"นักการพนันที่อยากรวยจึงไปคิดขอหวยจากนางไม้
คือไปปลูกกระท่อมให้ไกลบ้านผู้คน
แล้วไปทำพิธีขอหน่อกล้วยตานีแบบวิวาห์กับผีนางตานี
ก็ไปพูดเองเออเองกับต้นตานีป่า
ซึ่งกรุงเทพ ฯ
สมัยโน้นตึกรามบ้านช่องยังไม่เยอะ
ต้นตานีป่าขึ้นเป็นดง ๆ
ทีเดียว
เขาก็ไปขุดหน่อกล้วยตานีที่กำลังรุ่นสาวมาปลูกในรั้วกระท่อมของตนทำเหมือนว่าได้เจ้าสาวมาแล้ว
ตอนเย็น ๆ ค่ำ ๆ
ปลอดผู้คนก็ไปแสดงอาการกอดรัดหน่อกล้วยนั้น
เวลากินอาหารก็เรียกกินด้วย"
พอเห็นหนังสือขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
"ผี"
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่คงคิดว่าเรื่องในหนังสือดังกล่าวต้องเป็นเรื่องราวน่ากลัว
สยดสยอง เต็มไปด้วยการหลอกหลอน
ต่าง ๆ ทำให้ไม่คิดที่จะหยิบมันมาอ่าน
แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นไปทั้งหมด
เท่าที่เห็นนั้น
หนังสือผีที่เขียนโดยนักเขียนรุ่นหลังหรือรุ่นปัจจุบันมักจะออกมาในรูปแบบที่กล่าวมาในย่อหน้าข้างต้น
โดยฉากที่ใช้ในการประกอบเรื่องราวต่าง
ๆ นั้นมักจะเป็นสถานที่สมมุติ
หรือถ้าเป็นการอ้างอิงสถานที่จริง
ก็มักจะบอกเพียงแค่ว่าชื่อสถานที่ดังกล่าวเป็นอะไรเท่านั้นเอง
และก็มักจะเปิดฉากเรื่องราวชนิดที่พยามทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความน่ากลัวตั้งแต่ต้นเรื่อง
แต่หนังสือผีที่เขียนโดยศิลปินอาวุโสหรือท่านผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ผมพบว่าแตกต่างกันออกไป
หนังสือของท่านเหล่านั้นผมเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
เพราะท่านเหล่านั้นได้บันทึกเหตุการณ์บ้านเมือง
สภาพของชุมชนต่าง ๆ
เส้นทางการเดินทางและวิธีการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง
ๆ รวมทั้งการใช้ชีวิตของคนในยุคนั้นที่ท่านเหล่านั้นประสบมา
ด้วยคำบรรยายที่อาจกล่าวได้อย่างไม่เกินความจริงว่า
"มองเห็นภาพได้ชัดเจน"
ก่อนที่จะหักเข้าสู่เรื่องราวเกี่ยวกับผีที่ตั้งใจเขียน
หนังสือเรื่องเกี่ยวกับผีของผู้เขียนท่านแรก
(เกิด
พ.ศ.
๒๔๔๖
-
ถึงแก่กรรม
พ.ศ.
๒๕๑๒
หรือช่วงปลายรัชการที่ ๕
จนถึงต้นรัชการที่ ๙)
ที่อยากจะแนะนำให้มีเก็บเอาไว้ให้ครบชุดก็คือของ
"เหม
เวชกร"
หนังสือเรื่องผีของ
"เหม
เวชกร"
นี้ผมมีเก็บเอาไว้สองชุด
(แต่ละชุดแยกออกเป็นประมาณ
๕ เล่ม)
และเป็นหนึ่งในหนังสือที่ผมหยิบเอามาอ่านมากที่สุด
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็ยังมีการนำเอาเรื่องผีของ
"เหม
เวชกร"
มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์จบเป็นตอน
ๆ แม้แต่หนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ/มหาสนุก
(จำไม่ได้ว่าเล่มไหน)
ก็ยังเอาเรื่องไปเขียนเป็นการ์ตูน
แต่ถ้าอยากจะได้อรรถรสที่แท้จริงแล้ว
ผมว่าไปหามาอ่านจะดีที่สุด
ซึ่งตอนนี้ก็ตั้งใจว่าจะนำเรื่องเกี่ยวกับเส้นทาง
"รถไฟ"
ที่ปรากฏในเรื่องผีของ
"เหม
เวชกร"
ถึง
๓ เส้นทางมาเล่าให้ฟัง
เส้นทางรถไฟเหล่านี้ในปัจจุบันไม่มีอีกแล้ว
และคนที่เคยเห็นก็ลดน้อยลงไปหรือลืมที่จะกล่าวถึง
ก็เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟัง
แต่ตอนนี้ต้องขอรวบรวมข้อมูลก่อน
คาดว่าในเดือนหน้าคงจะมีให้อ่าน
สิ่งหนึ่งที่ผมเสียดายที่ไม่มีปรากฏในหนังสือรวมเล่มก็คือ
ไม่มีการบันทึกเอาไว้ว่าเรื่องที่นำมารวมเล่มนั้นปรากฏเป็นครั้งแรกที่ไหน
เมื่อใด
เพราะเรื่องเหล่านี้ผู้เขียนมักจะไม่ระบุช่วงเวลาที่นำสภาพบ้านเมืองมาใช้เป็นฉากในตัวเรื่อง
ดังนั้นปีที่เรื่องนี้ปรากฏจะทำให้ผู้อ่านทราบได้ว่าสิ่งที่กำลังอ่านอยู่นั้นเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนปีพ.ศ.
ใด
สุดสัปดาห์ที่แล้วไปเดินตลาดนัดสนามหลวง
๒ เห็นร้านหนึ่งขายหน่อกล้วยตานี
คนขายติดป้ายไว้ที่หน่อกล้วยว่าให้เซ่นไหว้ด้วยไก่
ถ้าเชือดสด ๆ จะทำให้เฮี้ยนมากขึ้น
(ผมเพิ่งจะเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้ก็วันนั้นแหละ)
ว่าจะถ่ายรูปป้ายมาให้ดูแล้ว
แต่เห็นคนขายนั่งคุมเชิงหน้าดุ
ๆ อยู่ ก็เลยต้องขอเดินผ่านไปก่อน
กล้วยตานีนั้นทราบแต่ว่าเขาไม่กินกัน
แต่ใช้ใบกล้วยในการห่ออาหารหรือทำงานประดิษฐ์ต่าง
ๆ เพราะใบเหนียวกว่าใบกล้วยชนิดอื่น
อีกอย่างที่รู้ก็คือมักจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ
"นางตานี"
แต่เรื่องดังกล่าวมักจะเป็นไปในทางดุร้าย
ราชบัณฑิตสถานก็เคยเอาเรื่องนางตามีมาออกอากาศรายการวิทยุ
(รูปที่
๑)
รูปที่
๑ เรื่อง "นางตานี"
จาก
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4107
แต่ที่จะเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเรื่องที่เล่าเอาไว้หนังสือ
"ผีกระสือที่บางกระสอ"
เขียนโดยศิลปินแห่งชาติ
"สง่า
อารัมภีร"
(เกิด
พ.ศ.
๒๔๖๔
-
ถึงแก่กรรม
พ.ศ.
๒๕๔๒)
เป็นฉบับรวมเล่มพิมพ์ครั้งที่
๓ โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า
ปีพ.ศ.
๒๕๓๗
เนื้อหาดังกล่าวอยู่ในเรื่อง
"ผีนางไม้บอกหวย"
(หน้า
๒๐๐-๒๐๔)
ซึ่งผมได้นำเอาย่อหน้าหนึ่งในเรื่องนั้นมาใช้เป็นย่อหน้าขึ้นต้นของ
Memoir
ฉบับนี้
รูปที่
๒ หนังสือ "ผีกระสือที่บางกระสอ"
เขียนโดย
สง่า อารัมภีร
ในการเรียกนางตานีนั้น
สง่า อารัมภีร เล่าต่อมาดังนี้
""มามะน้องจ๋า
มากินข้าวกับพี่เถอะ
วันนี้พี่แกงป่าเนื้อ ข้าวร้อน
ๆ ด้วยซี มาเถอะ พี่จะคดข้าวให้"
พูดนำนองนี้เวลานอนจะเข้ามุ้งก็เรียกให้เข้านอนด้วย
เวลาล่วงไปประมาณ ๓ วันถึง
๗ วัน ไม่เกินกว่านี้
ก็จะปรากฏร่างสตรีสาวสวยมานอนร่วมด้วย
เวลาปรากฏตัวเขาเล่าว่า
นางลอยเข้ามาทางช่องจั่วหน้าบ้าน
แรก ๆ
นางก็ไม่พูดไม่จาก้มหน้าก้มตาแคะกระดานเอียงอายไปตามประสาสาวรุ่น
เมื่อถูกไอ้หนุ่มโอ้โลมปฏิโลมจั๊กจี้เข้า
นางก็หัวเราะคิก ๆ คัก ๆ
เมื่อสมสวาทกันแล้ว พอใจกันแล้ว
นางก็จะพูดด้วยเหมือนคนธรรมดา
พอรุ่งเช้านางก็จะหายไป
จะกลับทางจั่วหรือลงกะได
ชาวบ้านเขาไม่ได้เล่าไว้
แต่เป็นว่าฝ่ายชายจะแพ้แรงมาก
เพราะนางดื่มสวาทรุนแรงไม่เหมือนหญิงธรรมดา
นอนกับนางทีไรเป็นต้องนอนตื่นตะวันสายทุกทีซิน่า
นั่นแสดงว่าถ้าไม่มั่นใจในความแข็งแรงของร่างกาย
ก็ไม่ควรเสี่ยง
เพราะโอกาสตายคาอกน่าจะค่อนข้างสูง
"ทีนี้เมื่อคุ้นเคยกันแล้ว
ชายก็จะชวนคุย ลองถามเรื่องหวย
หรือจะถามเป็นเชิงให้นางแนะนำดังนี้
"นี่แน่ะน้องจ๋า
พรุ่งนี้พี่จะไปเล่นหวยเล่นโปดี
เล่นแล้วจะมีช่องทางร่ำรวยไหม"
นางก็จะตอบให้ทราบ
แนะนำให้ทราบ เพราะขึ้นชื่อว่าสตรีแล้ว
ไอ้ที่จะไม่รักผัวของตัวนั้นหายากจริง
ๆ""
ที่เอาเรื่องนี้มาเล่าในวันนี้
เพราะถ้าเรียกมาได้ใน ๓ วัน
ก็น่าจะทันออกหวยงวดสิ้นเดือนนี้
(ถ้าได้มาแล้วก็อย่าลืมเอาไปทำบุญด้วย)
แต่ก็ไม่ใช่ว่าหนุ่มใดก็ได้จะทำพิธีนี้ได้นะ
เพราะ สง่า อารัมภีร
เล่าต่อเอาไว้ว่า
"คนจะทำพิธีนี้ได้ต้องเป็นคนหนุ่มโสด
หากมีลูกเมียแล้วจะไม่ปรากฏผลตามนี้เลย
เวลาไปไหนมาไหนกลางวันก็ห้ามไปเกาะแกะเกี้ยวพาราสีกับสาวอื่น
ๆ ขืนไปทำเจ้าชู้เวลากลางคืนอาจเจ็บตัว
อาจจะถูกตบหน้าหรือถูกหยิกเอาด้วยมือน้อย
ๆ ก็ได้ เพราะนางตานีมีหูทิพย์ตาทิพย์
นางจะอยู่ร่วมกับผัวของนางจนกล้วยตานีตกเครือแล้วก็ตาย
เมื่อกล้วยตายแล้ว นางจะหายไป
ก่อนจากไปนางจะให้ผ้าสไบสีตองอ่อนที่นางคาดอกไว้เป็นที่ระลึก
ผู้ที่ได้ผ้าคาดอกนี้จะไปไหนมาไหนให้เอาติดตัวไปด้วย
เมื่อเอาผ้าสีตองนั้นโพกหัว
ศัตรูที่ดักตีกบาลหรือดักทำอะไรก็ตามทีจะแลไม่เห็นตัวผู้โพกผ้า
ผ้านี้ใช้ได้ตลอดชีวิตทีเดียว"
ไม่เพียงแต่กล้วยตานีเท่านั้น
ยังมีต้นไม้อื่นที่ทำพิธีเช่นนี้ได้ด้วย
ซึ่ง สง่า อารัมภีร
ก็ได้เล่าต่อในเรื่องดังกล่าวว่า
"ต้นไม้ที่จะทำพิธีเช่นนี้มีอีก
๒ ชนิด คือต้นทับทิมและต้นตะเคียน
นางทับทิมนั่นห่มผ้าคาดอกสีทับทิม
นางตะเคียนห่มผ้าสีตะเคียน
ท่านผู้ใหญ่ที่เห็นเรื่องนี้ในสมัยโน้นเล่าว่า
ทั้งนางตานี นางทับทิม
และนางตะเคียนนี้
นางทับทิมสวยกว่าเพื่อน
และใจดีที่สุด ส่วนนางตะเคียนนั้นค่อนข้างดุ
คือสวยก็สวยดุ ๆ ให้ร่วมสวาทอย่างดุ
ๆ ไม่หวานระรื่นชื่นใจเหมือนนางตานี
และซึ้งตรึงใจเหมือนนางทับทิม
..."
หนุ่มไหนชอบรสสวาทแบบไหนก็เลือกกันเอาเองก็แล้วกัน
ที่น่าเสียดายคือไม่ยักบอกรายละเอียดเอาไว้ให้ด้วยว่าถ้าจะเชิญนางตะเคียนหรือนางทับทิมต้องทำอย่างไร
แถมต้นไม้ทั้งสองต้นนี้ก็เป็นไม้ยืนต้นมีอายุยืนนาน
ถ้าต้องรอให้ต้นตะเคียนหรือต้นทับทิมเฉาตายเสียก่อนนางทั้งสองจึงจะจากไป
มีหวังหนุ่มนั้นคงไม่ต้องไปหาภรรยาเป็นผู้เป็นคนอีกแล้ว
เรื่องนางตะเคียนทางราชบัณฑิตยสถานก็เคยนำมาเป็นบทออกอากาศทางวิทยุเช่นเดียวกัน
(รูปที่
๓)
ส่วนนางทับทิมนั้นลองค้นดูแล้วไม่พบว่ามีการกล่าวถึงที่ไหนอีก
รูปที่
๓ เรื่อง "นางตะเคียน"
จาก
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4106
ในปัจจุบันมีต้นไม้ใหม่
ๆ ที่เริ่มมีผีมายึดเป็นที่ประจำ
ผีพวกนี้มักจะปรากฏตัวในสถานที่บางแห่งในเวลากลางคืน
เช่นโคนต้นขนุน (ที่เรียกกันว่าผีขนุน)
โคนต้นมะขาม
ที่อยู่ริมถนน (ตามสถานที่บางแห่งในกรุงเทพ)
หรือโคนต้นมะพร้าวที่อยู่ริมชายหาด
(เคยเห็นที่ริมหาดแถวพัทยากลาง)
สีและรูปแบบของเครื่องแต่งกายนั้นเอาแน่นเอานอนไม่ได้
ผีที่ประจำอยู่ตามต้นไม้เหล่านี้เท่าที่ค้นดูแล้วไม่เคยปรากฏในเรื่องเล่าเก่า
ๆ
สัณนิฐานว่าคงเป็นผีรุ่นใหม่ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามสภาพสังคมปัจจุบัน
เขียนเสร็จแล้วพึ่งจะนึกได้ว่า
เรื่องนี้มันควรเป็นเรื่องสำหรับผู้ชายอ่าน
แต่กลุ่มเราตอนนี้มีแต่ผู้หญิงทั้งนั้น
คงไม่ว่าอะไรกันนะ :)