอล (alkanol) หรือหมู่อัลคิลที่มีหมู่ -OH นั่นเอง โดยหมู่ -OH นั้นจะช่วยให้ละลายน้ำได้ดีขึ้น (ตัวอย่างการใช้งานนี้อ่านเพิ่มเติมได้ใน เอกสารสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่ 3,539,552 เรื่อง "Emulsifier compositions based on mixtures of amine salts of linear alkyl ary sulfonic acids" และเอกสารสิทธิบัตรสหภาพยุโรปเลขที่ WO 2016/175931 เรื่อง "Amine salts of alkylbenzene sulfonic acids and their use in detergent formulations")
ในกระบวนการของโรงงานที่เกิดเหตุนั้น
(รูปที่
๒) จะทำการป้อน
Dodecylbenzenesulphonic
acid เข้าสู่ถังผสม VE-301
โดยใช้ปั๊ม PU-301
จากนั้นจะทำการป้อน
alkyl amine
เข้าสู่ถังผสมด้วยปั๊ม
(บทความไม่ได้ระบุว่าเป็นปั๊มตัวเดียวกันหรือเปล่าหรือเป็นคนละตัวกัน)
จากนั้นจึงเติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
"เข้าสู่ถังผสมโดยตรงจากทางด้านบน"
กล่าวคือเส้นทางป้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์นั้นเป็นอีกเส้นทางหนึ่ง
ในวันที่เกิดเหตุนั้นหลังจากที่ทำการป้อนกรดและ
alkyl amine
เข้าถังผสมแล้ว พบว่าค่า
pH
ของสารในถังอยู่ที่
8.8
ซึ่งแสดงว่ามีกรดอยู่น้อยเกินไป
โอเปอร์เรเตอร์จึงได้ทำการป้อนกรดเข้าถังเพิ่มเติมร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
(เข้มข้น
60%)
โดยให้ไหลผ่านปั๊ม
ไม่นานก็เกิดการระเบิดขึ้นที่บริเวณใกล้กับปั๊ม
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๑
รายและบาดเจ็บ ๑ ราย
รูปที่ ๒ แผนผังของกระบวนการผลิต
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะมีเสถียรภาพมากขึ้นในสภาวะที่เป็นกรด (มี H+) แต่จะมีเสถียรภาพลดลงในสภาวะที่เป็นเบส นอกจากนี้ไอออนบวกของโลหะหลายชนิด (เช่น Fe2+) ยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และเนื่องจากการสลายตัวเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ความร้อนที่ปลดปล่อยออกมาก็สามารถเร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้อีก นั่นคือหลังจากที่ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เริ่มสลายตัวอันเป็นผลจากการทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยา แต่หลังจากนั้นการสลายตัวก็จะสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยาเพราะสามารถอาศัยความร้อนที่ปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวในช่วงแรกได้
ในที่นี้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกนำมาผสมเพื่อใช้เป็นผงฟอกสี (bleaching agent) สำหรับกำจัดคราบสกปรก ข้อดีของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (และกรดเปอร์อะซีติก) คือใช้กับผ้าสีได้โดยไม่ต้องกังวลว่ามันจะกัดสีผ้า ส่วนผงฟอกสีพวกไฮโปคลอไรต์ (hypochlorite -ClO-) ใช้ได้ดีกับผ้าขาว แต่ไม่เหมาะกับผ้าสีเพราะมันสามารถกัดสีของผ้าสีได้
ในเหตุการณ์นี้มีประเด็นหนึ่งที่น่าพิจารณาแต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงในบทความคือ ทำไมโอเปอร์เรเตอร์จึงทำการป้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์โดยใช้ปั๊ม การทำเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่ และทำไมจึงออกแบบให้ท่อจากถังบรรจุไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์นั้นสามารถต่อเข้ากับท่อขาเข้าปั๊มสำหรับกรดได้
ในกรณีของกระบวนการผลิตที่มีการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร่วมด้วยนั้น ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ควรพึงระลึกไว้ก็คือการเลือกชนิดโลหะที่สามารถทนสารเคมีตัวอื่นได้ การที่โลหะนั้นสามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ทำปฏิกิริยาเลย แต่หมายถึงอัตราการทำปฏิกิริยาที่ต่ำและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อย่างเช่นในกรณีนี้สารประกอบเหล็กออกไซด์หรือสนิมเหล็กที่เกิดขึ้นเมื่อหลุ่ดร่อนออกมาปนอยู่ในกรดที่ไหลอยู่ในท่อ มันไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอะไรกับกรดที่ไหลผ่านตัวมัน แต่ถ้ามันสามารถหลุดรอดไปถึงบริเวณที่มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ปรากฏ (เช่นที่ถังผสม) มันก็อาจก่อให้เกิดปัญหาที่นั่นได้
แต่ในเหตุการณ์นี้สนิมเหล็กไม่ได้หลุดรอดไปยังถังผสม แต่กลับมีการป้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ผ่านเส้นทางที่มันไม่ควรไหลผ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น