ช่วงที่ผ่านมาเห็นมีการแชร์กันเรื่องที่บางประเทศในยุโรป
โดยเฉพาะนอร์เวย์
หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น
โดยอ้างว่าเพื่อลดการปลดปล่อย
CO2
เพราะรถไฟฟ้านั้นวิ่งด้วยไฟฟ้า
ไม่ได้ใช้น้ำมัน
บางคนก็แชร์โดยมีความเห็นเปรียบเทียบทำนองว่าประเทศอื่นเขาไปกันตั้งไกลแล้ว
ส่วนประเทศไทยยังไม่ไปไหนเลย
เรื่องรถไฟฟ้านี้ที่อ้างกันว่ามันช่วยลดการปลอปล่อย
CO2
ได้นั้นเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ
ก็ต้องไปดูตรงที่ไฟฟ้าที่เอามาชาร์ตแบตเตอรี่นั้นได้มาอย่างไร
ถ้ามันได้มาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล
การใช้รถไฟฟ้าก็เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนที่ปลดปล่อย
CO2
คือลดการปลดปล่อยในตัวเมือง
แต่ไปเพิ่มการปลดปล่อยที่โรงไฟฟ้าแทน
และนั่นอาจหมายถึงการที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นตามไปด้วย
พอถึงจุดนี้บางคนก็อาจจะบอกว่ายังไงมันก็ดีกว่าการให้รถยนต์วิ่งปลดปล่อยทั่วไปหมด
แต่ถ้าถามว่าถ้าหากต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม
คุณจะยินดีให้ไปสร้างโรงงานไฟฟ้าข้าง
ๆ บ้านคุณหรือชุมชนที่คุณอยู่ไหม
เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ฝรั่งเขาเรียกประชดพวกเรียกร้องให้มีการพัฒนาการต่างๆ
ว่า "NIMBY"
หรือ
"Not
In My Back Yard" แปลว่าไม่มีปัญหาหรอกถ้าไม่ใช่มาอยู่ข้าง
ๆ บ้านฉัน
รูปที่
๑ และ ๒ ผมดาวน์โหลดมาจากเว็บ
https://www.nordicenergy.org/publications/
เป็นเอกสารแสดงแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้า
(รูปที่
๑)
และสัดส่วนการใช้พลังงานของประเทศกลุ่ม
Nordic
ซึ่งได้แก่ประเทศในกลุ่มยุโรปตอนเหนืออันได้แก่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียน
เดนมาร์ก และรวมไปถึงไอซ์แลนด์
ปรกติแล้วประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเกินความต้องการใช้ในประเทศ
ก็สามารถส่งไฟฟ้าเป็นสินค้าขาออกได้ถ้าหากประเทศที่อยู่ติดกันนั้นยินดีรับซื้อ
อย่างเช่นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำที่เพิ่งเปิดใช้งานที่สร้างในประเทศลาว
ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ผลิตที่นั่นก็จะส่งขายมายังประเทศไทย
ประเทศที่เป็นผู้ส่งออกไฟฟ้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านนะ
ตรงนี้อาจต้องดูเรื่องระบบสายส่งประกอบด้วย
ท้องที่ที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตไฟฟ้าของประเทศหนึ่ง
แต่อยู่ใกล้แหล่งผลิตไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้าน
การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอาจจะถูกว่าการลงทุนเดินสาย
(และบำรุงรักษา)
ภายในประเทศเองก็ได้
ดังนั้นในแผนผังในรูปที่
๑ นั้นก็จะเห็นว่า
แม้แต่ประเทศนอร์เวย์ที่เป็นผู้ส่งออกไฟฟ้ารายใหญ่เอง
ก็ยังมีการนำเข้าไฟฟ้าด้วย
ไทยกับลาวแต่ก่อนก็เป็นเช่นนั้น
คือไทยมีการซื้อไฟฟ้าจากลาวตอนบน
และมีการขายให้กับลาวตอนล่าง
เพราะเวลานั้นระบบสายส่งฝั่งไทยนั้นมีความพร้อมมากกว่า
นอร์เวย์เองเป็นประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิลได้มากกว่าความต้องการในประเทศ
แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกเช่นกัน
(เขามีน้ำมันในทะเลเหนือ)
ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้าเขาจะหันมารณรงค์ให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
ไฟฟ้าที่รถยนต์ต้องการนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เฉพาะสำหรับการขับเคลื่อนเท่านั้น
แต่ที่เห็นโฆษณากันมักจะคุยเพียงแค่วิ่งได้เร็วเท่าใด
วิ่งได้ระยะทางไกลแค่ไหน
แต่ไม่ยักมีการบอกว่าการทดสอบดังกล่าวนั้นมีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศด้วยหรือไม่
(ไม่ว่าจะเป็นเครื่องทำความร้อนสำหรับประเทศหนาว
หรือเครื่องทำความเย็นสำหรับประเทศร้อน)
และถ้าสภาพการจราจรที่ติดขัดหนักมาก
อย่างเช่นในกรุงเทพมหานครในชั่วโมงเร่งด่วน
ซึ่งแน่นอนว่าต้องเปิดเครื่องปรับอากาศกันอยู่แล้ว
แบตเตอรี่จะเหลือไฟให้รถนั้นวิ่งได้ไกลแค่ไหน
อีกเรื่องที่ควรต้องนำมาพิจารณาคือผลของอุณหภูมิที่มีต่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายไฟหรือชาร์ตไฟ
เพราะการทดสอบที่ให้ผลดีในประเทศที่มีอากาศเย็นนั้นเมื่อนำมาทดสอบในประเทศที่มีอากาศร้อนก็มีสิทธิที่จะแตกต่างกันได้
โดยเฉพาะในส่วนอายุการใช้งาน
และจะจัดการอย่างไรกับแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
ดังนั้นก่อนที่จะรณรงค์ให้หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น
ก็ควรที่จะพิจารณาสิ่งต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้รอบด้านก่อนว่าอันที่จริงแล้วมันช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่
เพราะมันอาจช่วยลดในเรื่องหนึ่ง
แต่ไปเพิ่มปัญหาด้านอื่นแทน
เห็นมาหลายที่แล้วที่นำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้โดยอ้างว่ารักษาสิ่งแวดล้อม
ทั้ง ๆ
ที่ในความเป็นจริงเป็นเพียงแค่การย้ายการปลดปล่อยมลภาวะจากในหน่วยงานไปยังโรงไฟฟ้าชานเมืองให้มากขึ้นแค่นั้นเอง
รูปที่
๒ สัดส่วนการใช้พลังงานในกลุ่มประเทศนอร์ดิก
จะเห็นว่ายังมีการใช้น้ำมันในสัดส่วนที่สูง
แม้แต่นอร์เวย์เองก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น