ลุงสุวรรณแกทำงานมาหลายที่
ก่อนที่จะมารับงานเป็นยามเฝ้าคอนโดที่บางแสน
ในตอนเช้ามืดแกก็จะรับจ้างทำงานล้างรถให้กับผู้ที่พักอาศัยอยู่ในคอนโดนั้น
ก่อนที่จะเข้าเวรเป็นยามกลางวัน
ส่วนป้าที่เป็นภรรยาของแกเองนั้นก็รับจ้างเป็นแม่บ้านทำความสะอาดทั่วไป
แกเคยเล่าให้ผมฟังถึงชีวิตวัยหนุ่มของแก
ที่ตระเวณทำงานไปหลาย ๆ ที่
ไม่ว่าจะเป็นการไปขายของที่ตราด
การเข้ามารับจ้างเป็นพนักงานขับรถเมล์ในกรุงเทพ
และเป็นคนขับรถรับจ้างให้กับทหารอเมริกันขนอาวุธจากสัตหีบไปยังโคราช
ในช่วงสงครามเวียดนามนั้น
กองทัพสหรัฐได้เข้ามาตั้งฐานทัพและใช้ฐานทัพในประเทศไทยหลายแห่ง
เช่นที่สนามบินในภาคกลาง
ภาคเหนือ และภาคอีสานเป็นหลัก
เช่นที่ ตาคลี จ.นครสวรรค์
จ.อุดรธานี
จ.นครราชสีมา
สนามบินอู่ตะเภาและฐานทัพเรือสัตหีบ
จ.ชลบุรี
และในกรุงเทพเองก็มีการตั้งศูนย์วิจัยทางทหารขึ้น
แต่จะวิจัยอะไรบ้างนั้นผมก็ไม่ทราบ
รู้แต่ว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่คือซอยที่แยกจาก
ถ.เพชรบุรี
เข้าไปยังศูนย์วิจัยนั้นยังมีชื่อเรียกว่า
"ซอยศูนย์วิจัย"
มาจนถึงทุกวันนี้
สนามบินอยู่ตะเภานั้นอยู่ในเขตจ.ชลบุรี
(ติดเส้นแบ่งเขตจ.ชลบุรีและระยอง)
แต่ชุมชนที่อยู่ใกล้สนามบินมากที่สุดคือ
อ.บ้านฉาง
จ.ระยอง
ภรรยาผมที่เคยอาศัยอยู่แถวนี้ตอนเด็ก
ๆ เล่าให้ฟังว่า
สมัยก่อนบริเวณนี้เป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งในสมัยนั้น
ทหารอเมริกันพอกลับจากการรบแต่ละครั้ง
(ที่เขาเรียกว่า
On
tour)
พอได้รับเงินค่าจ้างก็จะใช้เงินเหล่านั้นกันเต็มที่แบบไม่คิดจะเหลือเก็บ
ทั้งนี้เพราะไม่รู้ว่าพอออกไปปฏิบัติหน้าที่ครั้งต่อไปแล้วจะได้กลับมาใช้เงินที่เก็บเอาไว้หรือไม่
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่บริเวณดังกล่าวจะเต็มไปด้วยสถานบริการต่าง
ๆ มากมาย และเมื่อสหรัฐถอนทัพออกไปในปีพ.ศ.
๒๕๑๘
เศรษฐกิจของชุมชนดังกล่าวก็ซบเซาลง
ผู้คนก็น้อยลงไป
เพิ่งจะกลับมามีคนอยู่มากขึ้นใหม่ก็ตอนที่เริ่มมีนิคมอุตสาหกรรมมาตั้งที่มาบตาพุด
การขนยุทโธปกรณ์จากท่าเรือสัตหีบไปยังฐานทัพทางภาคอีสานนั้นจะใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๑ ที่เริ่มจากแยกถนนสุขุมวิทที่ชาวบ้านเรียกว่า
"แยกกิโล
๑๐"
ถนนสุขุมวิทจากอ.สัตหีบออกมาทางระยองนั้นเวลาบอกตำแหน่งคนท้องถิ่นเขาจะบอกเป็นหลักกิโลว่าห่างจากอ.สัตหีบกี่กิโล
แยกกิโล ๑๐ ก็คือแยกที่ห่างออกมาจากอ.สัตหีบ
๑๐ กิโลเมตร
ถนนเส้นดังกล่าวจะตัดตรงไปทางเหนือเฉียงไปทางตะวันออกเล็กน้อย
ไปถึงอ.บางคล้า
จ.ฉะเชิงเทรา
และสามารถไปยังโคราชได้โดยใช้เส้นทางด้านอ.กบินทร์บุรี-อ.วังน้ำเขียว
และตรงต่อไปยัง โคราช ขอนแก่น
และอุดรธานี ถนนเส้นนี้เดิมจะเรียกกันติดปากว่า
"ถนนยุทธศาสตร์"
ถนนที่เรียกว่า
"ถนนยุทธศาสตร์"
นี้ในบ้านเรามีอยู่หลายเส้น
ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เคยมีการสู้รบไม่ว่าจะเป็นการสู้รบสมัยการรบกับกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือกับกองกำลังต่างชาติ
ถนนเหล่านี้ตัดขึ้นเพื่อการลำเลียงทหารและยุทโธปกรณ์ต่าง
ๆ เข้า-ออกพื้นที่สำคัญได้อย่างรวดเร็วและใช้เป็นเส้นทางตรวจการณ์
หลายเส้นทางโดยเฉพาะในเขตการสู้รับมักจะสร้างโดยทหาร
ถ้าสังเกตดูเส้นทางหลวงในประเทศจะเห็นว่าในหลาย
ๆ ท้องที่นั้นมีการตัดถนนเลียบชายแดน
และถ้าได้ขับรถไปตามถนนเส้นดังกล่าวก็จะพบด่านทหารตั้งอยู่เป็นระยะ
เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป
ความรับผิดชอบของถนนเหล่านี้ก็เปลี่ยนมือจากทหารมาเป็นหน่วยงานอื่น
ชื่อที่เคยเรียกกันโดยอาศัยวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือจุดเริ่มต้น-สิ้นสุดก็กลายเป็นการเรียกชื่อตามตัวเลขแทน
รูปที่
๑ ป้ายบอกทางริมถนนสุขุมวิทมุ่งจากพัทยาใต้ไปยังบางเสร่
บริเวณสี่แยกฝั่งตรงข้ามสำนักงานอัยการภาค
๒ ยังคงบอกว่าเลี้ยวไปทางซ้ายอีก
๑๑ กิโลเมตรจะไปออกถนนยุทธศาสตร์
(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
331)
ลุงสุวรรณแกเสียไปหลายปีแล้ว
แต่ป้าที่เป็นภรรยาของแกยังมีชีวิตอยู่แม้ว่าสุขภาพจะไม่ค่อยดีนักเพราะอายุมากแล้ว
ป้ายบอกทางที่ผมถ่ายมาให้ดูในรูปที่
๑ นั้นผมเห็นมานานแล้ว
แต่เพิ่งจะมีโอกาสจอดรถแวะถ่ายรูปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เอง
ดูเหมือนจะเป็นป้ายที่ยังเหลืออยู่เพียงป้ายเดียวบนถนนสุขุมวิทช่วงแถวนาจอมเทียนที่ยังปรากฎชื่อ
"ถนนยุทธศาสตร์
(331)"
อยู่
คิดว่าเมื่อไรที่ป้ายนี้มันถูกรื้อถอนออกไป
ชื่อ "ถนนยุทธศาสตร์
(331)"
ก็คงจะค่อย
ๆ เลือนหายไปตามจำนวนผู้คนที่เคยเรียกชื่อดังกล่าวที่ลดน้อยลงไปทุกวัน
รูปที่
๒
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะกง
จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอพานทอง
อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา
และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
พ.ศ.
๒๕๑๒
เพื่อสร้างทางรถไฟ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๘๖ ตอนที่ ๑๑๔ วันที่ ๒๓ ธันวาคม
พ.ศ.
๒๕๑๒
ถนนยุทธศาสตร์ ๓๓๑
คือเส้นที่อยู่ทางขวามือของรูป
รูปที่
๓ รูปต่อจากรูปที่ ๒
(รูปจริงมันยาวมาก)
ปลายทางถนนเส้นนี้ที่สัตหีบที่วงสีแดงเอาไว้คือทางแยกเข้าท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ
(ชาวบ้านเรียกแยกกิโล
๑๐ คือนับระยะทางจากสัตหีบมาทางจังหวัดระยองว่าออกมากี่กิโลเมตร)
แผนที่ส่วนนี้ยังเรียกชื่อถนนดังกล่าวว่า
"ถนนยุทธศาสตร์สายบางคล้า-สัตหีบ"
และพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ยังบอกให้เรารู้ว่าการคิดสร้างทางรถไฟจากฉะเชิงเทรามายังสัตหีบนั้นมีมาก่อนความคิดที่จะสร้างนิคมมาบตาพุดเสียอีก
เหตุผลในตอนนั้นน่าจะเป็นเพราะเพื่อความมั่นคง
เพราะในช่วงเวลานั้นเรายังไม่รู้ว่าเรามีบ่อแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย
แต่กว่าเส้นทางดังกล่าวจะได้สร้างก็เมื่อมีการสร้างนิคมอุตสหกรรมที่แหลมฉบังและที่มาบตาพุดแล้ว
รูปที่
๔ หน้านี้เอามาจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข_331
(วันจันทร์
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)
จะเห็นความผิดพลาดในเว็บดังกล่าวในกรอบสีแดงที่บอกว่า
"ถนนเส้นนี้ก่อสร้างขึ้นและเปิดเมื่อในปีพ.ศ.
2517 ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม
กิตติขจร"
เพราะในความเป็นจริงนั้นถนนเส้นนี้มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว
ดังรูปในพระราชกฤษฎีกาปีพ.ศ.
๒๕๑๒
(รูปที่
๒ และ ๓)
ที่ปรากฎถนนเส้นนี้ในแผนที่
และในปีพ.ศ.
๒๕๑๗
เป็นช่วงของรัฐบาลนายสัญญา
ธรรมศักดิ์ เพราะจอมพลถนอม
กิตติขจรพ้นจากตำแหน่งไปตั้งแต่เหตุการณ์
๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๖