"ผมไม่มีอะไรจะถาม
เพราะไม่คิดว่าปฏิกิริยาที่คุณทำ
simulation
นั้นมันเกิดขึ้นจริง"
เหตุเกิดตอนช่วงเที่ยงวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
Thermal
cracking หรือบางทีก็เรียกว่า
Thermal
decomposition
นั้นเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ความร้อนในการทำให้โมเลกุลสารตั้งต้นสลายตัว
ในกรณีของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนนั้นการสลายตัวนี้อาจเป็นเพียงแค่ต้องการให้บางอะตอมของโมเลกุลเดิมหลุดออก
(เช่นในการผลิต
C2H4
จาก
C2H6
หรือ
C3H6
จาก
C3H8)
หรือทำให้โมเลกุลสารตั้งต้นเดิมแตกออกเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง
(เช่นในการผลิตโอเลฟินส์จากแนฟทา
หรือการผลิตน้ำมันเบนซินจากน้ำมันหนัก
หรือในการลดความหนืดของน้ำมันด้วยกระบวนการที่เรียกว่า
visbreaking)
ปฏิกิริยา
thremal
cracking
นี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องอาศัยตัวเร่งปฏิกิริยาหรือโมเลกุลอื่นเข้ามาช่วย
ดังนั้นในการศึกษาปฏิกิริยาเคมีใด
ๆ
ที่อุณหภูมิสูงโดยเฉพาะการทำปฏิกิริยาด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
(ไม่ว่าจะเป็นการทำการทดลองจริงหรือทำ
simulation)
จึงควรต้องคำนึงด้วยว่าสารตั้งต้นแต่ละตัวที่ศึกษานั้นยังคงรักษาสภาพโมเลกุลเดิมของมันได้หรือไม่
ณ อุณหภูมิที่ทำปฏิกิริยา
และต้องแยกออกให้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ส่วนไหนเกิดจากปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
(heterogeneous
reaction) และส่วนไหนเกิดจากปฏิกิริยาเอกพันธ์
(homogeneous
reaction)
ตัวอย่างที่กลุ่มเราประสบอยู่คือปฏิกิริยาการกำจัด
NO
ด้วย
NH3
ที่อุณหภูมิสูงมากพอ
(ประมาณ
350ºC
ขึ้นไป)
NH3 สามารถเกิดปฏิกิริยากับ
O2
ในแก๊สเกิดเป็น
NOx
ได้ทั้งในรูปแบบปฏิกิริยาเอกพันธ์และปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
ดังนั้นการทดลองจึงต้องทำการทดสอบทั้งสภาพที่
"ไม่มี"
ตัวเร่งปฏิกิริยาและ
"มี"
ตัวเร่งปฏิกิริยา
ตัวอย่างหนึ่งที่เคยประสบคือเมื่อปีที่แล้วมีคนมาถามความเห็นเรื่องปฏิกิริยา
steam
reforming ของเอทานอล
ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา
เพื่อผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพื่อใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง
บทความที่เขานำมาถามความเห็นนั้นเป็นบทความที่ใช้แต่ผล
simulation
เท่านั้น
โดยเป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิ
โดยในบทความนั้นศึกษาผลกระทบที่เกิดในช่วงอุณหภูมิที่สูงตั้งแต่
700ºC
ขึ้นไป
บทความที่เขานำมาถามความเห็นผมนั้นเป็นบทความที่มีการ
review
ผลงานต่าง
ๆ ก่อนหน้า แต่ก็เป็นการ
review
เฉพาะในส่วนงาน
"simulation"
เท่านั้น
ไม่ได้มีการ review
งานในส่วนที่เป็น
"การทดลองจริง"
เลย
ผมก็ให้ความเห็นเขากลับไปว่าถ้าเขาไปลอง
review
งานวิจัยที่
"ทำการทดลองจริง"
จะเห็นว่าก่อนหน้าบทความที่เขาเอามาถามความเห็นผมนั้น
(อย่างน้อยก็
๑๐ ปีขึ้นไป)
จะมีผลการทดลองที่แสดงให้เห็นว่าเอทานอลนั้นเกิดปฏิกิริยา
thermal
cracking แตกตัวเป็นโมเลกุลอื่นไปจนหมดได้ที่อุณภูมิ
650ºC
ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิที่ทำ
simulation
เสียอีก
และก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมงานวิจัยเกี่ยวกับ
steam
reforming
ของเอทานอลที่มีการทำการทดลองจริงนั้นจึงทำการทดลองที่อุณหภูมิไม่เกิน
650ºC
หรือแม้แต่บทความบางฉบับที่รายงานผลการทดลองที่ผู้วิจัยอ้างว่าทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูงนั้น
ก็ต้องนำกลับไปพิจารณาด้วยว่าในภาวะที่เขาทำปฏิกิริยานั้น
สารตั้งต้นที่ไปถึงเบดตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อทำปฏิกิริยา
steam
reforming นั้นคือเอทานอล
หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสลายตัวของเอทานอล
ซึ่งตรงนี้ก็เป็นข้อมูลที่เขาสามารถนำไปพิจารณาได้ว่าผลการทำ
simulation
ในบทความที่เขานำมาขอความเห็นจากผมนั้นมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน
รูปที่
๑ Thermal
cracking ของ
ethane
(C2H6) ที่อุณหภูมิด้านขาออกของ
tube
ต่าง
ๆ กัน จะเห็นว่าปฏิกิริยาจะเริ่มเกิดที่อุณหภูมิประมาณ
650ºC
พร้อม
ๆ กันการเริ่มเกิด CH4
ซึ่งปริมาณ
CH4
จะเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ เมื่ออุณหภูมิการทำปฏิกิริยาเพิ่มสูงขึ้นแม้จะขึ้นไปถึง
900ºC
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่อุณหภูมิระดับนี้
900ºC
มีเทนยังมีเสถียรภาพ
และไม่ได้เกิดการสลายตัวไปเป็น
carbon
และ
H2
ในขณะเดียวกัน
ethane
(ซึ่งสลายตัวได้ง่ายกว่า
CH4)
ก็ยังคงเหลืออยู่กว่า
30%
(กราฟรูปนี้เป็นข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบโรงงานผลิตเอทิลีนจากอีเทนของบริษัทหนึ่ง)
ปฏิกิริยาที่เกริ่นเอาไว้ตอนต้นเรื่องนั้นคือปฏิกิริยาการสลายตัวของมีเทน
(CH4)
ไปเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจน
CH4(g)
→ H2(g) +
C(s)
ซึ่งผู้นำเสนอนั้นนำเสนอผลการทำ
simulation
ในช่วงอุณหภูมิประมาณ
500-1500ºC
โดยอาศัยการใช้ค่า
Gibb's
free energy คำนวณการเกิดผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง
ๆ ที่ภาวะสมดุล
ผมมีประเด็นที่สำคัญ
๓ ประเด็นที่ทำให้ผมตั้งข้อสงสัยในเรื่องผลการทำ
simulation
ของเขาดังนี้
ประเด็นที่
๑ ในบรรดาพันธะ C-H
ด้วยกันแล้ว
พันธะ C-H
ของมีเทนมีความแข็งแรงมากที่สุด
รองลงไปคือพันธะ C-H
ของหมู่เมทิล
-CH3
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในกระบวนการ
thermal
cracking เพื่อเปลี่ยนอีเทน
H3C-CH3
กลายเป็นเอทิลีน
H2C=CH2
ด้วยการดึงอะตอม
H
2 อะตอมออกจากหมู่เมทิลของโมเลกุลอีเทนนั้น
ยังต้องใช้อุณหภูมิในระดับที่สูงกว่า
800ºC
ขึ้นไป
(ดูรูปที่
๑)
เท่าที่ทราบนั้นตัวโรงงานดังกล่าวเองเมื่อเริ่มเดินเครื่องเมื่อประมาณ
๒๐ ปีที่ อุณหภูมิการทำงานของ
cracker
(เตาเผาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา
thermal
cracking) อยู่ที่
800ºC-850ºC
แต่ในปัจจุบันได้ไต่ไปอยู่ที่ระดับประมาณ
1000ºC
ซึ่ง
ณ อุณหภูมิดังกล่าวก็ยังมีการเกิดมีเทนอยู่
(แสดงว่ามีเทนไม่ได้เกิดการสลายตัว
ณ อุณหภูมิการทำปฏิกิริยา)
ดังนั้นผมจึงเห็นว่าผล
simulation
ในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า
1000ºC
ที่บอกว่าปฏิกิริยาเกิดได้นั้น
ถ้าเป็นปฏิกิริยาเอกพันธ์ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้
แต่ถ้าเป็นปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ก็เชื่อได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาจะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่า
Gibb's
free energy "ไม่ได้"
บอกว่าปฏิกิริยาจะเกิดได้
แต่บอกว่า "ถ้าเกิดได้"
จะไปได้ไกลเท่าใด
ตัวที่บอกว่าปฏิกิริยาจะเกิดได้หรือไม่คือ
"พลังงานกระตุ้น
-
Activation energy"
ประเด็นที่
๒ กระบวนการหลักในการผลิตอะเซทิลีน
(acetylene
C2H2) ในปัจจุบันนั้นใช้ปฏิกิริยา
partial
oxidation ของมีเทนเป็นหลัก
อุณหภูมิการทำปฏิกิริยาจะอยู่ในช่วงประมาณ
1200-1800ºC
ในปฏิกิริยาดังกล่าวจะมีการจำกัดปริมาณ
O2
ให้ต่ำเพียงเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้กับมีเทนส่วนหนึ่งเพื่อทำให้เกิดพลังงานความร้อนสำหรับใช้ในปฏิกิริยาการแตกตัวของมีเทน
โดยพลังงานความร้อนที่ได้นั้นจะไปทำให้มีเทนที่เหลืออยู่เกิดการสลายตัวกลายเป็นอนุมูลอิสระ
C1
ก่อนที่อนุมูลอิสระ
C1
สองตัวจะมาจับคู่กันกลายเป็นอะเซทิลีน
(บางส่วนจะกลายเป็นไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่ขึ้น)
ซึ่งการเกิดอะเซทิลีนเองก็เกิดได้ดีขึ้นที่อุณหภูมิสูง
ข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้เห็นว่าปฏิกิริยาที่เขาเขียนนั้นว่าเป็นการเปลี่ยนโดยตรงจากมีเทนไปเป็นไฮโดรเจนและคาร์บอนนั้นเป็นการเขียนปฏิกิริยาที่รวบรัด
ในความเป็นจริงนั้นจะมีการเกิดอะเซทิลีน
(หรือไฮโดรคาร์บอนหนักตัวอื่น)
ขึ้นด้วย
ประเด็นที่
๓
ปฏิกิริยาย้อนกลับระหว่างคาร์บอนและแก๊สไฮโดรเจนกลับไปเป็นมีเทนโดยตรงนั้นไม่ใช่ปฏิกิริยาที่จะเกิดได้ง่าย
ปฏิกิริยาหนึ่งที่พอจะเทียบเคียงได้คือปฏิกิริยา
coal
liquefaction ซึ่งเป็นการเติมไฮโดรเจนกลับไปที่โครงสร้างโมเลกุลถ่านหิน
โมเลกุลถ่านหินประกอบด้วยวงอะโรมาติกเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่
(ยังไม่ถึงขั้นโครงสร้างแกรไฟต์)
การเติมไฮโดรเจนให้กับโมเลกุลถ่านหินเพื่อให้แตกออกเป็นไฮโดรคาร์บอนเหลวยังต้องพึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาและความดันไฮโดรเจนที่สูง
(ช่วง
150-700
bar ขึ้นอยู่กับกระบวนการ)
การลดการสะสมของ
coke
บนตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยการเติม
promoter
บางชนิด
เช่นการเติมโลหะ Re
ที่เติมเข้าไปในตัวเร่งปฏิกิริยา
Pt/Al2O3
ที่ใช้ในปฏิกิริยา
reforming
และเพิ่มความดันไฮโดรเจนในระบบ
ซึ่งทำให้เกิดมีเทนมากขึ้นนั้น
เป็นการทำลาย precursor
ที่ทำให้เกิดเป็นโครงสร้าง
poly
aromatic ring ไม่ใช่การทำลายโครงสร้าง
poly
aromatic ring หรือโครงสร้างแกรไฟต์
(หรือพวก
carbon
nanotube ต่าง
ๆ)
ที่เกิดขึ้นแล้ว
ผมคงฝากประเด็นปัญหาไว้ให้เขาแค่นี้
เพื่อให้เขาได้เตรียมพร้อมรับมือสำหรับการสอบวิทยานิพนธ์ของเขา
(ซึ่งผมเองไม่ได้เป็นกรรมการสอบ)
และหวังว่าผู้ที่เป็นกรรมการสอบของเขาคงจะไม่เห็นบทความฉบับนี้ก่อนการสอบ
หมายเหตุ
๑.
เรื่องความแข็งแรงของพันธะ
C-H
ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นเคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๖๑ วันพุธที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๕๒ เรื่อง
"การเกิดปฏิกิริยาเคมี"
๒.
เรื่องของค่าคงที่สมดุลเคมีกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นเคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๔๐ วันศุกร์ที่
๗ มกราคม ๒๕๕๔ เรื่อง "อุณหภูมิ
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
สมดุลเคมี"
๓.
ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสลายตัวของเอทานอล
-
A. Therdthianwong*, T. Sakulkoakiet and S. Therdthianwong, "Hydrogen
Production by Catalytic Ethanol Steam Reforming", ScienceAsia
27 (2001) : 193-198.
-
Fabien Aupr^eetre, Claude Descorme* , Daniel Duprez, "Bio-ethanol
catalytic steam reforming over supported metal catalysts",
Catalysis Communications 3 (2002) 263–267.
-
Yu Yang, Jianxin Ma, Fei Wu, "Production of hydrogen by steam
reforming of ethanol over a Ni/ZnO catalyst" International
Journal of Hydrogen Energy 31 (2006) 877 – 882.
๔.
ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
acetylene
(C2H2) จากการสลายตัวของมีเทน
-
H. H. Storch and P. L. Golden, "Synthesis of Acetylene by
Pyrolysis of Methane", Industrial and Engineering Chemistry, p
768-771, July 1933.
๕.
ตัวอย่างกระบวนการผลิต
acetylene
(C2H2) จากมีเทน
อ่านได้จากสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา
-
เลขที่
3,242,224
ลงวันที่
๒๒ มีนาคม ปีค.ศ.
๑๙๖๖
-
เลขที่
5,789,644
ลงวันที่
๔ สิงหาคม ปีค.ศ.
๑๙๙๘
-
เลขที่
5,824,834
ลงวันที่
๒๐ ตุลาคม ปีค.ศ.
๑๙๙๘
-
เลขที่
8,173,853
B2 ลงวันที่
๘ พฤษภาคม ปีค.ศ.
๒๐๑๒