มาเลอิกแอนไฮดราย
(meleic
anhtdide)
เป็นสารมัธยันต์ตัวหนึ่งที่มีการผลิตกันมากในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เพื่อใช้ในการสังเคราะห์สารอื่นอีก
เดิมนั้นสารตั้งต้นหลักที่ใช้ในการผลิตคือเบนซีน
(benzene)
แต่เนื่องความเป็นพิษในฐานะที่เป็นสารก่อมะเร็งของเบนซีน
จึงทำให้มีการพัฒนากระบวนการที่ใช้บิวเทน
(butane)
หรือบิวทีน
(butene)
เป็นสารตั้งต้นขึ้นมาใช้งาน
(รูปที่
๑)
และทั้งสองกระบวนการก็ยังคงใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
รูปที่
๑
แผนผังเส้นทางการทำปฏิกิริยาเพื่อผลิตมาเลอิกแอนไฮดรายจากเบนซีนและบิวเทน-บิวทีน
โครงสร้างโมเลกุลของมาเลอิกแอนไฮดรายประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา
๒ หมู่ด้วยกันคือแอนไฮดราย
(-C(O)-O-C(O)-
anhydride) และพันธะไม่อิ่มตัว
C=C
แอนไฮดรายเป็นโครงสร้างที่เกิดจากหมู่
-OH
ของหมู่คาร์บอกซิล
(-COOH
carboxyl) ๒
หมู่หลอมรวมกันโดยมีการคายน้ำออกมา
หมู่แอนไฮดรายนี้มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยามากกว่าหมู่คาร์บอกซิลในหลายปฏิกิริยาด้วยกัน
เช่นในปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์
(esterification)
กับหมู่
-OH
ของแอลกอฮอล์หรือฟีนอล
ที่หมู่คาร์บอกซิลนั้นไม่สามารถทำปฏิกิริยากับหมู่
-OH
ที่เกาะโดยตรงอยู่กับวงแหวนเบนซีนเพื่อเกิดเป็นโครงสร้างเอสเทอร์
แต่หมู่แอนไอดรายนั้นสามารถทำปฏิกิริยาได้
เช่นในการสังเคราะห์เฮโรอีน
(heroin)
จากมอร์ฟีน
(morphine)
นั้น
ต้องมีการเปลี่ยนหมู่ -OH
สองหมู่ของโมเลกุลมอร์ฟีนให้กลายเป็นอะซีเทตเอสเทอร์
แต่เนื่องด้วยหมู่ -OH
หนึ่งหมู่นั้นเกาะอยู่กับโครงสร้างวงแหวนเบนซีนโดยตรง
ทำให้การผลิตเฮโรอีนโดยใช้การทำปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับกรดอะซีติก
(acetic
acid CH3COOH) นั้นไม่สามารถกระทำได้
ต้องใช้อะซีติกแอนไฮดราย
(H3CC(O)-O-C(O)CH3
acetic anhydride) ในการทำปฏิกิริยา
(ก็ถือว่าโชคดีไป
เพราะอะซีติกแอนไฮดรายหายากซื้อได้ยากกว่ากรดอะซีติก
รายละเอียดตรงนี้เคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๗๙ วันศุกร์ที่ ๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง
"Reactions of hydroxyl group")
ส่วนใหญ่ของมาเลอิกแอนไฮดรายที่ผลิตขึ้นถูกนำไปใช้ผลิตเป็นเรซินพอลิเอสเทอร์ไม่อิ่มตัว
(unsaturated
polyester resin) พันธะคู่
-C=C-
ที่เหลืออยู่ในโครงสร้างโมเลกุลของมาเลอิกแอนไฮดรายสามารถทำการเชื่อมโยงแบบขวาง
(cross
link) เพื่อเชื่อมต่อสายโซ่พอลิเมอร์เข้าด้วยกันได้
และถ้ามีการเสริมเส้นใยแก้วเข้าไปด้วยก็จะได้พอลิเมอร์ที่เราเรียกว่า
Fiberglass
Reinforced Plastic หรือ
FRP
นั่นเอง
เรซิ่นเคลือบรูปที่ใช้ในการทำกรอบรูปที่เราเรียกกรอบวิทยาศาสตร์ก็เป็นพวกเรซินพอลิเอสเทอร์ไม่อิ่มตัวเช่นกัน
รูปที่
๒ เส้นทางการเปลี่ยนมาเลอิกแอนไฮดรายไปเป็น
1,2,4-บิวเทนไตรออลไตรไนเทรต
ปฏิกิริยาระหว่างมาเลอิกแอนไฮดรายกับน้ำจะทำให้โครงสร้างแอนไฮดรายแตกออกเป็นหมู่คาร์บอกซิล
๒ หมู่ กลายเป็นกรดมาเลอิก
(maleic)
ที่มีโครงสร้างแบบ
cis
และถ้าทำการเติมน้ำเข้าไปที่ตำแหน่ง
-C=C-
ของกรดมาเลอิกก็จะได้กรดมาลิก
(malic)
กรดมาลิกนี้จะมีอะตอม
C
ที่เป็น
chiral
centre อยู่
๑ อะตอม (ตัวสีแดงในรูปที่
๒)
ดังนั้นโมเลกุลของมันจะเป็น
stereoisomer
รูปที่
๓ ตัวอย่างสิทธิบัตรการผลิตกรดมาลิก
(malic
acid) จากมาเลอิกแอนไฮดราย
วิชาเคมีอินทรีย์บอกให้เราทราบว่าเราสามารถออกซิไดซ์หมู่
-OH
ของแอลกอฮอล์ได้
ถ้าเป็นกรณีของแอลกอฮอล์ปฐมภูมิ
(primary
alcohol หรือที่มีหมู่
-OH
อยู่ที่ปลายโซ่)
มันจะถูกออกซิไดซ์เป็นหมู่อัลดีไฮด์
(-C(O)H)
ที่สามารถถูกออกซิไดซ์ต่อไปได้ง่ายกลายเป็นหมู่คาร์บอกซิล
(-COOH)
แต่ถ้าเป็นกรณีของแอลกอฮอล์ทุติยภูมิ
(secondary
alcohol) มันจะถูกออกซิไดซ์ต่อไปเป็นสารประกอบคีโตน
(-C(O)-)
ซึ่งทนต่อการถูกออกซิไดซ์มากกว่าอัลดีไฮด์
แต่ถ้าออกซิไดซ์หมู่คีโตนด้วยสารออกซิไดซ์ที่แรงพอ
จะทำให้โมเลกุลแตกออกตรงตำแหน่งนี้
กลายเป็นหมู่คาร์บอกซิลสองหมู่
รูปที่
๔ ตัวอย่างสิทธิบัตรการผลิต
1,2,4-บิวเทนไตรออล
จะเห็นว่าใช้อุณหภูมิและความดันที่สูงในการรีดิวซ์หมู่คาร์บอกซิล
การออกซิไดซ์หมู่
-OH
ให้กลายเป็นหมู่
-COOH
นั้นทำได้ง่าย
(อันนี้เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน)
แต่การรีดิวซ์หมู่
-COOH
กลับเป็นหมู่อัลดีไฮด์หรือหมู่
-OH
นั้นทำได้ยากกว่ามาก
(อันนี้เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน)
อันที่จริงแม้ว่าอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอกซิลจะมีความเป็นบวก
แต่ด้วยการที่มันเกิด
resonance
ได้
จึงทำให้มันมีเสภียรภาพค่อนข้างสูง
ดังนั้นถ้าไม่ใช้สภาวะการทำปฏิกิริยาที่รุนแรงพอ
หรือใช้ตัวรีดิวซ์ที่แรงมากพอ
ปฏิกิริยาก็ยากที่จะเกิด
รูปที่
๕
ตัวอย่างสิทธิบัตรการผลิตไนเทรตเอสเทอร์ของสารประกอบอะลิฟาติกพอลิออล
(พวกที่มีหมู่
-OH
หลายหมู่อยู่ในโครงสร้างโมเลกุล)
ถ้าเราเปลี่ยนหมู่
-OH
ของหมู่คารบอกซิลให้กลายเป็นหมู่อื่น
ก็จะทำให้ความว่องไวในการทำปฏิกิริยานั้นเปลี่ยนไปด้วย
เช่นถ้าเปลี่ยนจาก -OH
เป็นเฮไลด์เช่น
-Cl
ก็จะได้สารประกอบที่เรียกว่า
acid
halide ที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูงขึ้น
(ผลการดึงอิเล็กตรอนของอะตอมเฮไลด์ออกจากอะตอม
C
สูงกว่าการที่อะตอม
C
ดึงคู่อิเล็กตรอนของอะตอมเฮไลด์กลับ)
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นหมู่เอสเทอร์
-OR
ก็จะได้ความว่องไวในการทำปฏิกิริยาประมาณเดิม
บางครั้ง
การเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลจากหมู่คาร์บอกซิลให้กลายเป็นหมู่เอสเทอร์นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น
อย่างเช่นกรณีของกรดฟาทาลิก
(phthalic
acid) ที่ใช้ในการผลิตพอลิเอทิลีนเทอฟาทาเลต
ที่ต้องการกรดที่มีความบริสุทธิ์สูง
แต่เดิมนั้นในช่วงที่ยังไม่สามารถผลิตกรดฟาทาลิกที่มีความบริสุทธิ์สูงเพียงพอได้
ก็จะใช้วิธีการเปลี่ยนกรดฟาทาลิกให้กลายเป็นเมทิลเอสเทอร์เสียก่อน
(ที่สามารถทำให้มีความบริสุทธิ์สูงได้)
แล้วจึงค่อยเอาเมทิลเอสเทอร์นั้นมาทำปฏิกิริยา
แต่ในกรณีของการรีดิวซ์กรดมาลิกให้กลายเป็น
1,2,4-บิวเทนไตรออล
(1,2,4-butanetriol)
นี้ผมเองก็ยังไม่แน่ใจในเหตุผลของเขา
จากการลองค้นสิทธิบัตรดูพบว่าเขาไม่ทำการรีดิวซ์กรดมาลิกโดยตรง
แต่จะทำการรีดิวซ์เอสเทอร์ของกรดมาลิกแทน
จะว่าหมู่เอสเทอร์นั้นมีความว่องไวสูงกว่าหมู่คาร์บอกซิลก็ไม่น่าจะใช้
หรือว่ามันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการผลิตกรดมาลิกที่มีความบริสุทธิ์
(ตรงนี้ผมยังหาหลักฐานรองรับไม่ได้)
ที่พอจะเดาได้น่าจะเป็นเพราะต้องการลดการกัดกร่อนของกรดมาลิก
(ที่เป็นกรดที่แรงกว่ากรดอะซีติกอีก)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำปฏิกิริยาการรีดิวซ์ที่อุณหภูมิและความดันสูง
(สิทธิบัตรที่ยกตัวอย่างมาให้ดูในรูปที่
๔ ใช้ความดันไฮโดรเจนในช่วง
100-300
bar ที่อุณหภูมิ
130-190ºC
แถมยังต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยอีก)
ถ้าเราเอา
1,2,4-บิวเทนไตรออลไปทำปฏิกิริยา
esterification
กับกรดไนตริก
(HNO3)
เราสามารถแทนที่อะตอม
H
ของหมู่
-OH
ทั้งสามหมู่ด้วยหมู่
-NO2
ได้สารประกอบที่มีชื่อว่า
1,2,4-บิวเทนไตรออลไตรไนเทรต
(1,2,4-butanetriol
trinitrate หรือย่อว่า
BTTN)
ที่เป็นของเหลวที่เป็นวัตถุระเบิดตัวหนึ่ง
ทำนองเดียวกับไนโตรกลีเซอรีน
แล้วสารตัวนี้ใช้ทำอะไรหรือครับ
ข้อมูลจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/1,2,4-Butanetriol_trinitrate
กล่าวไว้ว่าใช้เป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนจรวดชนิด
single-state
(จรวดขั้นตอนเดียว
เช่นจรวดยิงจากพื้นสู่อากาศ
อากาศสู่พื้น อากาศสู่อากาศ)
แต่คงไม่ได้ใช้ในรูปของสารบริสุทธิ์เนื่องด้วยมันเป็นของเหลว
คงมีการนำไปผสมกับสารอื่นอีกเพื่อขึ้นรูปเป็นเชื้อเพลิงแข็งที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
รูปที่
๖ บางส่วนของข้อความจากสิทธิบัตร
US
4,689,097 เรื่อง
Co-oxidizers
in solid crosslinked bouble base propellants
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น