แม้ว่าพันธะ
C=C
ของวงแหวนเบนซีน
(benzene)
จะมีความไม่อิ่มตัวอยู่
แต่ด้วยการเกิดเรโซแนนซ์ของ
pi-electron
จึงทำให้พันธะ
C=C
นี้เฉื่อยต่อการทำปฏิกิริยาเมื่อเทียบกับพันธะ
C=C
ทั่วไป
เว้นแต่จะมี electrophile
(สารที่มีประจุบวกหรือมีความเป็นขั้วบวก)
ที่แรงพอ
จึงจะสามารถสร้างพันธะกับวงแหวนเบนซีนแทนอะตอม
H
เดิมได้
(ตรงนี้แตกต่างจากปฏิกิริยากับพันธะ
C=C
ทั่วไปที่จะเป็นปฏิกิริยาการเติมหรือ
addition)
ปฏิกิริยาแทนที่นี้มีชื่อว่าปฏิกิริยา
electrophilic
aromtic substitution
และหนึ่งในปฏิกิริยานี้ที่ทำได้ง่ายในระดับห้องปฏิบัติการเคมีทั่วไปคือปฏิกิริยา
nitration
ปฏิกิริยา
nitration
ของวงแหวนเบนซีนจะใช้สารละลายผสมระหว่างกรดไนตริก
(HNO3)
เข้มข้นและกรดกำมะถัน
(H2SO4)
เข้มข้น
โดยกรด H2SO4
จะไปทำให้เกิด
nitronium
ion (NO2+) ที่อะตอม
N
ของ
nitronium
ion
นี้มีความเป็นบวกที่แรงมากพอที่จะเข้าไปดึงอิเล็กตรอนของวงแหวนเบนซีนมาสร้างพันธะได้
ปฏิกิริยา
nitration
นี้เป็นปฏิกิริยาคายความร้อนค่อนข้างสูง
และแม้ว่าหมู่ nitro
(-NO2) เป็น
ring
deactivating group (เพราะมันดึงอิเล็กตรอนออกจากวงแหวน)
แต่ถ้าหากปล่อยให้อุณหภูมิการทำปฏิกิริยาสูงเกินไป
(เช่นเกิน
50ºC)
ก็อาจทำให้เกิดการแทนที่ด้วยหมู่
-NO2
ครั้งที่สองที่ตำแหน่ง
meta
ได้
ทำให้เกิดสารประกอบ
1,3-dinitrobenzene
ร่วมได้
ถ้าทำการรีดิวซ์หมู่
-NO2
ของ
nitrobenzene
(โดยไม่ไปยุ่งกับความไม่อิ่มตัวของวงแหวนเบนซีน)
ให้กลายเป็นหมู่
amine
-NH2 ก็จะได้สารประกอบที่มีชื่อว่า
aniline
(รูปที่
๑)
รูปที่
๑ ปฏิกิริยา nitration
เบนซีนด้วยกรด
HNO3
โดยมีกรด
H2SO4
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยจะได้
nitrobenzene
ซึ่งถ้านำ
nitrobenzene
ไปรีดิวซ์หมู่
-NO2
ให้กลายเป็น
-NH2
ก็จะได้
aniline
อะตอม
N
ของหมู่
-NH2
ของ
aniline
มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
(lone
pair electron) อยู่
ซึ่งถ้าเทียบกับ pi-electron
ของวงแหวนเบนซีนแล้ว
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอม
N
จะทำปฏิกิริยากับ
electrophile
ได้ง่ายกว่ามาก
ดังนั้นถ้ามี electrophile
เช่น
CH3I
(methyl iodide) ที่อะตอม
C
มีความเป็นขั้วบวกเข้ามาทำปฏิกิริยา
อะตอม C
ก็จะสามารถสร้างพันธะกับอะตอม
N
และแทนที่อะตอม
H
ทั้ง
2
ตัวของหมู่
-NH2
ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ N,N-dimethyl
aniline (รูปที่
๒ เส้นทางล่าง)
พร้อมกับการเกิด
HI
ที่เลือกใช้สารประกอบ
iodide
คงเป็นเพราะ
I-
เป็น
leaving
group ที่ดีมาก
เพราะมันเป็นเบสที่อ่อนมาก
แต่ในอุตสาหกรรมไม่ค่อยชอบปฏิกิริยาที่ต้องใช้สารประกอบ
organic
halide เท่าไรนัก
เพราะมันทำให้เกิดสารประกอบเฮไลด์ที่กำจัดยาก
การมองหา leaving
group ที่ก่อปัญหาของเสียน้อยกว่าจึงมีความสำคัญ
และ leaving
group ตัวหนึ่งที่ไม่ก่อปัญหาเรื่องการกำจัดก็คือหมู่ไฮดรอกซิล
-OH
(hydroxyl)
ปฏิกิริยา
alkylation
ของ
aniline
กับเมทานอล
(methanol
CH3OH)
เกิดได้ในเฟสแก๊สโดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของแข็งที่มีคุณสมบัติเป็นกรด
Lewis
อย่างอ่อนช่วยเร่งปฏิกิริยา
บทความในรูปที่ ๒
กล่าวไว้ว่าความว่องไวในการทำปฏิกิริยาและผลิตภัณฑ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับ
ชนิดตัวเร่งปฏิกิริยา
สภาวะการทำปฏิกิริยา ฯลฯ
โดย CH3OH
อาจเข้าทำปฏิกิริยาที่อะตอม
N
กลายเป็นสารประกอบ
N,N-Dimethylaniline
(เส้นทาง
N-Alkylation)
พร้อมกับการคายน้ำ
(H2O)
ออกมา
หรือเข้าทำปฏิกิริยาที่วงแหวนเบนซีนในตำแหน่ง
para
ก่อนกลายเป็นสารประกอบ
p-Toluidine
ก่อนที่จะเข้าทำปฏิกิริยาต่อที่อะตอม
N
ต่อไปจนได้สารประกอบ
N,N-Dimethyl-p-toluidine
(เส้นทาง
C-Alkylation)
ดังแสดงในรูปที่
๒
รูปที่
๒ (วาดขึ้นใหม่จากรูปที่แสดงไว้ในบทความเรื่อง
"Synthesis
of N-methylaniline by aniline alkylation with methanol over
Sn-MFI molecular sieve" โดย
P.S.
Niphadkar, P.N. Joshi, H.R. Gurav, S.S. Deshpande และ
V.V.
Bokade ในวารสาร
Catal
Lett (2009) 133:175-184)
กรดไนตรัส
(Nitrous
acid HNO2) เป็นกรดที่ไม่เสถียร
เวลาจะใช้งานก็ต้องเตรียมขึ้นและใช้ในปฏิกิริยาเลย
วิธีการเตรียมก็คือนำเกลือไนไตรท์
(nitrite
NO2) เช่น
NaNO2
มาทำปฏิกิริยากับกรดแก่
(เช่น
H2SO4)
กรดไนตรัสนี้สามารถทำปฏิกิริยากับหมู่
-NH2
กลายเป็นสารประกอบเกลือ
diazonium
salt (azo คือไนโตรเจน
ดังนั้น diazo
ก็คือมีไนโตรเจน
2
อะตอม)
อะตอม
N
ตัวหนึ่งของ
diazo
compound จะมีประจุบวก
ซึ่งถ้ามีวงแหวนเบนซีนที่มีหมู่
ring
activating group ที่แรง
(เช่น
-OH
หรือ
-NH2)
ก็จะเกิดปฏิกิริยาเชื่อมต่อสองโมเลกุลเข้าด้วยกัน
ปฏิกิริยานี้มีชื่อว่า
diazo
coupling reaction ที่มีหมู่
-N=N-
ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างวงแหวนเบนซีน
2
วง
ตัวย่างเช่นปฏิกิริยาการสังเคราะห์
"Methyl
yellow" (หรืออีกชื่อคือ
"Butter
yellow") จาก diazonium
salt ของ
aniline
กับ
N,N-Dimethylaniline
ที่แสดงไว้ในรูปที่
๓
รูปที่
๓ ปฏิกิริยา diazo
coupling ระหว่าง
diazonium
salt ของ
aniline
กับ
N,N-Dimethylaniline
เนื่องด้วยความใหญ่ของวงแหวนเบนซีนของ
diazonium
salt และหมุ่
-N(CH3)2
จึงทำให้การเฃื่อมต่อเกิดที่ตำแหน่ง
para
มากกว่า
ortho
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
"Methyl
yellow" หรือ
"Butter
yellow"
มีคนตั้งคำถามทางอินเทอร์เน็ตว่าทำไมเนยที่ทำจากนมถึงมีสีเหลืองในขณะที่นมมีสีขาว
ก็มีคนให้คำตอบว่าเป็นสีเหลืองของวิตามินเอที่อยู่ในนม
โครงสร้างโมเลกุลของวิตามินเอนั้น
(รูปที่
๔)
ประกอบด้วยพันธะรูปแบ
conjugated
C=C bond ต่อกันยาวจึงทำให้โมเลกุลวิตามินเอดูดกลืนแสงในช่วงสีม่วงได้
(เราก็เลยเห็นมันมีสีเหลืองเพราะเป็นช่วงความยาวคลื่นที่ไม่ถูกดูดกลืน)
นอกจากนี้ด้วยการที่โมเลกุลมีความเป็นขั้วต่ำ
จึงทำให้วิตามินเอละลายในไขมันได้ดีกว่าน้ำ
องค์ประกอบส่วนใหญ่ของน้ำนมคือน้ำ
แต่เมื่อนำไปทำเป็นเนยจะมีสัดส่วนไขมันที่สูงขึ้นมาก
ความเข้มข้นวิตามินเอในเนยจึงสูงกว่าในน้ำนมมาก
สีเหลืองจึงเด่นออกมา
รูปที่
๔ Retinol
รูปแบบโครงสร้างหนึ่งของวิตามินเอ
สีของ
Methyl
yellow เปลี่ยนได้ตามค่า
pH
กล่าวคือจะมีสีแดงเมื่อค่า
pH < 2.9 และมีสีเหลืองเมื่อค่า
pH > 4.0 สีเหลืองของ
Methyl
yellow นี้เคยถูกนำมาใช้แต่งสีของเนยเทียม
(margarine)
เพื่อให้ดูเหมือนเนยที่ได้จากนม
และนี่จึงคงเป็นที่มาของชื่อ
Butter
yellow แต่การศึกษาในช่วงต่อมาพบว่ามันมีความเป็นพิษต่อร่างกาย
จึงถูกเลิกใช้ไป (รูปที่
๕)
รูปที่
๕ บทความเกี่ยวกับการศึกษาผลของ
"Butter
yelllow" ต่อการทำให้เกิดเนื้องอก
(จากวารสาร
The
Journal of Experimental Medicine. 80 (3): 231–246 ปีค.ศ.
๑๙๔๔
หรือดูที่
https://en.wikipedia.org/wiki/Methyl_yellow)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น