เหตุการณ์มันเริ่มจากการตรวจพบพีคประหลาดระหว่างการวัดความเข้มข้น
NO
ทำให้สงสัยว่าน่าจะเกิดจากสารประกอบ
oxygenate
ที่ค้างอยู่ในระบบท่อจากการทดลองก่อนหน้า
ตรงตำแหน่งข้อต่อสามทางที่ใช้สอด
thermowell
เข้าไปยังด้านใต้
catalyst
bed ของ
reactor
(รูปที่
๑)
ในระบบนั้นแก๊สไหลผ่าน
catalyst
bed จากบนลงล่าง
แล้วหักเลี้ยวเป็นมุมฉากที่ข้อต่อสามทาง
ข้อต่อสามทางนี้ใช้สำหรับสอดท่อ
thermowell
(ทำจาก
tube
O.D. 1/8") เข้าไปยังด้านล่างของ
reactor
(ทำจาก
tube
O.D. 1/4") ดังนั้นจุดต่อด้านที่สอด
thermowell
เข้ามาจะมีลักษณะเป็นปลายตันช่วงสั้น
ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์จากการทำปฏิกิริยาทั้งหมดนั้นเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
ปริมาตรของปลายตันนี้ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอะไร
ทางกลุ่มเราสงสัยว่ามันจะก่อปัญหาเมื่อเราพบว่าผลิตภัณฑ์จากการทำปฏิกิริยานั้น
บางตัวเป็นสารประกอบ oxygenate
ที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
(แต่ระเหิดได้)
และของแข็งที่สะสมอยู่
ณ บริเวณนี้ค่อย ๆ ระเหิดออกมาอย่างช้า
ๆ ปะปนไปกับแก๊สตัวอย่างที่ฉีดเข้าเครื่อง
GC-2014
ECD ทำให้เกิดพีคประหลาดปรากฏขึ้นในระหว่างการวัดความเข้มข้น
NO
นอกจากนี้มันยังไปควบแน่นในระบบท่อรับแก๊สตัวอย่างของเครื่อง
GC
(ท่อขนาด
1/16")
ทำให้ไม่สามารถฉีดแก๊สตัวอย่างเข้าเครื่องได้
รูปที่
๑ จุดที่เกิดปัญหาสารประกอบ
oxygenate
ตกค้างในระบบ
และเมื่อวันจันทร์เมื่อถอดข้อต่อดังกล่าวออกมาดูก็พบว่ามีของแข็งสะสมอยู่จริง
ทำให้ต้องทำการรื้อระบบท่อด้านขาออกทางหมดมาล้างทำความสะอาด
ปัญหาแรกที่เกิดขึ้นตอนประกอบกลับก็คือการสอด
thermocouple
กลับเข้า
thermowell
ที่เมื่อใช้มือสอดเข้าไปได้ถึงระดับหนึ่งแล้วจะดันไม่เข้า
คือพอออกแรงดัน ตัว thermocouple
จะงอ
แทนที่จะเคลื่อนที่เข้าไปใน
thermowell
การแก้ปัญหาก็ทำได้ไม่ยากด้วยการใช้คีบจับ
thermocouple
ตรงบริเวณใกล้
ๆ ปลาย thermowell
แล้วค่อย
ๆ ดันเข้าไป ก็จะทำให้สามารถดัน
thermocouple
เข้าไปจนสุดปลายท่อ
thermowell
ได้
(รูปที่
๒)
รูปที่
๒ (บน)
thermowell ทำจาก
tube
ขนาด
O.D.
1/8" ส่วน
thermocouple
มีขนาด
O.D.
1 mm (ล่าง)
เมื่อสอดเข้าไปด้วยมือจนรู้สึกว่าไม่สามารถดัน
thermocouple
เข้าไปได้อีก
ให้ใช้คีบจับ thermocouple
ตรงตำแหน่งใกล้
ๆ กับปลายท่อแล้วดันเข้าไป
ปัญหาที่สองที่ทำการแก้ไขกันเมื่อเช้าวันวานคือการตรวจหาตำแหน่งที่เกิดการอุดตันของระบบท่อเก็บแก๊สตัวอย่างของเครื่อง
GC-2014
ECD โชคดีที่พบว่าเกิดการอุดตันเฉพาะตรงตำแหน่งท่อชิ้นแรก
(เป็น
tube
ขนาด
O.D.
1/16" ดูรูปที่
๓)
เนื่องจากเราคาดการณ์ว่าสิ่งอุดตันเป็นสารประกอบ
oxygenate
ที่มีจุดหลอมเหลวไม่สูงและยังระเหิดได้ง่าย
จึงทำการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาชิ้นส่วนท่อดังกล่าวไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ
120ºC
(ใส่ในบีกเกอร์โดยจับท่อดังกล่าววางตั้ง
เพื่อให้สารอินทรีย์ที่อุดตันท่อนั้นไหลออกหรือระเหยออกไปได้ง่าย)
ซึ่งก็พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถกำจัดสิ่งอุดตันได้
จากนั้นจึงทำการล้างท่อดังกล่าวด้วยน้ำ
(หรือตัวทำละลายที่เหมาะสม)
เพื่อล้างสารอินทรีย์ที่อาจจะยังคงค้างอยู่ตามผิวท่อด้านในออก
เพราะถ้าไม่ล้างมันออก
มันอาจจะระเหิดและเข้าไปเกาะลึกยังระบบท่อและวาล์วข้างในได้อีก
ซึ่งถ้าปัญหานี้มันเกิดขึ้นจะทำให้การแก้ไขปัญหาวุ่นวายมากขึ้นไปอีก
ดังนั้นสิ่งต่อไปที่ทางกลุ่มเราต้องพิจารณากันก็คือ
จะหาทางดักสารประกอบ oxygenate
อย่างใดโดยไม่ไปรบกวนการวิเคราะห์ความเข้มข้นสารตัวอื่นในแก๊สตัวอย่าง
และดูเหมือนว่างานนี้จะเป็นงานเร่งด่วนซะด้วย
รูปที่
๓ เส้นประสีเหลืองคือท่อรับแก๊สตัวอย่าง
(ขนาด
1/16"\)
ที่พบว่าอุดตัน
ส่วนที่อยู่ในวงกลมสีเหลืองคือวาล์วปิด-เปิดด้านขาเข้าของระบบท่อรับแก๊สตัวอย่าง
(Relay
5)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น