P-V
diagram ของแก๊สนั้นมีลักษณะดังแสดงในรูปที่
๑ สำหรับแก๊สใด ๆ นั้นที่อุณหภูมิคงที่
เมื่อเราเพิ่มความดัน (P)
ให้กับแก๊ส
ปริมาณ (V)
ของแก๊สนั้นก็จะลดลง
คำถามก็คือถ้าเราเพิ่มความดันให้สูงขึ้นเรื่อย
ๆ (ที่อุณหภูมิคงที่)
จะเกิดอะไรขึ้นกับแก๊สนั้น
คำตอบของคำถามข้างต้นขึ้นอยู่กับว่าแก๊สที่เราทำการอัดนั้นมี
"อุณหภูมิ"
เท่าใด
ถ้าอุณหภูมิของแก๊สนั้นต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต
(critical
temperature หรือ
Tc)
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อเราเพิ่มความดันสูงขึ้นระดับหนึ่ง
แก๊สจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว
(ดูตามเส้นสีส้มมาจนถึงเส้นประสีเขียว)
ณ
จุดนี้จะมีเฟสสองเฟสปรากฏให้เห็นชัดเจน
คือเฟสของเหลวซึ่งเป็นเฟสที่มีความหนาแน่นสูง
(ทางฟากเส้นประสีน้ำเงิน)
และเฟสแก๊สที่เป็นเฟสที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า
ความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่างเฟสของเหลวและเฟสแก๊สจะลดลงเรื่อย
ๆ ถ้าอุณหภูมิที่ทำการอัดแก๊สนั้นเพิ่มสูงขึ้น
จนในที่สุดจะเท่ากัน
(หรือบอกความแตกต่างไม่ได้)
ณ
จุดนี้เราเรียกว่า "จุดวิกฤต
-
critical point) อุณหภูมิ
ณ จุดวิกฤตนี้ก็เรียกว่า
"อุณหภูมิวิกฤต
-
critical temperature หรือ
Tc"
ความดัน
ณ จุดนี้ก็เรียกว่า "ความดันวิกฤต
-
critical pressure หรือ
Pc"
(ตามเส้นสีแดง)
ถ้าอุณหภูมิที่ใช้ในการอัดแก๊สนั้นสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤต
(เช่นตามเส้นสีม่วง)
เมื่อเราเพิ่มความดันให้กับแก๊สนั้นให้สูงขึ้นเรื่อย
ๆ ความหนาแน่นของแก๊สนั้นก็จะสูงขึ้นในระดับเดียวกับของเหลว
แต่มันก็ไม่ใช่ของเหลว
ในสภาพเช่นนี้มักจะเรียกสสารดังกล่าวว่าอยู่ในสภาพ
"ของไหล
หรือ fluid"
เพราะมันบอกไม่ได้ว่ามันเป็นของเหลวหรือแก๊ส
รูปที่
๑ ตัวอย่าง PV
diagram ของแก๊ส
ที่นี้ถ้าเราลองมาพิจารณากรณีของแก๊สเชื้อเพลิงสองชนิดที่เราใช้กันมากในชีวิตประจำวันคือ
แก๊สธรรมชาติหรือมีเทน (CH4)
ที่ใช้กับยานยนต์
และแก๊สหุงต้มหรือ LPG
(สารผสมระหว่าง
C3H8
+ C4H10) ที่ใช้กันในครัวเรือนและรถยนต์
คำถามก็คือ
ที่อุณหภูมิห้อง
ถังบรรจุแก๊สธรรมชาติที่ความดัน
200
bar เมื่อเปิดใช้ไปเรื่อย
ๆ ความดันในถังจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ที่อุณหภูมิห้อง
ถังบรรจุแก๊สหุงต้มที่ความดันประมาณ
7
bar เมื่อเปิดใช้ไปเรื่อย
ๆ ความดันในถังจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
แก๊สมีเทนนั้นมีอุณหภูมิวิกฤตต่ำกว่าอุณหภูมิห้องมาก
ดังนั้นที่อุณหภูมิห้องแก๊สมีเทนที่อยู่ในถังบรรจุจึงอยู่ในรูปของแก๊สความดันสูง
เมื่อเรานำแก๊สในถังออกมาใช้
ปริมาณแก๊สในถังก็จะลดลง
ความหนาแน่นของแก๊สในถังก็จะลดลง
ความดันภายในถังก็จะลดลงไปด้วย
ส่วนแก๊สหุงต้มนั้นมีอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
ที่อุณหภูมิห้องนั้นแก๊สหุงต้มในถังจะอยู่ในรูปของเหลวที่สมดุลกับส่วนที่เป็นไอที่อยู่เหนือผิวของเหลว
เมื่อเรานำส่วนที่เป็นแก๊สออกมาใช้จะทำให้ความดันเหนือผิวของเหลวลดลง
ระบบจะปรับตัวโดยของเหลวจะระเหยออกมาเพื่อชดเชยแก๊สส่วนที่หายไป
จนในที่สุดความดันก็จะกลับมาคืนเดิม
(ณ
อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง
ของเหลวมีค่าความดันไอค่าเดียว)
แต่ปริมาตรส่วนที่เป็นแก๊สจะเพิ่มมากขึ้น
ปริมาตรส่วนที่เป็นของเหลวจะลดลง
(รูปที่
๒)
ดังนั้นในกรณีของแก๊สหุงต้มนั้น
ตราบเท่าที่ยังมีของเหลวอยู่ในถัง
แม้ว่าเราจะดึงเอาแก๊สออกมาใช้งานเรื่อย
ๆ ความดันในถังก็จะยังคงเดิม
จะลดลงก็ต่อเมื่อไม่มีเฟสของเหลวเหลืออยู่ในถังแล้ว
รูปที่
๒ สมมุติว่าในช่วงแรกความดันแก๊สหุงต้มในถังคือ
P1
เมื่อเราดึงแก๊สหุงต้มออกมาใช้งาน
(เราดึงตรงส่วนที่เป็นไอที่อยู่เหนือผิวของเหลว)
ความดันเหนือผิวของเหลวจะลดลง
แต่ของเหลวจะระเหยขึ้นมาชดเชยส่วนที่เป็นไอที่หายไป
ดังนั้นความดันแก๊สในถัง
(P2)
จะยังคงเท่าเดิม
(P2
= P1) แต่ปริมาตรส่วนที่เป็นไอจะเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่ปริมาตรส่วนที่เป็นของเหลวจะลดลง
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีของเหลวเหลืออยู่ในถัง
ความดันในถังก็จะลดลง (P3
< P1, P2)
ทีนี้ถ้าเรามาลองพิจารณาในทางกลับกัน
ถ้าเรามีแก๊สที่ความดันต่ำและจะพยายามอัดลงถังให้ความดันสูงขึ้นบ้าง
จะเกิดอะไรขึ้นระหว่างการอัดแก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้ม
ในกรณีของแก๊สมีเทนนั้น
เมื่อเราอัดแก๊สเข้าไปในถัง
ความดันในถังจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ ตามปริมาณแก๊สที่เราใส่เข้าไป
ยิ่งใส่มาก ความดันก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นเราจะอัดแก๊สได้ความดันสูงสุดเท่าใดขึ้นอยู่กับว่าถังของเรารับความดันได้แค่ไหนและเครื่องอัดแก๊สของเราอัดแก๊สได้ความดันสูงสุดเท่าใด
แต่ในกรณีของแก๊งหุงต้มนั้นแตกต่างออกไป
ในกรณีของแก๊สหุงต้มนั้น
สมมุติว่าในช่วงแรกนั้นเราบรรจุแก๊สลงในกระบอกสูบที่มีปริมาตรมากที่ความดันต่ำ
ดังนั้นแก๊สหุงต้มที่บรรจุเข้าไปจะอยู่ในสถานะที่เป็นแก๊ส
แต่ถ้าเราอัดแก๊สนั้นให้มีความดันเพิ่มสูงขึ้น
(เช่นด้วยการลดปริมาตรกระบอกสูบดังแสดงในรูปที่
๓)
ความดันในกระบอกสูบก็จะเพิ่มมากขึ้น
โมเลกุลแก๊สหุงต้มก็จะอยู่ใกล้กันมากขึ้น
แต่เมื่อเราเพิ่มความดันจนสูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง
แก๊สในถังบางส่วนจะเริ่มควบแน่นเป็นของเหลว
จากจุดนี้แม้ว่าเราจะพยายามอัดความดันให้กับถังอีก
ความดันในถังก็จะไม่เพิ่มขึ้น
เพราะส่วนที่เป็นไออยู่นั้นจะควบแน่นเป็นของเหลว
ทำให้ปริมาตรส่วนที่เป็นของเหลวในถังแก๊สเพิ่มมากขึ้น
ส่วนที่เป็นที่ว่างให้ไออยู่นั้นจะลดน้อยลง
เราจะไปอัดให้ความดันเพิ่มได้อีกทีก็ต่อเมื่อส่วนที่เป็นไอนั้นควบแน่นเป็นของเหลวหมด
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือในกระบอกสูบมีแต่ของเหลวเท่านนั้น
รูปที่
๓ การอัดแก๊สหุงต้มลงถัง
สมมุติว่าเริ่มแรกเรามีแก๊สความดัน
P4
อยู่ในถัง
พอเราอัดแก๊สให้มีความดันสูงขึ้น
ตราบเท่าที่ยังไม่มีการควบแน่น
ความดัน P4
ในถังก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ แต่พอความดันสูงถึงระดับหนึ่ง
(P5)
แก๊สบางส่วนจะเกิดการควบแน่นเป็นของเหลว
จากจุดนี้แม้ว่าจะพยายามอัดความดันให้กับถังอีก
ความดันในถัง (P6)
ก็จะไม่เพิ่มสูงขึ้น
เพราะส่วนที่เป็นไอจะกลายเป็นของเหลว
ทำให้ปริมาตรเฟสของเหลวเพิ่มมากขึ้น
ส่วนปริมาตรเฟสที่เป็นไอลดน้อยลง
ในการอัดแก๊สนั้น
ถ้าแก๊สนั้นไม่มีการเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
เราก็จะอัดให้มันมีความดันสูงเท่าใดก็ได้
เท่าที่จะมีปัญญาอัด
ในทำนองเดียวกันการอัดของเหลวอย่างเดียว
(ไม่มีแก๊สในระบบ)
เราก็สามารถอัดให้มันมีความดันสูงเท่าใดก็ได้
ด้วยเหตุนี้อุปกรณ์ไฮดรอลิกต่าง
ๆ ที่ใช้ของเหลวเป็นตัวส่งผ่านกำลัง
จึงมักต้องระวังไม่ให้มีอากาศตกค้างอยู่ในระบบ
เพราะไม่เช่นนั้นความดันที่อัดเข้าไปแทนที่จะเพิ่มให้กับของเหลว
จะสูญเสียไปกับการอัดฟองอากาศให้มีปริมาตรเล็กลง
แต่ถ้ามันมีการเปลี่ยนเฟสเป็นของเหลว
ความดันมันจะหยุดตรงที่ความดันไอของเฟสของเหลว
ณ อุณหภูมิที่ทำการอัด
(ที่อุณหภูมิห้องระดับเดียวกัน
แก๊สหุงต้มถังเล็กหรือถังใหญ่ก็มีความดันในถังที่ระดับเดียวกัน)
นี่ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไปเราจึง
"ไม่สามารถ"
อัดแก๊สหุงต้ม
(LPG)
จนมีความดันสูงเหมือนแก๊สธรรมชาติ
(CNG)
ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น