จากตัวเลขข้างบน ลองตอบคำถามต่อไปนี้เล่น ๆ นะครับ ค่อย ๆ อ่านคำถามและตอบเรียงข้อไปทีละข้อ ส่วนคำตอบก็เก็บเอาไว้ในใจ ไม่ต้องเขียนออกมาหรอกครับ
ข้อ
๑.
จากตัวเลขข้างบน
ถ้าให้หาค่าเฉลี่ย คุณจะตอบเท่าไร
ข้อ
๒.
ถ้าคุณทำการวิเคราะห์ตัวอย่างหนึ่งด้วยการไทเทรต
3
ครั้ง
(ด้วยวิธีการเดียวกัน)
และพบว่าปริมาณ
titrant
ที่ใช้ไปในแต่ละครั้งคือ
20.0
ml, 20.3 ml และ
20.0
ml คุณจะบันทึกค่าเฉลี่ยเท่าไร
ข้อ
๓.
ในการสอบสัมภาษณ์เข้าทำงาน
สมมุติว่าคุณเป็นคนเข้ารับการสัมภาษณ์
และผู้สัมภาษณ์ถามคุณด้วยคำถามในข้อ
๒.
คุณจะตอบด้วยตัวเลขอะไร
ข้อ
๔.
ในการสอบสัมภาษณ์เข้าทำงาน
สมมุติว่าคุณเป็นผู้สัมภาษณ์
และคุณถามผู้เข้ากับการสัมภาษณ์ด้วยคำถามในข้อ
๒.
คุณอยากจะให้ผู้เข้ารับการสัมภาษ์ตอบด้วยตัวเลขอะไร
หลังจากตอบคำถามทั้ง
๔ ข้อข้างต้นแล้ว
ที่ต่างใช้ตัวเลขเดียวกัน
และถามหาค่าเฉลี่ยเหมือนกัน
ขอให้ลองกลับมาพิจารณาคำตอบของคุณดูนะครับ
ว่าคุณตอบด้วย "ตัวเลขเดียวกัน"
ทุกข้อหรือไม่
ถ้าไม่ใช่ นั่นเป็นเพราะอะไร
ถ้าคุณตอบคำถามทั้ง
๔ ข้อด้วย "ตัวเลขเดียวกัน"
ทุกข้อ
และก็มีเพื่อนคุณอีกคนหนึ่งที่ตอบคำถามทั้ง
๔ ข้อนี้ด้วย "ตัวเลขเดียวกัน"
ทุกข้อ
คุณคิดว่า "ตัวเลขเดียวกัน"
ของคุณ
กับ "ตัวเลขเดียวกัน"
ของเขานั้น
เหมือนกันหรือไม่ครับ
คำถามนี้ดัดแปลงมาจากข้อสอบวิชา
๒๑๐๕๒๗๐ เคมีวิเคราะห์
ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา
๒๕๔๕ ที่เคยนำมาลง blog
ไว้ในเรื่อง
"เท่ากับเท่าไร"
(Memoir ปีที่
๑ ฉบับที่ ๑๒ วันพฤหัสบดีที่
๒ ตุลาคม ๒๕๕๑)
แต่ที่นำมาเป็นตัวอย่างในเรื่องความปลอดภัยนี้ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า
ด้วยคำถามเดียวกันกับเหตุการณ์เดียวกัน
คำตอบที่ได้อาจจะแตกต่างไปได้
ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้ถามและผู้ที่ต้องหาคำตอบ
การวิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุก็เช่นกัน
ข้อสรุปของการวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับว่าต้องการหาอะไร
ตัวอย่างเช่นกรณีของการระเบิดที่โรงงานแห่งหนึ่งที่มาบตาพุดในเดือนพฤษภาคม
๒๕๕๕ ที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ผมได้ฟังเรื่องจากวิศวกรอาวุโสท่านหนึ่งในเดือนกรกฎาคม
๒๕๕๗ ในฐานะที่ท่านได้มีส่วนร่วมเข้าไปสอบสวนเหตุการณ์
ท่านเล่าให้ฟังว่าในการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวมีทีมสอบสวนเข้าไปทำงาน
๓ ทีมด้วยกัน (ที่ต่างคนต่างทำงาน)
โดยแต่ละทีมมีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบที่แตกต่างกันคือ
ทีมที่
๑ คือทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เนื่องจากเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
จึงจำเป็นที่ต้องหาผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนทำให้เกิดการเสียชีวิต
เพื่อจะได้ดำเนินคดีต่อไป
ดังนั้นการสอบสวนนี้จึงเป็นการมุ่งหาตัวบุคคลที่กระทำผิด
(ซึ่งแน่นอนว่าคงต้องเป็นใครอย่างน้อยสักคนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุก่อนเกิดเหตุการณ์)
ทีมที่
๒ คือทางบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีกระบวนการผลิต
ที่ต้องการทราบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการออกแบบกระบวนการที่ผิดพลาดหรือไม่
หรือเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน
ดังนั้นการสอบสวนนี้จึงเป็นการมองไปที่เหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความบกพร่องของการออกแบบหรือไม่เป็นหลัก
เพราะถ้าพบว่ามันเกิดจากความบกพร่องของการออกแบบ
มันก็จะส่งผลต่อโรงงานแบบเดียวกัน
(ที่สร้าง
ณ สถานที่อื่น)
ที่ใช้กระบวนการแบบเดียวกันด้วย
แต่ถ้าพบว่าเกิดจากความบกพร่องของผู้ปฏิบัติงาน
การสอบสวนก็เป็นอันจบ
ทีมที่
๓ คือทีมที่ถูกว่าจ้างโดยตัวโรงงานเพื่อให้หาสาเหตุว่า
"ทำไมถึงพลาดได้"
การสอบสวนตรงนี้ไม่ได้เป็นการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิด
(เหมือนทีมที่
๑)
แต่มองไปยังการทำงานและการควบคุมการทำงานเป็นหลัก
แต่จะว่าไป
คำตอบคำถามที่ว่า "ทำไมถึงพลาดได้"
มันก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้จบลงแค่ไหนได้เช่นกัน
เช่นถ้าพบว่าเกิดจากโอเปอร์เรเตอร์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
แต่จะมีการถามต่อไปหรือไม่ว่าทำไปโอเปอร์เรเตอร์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่
-
เขาไม่รู้ว่ามันมีขั้นตอนให้ปฏิบัติ
และไม่เคยมีใครบอกให้เขารู้ว่ามี
(คือไม่รู้ว่ามีอะไรควรต้องทำ)
-
เขารู้ว่ามันมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ
แต่ไม่มีใครรู้ว่ามีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ที่ไหน
อาศัยการจำต่อ ๆ
กันมาหรือการฝึกระหว่างการทำงานจริง
-
การถ่ายทอดด้วยการให้ผู้เรียนจดบันทึกเอง
ทำให้ข้อมูลที่ถ่ายทอดนั้นสูญหายหรือบิดเบือนไป
-
ขั้นตอนการทำงานถูกเขียนเอาไว้เป็นภาษาต่างประเทศ
พอมีการแปลเป็นไทยแล้วแปลไม่ครบหรือแปลผิด
(อันนี้ผมเคยเจอกับเครื่องมือวิเคราะห์ที่นิสิตใช้)
-
เขารู้ว่าควรปฏิบัติตามขั้นตอนใด
แต่ไม่รู้ว่าวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนนั้นควรทำอย่างไร
เช่นขั้นตอนปฏิบัติอาจบอกว่าให้ระวังการมีของเหลวหรือแก๊สความดันสูงตกค้างในระบบเวลาที่จะถอดหน้าแปลน
แต่เขาไม่เคยได้รับการอบรมว่าวิธีการถอดหน้าแปลนที่ถูกต้องในกรณีเช่นนี้ควรต้องทำอย่างไร
(ทำนองว่าเขาอาจถอดนอตออกมาเลยทีละตัว
แทนที่จะค่อย ๆ ทำการคลายนอตทีละตัวทีละน้อย
ๆ)
-
โอเปอร์เรเตอร์ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
แต่ขั้นตอนปฏิบัตินั้นไม่เหมาะสมเสียเอง
(คืออาจเกิดจากความไม่รู้ของผู้เขียนขั้นตอนการปฏิบัติ)
-
ขั้นตอนปฏิบัตินั้นไม่เหมาะสมกับสภาพการทำงานจริง
(เช่นสภาพพื้นที่การทำงานที่คับแคบ
อุปกรณ์ไม่เหมาะสม)
-
ไม่เห็นความสำคัญของขั้นตอนที่กำหนดไว้
และก่อนหน้านั้นยังพบว่าการทำงานข้ามขั้นตอนทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นแถมยังไม่เกิดอะไร
และผู้มีอำนาจควบคุมการทำงานและกำหนดขั้นตอนการทำงานก็เห็นชอบด้วย
เพียงแต่ไม่มีการไปแก้ไขสิ่งที่เขียนเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
-
ถูกกดดัน
(ซึ่งมักจะเป็นโดยวาจา)
จากเบื้องบนให้ต้องลัดขั้นตอนการทำงาน
(เช่นต้องรีบ
start
up โรงงานให้ทันเวลา
หรือต้องรีบแก้ไขข้อขัดข้องก่อนที่กระบวนการผลิตทั้งกระบวนการจะไม่สามารถเดินต่อไปได้)
-
ให้โอเปอร์เรเตอร์กำหนดวิธีการทำงานเอง
โดยไม่คิดจะทำการตรวจสอบ
(โดยผู้มีความรู้และประสบการณ์)
ว่าเหมาะสมหรือไม่
ดูแต่เพียงว่าถ้าไม่เกิดเรื่องอะไรก็ถือว่าวิธีการนั้นใช้ได้
(เรื่องทำนองนี้ผมพบเป็นประจำกับการทำการทดลองของนิสิตบัณฑิตศึกษา
และเคยเขียนไว้ใน Memoir
ปีที่
๘ ฉบับที่ ๑๑๔๗ วันอังคารที่
๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ เรื่อง
"ไม่เคยบอกให้ทำอย่างนั้น แต่ไม่เคยบอกให้ทำอย่างไร")
-
ฯลฯ
(เชิญเติมต่อได้ตามสบายครับ
เพราะตอนนี้ผมนึกออกเพียงแค่นี้ครับ)
หรือในกรณีที่พบว่าเกิดจากการที่โอเปอร์เรเตอร์ไม่เชื่อในสัญญาณเตือน
หรือแปลค่าที่เครื่องวัดอ่านได้ผิดพลาด
หรือไม่ตอบสนองต่อสัญญาณเตือน
จะมีคำถามต่อไปหรือไม่ว่าอาจเกิดขึ้นจากการที่
-
สัญญาณเตือนที่เกิดมักเป็นสัญญาณหลอก
(fault
alarm) จนไม่มีใครเชื่อเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
(กรณีของการระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ปี
๒๕๔๒ ก็เป็นแบบนี้)
-
ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์วัดนั้นทำให้ยากที่จะเข้าไปอ่าน
เช่นต้องก้มดู
หรือติดตั้งอุปกรณ์วัดสิ่งที่แตกต่างกัน
แต่ตัวอุปกรณ์มีหน้าตาคล้าย
ๆ กันในบริเวณที่ติดกัน
ทำให้อ่านผิดได้
หรือรูปแบบการแสดงผลนั้นไม่เหมาะสม
ทำให้อ่านผิดพลาดได้ในเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นมีเวลาไม่มากในการอ่านค่า
(ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของกรณีหลังก็คือมาตรแสดงความเร็วของรถยนต์ที่วิ่ง
ที่ยังนิยมใช้รูปแบบเข็มชี้มากกว่าตัวเลขดิจิตอล
เพราะผู้ขับขี่ไม่ได้ต้องการทราบค่าความเร็วที่ละเอียด
ต้องการทราบเพียงแค่ว่าวิ่งเร็วประมาณไหน
และก็มีเวลาอ่านค่าไม่มากเพราะไม่สามารถละสายตาจากถนนได้นาน
มีเวลาเพียงแค่การชำเลืองมองผ่านพวงมาลัยแค่นั้นเอง
ซึ่งในกรณีแบบนี้มาตรวัดที่แสดงผลด้วยเข็มจะอ่านได้ง่ายกว่า)
-
การมีสัญญาณเตือนเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันมากเกินไป
จนทำให้โอเปอร์เรเตอร์ไม่สามารถหาได้ว่าจุดใดเป็นต้นตอของสาเหตุที่แท้จริง
ที่ทำให้เกิดสัญญาณเตือนตัวอื่นตามมา
(ลองนึกธรรมชาติของคนดูนะครับ
ถ้าอยู่ดี ๆ
มีใครโยนงานสารพัดงานเต็มไปหมดมาให้ใครสักคนทำในเวลาเดียวกันโดยต้องการในเวลาอันสั้นด้วย
คุณคิดว่าเขาจะเร่งทำงานหรือไม่ทำเลยสักชิ้นครับ)
-
ความเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างค่าที่เครื่องวัดแสดงกับค่าที่โอเปอร์เรเตอร์เข้าใจ
อันเป็นผลจากการขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างฝ่าย
instrument
ที่ทำการติดตั้งและสอบเทียบเครื่องวัด
กับโอเปอร์เรเตอร์ที่เป็นคนอ่านค่าเครื่องวัด
เช่นเครื่องวัดบอกค่าเป็น
%
ในขณะที่โอเปอร์เรเตอร์เข้าใจว่าตัวเลขที่เห็นนั้นคือค่าที่วัดได้จริง
หรือตำแหน่งช่วง 0-100%
ของค่าที่เครื่องวัดแสดงที่ฝ่าย
instrument
กำหนดนั้น
ทางฝ่ายโอเปอร์เรเตอร์เข้าใจเป็นอย่างอื่น
(เหตุการณ์นี้ผมเคยพบกับกรณีของการวัดระดับของเหลวใน
vessel
วางตั้งที่ฝาบน-ล่างของถังมีรูปร่างเป็น
ellipsoid
(ทรงรี)
โดยทาง
instrument
กำหนดระดับ
0%
ไว้ที่ตำแหน่ง
tangent
line ด้านล่างของถัง
แต่ตัวโอเปอร์เรเตอร์เข้าใจว่าอยู่ที่ก้นถัง
แล้วเกิดการโวยวายกันว่าเครื่องวัดอ่านค่าผิดพลาด
เชื่อถือไม่ได้
สุดท้ายต้องช่วยทั้งสองฝ่ายปรับความเข้าใจให้ตรงกัน
ตรงนี้ขอเพิ่มเติมนิดนึง
Tangent
line คือแนวที่รูปทรงถังเปลี่ยนจากรูปทรงกระบอกเป็นโค้งตามความโค้งของฝา
ไม่ใช่แนวรอยเชื่อมระหว่างฝาถังกับตัวถังทรงกระบอก
เพราะบางทีตัวฝาถังมันมีส่วนที่เป็นทรงกระบอกที่เขาทำมาเพื่อไว้เชื่อมกับส่วนลำตัวทรงกระบอกของถังด้วย
เรื่องนี้เคยอธิบายไว้ใน
Memoir
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๕๖๒ วันจันทร์ที่
๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง "Tangent line to Tangent line")
-
ฯลฯ
(และเช่นกัน
เชิญเติมต่อได้ตามสบายครับ
เพราะตอนนี้ผมนึกออกเพียงแค่นี้ครับ)
ครับ
ที่เขียนมาทั้งหมดก็คือสิ่งที่อยากให้ผู้เข้าฟังผมบรรยายได้เข้าใจว่า
ผมต้องการสื่ออะไรถึงพวกเขาด้วยตัวเลข
๓ ตัวตอนต้นเรื่องนั้น
สำหรับวันนี้ก็คงจะขอจบ
Memoir
ตอนนี้เพียงเท่านี้
(หมายเหตุ
:
บทความชุด
"ความปลอดภัยในการทำงานและการออกแบบ"
ที่ทำขึ้นเป็นตอนต่าง
ๆ นั้น จัดทำขึ้นเพื่อขยายความสไลด์ประกอบการสอนวิชา
"2105689
การออกแบบและดำเนินการกระบวนการอย่างปลอดภัย
(Safe
Process Operation and Desing)"
ที่เปิดสอนให้กับนิสิตระดับปริญญาโท
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นครั้งแรกในภาคการศึกษาปลาย
ปีการศึกษา ๒๕๖๑)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น