เครื่อง
XPS
ที่ใช้ในแลปเรานั้นมันวัดค่าสัญญาณเป็นจุด
ๆ ไม่ต่อเนื่อง
แต่ตอนแสดงผลนั้นมันลากเส้นเชื่อมจุดต่าง
ๆ มาให้ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นสัญญาณต่อเนื่อง
แต่จะว่าไปแล้วไม่ว่าเป็นเครื่องมือวัดชนิดใดก็ตามในแลปเรา
(เช่น
XPS
- x-ray photoelectron sepctroscopy, TGA - thermogravimetric analysis
หรือ
GC
- gas chromatograph) ถ้าเราเอาเส้น
base
line มาขยาย
ก็จะเห็นเป็นจุดเต้นไปมา
เอาแน่เอานอนไม่ได้ที่เราเรียกว่าสัญญาณรบกวนหรือ
noise
ขนาดของการเต้นไปมานั้นก็จะอยู่ในระดับหนึ่ง
ขึ้นกับความไวของตัวตรวจวัดและการปรับแต่งเครื่อง
ดังนั้นในการอ่านสัญญาณนั้นจำเป็นที่ต้องไม่พิจารณาการเต้นไปมาเหล่านี้ว่าเป็นสัญญาณพีค
(peak)
และโดยปรกติแล้วการจะอ่านว่าอะไรเป็นพีคนั้นมันมีปัจจัยที่สำคัญอย่างน้อย
๒ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ
๑.
ความถี่ในการวัด
(หรือระยะห่างระหว่างจุดที่วัด)
ต้องแคบกว่าความกว้างของพีค
(ระยะห่างระหว่างจุดที่วัดไม่ควรจะมากกว่า
1/4
ของความกว้างพีค
แต่ถ้าได้แคบกว่านี้ก็ยิ่งดี)
๒.
ขนาดการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ควรจะน้อยกว่า
2
เท่าของสัญญาณ
noise
โดยค่าอัตราส่วนขนาดการเปลี่ยนแปลงต่อขนาดสัญญาณ
noise
นี้เรียกว่า
signal
to noise ratio หรือ
S/N
รูปที่
๑ ผลการวัดด้วยเครื่อง
XPS
เส้นสีเขียวในแนวดิ่งคือขนาดของของการเต้นไปมาของเส้น
base
line หรือขนาดของ
noise
นั่นเอง
รูปที่
๒ เขาบอกว่ามี "พีค"
ที่ตำแหน่ง
336.5
eV (ในวงส้ม)
จากประสบการณ์การอ่านสัญญาณเส้น
base
line นั้น
(จำเป็นมากสำหรับการอ่านพีคเล็ก
ๆ)
การเต้นไปมานั้นมีทั้งพวกที่เต้นไปมาด้วยความถี่สูงตามความถี่ของการวัดสัญญาณ
และพวกที่มีการเต้นไปมาที่ความถี่ที่ต่ำกว่า
(หลากหลายสาเหตุ)
ที่ทำให้เห็นค่าเฉลี่ยของเส้น
base
line นั้นไม่เป็นเส้นตรง
ดังนั้นในการอ่านพีคโดยเฉพาะพีคเล็ก
ๆ จึงต้องระมัดระวังมาก
คือต้องไม่นำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาพิจารณา
ยิ่งเป็นเครื่องวิเคราะห์ที่ไว
(sensitive)
และ/หรือตัวอย่างที่ไวต่อการปนเปื้อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอากาศ
ยิ่งจำเป็นระมัดระวังในการอ่านผล
เพราะสัญญาณที่เห็นนั้นอาจสัญญาณของสิ่งปนเปื้อนก็ได้
รูปที่
๑ เป็นรูปที่ผมเห็นมานานแล้ว
ส่วนรูปที่ ๒ เพิ่งจะได้เห็นในวันนี้
ทั้งสองรูปเป็นผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง
XPS
เครื่องเดียวกัน
โดยในรูปที่ ๑ นั้นเขาต้องการให้มีพีค
N1s
(สัญญาณของ
nitrogen)
ส่วนรูปที่
๒ นั้นเขาต้องการให้มีพีคที่ตำแหน่ง
336.5
eV
ที่เหลือก็คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากแล้ว
ขอให้เป็นหน้าที่ของพวกคุณลองพิจารณาเอาเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น