"Experience
is the best of schoolmasters, only the school-fees are heavy"
Thomas
Carlyle ผู้เป็นทั้งนักคิดนักเขียน
ฯลฯ ชาวสก๊อตแลนด์ที่มีชีวิตอยู่ในฃ่วงปีค.ศ.
๑๗๙๕
-
๑๘๘๑
ได้กล่าวประโยคข้างบนไว้
ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยก็คงจะออกมาทำนองว่า
"ประสบการณ์เป็นอาจารย์ที่ดี
แต่ค่าเล่าเรียนแสนแพง"
Prof.
T.A. Kletz นำเอาประโยคดังกล่าวมาใส่ไว้ในหนังสือ
"Lessons
from disaster. How organisations have no memory and accidents recur."
เพื่อย้ำเตือนให้เห็นความสำคัญของการศึกษาความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
เพื่อที่จะได้หาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นซ้ำอีก
บทความฉบับนี้ก็เลยถือโอกาสนำเอาบางเรื่องราวที่
Prof.
Kletz บันทึกไว้ในจดหมายข่าว
ICI
Newsletter (ในสมัยที่ท่านยังทำงานอยู่กับภาคอุตสาหกรรม)
ที่ไปอ่านเจอมา
มาเล่าสู่กันฟ้ง
เพราะเห็นว่าบางเรื่องนั้นมันช่างคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในบ้านเรา
๑.
การใช้ความดันแก๊ส
จัดการกับสิ่งอุดตันในระบบท่อ
สิ่งอุดตันในระบบท่อในที่นี้ได้แก่ของแข็ง
ที่อาจเกิดจากของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในระบบและตกลงสะสม
ณ ตำแหน่งที่เป็นมุมอับของการไหล
หรือเป็นของเหลวที่แข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง
ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือเราทราบว่าท่อมันตัน
แต่ไม่รู้ว่ามันอุดตันตรงไหน
หรือตำแหน่งที่อุดตันนั้นเป็นตำแหน่งที่ยากจะเข้าถึง
(เช่นไม่อยู่ใกล้จุดข้อต่อใด
ๆ ที่สามารถถอดเพื่อทำการกำจัดสิ่งอุดตันได้)
จึงมักทำให้เกิดแนวความคิดที่จะใช้ความดันในระบบนั้นดังนั้นสิ่งอุดตันหลุดออก
สมมุติว่าท่อหนึ่งทำหน้าที่ลำเลียงของเหลวที่ความดัน
5
bar จาก
vessel
หนึ่งไปยังอีก
vessel
หนึ่งโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง
ในระหว่างการทำงานปรกตินั้นผลต่างความดันระหว่างปลายทั้งสองข้างของท่อไม่ได้มีมาก
(เผลอ
ๆ
อาจมีเพียงแค่เท่ากับผลต่างระดับความสูงของของเหลวเท่านั้นถ้ามีการใช้ท่อ
pressure
balancing line - ดูรูปที่
๑ ประกอบเพื่อทำให้ความดันเหนือผิวของเหลวใน
vessel
ทั้งสองนั้นเท่ากัน)
ดังนั้นถ้ามีสิ่งอุดตันเกิดขึ้นในเส้นท่อดังกล่าว
มันก็เลยไม่มีแรงดันที่จะทำให้สิ่งอุดตันนั้นเคลื่อนที่ผ่านท่อไปได้
แต่ถ้าทำการถอดท่อด้าน
downstream
ของสิ่งอุดตันออก
ปลายท่อด้านนี้จะมีความดันบรรยากาศ
ดังนั้นความดันที่กระทำต่อสิ่งอุดตันจะเพิ่มเป็น
5
bar
แรงที่กระทำต่อสิ่งอุดตันก็จะเท่ากับผลคูณระหว่างความดันกับพื้นที่หน้าตัดของท่อ
ยิ่งท่อใหญ่ แรงกระทำก็จะมากตามไปด้วย
แต่นี่เป็นวิธีที่อันตรายถ้าคิดจะใช้
(ซึ่งบางที่อาจห้ามไม่ให้ใช้เลย)
แต่ถ้าจำเป็นที่จะใช้
ก็ต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นอย่างยิ่ง
เพราะมีบางกรณีเหมือนกันที่เคยอ่านเจอ
คือมีการทำกัน
แต่ต้องอยู่ภายใต้การวางแผนและการระมัดระวังเป็นพิเศษ
(ดูตัวอย่างได้ใน
Memoir
ปีที่
๑๑ ฉบับที่ ๖๓๒ วันเสาร์ที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เรื่อง
"เพลิงไหม้และการระเบิดที่ BP Oil (Grangemouth) Refinery 2530(1987) Case 2 การระเบิดที่หน่วย Hydrocracker ตอนที่ ๕"
ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีของการถ่ายของเหลวจากถังความดันสูง
(ด้วยการใช้ความดันแก๊สที่อยู่ในถังความดันสูง)
ไปยังถังความดันต่ำโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง
ผ่านวาล์วลดความดัน)
รูปที่
๒ นำมาจาก ICI
Newsletter ฉบับเดือนกรกฎาคมปีค.ศ.
๑๙๖๙
(พ.ศ.
๒๕๑๒)
ที่กล่าวถึงอันตรายจากการใช้ความดันแก๊สในการไล่สิ่งอุดตันในท่อ
เพราะสิ่งอุดตันที่หลุดออกทางปลายเปิดด้วยความเร็วที่สูงและทำให้เกิดอันตรายได้
(เหมือนกระสุนปืนที่ยิงออกจากลำกล้องปืน)
และมีกรณีที่สิ่งอุดตันนั้นพุ่งเข้าปะทะ
slip
plate จนทำให้
slip
plate สูญเสียรูปร่าง
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีการดังกล่าวในการกำจัดสิ่งอุดตันในท่อ
รูปที่
๑ ตัวอย่างระบบถ่ายของเหลวจาก
vessel
หนึ่งไปยังอีก
vessel
หนึ่งโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง
ในการนี้จำเป็นต้องมีท่อ
pressure
balancing line เชื่อมต่อระหว่างด้านบนของ
vessel
ทั้งสองเพื่อทำให้ความดันเหนือผิวของเหลวใน
vessel
ทั้งสองนั้นเท่ากัน
เพราะถ้าไม่มีท่อดังกล่าว
เวลาของเหลวไหลออกจาก vessel
ใบบนจะทำให้ความดันเหนือผิวของเหลวใน
vessel
ใบบนลดต่ำลงในขณะที่ความดันเหนือผิวของเหลวใน
vessel
ใบล่างเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งอาจทำให้ของเหลวหยุดไหลได้ถ้าหาก
(ความดันเหนือผิวของเหลวใน
vessel
ใบบน
+
ความดันเนื่องผลต่างระหว่างระดับของของเหลว)
นั้นเท่ากับความดันเหนือผิวของเหลวใน
vessel
ใบล่าง
ในกรณีเช่นนี้ถ้าหากมีของแข็งอุดตันในท่อการไหล
(ท่อสีแดง)
ความดันที่จะดันให้สิ่งอุดตันนั้นเคลื่อนตัวจะมีเพียงแค่ความดันจากระดับความสูงของของเหลว
(รูปซ้าย)
แต่ถ้าถอดท่อออกซึ่งทำให้ปลายท่อด้านหนึ่งนั้นมีความดันบรรยากาศ
ความดันที่กระทำต่อสิ่งอุดตันจะเท่ากับความดันภายในถัง
และทำให้สิ่งอุดตันนั้นเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วได้
รูปที่
๒ อันตรายจากการไล่สิ่งอุดตันในท่อด้วยการใช้ความดันแก๊ส
กรณีที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นในบ้านเราน่าจะเป็นการระเบิดของโรงงาน
HDPE
ของบริษัท
TPI
เมื่อเดือนธันวาคม
๒๕๓๑
ที่เกิดจากความพยายามกำจัดสิ่งอุดตันในท่อด้วยการใช้ความดันในระบบ
คือใช้ความดันใน vessel
ดันผ่านของเหลวเพื่อให้ของเหลวนั้นไปดันให้สิ่งอุดตันหลุดออกมา
แต่ด้วยของเหลวที่ใช้ดันนั้นมันเป็นของเหลวเพราะระบบมีความดันสูง
พอรั่วออกมาสู่ความดันบรรยากาศก็เลยกลายเป็นไอปริมาณมากที่แพร่กระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว
จนกระทั่งเกิดการระเบิด
เรื่องนี้เคยเล่าไว้ใน
Memoir
ฉบับต่าง
ๆ เหล่านี้
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๕๘ วันอาทิตย์ที่
๒๐ กันยายน ๒๕๕๒ เรื่อง
"Ethylene polymerisation"
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๔๑ วันเสาร์ที่
๒๘ เมษายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"เพลิงไหม้โรงงานผลิต HDPE เมื่อธันวาคม ๒๕๓๑"
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๔๓ วันศุกร์ที่
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"สาเหตุที่แก๊สรั่วออกจาก polymerisation reactor"
๒.
น้ำมันที่รั่วไหลลงระบบท่อระบายน้ำสามารถระเบิดได้
น้ำมันไม่ผสมกับน้ำและมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
ดังนั้นเมื่อน้ำมันตกลงสู่พื้นน้ำ
น้ำมันก็จะลอยเป็นชั้นบาง
ๆ บนผิวหน้าน้ำ
การแผ่กระจายออกไปเป็นพื้นที่กว้างได้ง่ายบนผิวหน้าน้ำ
ทำให้น้ำมันนั้นระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายขึ้น
ถ้าหากน้ำมันที่รั่วไหลลงผิวหน้าน้ำมีปริมาณไม่มาก
และเป็นพื้นน้ำเปิด
ไอระเหยที่เกิดขึ้นก็อาจฟุ้งกระจายออกไป
แต่ถ้าเป็นในรางระบายน้ำหรือระบบท่อระบายน้ำที่ไม่มีการระบายอากาศ
ไอระเหยของน้ำมันจะสะสมจนมีความเข้มข้นสูงถึงระดับที่สามารถลุกติดไฟได้ง่าย
และถ้าเป็นรางระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำที่มีน้ำอยู่ด้วย
น้ำมันก็จะยิ่งแพร่กระจายไปบนผิวหน้าน้ำได้ไกลอย่างรวดเร็ว
(เว้นแต่จะมีการป้องกันเช่นการใช้ระบบ
flooded
drain
หรือกำแพงป้องกันที่ดักน้ำมันเอาไว้ด้านบนและให้น้ำไหลออกทางด้านล่าง)
ด้วยเหตุนี้ระบบระบายน้ำในโรงงานจึงควรต้องแยกออกระหว่างระบบระบายน้ำฝนที่เอาไว้สำหรับการระบายน้ำฝนออกจากบริเวณที่ไม่ใช่
process
area (คือมั่นใจว่าไม่มีน้ำมันหก)
และบริเวณที่เป็น
process
area
(คือมีความเป็นไปได้ที่จะมีการรั่วไหลของน้ำมันและอาจมีการชะลงระบบระบายน้ำ)
ICI
Newsletter ฉบับประจำเดือนสิงหาคม
ค.ศ.
๑๙๗๑
(พ.ศ.
๒๕๑๔)
เล่าถึงกรณีที่มีการรั่วไหลของของเหลวไวไฟลงสู่ระบบท่อระบายน้ำก่อนที่จะเกิดการระเบิด
ที่ส่งผลให้พื้นผิวถนนที่อยู่เหนือท่อระบายนั้นนั้นยกตัวสูงขึ้น
(รูปที่
๓)
กรณีหนึ่งที่เห็นว่าคล้ายกันที่เกิดขึ้นในบ้านเราคือการระเบิดที่โรงงานบริษัท
TOC
เมื่อปีพ.ศ.
๒๕๓๙
ที่มีการระบายแนฟทาลงระบบท่อระบายน้ำด้วยความเข้าใจผิด
และเมื่อมีการระบายน้ำร้อนจากอีกหน่วยหนึ่งลงสู่ระบบท่อเดียวกัน
จึงทำให้แนฟทานั้นระเหยกลายเป็นไอก่อตัวมากขึ้นก่อนจะเกิดการจุดระเบิด
(ดู
Memoir
ปีที่
๑๑ ฉบับที่ ๑๖๐๐ วันอาทิตย์ที่
๒ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง "UVCE case 2 TOC 2539(1996)")
รูปที่
๓
เหตุการณ์ของเหลวไวไฟรั่วไหลลงระบบท่อระบายน้ำก่อนเกิดการระเบิด
๓.
วาล์วระบายน้ำฝนจากบริเวณที่ตั้ง
tank
ถูกเปิดทิ้งเอาไว้
ถังเก็บสารเคมีที่เป็นของเหลวขนาดใหญ่จะตั้งอยู่ภายในบริเวณที่ปิดล้อมที่มีลักษณะเป็นกำแพงกั้น
(ที่เรียกว่า
bund
หรือ
dike)
ที่ต้องสามารถรองรับปริมาตรของสารเคมีที่อยู่ในถังบรรจุนั้นได้ถ้าหากมีเหตุการณ์ใด
ๆ ที่ทำให้ของเหลวนั้นรั่วออกจากถังจนหมด
แต่กำแพงกั้นนี้ก็ก่อให้เกิดปัญหาตามมาก็คือมันจะขังน้ำฝนเอาไว้ด้วย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางท่อระบายน้ำฝนที่มีวาล์วปิดเปิดควบคุม
กล่าวคือวาล์วตัวนี้ควรต้องปิดอยู่เสมอ
เว้นแต่ช่วงที่ระบายน้ำฝนออก
แต่เมื่อระบายน้ำฝนออกแล้วก็ต้องกลับมาปิดคืนเดิม
ดู
ๆ แล้วก็เหมือนกับว่าการทำงานดังกล่าวไม่น่าจะยากเย็นอะไร
แต่เอาเข้าจริง ๆ
มันก็มีเหตุการณ์ให้เห็นอยู่เสมอว่าวาล์วดังกล่าวมีการเปิดทิ้งเอาไว้
ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม
เช่นบริเวณที่ตั้ง tank
farm นั้นเป็นบริเวณที่กว้าง
ทำให้วาล์วระบายน้ำฝนแต่ละตัวนั้นอยู่ห่างจากกันมาก
และด้วยการที่วาล์วดังกล่าวอยู่ที่ระดับพื้นดินหรือต่ำกว่าพื้นดิน
ทำให้ไม่สะดวกในการเข้าไปทำงานและตรวจสอบ
รูปที่
๔
เหตุการณ์สารเคมีที่ล้นถังเก็บไหลลงระบบท่อระบายน้ำเนื่องจากวาล์วระบายน้ำฝนเปิดทิ้งเอาไว้
รูปที่
๔ และ ๕
เป็นตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีบันทึกเอาไว้ที่เกิดจากการเปิดวาล์วระบายน้ำฝนทิ้งเอาไว้
เหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เกิดขึ้นในบ้านเราเห็นจะได้แก่กรณีการเกิดการระเบิดและเพลิงไหม้ที่โรงกลั่นน้ำมัน
Thai
Oil เมื่อวันที่
๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่น้ำมันจำนวนมากไหลล้นถังเก็บ
และรั่วไหลลงสู่รางระบายน้ำเพราะวาล์วระบายน้ำฝนนั้นถูกเปิดทิ้งเอาไว้
ก่อนที่จะถูกจุดระเบิดจนทำให้เกิดความเสียหายและเพลิงไหม้ตามมา
เหตุการณ์นี้เคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๘๕๑ วันอาทิตย์ที่
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ เรื่อง
"การระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันเนื่องจากน้ำมันไหลล้นจาก
tank
เมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒ ธันวาคม ๒๕๔๒"
และ
ปีที่
๑๑ ฉบับที่ ๑๖๐๑ วันพุธที่
๕ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง "UVCE case 3 Thai Oil 2542(1999)"
รูปที่
๕ อีกเหตุการณ์ที่วาล์วระบายน้ำฝนถูกเปิดทิ้งเอาไว้
ในกรณีนี้เป็นเพราะวาล์วนั้นเป็นแบบเกลียวเวียนซ้าย
เมื่อโอเปอร์เรเตอร์ไปหมุนวาล์วเพื่อตรวจสอบว่าวาล์วเปิดหรือปิดอยู่
จึงเข้าใจว่าได้ทำการปิดวาล์วทั้ง
ๆ ที่เป็นการเปิดวาล์ว
(คือวาล์วปรกตินั้น
ถ้าเรามองเข้าหา hand
wheel การหมุน
hand
wheel ตามเข็มนาฬิกาจะเป็นการปิดวาล์ว
แต่ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาจะเป็นการเปิดวาล์ว
แต่ถ้าเป็นเกลียวเวียนซ้ายจะตรงข้ามกัน)
๔.
โครงสร้างเสริมความแข็งแรงก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการหล่อเย็น
การทำให้
tank
เก็บของเหลวขนาดใหญ่นั้นสามารถคงรูปร่างทรงกระบอกของมันได้โดยไม่ทรุดหรือบุบจำเป็นต้องทำให้มันมีผนังหนา
แต่นั่นหมายถึงค่าก่อสร้างที่ต้องเพิ่มตามไปด้วย
วิธีการหนึ่งที่ทำให้สร้าง
tank
ที่มีผนังบางลงโดยที่ยังคงรักษารูปทรงของมันได้นั้นคือการติดตั้ง
wind
girder ที่เป็นเสมือนวงแหวนเสริมความแข็งแรงรัดอยู่รอบนอกตัว
tank
แต่
wind
girder นี้ก็ไปก่อปัญหาเรื่องการไหลของน้ำหล่อเย็นลงมาตามผิว
tank
กล่าวคือในเวลาที่เกิดเพลิงไหม้และต้องการให้มีน้ำหล่อเย็นป้องกันผนัง
tank
นั้น
ถ้าเป็น tank
แบบ
cone
roof
ก็สามารถใช้การฉีดน้ำให้ตกลงไปบนหลังคาและให้น้ำนั้นไหลเปียกหลังคาและผนังลำตัวลงสู่เบื้องล่าง
แต่ wind
girder
ที่ติดตั้งอยู่ข้างลำตัวนั้นจะผลักให้น้ำที่ไหลลงมานั้นไหลออกไปจากตัวผนัง
ทำให้ผนังที่อยู่ต่ำกว่า
wind
girder ไม่ได้รับการป้องกันจากน้ำ
ทำให้ต้องมีการติดตั้ง
deflector
plate ครอบตัว
wind
girder เอาไว้เพื่อผลักดันให้น้ำที่ถูก
wind
girder ดันออกนั้น
ให้ไหลกลับเข้าสู่ผนังใหม่
(รูปที่
๖)
รูปที่
๖ การติดตั้ง wind
girder ที่ทำให้สามารถสร้าง
tank
ขนาดใหญ่ที่มีผนังบางลง
โดยที่ยังคงมีความแข็งแรงเท่าเดิม
แต่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการที่
wind
girder
นั้นกีดขวางการไหลของน้ำหล่อเย็นที่ต้องการให้ไหลลงมาตามพื้นผิวผนังด้านนอกในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้
การระเบิดที่คลังน้ำมัน
Buncefield
ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่
๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ (ดู
Memoir
ปีที่
๑๑ ฉบับที่ ๑๖๖๗ วันพฤหัสบดีที่
๑๔ กุมภาพันธื ๒๕๔๒ เรื่อง
"UVCE case 5 Buncefield 2548(2005)") ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำหน้าที่ของ
wind
girder และ
reflector
plate ที่ทำให้
"น้ำมัน"
ที่ไหลล้นจากหลังคา
tank
นั้นฟุ้งกระจายกลายเป็นไอได้ง่ายขึ้นและแพร่กระจายออกไปนอกบริเวณ
tank
bund (อันเป็นผลที่เกิดจากการปะทะเข้ากับ
wind
girder และ
delfector
plate) ก่อนที่จะเกิดการระเบิด
ซึ่งจะว่าไปแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ว่าระบบ
safety
ที่ออกแบบมาเพื่องานหนึ่งและสามารถทำงานได้ดีในงานที่ออกแบบมานั้น
(คือการให้น้ำนั้นสะท้อนกลับไปไหลลงตามผนังถัง)
กลับไปเพิ่มอันตรายเมื่อเกิดอีกเหตุการณ์
(ที่ไม่ควรจะเกิด)
ขึ้น
จากตัวอย่างที่ยกมาคงพอจะเห็นได้ว่า
ความผิดพลาดแบบเดียวกันนั้นสามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างกันมากได้
ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือต้องหาทางไม่ให้เกิดการผิดพลาดแบบเดิมซ้ำอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น