สิ่งสำคัญในการทำ
peak
fitting หรือ
peak
deconvolution คือการใช้ฟังก์ชันที่ถูกต้องกับรูปแบบการกระจายตัว
(distribution)
ของข้อมูล
ในบางปรากฏการณ์นั้นรูปแบบการกระจายตัวอาจมีเพียงรูปแบบเดียว
แต่ในหลายปรากฏการณ์นั้นรูปแบบการกระจายตัวอาจมีได้หลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์
(เช่นกรณีของสัญญาณ
XRD)
ดังนั้นในกรณีที่ข้อมูลนั้นอาจมีการกระจายตัวได้หลายรูปแบบ
การทำ peak
fitting หรือ
peak
deconvolution จึงควรทดสอบด้วยฟังก์ชันการกระจายตัวรูปแบบต่าง
ๆ แล้วจึงค่อยพิจารณาว่ารูปแบบไหนเข้ากับข้อมูลที่มีอยู่มากที่สุด
แล้วจึงค่อยเอาผลที่ได้มาใช้
ตัวอย่างที่นำมาแสดงในวันนี้เป็นข้อมูลการวัด
XPS
ของตัวเร่งปฏิกิริยา
MoO3-MgO/TiO2
และ
WO3-MgO/TiO2
ที่นำเสนอไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
และได้ทำการปรับค่าพีคอ้างอิง
C1s
ที่
285.0
eV แล้ว
โดยในตอนที่แล้วต้องการแสดงให้เห็นถึงจำนวนรอบการสแกนที่มีผลต่อค่า
signal
to noise ratio โดยนำเอาข้อมูลตรงช่วง
N1s
มาแสดง
มาคราวนี้จะเป็นการนำเอาข้อมูลช่วง
Mo3d
และ
W4f
มาทดลองทำการแยกพีค
(peak
deconvolution) ด้วยฟังก์ชันการกระจายตัว
(distribution
function) 3 ฟังก์ชันด้วยกันคือ
Voigt,
Doniach Sunjic และ
Gaussian
การคำนวณใช้โปรแกรม
fityk
0.9.8
การคำนวณเริ่มโดยการให้โปรแกรมคำนวณหา
Shirley
baseline ก่อน
ตามด้วยการตัด Shirley
baseline (ในตัวโปรแกรม
fityk
0.9.8 มีฟังก์ชันนี้อยู่แล้ว)
ตามด้วยการทำให้ข้อมูลที่อยู่ข้าง
ๆ พีคหลักอยู่ในรูป inactive
ก่อน
(เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลต่อการวางตำแหน่งพีคเริ่มต้นการคำนวณ)
จากนั้นจึงให้โปรแกรมทำการวางตำแหน่งพีคเริ่มต้น
2
พีค
(ซึ่งจะอยู่ในบริเวณที่เป็นพีคหลัก)
แล้วจึงค่อยทำการ
regression
Voigt
function เป็นฟังก์ชันที่ส่วนลำตัวมีลักษณะที่เรียวแคบกว่า
และการแผ่ลาดไปยังส่วนฐานมีลักษณะที่ค่อย
ๆ แผ่ออกไป เมื่อเทียบกับ
Gaussian
function ฟังก็ชันนี้ในหลายกรณีพบว่าเข้ากับพีค
XRD
ได้ดีกว่า
Gaussian
function ส่วน
Doniach
Sunjic function นั้นเป็นฟังก์ชันที่มีลักษณะการกระจายตัวที่ไม่สมมาตร
(คือถ้าแบ่งครึ่งพีคซ้าย-ขวาให้มีพื้นที่เท่ากัน
จุดแบ่งครึ่งจะไม่อยู่ตรงจุดยอดพีค
แต่จะอยู่ข้าง ๆ ต่ำลงมาเล็กน้อย)
มีบางเว็บกล่าวว่าในบางกรณีฟังก์ชันนี้เข้ากับ
line
shape ของสัญญาณ
XPS
ได้ดีกว่าฟังก์ชันอื่น
(http://www.casaxps.com/help_manual/line_shapes.htm)
ก็เลยลองนำมาทดสอบด้วย
การที่เลือกใช้
Shirley
baseline
ก็เพราะดูแล้วรูสึกว่าพีคตัวอย่างที่นำมานั้นอยู่บริเวณช่วงที่ระดับ
baseline
ข้างซ้ายและข้างขวาอยู่ต่างระดับกัน
คือมีการเปลี่ยนแปลงระดับแบบ
S-curve
ในบริเวณดังกล่าว
(ไม่ได้เปลี่ยนแบบเป็นเส้นตรง)
รูปที่
๑ และ ๒ เป็นผลที่ได้จากการวัดและทำ
peak
deconvolution พีค
Mo3d
ในขณะที่รูปที่
๓ และ ๔ เป็นผลที่ได้จากการวัดและทำ
peak
deconvolution พีค
W4f
ยังไงก็ลองพิจารณาดูรูปเอาเองก็แล้วกันนะครับ
เห็นอย่างไรก็เป็นไปตามนั้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขอเตือนเอาไว้อย่างก็คือ
วิธีการตัดเส้น baseline
นั้น
ไม่ว่าจะให้โปรแกรมทำให้หรือจะเลือกลากเอง
สามารถส่งผลต่อผลของการทำ
peak
deconvolution ที่จะออกมา
(หมายเหตุ
:
สำหรับบางคนที่เพิ่มจะผ่านมาเจอ
พีค XPS
แต่ละพีคนั้นจะเรียกด้วยชื่อธาตุและชั้นวงโคจรของของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมา
เช่นพีค Mo3d
ก็หมายถึงอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากชั้นวงโคตร
3d
ของธาตุ
Mo
ซึ่งบางทีมันก็จะมีตัวเลขต่อท้ายอีกเช่น
3d5/2
เพราะชั้น
3d
มันมีหลาย
orbital)
รูปที่
๑ รูปบนเป็นสัญญาณตรงบริเวณ
Mo3d
ก่อนให้โปรแกรมทำการคำนวณและตัดเส้น
Shirley
base line ส่วนรูปล่างเป็นผลการทำ
peak
deconvolution ด้วยการใช้
Voigt
function ในการคำนวณนั้นมีการทำให้จุดข้อมูลบริเวณส่วนฐานที่มี
peak
อื่นซ้อนอยู่นั้นให้เป็นจุดที่
inactive
(ไม่ได้เอามาใช้ในการทำ
peak
fitting)
รูปที่
๒ เป็นตอนต่อจากรูปที่ ๑
โดยรูปบนเป็นผลการทำ peak
deconvolution ด้วยการใช้
Doniach
Sunjic funciton ส่วนรูปล่างเป็นผลที่ได้จากการใช้
Gaussian
distribution function ในกราฟทุกรูปนั้น
(รูปที่
๑-๔)
แกนนอนคือค่า
Binding
energy (B.E.) มีหน่วยเป็น
eV
(electron volt) ส่วนแกนตั้งคือค่าความแรงของสัญญาณ
(count)
รูปที่
๓ รูปบนเป็นสัญญาณตรงบริเวณ
W4f
ก่อนให้โปรแกรมทำการคำนวณและตัดเส้น
Shirley
base line ส่วนรูปล่างเป็นผลการทำ
peak
deconvolution ด้วยการใช้
Voigt
function ในการคำนวณนั้นมีการทำให้จุดข้อมูลบริเวณส่วนฐานที่มี
peak
อื่นซ้อนอยู่นั้นให้เป็นจุดที่
inactive
(ไม่ได้เอามาใช้ในการทำ
peak
fitting)
รูปที่
๔ เป็นตอนต่อจากรูปที่ ๓
โดยรูปบนเป็นผลการทำ peak
deconvolution ด้วยการใช้
Doniach
Sunjic funciton ส่วนรูปล่างเป็นผลที่ได้จากการใช้
Gaussian
distribution function
เว็บ
https://xpssimplified.com/periodictable.php
ให้ค่า
binding
energy ของ
Mo3d5/2
สำหรับบางสารประกอบไว้ดังนี้คือ
Mo
(เลขออกซิเดชัน
0)
228.0 eV, MoO2 (เลขออกซิเดชัน
4+)
229.5 eV และ
MoO3
(เลขออกซิเดชัน
6+)
233.1 eV และในกรณีของโลหะ
W
เว็บเดียวกันนี้ให้ค่า
binding
energy ของ
W4f7/2
สำหรับบางสารประกอบไว้ดังนี้คือ
W
(เลขออกซิเดชัน
0)
31.6 eV, WS2 (เลขออกซิเดชัน
4+)
32.4 eV, WO2 (เลขออกซิเดชัน
4+)
33.1 eV และ
WO3
(เลขออกซิเดชัน
6+)
36.1 eV
ค่า
binding
energy นั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์
(กล่าวคือใช้
Mg
หรือ
Al
เป็นแหล่งกำเนิดรังสี)
และตำแหน่งพีคอ้างอิง
(ปรกติก็มักจะเป็น
C1s
หรือ
O1s)
ดังนั้นถ้าพบว่าพีคที่วัดได้กับที่หา
reference
ได้นั้นมันแตกต่างกันอยู่
ก็ควรทำการตรวจสอบข้อมูลตรงจุดนี้ด้วย
หรือไม่ก็ต้องลองทำการตรวจสอบตำแหน่งสัมพัทธ์ของพีคที่ปรากฏนั้นประกอบด้วย
อย่างเช่นกรณีของพีค W4f
ในรูปที่
๓ และ ๔ นั้น แม้ว่าตำแหน่งจะไม่ตรงกับในรูปที่
๕ ที่นำมาเปรียบเทียบ
แต่ถ้าพิจารณาระยะหว่างระหว่างพีค
W4f5/2
และ
W4f7/2
แล้วจะเห็นว่าตรงกันอยู่
รูปที่
๕ พีคต่าง ๆ ของ W4f
(นำมาจาก
https://xpssimplified.com/elements/tungsten.php
ข้อมูล
ณ วันศุกร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์
๒๕๖๒)
จะเห็นว่าพีค
W4f
ของ
W6+
มี
2
พีค
ซึ่งเป็นของอิเล็กตรอนที่ต่าง
orbital
กัน
ไม่ได้มาจากไอออน W
ที่มีเลขออกซิเดชันต่างกัน
ผมเองก็ไม่ได้เล่นเครื่องนี้มานาน
และก็ไม่ได้เป็นผู้รู้ดีอะไรมากในเรื่องนี้
บทความนี้เพียงแค่ต้องการแสดงให้เห็นว่า
การแต่งผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์นั้นมันสามารถกระทำได้
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตรวจสอบข้อมูลดิบลงไปลึกแค่ไหนเท่านั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น