ยังอยู่ในช่วงเทศกาลหยุดยาวช่วงปีใหม่ก็เลยยังขอเป็นเรื่องเบา
ๆ ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาวิชาการในฉบับถัดไป
Memoir
ฉบับนี้จึงขอนำเอาภาพบัตรประจำตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์เมื่อ
๖๐
ปีที่แล้วของคุณพ่อและคุณแม่ที่ท่านยังอุตส่าห์เก็บรักษาเอาไว้มาบันทึกเอาไว้
ก่อนที่มันจะเสื่อมสลายไปกับกาลเวลา
คุณพ่อและคุณแม่ของผมนั้นท่านเข้ามาเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.
๒๕๐๐
เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
คุณพ่อเข้าศึกษาต่อที่คณะนิติศาสตร์
ส่วนคุณแม่เข้าศึกษาต่อที่คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ท่าพระจันทร์
บัตรของคุณพ่อนั้นจากเลขที่บัตรทำให้สามารถระบุได้ว่าเป็นปีพ.ศ.
๒๔๙๙
ส่วนบัตรของคุณแม่นั้นก็ระบุจากเลขที่บัตรได้ว่าเป็นปีพ.ศ.
๒๕๐๒
แม้ว่าบัตรทั้งสองจะมีอายุอานามในระดับ
๖๐ ปีแล้ว แต่ดูจากสภาพบัตรในปัจจุบัน
(รวมทั้งภาพถ่ายขาวดำด้วย
ที่คงสภาพสีได้ดีกว่าภาพสี)
แสดงว่าคุณภาพบัตรประจำตัวนักศึกษายุคสมัยนั้นคงจะดีมากจริง
ๆ บัตรนั้นเป็นบัตรปกแข็ง
พับครึ่ง ใส่กระเป๋าเสื้อเชิ้ตได้สบาย
ข้างในมีอยู่ ๓ หน้าด้วยกัน
เปิดเข้าไปหน้าแรกจะเป็นหน้าสำหรับให้ติดรูป
หน้าที่สองสำหรับให้นักศึกษาลงลายมือชื่อ
พลิกไปอีกหน้าหนึ่งจะเป็นหน้าสำหรับบันทึกการชำระเงิน
หน้าที่ ๓ นี้ในบัตรสองใบแตกต่างกันอยู่
คือในบัตรของคุณพ่อเมื่อปีพ.ศ.
๒๔๙๙
นั้นบอกว่าเป็นบันทึกการชำระเงินค่าบำรุงห้องสมุดและสโมสร
ส่วนบัตรของคุณแม่เมื่อปีพ.ศ.
๒๕๐๒
นั้นบอกว่าเป็นบันทึกการชำระเงินค่าเล่าเรียน
การที่บัตรมีปกสีต่างกันนั้นผมก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอยู่ต่างคณะกันหรือต่างปีการศึกษากัน
แต่ในกรณีบัตรนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในยุคที่ยังทำจากกระดาษแข็งติดรูปนั้น
สีบัตรจะเปลี่ยนไปตามปีการศึกษาที่เข้า
อย่างเช่นผมเข้าศึกษาในปีพ.ศ.
๒๕๒๗
ก็จะเป็นบัตรสีฟ้า
สีอื่นที่เห็นก็มี ชมพู ขาว
กับเหลือง
นัยว่าจะทำให้แยกแยะได้ว่าเป็นนิสิตในชั้นปีการศึกษาไหน
ส่วนอยู่คณะไหนก็อ่านเอาจากที่เขียนไว้ในบัตรเอาเอง
แต่ก่อนบัตรนิสิตก็ไม่ได้ใช้ทำอะไรมากนอกจากใช้ในการติดต่อกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในมหาวิทยาลัย
ไม่เหมือนในปัจจุบันที่มีร้านค้าหลายร้านดึงลูกค้าที่เป็นนิสิตนักศึกษาเข้าร้านด้วยการให้ส่วนลดพิเศษสำหรับผู้ที่แสดงบัตรนิสิต
และยังมีทางธนาคารมาทำบัตรนิสิตให้อีก
ทำนองว่าจะได้ลูกค้าที่เป็นนิสิตใหม่นำเงินเข้าฝากกับธนาคารในแต่ละปีการศึกษา
คือเป็นทั้งบัตรนิสิตและบัตร
ATM
หรือบัตรเดบิตไปด้วยในตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น