ในตอนที่
๑ ของเรื่องนี้
ได้นำเสนอผลการทดลองที่แสดงให้เห็นว่าค่า
"อุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเอง"
(ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
Autoignition
temperature (AIT) หรือ
Self-ignition
temperature (SIT)) ที่วัดได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ไม่ว่าจะเป็นวิธีการวัดหรือวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์
ส่วนตอนที่ ๒
ที่นำเสนอในวันนี้จะกล่าวถึงผลของออกซิเจนและสัดส่วนการผสมระหว่าง
เชื้อเพลิง +
อากาศ
ที่ส่งผลต่อค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองที่วัดได้
ความสนใจผลของความเข้มข้นและชนิดของสารออกซิไดซ์ที่มีต่อค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองของสารต่าง
ๆ นั้นมีมานานแล้ว ดังเช่นบทความของ
Furno
และคณะ
(รูปที่
๘)
ที่ใช้เป็นต้นเรื่องของ
Memoir
ฉบับนี้
ได้ศึกษาผลของออกซิเจนบริสุทธิ์และไนโตรเจนเททรอกไซด์ที่มีต่อค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเอง
นอกนี้ยังได้ศึกษาผลของขนาดปริมาตรอุปกรณ์
(ที่เป็นตัวกำหนดปริมาตรไอผสม)
ที่มีต่อค่าที่วัดได้ด้วย
อุปกรณ์ที่เขาใช้ในการทดลองนั้นแสดงไว้ในรูปที่
๙ ส่วนผลการทดลองที่รายงานไว้นั้นแสดงไว้ในรูปที่
๑๐
รูปที่
๘ บทความของ Furno
และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Journoal
of Chemical and Engineering data vol. 13 no. 2 เดือนเมษายนปีค.ศ.
๑๙๖๘
(พ.ศ.
๒๕๑๑)
หน้า
๒๔๓-๒๔๙
บทความนี้วัดค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองของสารต่าง
ๆ ที่ความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ
(ความดันบรรยากาศคือ
760
mm.Hg) ในบรรยากาศของสารออกซิไดซ์ต่างชนิดกัน
และผลของปริมาตรไอผสมที่ใช้ทดสอบ
(ขนาดปริมาตรภาชนะบรรจุ)
หมายเลขรูปในบทความชุดนี้เรียงต่อมาจากตอนที่
๑
(หมายเหตุ
:
แก๊ส
nitrogen
tetroxide หรือ
dinitrogen
tetroxide - N2O4
แก๊สตัวนี้จะอยู่ในสภาพสมดุลกับ
NO2
โดยที่อุณหภูมิต่ำ
สมดุลจะมีแนวโน้มมาอยู่ทาง
N2O4
แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสมดุลจะมีแนวโน้มไปอยู่ทาง
NO2
แก๊สตัวนี้เคยได้รับความนิยมในการใช้เป็นสารออกซิไดซ์ให้กับเชื้อเพลิงขับเคลื่อนจรวดเนื่องจากมีจุดเดือดสูง
(ประมาณ
21.7ºC
ทำให้สามารถเก็บในรูปของเหลวได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้อุณหภูมิที่ต่ำหรือความดันที่สูงช่วย)
รูปที่
๙ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองของ
Furno
และคณะ
(บทความในรูปที่
๘)
มาตรฐาน
ASTM
E659 Standard Test Method for Autoignition Temperature of Liquid
Chemicals ก็ใช้อุปกรณ์หน้าตาทำนองเดียวกันนี้
แตกต่างกันหน่อยตรงที่ขนาดและวัสดุที่ใช้ทำ
vessel
ที่ใช้ในการทดลอง
โดย ASTM
E659 นั้นใช้ฟลาสค์ก้นกลมทำจากแก้ว
borosilicate
(และยังมีการกำหนดปริมาตรภาชนะไว้ที่ปริมาตรเดียว)
แต่เนื่องจากวัสดุและรูปทรงภาชนะดังกล่าวไม่เหมาะกับการทดลองที่ความดันต่ำ
Furno
และคณะก็เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนชนิด
vessel
ที่ใช้ในการทดลอง
ผลการทดลองของ
Furno
และคณะในรูปที่
๑๐ แสดงให้เห็นว่า
(ก)
ใน
vessel
ขนาดเล็ก
(200
ml) ค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองนั้นสูงกว่าใน
vessel
ขนาดใหญ่
(4900
ml)
(ข)
ค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองของสารต่าง
ๆ ในบรรยากาศออกซิเจนหรือ
N2O4
นั้นต่ำกว่ากรณีของอากาศ
แต่ขนาดที่ลดลงของอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองเมื่อเทียบระหว่างในอากาศและในออกซิเจนนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสารและขนาดของ
vessel
ที่ใช้ในการทดลอง
เช่นในกรณีของนอร์มัลบิวเทน
(n-Butane)
ที่ความดัน
740
mmHg ในกรณีของ
vessel
ปริมาตร
200
ml นั้นในอากาศจะมีอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองที่
372ºC
แต่ถ้าเป็นในบรรยากาศออกซิเจนค่า
อุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองจะลดลงเหลือ
286ºC
หรือลดลงถึง
86ºC
แต่พอทำการทดลองด้วย
vessel
ปริมาตร
4900
ml พบว่าเมื่อเปลี่ยนจากอากาศมาเป็นออกซิเจน
ค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองลดลงจาก
288ºC
เพียงแค่
10ºC
เท่านั้นมาเป็น
278ºC
พอมาเป็นกรณีของนอร์มัลเฮปเทน
(n-Heptane)
ที่ความดัน
740
mmHg เช่นกัน
ในกรณีของ vessel
ปริมาตร
200
ml พบว่าเมื่อเปลี่ยนจากอากาศมาเป็นออกซิเจน
ค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองลดลงจาก
232ºC
เพียงแค่
6ºC
เท่านั้นมาเป็น
226ºC
และในกรณีของ
vessel
ปริมาตร
4900
ml พบว่าเมื่อเปลี่ยนจากอากาศมาเป็นออกซิเจน
ค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองลดลงเพียงแค่
2ºC
เท่านั้นคือจาก
204ºC
มาเป็น
202ºC
รูปที่
๑๐ ผลการทดลองที่ Furno
และคณะรายงานไว้ในบทความ
(UDMH
คือ
Unsymmetrical
dimethyl hydrazine)
ตรงนี้ต้องขอย้ำเตือนเอาไว้หน่อยว่า
ค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองเป็นตัวเลขที่บอกให้ทราบว่าเชื้อเพลิงชนิดนั้น
(เมื่อผสมกับสารออกซิไดซ์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ)
สามารถเริ่มเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ได้เองได้ยากง่ายเพียงใด
แต่ไม่ได้บอกถึงความรุนแรงของการเผาไหม้
ที่มันขึ้นกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา
ในบรรยากาศของออกซิเจนบริสุทธิ์นั้นเชื้อเพลิงจะเผาไหม้ได้รวดเร็วมาก
อาจมีการคายพลังงานในปริมาณมากออกมาในระยะเวลาสั้น
ๆ ดังนั้นสำหรับเชื้อเพลิงที่มีปริมาณเท่ากัน
การเผาไหม้ในอากาศอาจจะเป็นเพียงแค่
flash
fire (คือเปลวไฟลุกแล้ววิ่งแผ่อออกไป)
แต่ถ้าเป็นการเผาไหม้ในออกซิเจน
อาจจะเป็นการระเบิดได้
(มีการเกิด
shock
wave)
บทความที่สองที่นำมาเล่าใน
Memoir
ฉบับนี้เป็นบทความของ
Chen
และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร
J.
Chem. Eng. Data ปีค.ศ.
๒๐๑๐
(รูปที่
๑๑)
ที่เลือกเอาบทความนี้มาก็เพราะเป็นการทดลองเกี่ยวกับการวัดค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองของแอลกอฮอล์ชนิดต่าง
ๆ
(รวมทั้งเอทานอลที่เป็นตัวการการเกิดระเบิดในห้องปฏิบัติการที่กลุ่มเราทำงานอยู่
ที่เป็นต้นเรื่องทำให้เกิดบทความชุดนี้ขึ้น)
งานวิจัยนี้เริ่มมาจากการเห็นปัญหาค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนที่รายงานไว้ในแหล่งอ้างอิงต่าง
ๆ นั้นมีความแตกต่างกัน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้ว่าค่าไหนเป็นค่าที่ถูกต้อง
การทดลองของบทความนี้ใฃ้อุปกรณ์อิงตามมาตรฐาน
ASTM
E659-78 (2005) (รูปที่
๑๒)
ส่วนหนึ่งของผลการทดลองที่รายงานไว้นำมาแสดงในรูปที่
๑๓
ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไอเชื้อเพลิงในอากาศ
(ความเข้มข้นไอเชื้อเพลิงในอากาศขึ้นอยู่กับปริมาตรแอลกอฮอล์ที่ฉีดเข้าไป)
โดยความเข้มข้นที่เข้าหา
lower
limit หรือ
upper
limit
นั้นจะให้ค่าค่าอุณหภูมิติดไฟได้ด้วยตนเองสูงกว่าความเข้มข้นในช่วงกลาง
รูปที่
๑๑ บทความของ Chen
และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร
J.
Chem. Eng. Data ปีค.ศ.
๒๐๑๐
หน้า ๕๐๕๙-๕๐๖๔
รูปที่
๑๓ ส่วนหนึ่งของผลการทดลองที่
Chen
และคณะรายงานไว้
โดยในการทดลองนั้นใช้การตั้งอุณหภูมิฟลาสค์ไว้ที่ค่าหนึ่งก่อน
จากนั้นจะทำการฉีดแอลกอฮอล์ที่ปริมาตรหนึ่ง
(สมมุติว่าเป็น
100
ไมโครลิตร)
เข้าไปในอุปกรณ์ฟลาสค์ที่ตั้งค่าไว้ที่อุณหภูมิหนึ่ง
ถ้าพบว่าแอลกอฮอล์ที่ฉีดเข้าไปนั้นเกิดการลุกไหม้
(จุดวงกลมสีแดง)
ก็จะลดอุณหภูมิฟลาสค์ให้ต่ำลงก่อนจะทำการฉีดแอลกอฮอล์เข้าไปใหม่อีกครั้ง
(ที่ปริมาตรเดิมคือ
100
ไมโครลิตร)
ถ้าพบว่าเกิดการลุกติดไฟก็จะลดอุณหภูมิฟลาสค์ให้ต่ำลงไปอีก
จนกว่าจะถึงอุณหภูมิที่พบว่าแอลกอฮอล์ที่ฉีดเข้าไปนั้นไม่ลุกติดไฟ
(จุดเครื่องหมายกากบาทสีดำ)
จากนั้นก็ทำการทดลองซ้ำใหม่โดยเปลี่ยนปริมาตรแอลกอฮอล์ที่ฉีด
(เช่น
120,
130, ..., 250 ไมโครลิตร)
ข้อมูลผลการทดลองของบทความนี้แสดงให้เห็นว่าค่า
autoignition
temerature ที่วัดได้นั้นขึ้นอยู่กับปริมาตรแอลกอฮอล์ที่ฉีดเข้าไป
(หรือความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในอากาศ)
Memoir
ฉบับนี้ก็ขอจบเพียงแค่นี้
ตอนต่อไปก็จะเป็นเรื่องของเหตุการณ์การระเบิดที่เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนที่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น