Memoir
ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อขยายความในเอกสารประกอบคำสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมเคมี
ในส่วนของการคำนวณเชิงตัวเลข
เรื่องการแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น
เทคนิคการกำจัดของเกาส์
(หรือ
Gauss
elimination)
เป็นเทคนิคหลักในการหาคำตอบของระบบสมการพีชคณิตที่มีจำนวนสมการไม่มาก
(สมการอยู่ในรูปแบบ
A.x
= b)
เทคนิคนี้ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก
๒ ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนของการกำจัดไปข้างหน้า
(Forward
elimination) ซึ่งเป็นการทำให้ตัวเลขในซีกซ้ายล่างของเมทริกซ์
A
มีค่าเป็น
0
และขั้นตอนที่สองคือการแทนค่าย้อนกลับ
(Back
substitution) ที่เป็นการหาค่า
ย้อนกลับจากค่า xn
มาจนถึง
x1
แต่การแก้โจทย์นั้นไม่ใช่ว่าโจทย์เรียงลำดับสมการมาอย่างไรเราก็แก้โจทย์ไปตามนั้น
แต่ควรมีการตรวจสอบและจัดเรียงลำดับสมการใหม่
(ถ้าจำเป็น)
ก่อนที่จะทำกระบวนการการกำจัดไปข้างหน้าในแต่ละครั้ง
ที่เรียกว่าการหาตัวหลัก
(Pivoting)
ทั้งนี้เพื่อให้ตัวเลขที่อยู่ในแนวทแยงมุมของเมทริกซ์
A
มีขนาดใหญ่ที่สุด
(ไม่คิดเครื่องหมาย)
ทั้งนี้เพราะตัวเลขที่อยู่ในตำแหน่งทแยงมุมของเมทริกซ์
A
จะทำหน้าที่เป็นตัวหารในระหว่างการทำการกำจัดไปข้างหน้า
การที่ตัวหารมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวตั้งจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณให้น้อยลง
เพื่อให้เห็นภาพเรามาลองดูตัวอย่างกันดีกว่า
โดยสมมุติว่าเรามีระบบสมการพีชคณิต
5
สมการ
5
ตัวแปรดังต่อไปนี้
0.001x1
+ 200x2
+ x3
- 10x4
- 200x5
= 5 สมการที่
(1)
0.6x1
+ 5x2
+ 11.5x3
+ 4x4
+ 3x5
= -3 สมการที่
(2)
-11x1
+ 3x2
+ 0.8x3
+ x4
- 15.8x5
= 7 สมการที่
(3)
2x1
+ 2x2
+ 2x3
+ 0.000067x4
+ 7x5
= 6 สมการที่
(4)
-3x1
- x2
+ 2x3
+ 8x4
+ 1.3x5
= -11 สมการที่
(5)
จะทำการหาคำตอบของระบบสมการ
(ค่า
x1,
x2,
x3,
x4
และ
x5)
เปรียบเทียบกันระหว่างการใช้
Gauss
elimination โดยไม่มีการหาตัวหลัก
และการใช้ Gauss
elimination ร่วมกับการทำการหาตัวหลักแบบบางส่วน
(Partial
pivoting) การคำนวณกระทำโดยใช้โปรแกรม
Spreadsheet
ของ
OpenOffice
3.3.0
รูปที่
๑ เป็นการหาคำตอบด้วยเทคนิค
Gauss
elimination โดยไม่มีการหาตัวหลัก
ตัวเลขสีเขียวที่อยู่ข้างหน้าสุดคือตัวเลขที่ใช้ในการกำจัดตัวแปร
xi
(i
= 2-5) ออกทีละตัวจากแต่ละสมการ
ตัวเลขสีแดงคือตัวเลขที่อยู่ในแนวทแยงมุมที่ทำหน้าที่เป็นตัวหาร
จะเห็นว่าเมื่อนำค่า xi
(i
= 1-5) ที่คำนวณได้แทนค่ากลับเข้าไปในโจทย์
พบว่าค่าที่ได้จากสมการที่
(2)-(5)
นั้นมีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าที่ควรจะเป็น
(ค่า
df
ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างค่าที่ได้จากการนำเอาค่า
x1,
x2,
x3,
x4
และ
x5
ที่คำนวณได้
แทนกลับเข้าไปในโจทย์
กับค่าที่โจทย์กำหนดมาให้คือค่าทางด้านขวามือของเครื่องหมายเท่ากับ)
ทั้งนี้เป็นผลของค่าความคลาดเคลื่อนที่สะสมอยู่ในตัวแปร
x
แต่ละตัว
รูปที่
๒ เป็นการหาคำตอบด้วยเทคนิค
Gauss
elimination ร่วมกับการหาตัวหลักแบบบางส่วน
ในที่นี้พบว่าก่อนที่จะเริ่มทำการกำจัดไปข้างหน้าเป็นครั้งแรก
ควรที่จะทำการจัดลำดับสมการใหม่ก่อน
โดยเลื่อนสมการที่ (3)
ให้มาเป็นสมการที่
(1)
ทั้งนี้เพราะค่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร
x1
ในสมการที่
(3)
ที่มีขนาดเท่ากับ
11
นั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดของค่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร
x1
ในสมการที่
(1)
ที่มาค่าเพียง
0.001
และหลังจากกำจัด
x1
ออกจากสมการที่
(2)
ถึง
(5)
ไปแล้ว
(ตัวเลขในหลักที่
1
ของแถวที่
2-5
ของเมทริกซ์
A
มีค่าเป็น
0)
ก่อนที่จะทำการกำจัดไปข้างหน้าในครั้งต่อไป
(เพื่อกำจัดตัวแปร
x2
ออกจากสมการที่
(3)
ถึง
(5))
ก็ต้องทำการตรวจสอบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
x2
ในสมการที่เหลือ
ของสมการใดมีขนาดที่ใหญ่ที่สุด
โดยในที่นี้พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
x2
ของสมการที่
(2)
มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับของสมการอื่นที่เหลือ
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการจัดลำดับสมการใหม่
สามารถทำการกำจัดไปข้างหน้าเป็นครั้งที่สองได้เลยเพื่อกำจัดตัวแปร
x2
ออกจากสมการที่
(3)
ถึง
(5)
ทำนองเดียวกันก่อนที่จะกำจัดตัวแปร
x3
ออกจากสมการที่
(4)
ถึง
(5)
ก็ต้องทำการตรวจสอบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
x3
ในสมการที่เหลือ
ของสมการใดมีขนาดที่ใหญ่ที่สุด
โดยในที่นี้พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
x3
ของสมการที่
(3)
มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับของสมการอื่นที่เหลือ
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการจัดลำดับสมการใหม่
สามารถทำการกำจัดไปข้างหน้าเป็นครั้งที่สองได้เลยเพื่อกำจัดตัวแปร
x3
ออกจากสมการที่
(4)
และ
(5)
ในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกำจัดตัวแปร
x4
ออกจากสมการที่
(5)
ในที่นี้พบว่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร
x4
ของสมการที่
(5)
(ตัวเลขสีน้ำเงิน)
มีขนาดใหญ่กว่าของสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร
x4
ในสมการที่
(4)
ดังนั้นก่อนจะทำการกำจัดไปข้างหน้าจึงทำการจัดลำดับสมการใหม่
โดยสลับลำดับสมการที่ (4)
และ
(5)
รูปที่
๒ (ต่อ)
เป็นการแทนค่าย้อนกลับเพื่อหาค่าตัวแปร
x1,
x2,
x3,
x4
และ
x5
และนำคำตอบที่ได้แทนค่ากลับเข้าไปในโจทย์
ในที่นี้พบว่าค่าที่ได้จากทุกสมการนั้นตรงกับค่าที่โจทย์กำหนดให้
พึงสังเกตว่าในกรณีของตัวอย่างที่ยกมานี้ความแตกต่างของ
x1,
x2,
x3,
x4
และ
x5
ที่ได้จากการคำนวณโดยมีและไม่มีการหาตัวหลักนั้นอยู่ที่ทศนิยม
๓ ตำแหน่งสุดท้าย
รูปที่
๒ การหาคำตอบด้วยเทคนิค
Gauss
elimination ร่วมกับการหาตัวหลัก
ในที่นี้มีการสลับลำดับสมการสองครั้ง
คือการสลับลำดับครั้งแรกกระทำก่อนที่จะทำการกำจัดไปข้างหน้าครั้งแรก
โดยได้ทำการย้ายสมการที่
(3)
ขึ้นไปแทนที่สมการที่
(1)
และดันสมการที่
(1)
ลงมาเป็นสมการที่
(2)
และดันสมการที่
(2)
ลงมาเป็นสมการที่
(3)
การสลับลำดับสมการครั้งที่สองเกิดขึ้นอีกครั้งก่อนที่จะทำการกำจัดไปข้างหน้าในครั้งที่สี่
โดยทำการสลับลำดับสมการที่
(4)
และ
(5)
ทั้งนี้เพราะค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
x4
ในสมการที่
(5)
(ตัวเลขสีน้ำเงิน)
มีขนาดใหญ่กว่าค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร
x4
ในสมการที่
(4)
รูปที่
๒ (ต่อ)
การหาคำตอบด้วยเทคนิค
Gauss
elimination ร่วมกับการหาตัวหลัก
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ที่ link นี้
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ที่ link นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น